เจียโหยว
เจียโหยว / ก๊าเหย่า | |||||||||||||||||||||
ป้ายเขียนว่า "ก๊าเหย่า" ในการประท้วงร่มในฮ่องกงเมื่อปี 2014 | |||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 加油 | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหมายตามตัวอักษร | Add oil | ||||||||||||||||||||
|
เจียโหยว หรือ ก๊าเหย่า (จีน: 加油) เป็นคำภาษาจีนสำหรับให้กำลังใจที่นิยมใช้กันมาก วลีนี้มักเรียกว่า "ยากที่สุดที่จะแปลออกมาดีในภาษาอังกฤษ" โดยมีคำแปลตรงตัวเป็นภาษาอังกฤษว่า "add oil" (เติมน้ำมัน) ซึ่งใช้มากในภาษาอังกฤษแบบฮ่องกง[1] ว่ากันว่าวลีนี้มีใช้ครั้งแรกในการเชียร์รถแข่งที่มาเก๊ากรังปรีในทศวรรษ 1960s เพื่อใช้เชียร์นักแข่งรถให้ "เติมน้ำมัน" หรือ "เหยียบคันเร่ง" เพื่อให้รถวิ่งไปได้เร็วขึ้น[2]
วลีนี้มีความยืดหยุ่นสูงและสามารถใช้งานได้ในทุกรูปแบบสถานการณ์จนได้รับการบรรยายไว้ว่าเป็น "คำเชียร์เอนกประสงค์" ("all purpose cheer")[3] เจียโหยว สามารถแปลได้ทั้งว่า "ขอให้โชคดีนะ!", "สู้สู้", "เธอทำได้", "อย่ายอมแพ้!" ในขณะที่หากใช้ในบริบทของการเชียร์กีฬา ก็สามารถแปลได้ว่า "สู้สู้" หรือ "ไปเลย!" นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในรูปของคำตักเตือน เช่นแปลว่า "พยายามให้มากกว่านี้หน่อย" ได้เช่นกัน รวมถึงยังใช้เพื่อแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือสนับสนุนบุคคลอื่นในแง่ว่า "เรายังมีกัน" ได้เช่นกัน[4]
วลีนี้ถูกนำมาปรับใช้เป็นคำร้องเชียร์ประเทศจีนในกีฬาโอลิมปิกส์ที่ปักกิ่ง[5] ส่วนในฮ่องกง วลีนี้กลายมาเป็นคำประจำในการประท้วง และเพื่อแสดงความสนับสนุนแก่การประท้วงร่มเมื่อปี 2014 และในการประท้วงปี 2019-20[6] และในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในระยะแรกที่อู่ฮั่นนั้น วลีว่า "อู่ฮั่น เจียโหยว" ยังถูกนิยมนำมาใช้เพื่อให้กำลังใจแก่บุคลากรและชาวเมืองอู่ฮั่นที่ถูกล็อกดาวน์[7][8] เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Add oil! The evolution of Hong Kong English, and where our unique words come from". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2015-06-24. สืบค้นเมื่อ 2020-02-06.
- ↑ "A Chinese phrase has joined the Oxford English Dictionary. Here's how". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-17. สืบค้นเมื่อ 2020-02-06.
- ↑ "Chinese Cheer Makes Olympic Debut". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-06.
- ↑ "What Does "jiāyóu" 加油 Mean in English? [Learn Chinese]". China Internship Placement Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-08-22. สืบค้นเมื่อ 2020-02-06.
- ↑ "Add oil! Add oil!". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2008-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-02-06.
- ↑ Yeung, Jessie (2019-08-21). "Hong Kong protesters are getting tattoos". CNN Style (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-21.
- ↑ credited, Source: As (2020-01-28). "'Wuhan jiāyóu': chants of solidarity spread across city at epicentre of coronavirus – video". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-02-06.
- ↑ "Commentary: Jiayou! A community in crisis but Wuhan residents fight back with calls for solidarity". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-06. สืบค้นเมื่อ 2020-02-06.