ข้ามไปเนื้อหา

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 2014 Hong Kong protests)
การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557; การปฏิวัติร่ม
ภาพผู้ชุมนุมบริเวณที่ทำการของรัฐบาลฮ่องกง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557
วันที่26 กันยายน – 15 ธันวาคม ค.ศ. 2014
สถานที่ฮ่องกง:
สาเหตุการตัดสินใจของStanding Committee of the National People's Congress ให้มีการปฏิรูปการเลือกตั้ง
เป้าหมาย
วิธีการOccupations, sit-ins, การดื้อแพ่ง, การเดินขบวน, ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, hunger strikes, แฮกเกอร์
ผล
การยอมผ่อนปรนThe Hong Kong SAR government promises to submit a "New Occupy report" to the Chinese Central government,[6] but the content of the completed report has aroused public resentment again
คู่ขัดแย้ง

นักปฏิวัติร่ม

ผู้ประท้วงฝ่ายประชาธิปไตยนิยม
กลุ่มแฮกเกอร์
ผู้นำ
บาดเจ็บและถูกจับ
บาดเจ็บ470+ (ในวันที่ 29 พ.ย.)[10]
ถูกจับกุม955[11]
75 คนยอมถูกจับ
Sites of significant protests
การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557
การปฏิวัติร่ม
อักษรจีนตัวเต็ม雨傘革命
Umbrella Movement
อักษรจีนตัวเต็ม雨傘運動
Occupy Movement
อักษรจีนตัวเต็ม佔領行動

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557 หรือเรียก การปฏิวัติร่ม เริ่มเมื่อเดือนกันยายน 2557 เมื่อผู้สนับสนุนต่อต้านรัฐบาลในฮ่องกงประท้วงนอกสำนักงานใหญ่ของรัฐและยึดแยกสำคัญของนครหลายแยกหลังคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติประกาศคำวินิจฉัยต่อการปฏิรูปการเลือกตั้งเสนอ[12] คณะกรรมาธิการฯ ไม่อนุญาตการเสนอชื่อให้พลเมืองเลือก แต่ประกาศชัดว่า คณะกรรมการเลือกผู้สมัครจำนวน 1,200 คน ซึ่งยังมาจากการเสนอชื่อโดยกลุ่มแยกธุรกิจและถูกรัฐบาลจีนควบคุมอย่างเข้มงวด จะเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งสองถึงสามคนโดยมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งก่อนให้สาธารณะออกเสียงลงคะแนนเลือกคนเหล่านั้น[13] ซึ่งถูกมองว่าคัดกรองผู้สมัครนิยมประชาธิปไตยออกอย่างชะงัด

สหพันธ์นักศึกษาฮ่องกงและกลุ่มสะคอลาริซึม (Scholarism) เริ่มประท้วงนอกสำนักงานใหญ่ของรัฐเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 คัดค้านคำวินิจฉัยของคณะกรรมาธิการฯ[14] เย็นวันที่ 26 กันยายน ผู้ประท้วงหลายร้อยคนฝ่าสิ่งกีดขวางความปลอดภัยแล้วเข้าลานหน้าศูนย์ราชการกลาง (Central Government Complex) อันเป็นพื้นที่สาธารณะที่ห้ามสาธารณะเข้าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 เจ้าหน้าที่ล้อมผู้ประท้วงไว้ในลานหน้าอาคารนั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวข้ามคืน จนไล่ออกไปด้วยกำลังในวันรุ่งขึ้น ซึ่งรวมผู้นำนักศึกษา โจชัว หว่อง ซึ่งสุดท้ายถูกควบคุมตัวไว้นานกว่า 40 ชั่วโมง[15][16] ยึดเซ็นทรัลประกาศว่า พวกเขาจะเริ่มการรณรงค์ดื้อแพ่งทันที[17]

วันที่ 28 กันยายน ผู้ประท้วงสกัดกั้นทั้งเส้นทางสำคัญทั้งตะวันออก-ตะวันตกในตอนเหนือของเกาะฮ่องกงใกล้แอดมะรัลที (Admiralty) มีการใช้แก๊สน้ำตาต่อผู้ประท้วงที่ดูไม่มีอาวุธและสันติ ซึ่งเป็นชนวนให้มีพลเมืองเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้นและยึดอ่าวเคิสเวย์ เซ็นทรัลและมงก๊ก กลุ่มสมาชิกไทรแอด (triad) จัดระเบียบโจมตีผู้ประท้วงอย่างสันติในวันที่ 3 ตุลาคม หลังรัฐบาลยุติปฏิบัติการกวาดล้าง ขณะนี้สหพันธ์นักศึกษาฮ่องกงและรัฐบาล กำลังมุ่งเจรจาเกี่ยวกับการปฏิรูปการเลือกตั้ง

่วันที่ 15 ธันวาคม ตำรวจฮ่องกงได้สลายการชุมนุมในเขตคอสเวย์เบย์[18][19]

ความเป็นมาของเหตุการณ์

[แก้]

ภูมิหลังทางการเมือง

[แก้]

ข้อตกลงในปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษที่ทำขึ้นในปี 2527 มีผลสำคัญคือการที่อังกฤษต้องส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้กับทางสาธารณรัฐประชาชนประชาธิปไตยจีน ในฐานะเขตบริหารพิเศษในวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ภายใต้หลักการ หนึ่งประเทศ สองระบบ ภายใต้เงื่อนไขนี้ ทางการฮ่องกงจะถือว่าเป็นเขตบริหารพิเศษที่มีอิสระในด้านการบริหารและจัดการตัวเอง เว้นในด้านของการทหารและการต่างประเทศ ซึ่งจะมีลักษณะการปกครองเช่นนี้ต่อไปเป็นเวลา 50 ปี

ภายใต้เงื่อนไขนี้ ฮ่องกง ในฐานะเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จะปกครองตัวเองโดยมีกฎหมายหลักเป็นของตัวเอง[20][21] (Hong Kong Basic Law) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ทางคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPCSC) เป็นผู้รับผิดชอบ ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ระบุไว้ว่า ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงจะมาจากการเลือกตั้งของคณะผู้เลือกตั้งจำนวน 1200 คน ซึ่งคณะกรรมการผู้เลือกตั้งนี้ได้ถูกระบุไว้ในประมวลกฎหมาย Basic Law ว่ามีกระบวรการคัดเลือกคณะกรรมการผู้เลือกตั้งโดยวิธีการขั้นตอนแบบประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง ซึ่งในปี 2550 คณะกรรมาธิการฯ ได้แสดงความเป็นไปได้ต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเลือกตั้งของระบบการเลือกตั้งฮ่องกง ซึ่งจะนำไปใช้จริงในการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดเกาะฮ่องกง ในการนี้ผู้ว่าการสูงสุดของฮ่องกงในขณะนั้น เหลียง ชุนหยิง ได้รับลูกของกรรมาธิการและนำไปสู่แผนการปฏิรูประบบเลือกตั้งในช่วงแรกของปี 2557

สิ่งนี้สอดรับไปกับความเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ตั้งแต่ปี 2556 เกิดขบวนการยึดเซ็นทรัลด้วยรักและสันติภาพ ในความพยายามเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งทางตรงที่ประชาชนชาวฮ่องกงมีสิทธิเลือกตั้งในการลงคะแนนเสียงได้อย่างเสรี[22] ไม่ผ่านคณะกรรมการผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง โดยจัดแคมเปญการลงคะแนนเสมือนจริงที่เหมือนเป็น “การลงประชามติของมวลชน” ที่มีคนให้ความสนใจถึง 792,808 คน

อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่วันที่ 31 สิงหาคม 2557 คณะกรรมาธิการฯของจีนได้ลงมติในสภาประชาชน เห็นชอบแผนในการกำหนดขอบเขตในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติฮ่องกงในปี 2559 และการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดเกาะฮ่องกงในปี 2560 โดยที่ประชุมใหญ่สภาประชาชนแห่งชาติจีน เห็นชอบปรับให้มีการเพิ่มข้อคุณสมบัติที่ว่า “ผู้บริหารสูงสุดเกาะฮ่องกงจะต้องเป็นบุคคลที่รักประเทศและรักฮ่องกง”"[23] และยังกำหนดว่าวิธีการคัดเลือกผู้บริหารสูงสุดของเกาะฮ่องกงจะต้องคุ้มครองจุดประสงค์นี้ และระบุว่าผู้บริหารสูงสุดของเกาะฮ่องกงมาจากการลงคะแนนเสียงของคณะกรรมการผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ที่มีสมาชิก 1200 คน โดยผู้ที่ได้เป็นผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลกลางของจีนที่ปักกิ่ง ในขณะที่การเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัตแห่งชาติขอให้คงบทบัญญัติเอาไว้แต่เดิม

หลังการประกาศออกมา ชาวฮ่องกงจำนวนมากแสดงความมาพอใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะการปฏิรูประบบการเลือกตั้งที่ชาวฮ่องกงหวังว่าจะได้มีสิทธิเลือกผู้นำของตัวเองไม่ได้เกิดขึ้น และนำไปสู่การจัดการชุมนุมในเวลาต่อมา

คลื่นการประท้วง

[แก้]

การประท้วงในเดือนกันยายน

[แก้]
ตำรวจตั้งแนวกั้นคลื่นการประท้วงของนักศึกษา บริเวณศูนย์ราชการฮ่องกงในวันที่ 27 พฤศจิกายน

คลื่นความไม่พอใจของมวลชนขยายตัวเป็นวงกว้างหลังได้เห็นประกาศของคณะกรรมาธิการ โดยตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน เมื่องรองเลขาธิการใหญ่ หลี เฟย (LI wei) ได้เดินทางมาคุยกับตัวแทนของฮ่องกง เกี่ยวกับผลมติของคณะกรรมาธิการที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของฮ่องกง[24] ซึ่งแม้ว่าทางรัฐบาลฮ่องกงจะเห็นชอบและพร้อมที่จะหนุนต่อมติของคณะกรรมาธิการของจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ในแง่ของประชาชนทั่วไปไม่เห็นชอบกับผลมติ เหล่าผู้สนับสนุนต่อหลักการประชาธิปไตยได้ประณามผลมตินี้ โดยมองว่าการกระทำนี้เป็นการทรยศต่อหลักการ “หนึ่งคนหนึ่งเสียง” ตามหลักการประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การชุมนุมประท้วงขนาดเล็กที่โรงแรมที่จัดประชุมระหว่างหลีเฟย กับตัวแทนรัฐบาลฮ่องกง ซึ่งการชุมนุมเล็กๆนี้ถูกตำรวจเข้าจับกุมผู้ชุมนุม 19 คน ในข้อหาการชุมนุมผิดกฎหมาย[25]

ผลมติของคณะกรรมาธิการนำไปสู่แรงต้านของหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเมืองกับภาคประชาชน สำหรับฝ่ายการเมือง พรรคเดโมแครตฮ่องกงได้ออกแถลงการณ์ว่าจะคัดค้านกรอบการปฏิรูปในสภานิติบัญญัติอย่างถึงที่สุด ในขณะที่ทางภาคประชาชน กลุ่มยึดเซ็นทรัลด้วยรักและสันติภาพได้ออกประกาศนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 14 กันยายน ที่คอสเวย์เบย์และเซ็นทรัล[24]

แต่ก่อนการนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มยึดเซ็นทรัลด้วยรักและสันติภาพ กลุ่มสโกรลาลิซึ่ม (Scholarism) ซึ่งเป็นขบวนการของนักวิชาการใหม่และนักศึกษาที่เพิ่งจบ ได้มีการจัดประท้วงขนาดเล็กก่อนหน้า 1 วัน นอกศูนย์ราชการฮ่องกง การชุมนุมมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีแกนนำคือ แอคเนส โจว ก่อนที่ในเวลาต่อมาเครือข่ายกลุ่มสโกรลาลิซึ่มได้จับมือแนวร่วมกับสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาฮ่องกง และประกาศคว่ำบาตรการเข้าเรียนโดยให้นักเรียนนักศึกษาออกมาประท้วงลงถนน ใครที่ไม่สะดวกใจในการทำก็ให้ติดริบบิ้นสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์[26] การนัดชุมนุมใหญ่ของแนวร่วมนักศึกษานักชุมนุมที่สวนสาธารณะทามาร์ในวันที่ 22 กันยายน ในครั้งนั้นมีนักศึกษาเข้าร่วมการชุมนุมมากถึง 13,000 คน

ริบบิ้นสีเหลืองอันเป็นสัญลักษณ์ของการชุมนุม ผูกติดอยู่กับรั้วของ Civic Square บริเวณศูนย์ราชการฮ่องกงอันเป็นพื้นที่หลักของการชุมนุม

การชุมนุมใหญ่ของนักศึกษาปักหลังอยู่ในศูนย์ราชการฮ่องกงนานถึง 3 วัน จนถึงวันที่ 26 กันยายน ตำรวจได้กระชับพื้นที่คืน เพราะตำรวจไม่อนุญาตให้มีการจัดการชุมนุมในวันที่ 26 ในพื้นที่ของศูนย์ราชการ เหล่าผู้ชุมนุมได้ย้ายไปปักหลักชุมนุมที่ถนนทิมเหมย ซึ่งบริเวณนั้นมีพื้นที่จัตุรัสสาธารณชน (Civic Square) ซึ่งเป็นลานกว้างที่เวลาปกติประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ได้ แต่ปรากฎว่าพอมีการชุมนุมตำรวจได้ปิดล้อมและไม่อนุญาติให้ผู้ชุมนุมเข้าไปใช้งาน เมื่อมวลชนมาถึงกลุ่มขบวนการสโกรราลิซึ่มจึงประกาศที่จะยึดพื้นที่นี้ให้กับมาเป็นของประชาชนอีกครั้ง แกนนำในการยึดคืนลานกว้างนั้นนำโดย โจชัว หว่อง และนาธาน ลอว์พยายามฝ่าแนวกั้นของตำรวจเพื่อเข้าไปในพื้นที่นั้น เหตุการณ์ในครั้งนี้นำไปสู่ความวุ่นวายของประชาชนกับเจ้าหน้าที่ โจชัว หว่อง และแกนนำคนอื่นถูกตำรวจจับกุมตัวในทันที ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม[27]: 19 [28]

ผลกระทบจากการสลายการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษา ทำให้เบนนี ไท๋ แกนนำกลุ่มยึดเซ็นทรัล นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 28 กันยายน[29][30] เพื่อดึงแนวร่วมมวลชน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาชุมนุมในบริเวณโดยรอบของอาคารศูนย์ราชการฮ่องกง ถนนทิมเหมยถูกปิดและการจราจรทั้งหมดโดยรอบอาคารศูนย์ราชการฮ่องกงกลายเป็นอัมพาต

ภาพของผู้ชุมนุมในช่วงการชุมนุมใหญ่ที่ถนนทิมเหมย ในวันที่ 28 กันยายน ก่อนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในเย็นของวันเดียวกัน

วันที่ 28 กันยายน ถือได้ว่าเป็นวันที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการชุมนุม ตำรวจฮ่องกงปิดถนนทิมเหมยไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าใกล้อาคารศูนย์ราชการฮ่องกงได้ ในขณะที่ฝูงชนก็หลั่งไหลการเข้ามามากขึ้นจนเบียดเสียดกันเต็มพื้นที่ ในช่วงเวลาประมาณ 17.58 น. ตำรวจปราบจลาจลของฮ่องกงออกประกาศคำเตือนในการใช้แก๊สน้ำตา ก่อนจะเปิดฉากยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุม พร้อมกระจายเสียงผ่านรถกระจายเสียงให้ผู้ชุมนุมแยกย้ายกัน มิเข่นนั้นจะใชกระสุนยางยิงใส่ผู้ชุมนุม[31][32]

ผลของการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้ผู้ชุมนุมกระจายตัวออก และไปปักหลักชุมนุมยังพื้นที่และย่านเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นย่านวันจ๋าย (Wan Chai) ย่านคอสเวย์เบย์ (Causeway Bay) และย่านม๊กก๊ก (Mong Kok) ซึ่งมีผู้ชุมนุมในแต่ละย่านในช่วงแรกที่ละไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ก่อนจะขยายตัวออกไปเป็น 100,000 คน ในช่วงข้ามคืน

ทางสำนักงานตำรวจได้ออกแถลงต่อหน้าสื่อมวลชนว่า ในการสลายการชุมนุมในครั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้ใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างเต็มที่ และการดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับทุกอย่าง ในการนี้ทางตำรวจยืนยันการใช้แก๊สน้ำตาที่ 87 ครั้ง และรายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม 34 คน ในการประท้วงครั้งนี้

การชุมนุมขยายตัว

[แก้]

เมื่อโจชัว หว่อง ได้รับการปล่อยตัวแล้ว เขากับกลุ่มขบวนการนักศึกษาได้กล่าวต่อสาธารณชนว่าจะชุมนุมต่อไป โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม โจชัวกับแกนนำระดับสูงในกลุ่มสกรูราลิซึ่มได้แสดงอารยขัดขืนด้วยการยืนหันหลัง และไม่ร้องเพลงสรรเสริญต่อการชักธงชาติจีนขึ้นสู่ยอดเสา เนื่องในวันชาติจีน ในวันเดียวกันนี้สมาชิกสภาท้องถิ่นของเขตในพื้นที่ พอล ซิมเมอร์แมน (Paul Zimmerman) ได้ชูร่มสีเหลืองขึ้นเป็นการประท้วงภายหลังจากรัฐพิธีดำเนินไปแล้วเสร็จ[33][34] ต่อมาร่มสีเหลืองนี้จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของการชุมนุมในอนาคต

อเล็กซ์ โจว ขณะเป็นแกนนำนำการชุมนุมที่มีสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาฮ่องกงเป็นแกนนำหลักร่วมกับขบวนการยึดเซ็นทรัลในวันที่ 2 ตุลาคม

กลุ่มผู้ขุมนุมยึดหลายพื้นที่สำคัญในฮ่องกง ขบวนการนักศึกษาเริ่มปักหลักอยู่ที่สี่แยกถนนกวางตุ้ง และพื้นที่ของจิมซาจุ่ย ในขณะที่กลุ่มของยึดเซ็นทรัลได้ปักหลักอยู่ที่ย่านม๊กก๊กและคอสเวย์เบย์[35] ซึ่งในกลุ่มหลังนี้ได้มีการปะทะกับขบวนการอั้งยี่และมาเฟียฮ่องกงในวันที่ 3 ตุลาคม จนนำไปสู่การที่ตำรวจฮ่องกงใช้แก๊สน้ำตาในการสลายการชุมนุม อย่างไรก็ตามผู้ชุมนุมหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลฮ่องกงอาจอยู่เบื้องหลังการปะทะกันในครั้งนี้ ด้วยการสนับสนุนกลุ่มอั้งยี่และกลุ่มอันธพาลผิดกฎหมายให้มาโจมตีและทำร้ายผู้ชุมนุม[36] เพราะมผู้ชุมนุมหลายคนเห็นว่า หลังจากการที่ตำรวจจับกลุ่มพวกกลุ่มอันธพาลเหล่านั้น บางคนก็ได้รับการปล่อยตัวแทบจะในทันทีหลังจากที่โดนจับกลุ่ม[36][37]

ในช่วงเวลาต่อมา ในวันที่ 4 ตุลาคม เริ่มเห็นกลุ่มผู้ต่อต้านการชุมนุมและสนับสนุนรัฐบาลเริ่มลงถนน ประท้วงการกระทำผิดกฎหมายของพวกกลุ่มยึดเซ็นทรัลและขบวนการนักศึกษา กลุ่มผู้สนับสนุนนี้จะมีสัญลักษณ์คือการผูกริบบิ้นสีฟ้าเอาไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการให้กำลังใจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ[38] ซึ่งในขบวนการต่อต้านการประท้วงนี้ หลายคนได้ให้สัมภาษณ์และให้ความเห็นว่าพร้อมสนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการดำเนินตามกฎมาย รวมทั้งยินดีหากเห็นเจ้าหน้าที่ใช้กระสุนจริง หรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนจะเข้ามาแทรกแทรงสถานการณ์

ท่าทีของฝ่ายการเมืองในช่วงต้นเดือนตุลาคมค่อนข้างที่จะเสียงแตกเป็นอย่างมาก โดยสำหรับรัฐบาลฮ่องกงเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม และสถานที่ราชการทุกอย่างควรจะกลับมาทำงานได้ในวันจันทร์ ในขณะที่อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปไตย (Democratic Party) กล่าวให้ผู้ชุมนุมถอยลง เพราะสถานการณ์ตอนนี้ “สุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่อันตราย ทั้งสองฝ่ายควรจะมานั่งพูดคุยกัน เพื่อไม่ให้สถานการณ์ต้องจบลงด้วยการนองเลือด”[39]

ในขณะเดียวกัน มาตรการของทางตำรวจได้รุนแรงขึ้น เจมส์ โท สมาชิกสภานิติบัญญัติจากพรรคประชาธิปไตย ได้กล่าวประณามการกระทำของตำรวจฮ่องกง ที่นอกจากจะใช้มาตรการรุนแรงในการสลายฝูงชนและ ยังพยายามจัดตั้งผู้คนเพื่อให้มวลชนเผชิญหน้ากันเอง นอกจากนี้องค์การสื่อมวลชนและสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศของสมาคมนักข่าวฮ่องกงก็กกล่าวประณามอย่างรุนแรงต่อมาตรการของตำรวจฮ่องกง อันเป็นผลจากมาตรการสลายการชุมนุม ตำรวจได้มีการยิงแก็สน้ำตาและใช้กำลังกับผู้สื่อข่าวที่รายงานเหตุสถานการณ์การชุมนุมอย่างใกล้ชิด

ในช่วงวันที่ 5-9 ตุลาคม สถานการณ์บนท้องถนนค่อนข้างที่จะทรงตัว และมีแนวโน้มที่จะกลับไปในทิศทางที่ดีขึ้น ท่ามกลางข่าวสถานการณ์ว่าตำรวจจะใช้มาตรการที่รุนแรงในการสลายการชุมนุม แต่แกนนำนักศึกษา อเล็กซ์ โจว (Alex Chow) ได้ประกาศว่า จะมีการเจรจากับทางตัวแทนของรัฐบาล แครี่ ลัม ซึ่งในระหว่างนี้รัฐบาลจะรับประกันความปลอดภัยของผู้ชุมนุมก่อนที่การเจรจาพูดคุยจะเกิดขึ้น[40]

แต่เมื่อเข้าสู่วันที่ 9 ตุลาคม มวลชนที่เริ่มคลี่คลายตัวอันเกิดมาจากสถานการณ์ที่ดีขึ้น เริ่มกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง หลังจากที่อเล็กซ์ โจวกล่าวกับมวลชนว่า ตัวแทนรัฐบาลจะยกเลิกการพูดคุยกับผู้ชุมุนมในวันที่ 10 ตุลาคม[41] แครี่ ลัม กล่าวต่อสื่อมวลชนว่า “เราไม่สามารถยอมรับการพูดคุยหรือมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่ดำเนินอย่างผิดกฎหมายได้ การพิจารณาอย่างรอบคอบของรัฐบาลนี้เป็นเพื่อรักษากฎหมายของฮ่องกงเอาไว้”"[42] หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า เป็นผลมาจากมวลชนที่ลดลงหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย รัฐบาลจึงมองว่าไม่จำเป็นต้องมีการเจรจาอีกต่อไป สิ่งนี้ทำให้มวลชนโกรธเป็นอย่างมาก องค์กรนักศึกษาเรียกระดมพลอีกครั้ง และฝูงชนกลับมาเต็มถนนอย่างแน่นขนัดตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมเป็นต้นไป ผู้ประท้วงหลายพันคนตั้งเต็นท์ปักหลักอยู่เต็มถนน Harcourt พร้อมกับบูธพยาบาลและบูธอาหารคอยให้ความช่วยเหลือฝูงชนที่เข้าร่วมการชุมนุม

ฝูงชนปักหลักอยู่ที่ถนน Harcourt อยู่เกือบ 2 วัน ตำรวจฮ่องกงก็เริ่มมาตรการกระชับพื้นที่ โดยให้เหตุผลว่า “เป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน” และทางตำรวจเริ่มกีดกันสื่อมวลชนเข้าสู่พื้นที่โดยให้เหตุผลป้องกันอันตรายจากการสลายการชุมนุม เมื่อเข้าสู่วันที่ 13 ตุลาคม แนวรั้วและเครื่องกีดขวางของผู้ชุมนุมที่ปักหลักอยู่ที่ถนน Harcourt ถูกโจมตีโดยกลุ่มชนไม่ทราบฝ่าย ที่เข้ามาทำร้ายฝูงชนและได้พยายามรื้อเครื่องกีดขวางของกลุ่มผู้ชุมนุม ฝูงชนได้ปะทะและขับไล่กลุ่มคนไม่ทราบฝ่ายนี้ออกไป และได้ซ่อมเครื่องกีดขวางของฝูงชนกลับมาอีกครั้ง ฝูงชนและสื่อฝ่ายประชาธิปไตยตั้งคำถามถึงตัวตนของกลุ่มคนไม่ทราบฝ่าย ว่าเป็นกลุ่มอันธพาล อั้งยี่และมาเฟียที่ตำรวจฮ่องกงจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ปะทะกับผู้ชุมนุม

ตลอดช่วงวันที่ 13-15 ตุลาคม ตำรวจพยายามสลายการชุมนุมและรื้อเครื่องกีดขวางเพื่อเปิดการจราจรในพื้นที่ต่างๆ ในช่วงเวลานี้ฝูงชนพยายามกลับไปปักหลักอยู่ที่บริเวณศูนย์ราชการ และรวมตัวกันเพื่อต้านมาตรการสลายการชุมนุมของตำรวจ

ในช่วงที่ตำรวจใช้มาตรการรุนแรงในการสลายการชุมนุมในครั้งนี้ มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นเมื่อโทรทัศน์ท้องถิ่น TVB ได้เผยแพร่ภาพการทำร้ายร่างกายนายเคน ซาง (Ken Tsang) สมาชิกพรรค Civic Party ด้วยการต่อย เตะ และกระทืบเป็นเวลาร่วมประมาณ 4 นาที[43][44][45] ก่อนจะเผยแพร่บทความอีกมากมายถึงการทำร้ายนักข่าวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ การทำร้ายร่างกายของตำรวจในครั้งนี้กลายเป็นที่วิจารณ์อย่างเป็นวงกว้าง มวลชนทั้งในโลกจริงและโลกออนไลน์เรียกร้องให้มีการถอดถอนตำรวจกลุ่มนี้ และให้ดำเนินคดีทำร้ายร่างกายแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ แรงกดดันเหล่านี้ทำให้เลขาธิการฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลฮ่องกง ไหล่ ตงก๊ก (Lai Tung Kwok) ได้ออกแถลงการณ์ว่าได้พักราชการเจ้าหน้าที่ที่ก่อเหตุเอาไว้ก่อน และจะดำเนินการสอบสวน หากพบว่าผิดจริงก็จะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด"[43]

อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของเดือนตุลาคม การเผชิญหน้าของมวลชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงอยู่ในภาวะตึงเครียดอย่างต่อเนื่อง ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเกิดการเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุม พยายามถอดรื้อสิ่งกีดขวางของผู้ชุมนุมที่ปิดกั้นพื้นที่เอาไว้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่และกลุ่มอันธพาลมาเฟียฮ่องกงยังเปิดฉากทำร้ายผู้ชุมนุมตามมุมตึก อาคารต่างๆ ความรุนแรงยังทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่เริ่มดำเนินการจับกุมผู้ชุมนุม โดยสัปดาห์ที่ 19-26 ตุลาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงกว่า 37 คน และมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะเกือบ 70 คน

ความตึงเครียดของการชุมนุมที่เกิดขึ้นตามย่านเศรษฐกิจสำคัญของฮ่องกง สร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลให้เปิดฉากการเจรจากับผู้ชุมนุม ในวันที่ 21 ตุลาคม รัฐบาลฮ่องกงและสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาฮ่องกงตกลงที่จะทำการเจรจากันผ่านการดีเบทในรายการโทรทัศน์ ที่เปิดให้คนฮ่องกงโดยทั่วไปได้รับชม แกนนำหลักที่เจรจากันคืออเล็ก โจว เลขาธิการสมาพันธ์นิสิตนักศึกษา กับตัวแทนรัฐบาล แครี่ ลัม หัวหน้าคณะรัฐมนตรี การพูดคุยเจรจาเป็นไปได้ด้วยดี ทางตัวแทนรัฐบาลเสนอว่า จะทำแผนที่ว่าด้วยข้อกังวลของขบวนการนักศึกษาเสนอไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อให้พิจารณาอีกรอบ แม้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกปัดตก แน่นอนว่ารัฐบาลกล่าวผ่านสื่อมวลชนว่าการเจรจาเรียบร้อยดี แต่สำหรับขบวนการนักศึกษาผิดหวังกับท่าทีของรัฐบาล และมองว่าสิ่งที่รัฐบาลทำนั้นคลุมเคลือ และเป็นเพียงแค่การประวิงเวลาเท่านั้น[46]

ผู้ชุมนุมเอาแผ่นผ้าขนาดใหญ่ ที่มีข้อความที่แสดงถึงข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม ไปติดบนภูเขาสิงโต อันเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของฮ่องกง

การชุมนุมภายนอกยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 23 ตุลาคม ฝูงชนบางส่วนได้ไปบนยอดเขาสิงโต (Lion Rock) เพื่อติดป้ายผ้าประท้วงขนาดใหญ่ที่เขียนว่า “เราต้องการสิทธิในการเลือกตั้ง” ซึ่งสามารถเห็นไปได้ไกลถึงเกาลูน ช่วงนี้ทางขบวนการนิสิตนักศึกษาพยายามเรียกร้องให้มีการเจรจารอบสอง โดยอยากเจรจาโดยตรงกับ หลี่ เคอเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน[47] แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลฮ่องกง และมองว่าเป็นการกระทำที่เกิดขอบเขตมากเกินไป

ส่วนท่าทีของรัฐบาลนั้น แม้ว่าผู้บริหารสูงสุดของเกาะฮ่องกงในขณะนั้น เหลียง ชุนหยิง จะปฏิเสธการลาออกและมองว่าการลาออกของตัวเองจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ไปก็ตาม แต่ก็มีแรงกดดันจากพรรคที่สนับสนุนจีนบางพรรคออกตัวบีบให้ผู้บริหารสูงสุดในขณะนั้นลาออก[48] ด้วยเหตุผลที่ว่า เหลียงไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ให้สงบได้โดยเร็ว และการลาออกของเหลียงอาจะทำให้การชุมนุมยุติลงได้

ปฏิกิริยาโต้กลับ

[แก้]

เมื่อเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน สิ่งที่กลุ่มผู้ชุมนุมพบเจอคือกระแสการต่อต้านจากมวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลจีนทั้งทางตรง คือ กลุ่มอันธพาลและกลุ่มอิทธิพลมืดในฮ่องกงที่ร่วมมือกับตำรวจฮ่องกงคอยดักทำร้ายผู้ชุมนุมอยู่เนืองๆ กับอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มผู้สนับสนุนจีนที่ทำแคมเปญเรียกร้องในการคืนพื้นที่สาธารณะจากการชุมนุมที่ปักหลักยืดเยื้อมามากกว่า 6 สัปดาห์ มีรายงานว่ากลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับผู้ชุมนุมสามารถรรวมกลุ่มกันได้มากกว่า 1.8 ล้านคน[49][50] เสนอชื่อต่อรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมคืนพื้นที่สาธารณะและให้ตำรวจบังคับใช้กฎหมายกับผู้ชุมนุมให้ถึงที่สุด

ในช่วงวันที่ 10 ศาลสูงฮ่องกงรับเรื่อง และออกคำสั่งให้กิจการการคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการเดินรถแท็กซี่ หรือรถเมล์ประจำทางสามารถดำเนินต่อไปได้ และผู้ชุมนุมที่ปิดถนนสาธารณะต้องให้ทางรถเหล่านี้ หากจำเป็นศาลให้อนุญาตบริษัทเอกชนเหล่านั้นในการเคลียร์ผู้ชุมนุมให้พ้นทางได้ ในส่วนของความเคลื่อนไหวจากรัฐบาล แครี่ หลัม ได้ประกาศว่าจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับผู้ชุมนุม และจะไม่มีการเจรจากับผู้ชุมนุมอีกต่อไป[51]

เมื่อทางรัฐบาลยกระดับมาตรการจัดการ ทางผู้ขุมนุมเองก็ยกระดับการชุมนุมด้วย การปักหลักในเวทีใหญ่มีอยู่สองจุดคือแถวม๊กก๊ก กับบริเวณศูนย์ราชการฮ่องกง ซึ่งในแต่ละจุดมีการตั้งแนวล้อมรอบเวทีการชุมนุม ในการนี้ขบวนการนักศึกษาที่นำโดยอเล็กซ์ โจว ประกาศว่าสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาฮ่องกงได้เขียนจดหมายเพื่อส่งถึงผู้แทน 35 คนในสภาประชาชนแห่งชาติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อเรียกร้องของคนฮ่องกง ในขณะเดียวกันก็เตรียมที่จะยกระดับการชุมนุมไปยังปักกิ่ง ในการประชุมสุดยอดเอเปกปักกิ่งในปี 2557[52] อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลได้รับทราบข่าวเรื่องนี้ก็พยายามสกัดไม่ให้กลุ่มนักศึกษาเดินทางไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ โดยการระงับใบอนุญาติเดินทางเข้าจีนของพวกเขาเอาไว้ชั่วคราว[53]

การประท้วงยังคงยกระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 19 พฤศจิกายน กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณศูนย์ราชการ ได้บุกเข้าไปในอาคารสภานิติบัญญัติฮ่องกง โดยการฝ่าเจ้าหน้าที่และได้ทุบกระจกเข้าไป[54] และต่อมาในวันที่ 21 ฝูงชนจำนวนมากก็รวมตัวกันไปประท้วงอยู่ที่หน้าสถานกงสุลอังกฤษประจำฮ่องกง เรียกร้องให้อังกฤษกดดันจีนในการปกป้องเสรีภาพของฮ่องกง ที่จีนได้ละเมิดข้อตกลงที่ทำเอาไว้กับอังกฤษในปฏิญญาร่วมกัน[55]

การเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในย่านม๊กก๊ก

ทว่าพื้นที่ที่ความตึงเครียดรุนแรงที่สุดคือพื้นที่ม๊กก๊ก พื้นที่นี้คือเวทีชุมนุมหลักของกลุ่มสกรูราลิซึ่ม ที่มีโจชัว หว่อง เป็นแกนนำ[56] โดยนับตั้งแต่ วันที่ 26 พฤศจิกายนเป็นต้นมา การเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมสนับสนุนประชาธิปไตยกับตำรวจและกลุ่มผู้ชุมนุมที่สนับสนุนรัฐบาลจีนได้เริ่มตึงเครียดกันมากขึ้น มีการปะทะกันของมวงชนสองฝั่ง และตำรวจก็พยายามเข้าเคลียร์พื้นที่ของผู้ชุมนุม โดยมีการเกณฑ์ตำรวจควบคุมฝูงชนเข้ามาในพื้นที่นี้มากกว่า 4,000 คน และมีการใช้แก๊สน้ำตาในการสลายการชุมนุม และจับกุมผู้ชุมนมกว่าหนึ่งร้อยคน การปะทะรุนแรงขึ้นมากในวันที่ 30 พฤศจิกายน และขยายตัวไปยังพื้นที่ต่างๆ เช่น ศูนย์ราชการฮ่องกง ในช่วงนี้โจชัว หว่องและแกนนำของขบวนการนักศึกษาอื่นๆ ได้ประกาศอดอาหารประท้วงจนกว่าปัญหาจะคลี่คลาย[57]

เมื่อเข้าสู่เดือนธันวาคม การพยายามกระชับพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงดำเนินต่อไป ท่ามกลางความเหนื่อยล้าของผู้ชุมนุมในการชุมนุมที่เผชิญหน้ากับการปะทะอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาเรื่องความปลอดภัยและการปะทะกันอย่างบ่อยครั้งของผู้ชุมนุม ทำให้แกนนำบางส่วนโดยเฉพาะนักการเมืองและกลุ่มยึดเซ็นทรัลได้มอบตัวกับเจ้าหน้าที่ ทำให้เมื่อเข้าสู่เดือนธันวาคมกลุ่มผู้ประท้วงหลักจึงเหลือแต่เพียงขบวนการนักศึกษา ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินหน้าใช้กำลังเพื่อจับกุมและสลายการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 11 ธันวาคม ตำรวจได้ขีดเส้นตายให้ผู้ชุมนุมสลายการชุมนุมภายในวันนี้ ฝูงชนบางส่วนเลือกที่จะกลับแต่ก็ยังมีบางส่วนที่ต่อต้าน ซึ่งนำไปสู่การใช้กำลังจับกุมผู้ชุมนและแกนนำชุมนุมกว่า 209 คน[58][59][60] จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เดินหน้าเข้าสลายการชุมนุมในพื้นที่ต่างๆ จนเหตุการณ์สงบลงได้ในวันที่ 15 ธันวาคม[61][62]

บริษัทเดินรถเอกชนแห่งหนึ่งในฮ่องกง เข้าเคลียร์พื้นที่บริเวณถนน Connaught เพื่อทำการเดินรถหลังเจ้าหน้าที่กระชับพื้นที่ขับไล่ผู้ชุมนุมออกจากถนนไปแล้ว ในช่วงเดือนธันวาคม

ผลของการประท้วงที่นานกว่า 3 เดือนนี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรฮ่องกงมากนัก รัฐบาลไม่ได้ทำอะไรเป็นรูปธรรม แต่อย่างน้อยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนำไปสู่การเติบโตของกระแสประชาธิปไตยในฮ่องกง ตลอดจนกระแสการเรียกร้องเอกราชให้กับฮ่องกงเช่นเดียวกัน

ผลกระทบจากการชุมนุม

[แก้]

ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ

[แก้]

ผลจากการชุมนุมปิดท้องถนนที่กินระยะเวลาร่วมสามเดือนในครั้งนี้ ได้ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจในฮ่องกงตามมา เพราะการชุมนุมที่เกิดขึ้นปักหลักยึดพื้นที่ถนนในย่านเศรษฐกิจสำคัญของเมือง ทำให้เมืองเป็นอัมพาต การเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างถนนมีปัญหา การปิดถนนและการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ชุมนุมนำไปสู่ปัญหาการจราจรติดขัด[63] และรายได้ที่ลดลงของบริการขนส่งสาธารณะ สมาคมเจ้าของแท็กซี่ฮ่องกงรายงานว่า รายได้ของคนขับรถแท็กซี่ภายในเมืองลดลงกว่าร้อยละ 30 และไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นคืนมาได้[64] อันสืบเนื่องจากปัญหาการจราจรและนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากปัญหาทางการเมือง โดยสำนักข่าวหลายสำนักรายงานว่า ผลจากการประท้วงทำให้นักท่องเที่ยวหดหาย และนักลงทุนกังวลในสถานการณ์การเมืองและระงับการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจฮ่องกงสูญเสียรายได้ไปกว่า 4 หมื่นล้านดอลล่าร์ฮองกง

ผลกระทบต่อสังคมคนฮ่องกง

[แก้]
กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลจีน เป็นคู่ขัดแย้งสำคัญกับกลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนประชาธิปไตย โดยเป็นพลังเคลื่อนไหวที่คอยปะทะกับกลุ่มผู้ปรท้วงประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้งในช่วงการชุมนุม

การประท้วงที่เกิดขึ้นในปีนี้ได้ส่งผลกระทบทางความคิดอย่างรุนแรงต่อคนฮ่องกง สังคมฮ่องกงกลายเป็นสังคมที่มีการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างชัดเจน ระหว่างคนที่สนับสนุนประชาธิปไตยกับสนับสนุนรัฐบาลจีน ความขัดแย้งจากการแบ่งขั้วทางการเมืองนี้ นำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ของคนในสังคม ผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะตัดเพื่อนหรือตัดความสัมพันธ์กับคนรู้จักได้ในทันทีหากมีแนวทางอุดมการณ์การเมืองที่แตกต่างกัน ในโลกโซเชี่ยลมีเดียเป็นสิ่งที่ชัดเจนถึงบรรยากาศแบบนี้ ผู้คนเลือกที่จะมีเพื่อนที่อยู่ในขั้วทางการเมืองเดียวกัน และลบเพื่อนที่มีแนวทางทางการเมืองต่างออกไป แม้ว่านั่นจะเป็นญาติของตัวเองก็ตาม


อ้างอิง

[แก้]
  1. Tai, Benny (4 December 2014). "What Next for Hong Kong?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  2. "Hong Kong protesters reach new heights with democracy banner on Lion Rock". Deutsche Welle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015.
  3. Sevastopulo, Demetri (27 September 2014). "Hong Kong group launches civil disobedience campaign". Financial Times. CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  4. "Beijing fears compromise with Hong Kong protesters: US scholar". Want China Times. 7 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015.
  5. "Young Hong Kongers seek new path in democracy battle". Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2015.
  6. Lau, Kenneth; Cheng, Kevin (22 October 2014). "New Occupy report to Beijing promised". The Standard. Hong Kong. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
  7. "Hong Kong cyber attacks spiked during Occupy Central, academic's study finds". 2015-02-26.
  8. Hong, Brendon (2014-06-18). "Hackers Attack Hong Kong Pro-Democracy Websites". The Daily Beast.
  9. Iyengar, Rishi (4 October 2014). "Hong Kong Government Accused of Using Triads to Attack Student Protesters". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015.
  10. "高永文:因佔領而求診逾470宗急症室有壓力". Apple Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
  11. "955 arrested for Occupy offences". Government of Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
  12. "全国人民代表大会常务委员会关于香港特别行政区行政长官普选问题和2016年立法会产生办法的决定". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-03. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  13. Cheung, Tony (31 August 2014). "Hong Kong's candidate nominating system out of balance, says Beijing scholar". South China Morning Post.
  14. "Thousands of Hong Kong students start week-long boycott". BBC News. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
  15. "Scholarism's Joshua Wong released at High Court judge's instruction". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.
  16. "Hong Kong democracy protesters enter government complex". BBC News. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  17. "Hong Kong police clear pro-democracy protesters". BBC News. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  18. "Police clear final Hong Kong protest site at Causeway Bay". BBC News.
  19. Mia Lamar And Isabella Steger (15 December 2014). "Hong Kong Police Clear Last Protest Site". The Wall Street Journal.
  20. "Basic Law, Chapter IV, Section 4". Basic Law Promotion Steering Committee. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2014.
  21. Russell, Peter H.; O'Brien, David M. (2001). Judicial Independence in the Age of Democracy: Critical Perspectives from around the World. University of Virginia Press. p. 306. ISBN 978-0-8139-2016-0.
  22. The Hong Kong Special Administrative Region Government (2013). Methods for Selecting the Chief Executive in 2017 and for Forming the Legislative Council in 2016 Consultation Document (PDF). p. 3.
  23. HK basic law web pdf. "HK basic law." The Basic Law of the Hong Kong Special Administrative region of the People's Republic of China. Retrieved 8 January 2007.
  24. 24.0 24.1 Buckley, Chris; Forsythe, Michael (31 August 2014). "China Restricts Voting Reforms for Hong Kong". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2015.
  25. "Hong Kong Protesters Agitating Against China's Volte-Face Arrested". International Business Times. 2 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2014.
  26. "Scholarism will organise a one-day class boycott for secondary school students on September 26". Young Post. 22 September 2014. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kong
  28. Jacobs, Harrison (27 September 2014). "REPORT: Hong Kong's 17-Year-Old 'Extremist' Student Leader Arrested During Massive Democracy Protest". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2015.
  29. "Hong Kong 'Occupy' leader Benny Tai admits protest out of control amid traffic paralysis". The Straits Times. 28 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2014.
  30. Steger, Isabella (27 September 2014). "Occupy Central Launches Hong Kong Protest Campaign". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2015.
  31. 罕有使用真汽油彈 防暴演練 警隨時向示威者開槍 Apple Daily. 26 July 2014.
  32. "博訊:港特首等5人策劃開槍 準備死500人". Taiwan Apple Daily. 30 September 2014.
  33. "Paul Zimmerman: 'Why I took umbrella to China National Day in HK'". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2015.
  34. "Hong Kong lawmaker Paul Zimmerman talks to the media while holding a yellow umbrella, a symbol of the Hong Kong pro-democracy movement, at the reception to mark China's National Day in Hong Kong on October 1, 2014". Yahoo News. 1 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2015. สืบค้นเมื่อ 6 October 2014.
  35. "Hong Kong students vow stronger protests if leader stays". BBC News. 1 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2015.
  36. 36.0 36.1 Tania Branigan, David Batty and agencies (4 October 2014). "Hong Kong legislator says government using triads against protesters". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 September 2016.
  37. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ underworld
  38. South China Morning Post – DAY SEVEN: Full coverage (10 am)
  39. South China Morning Post – DAY SEVEN: Full coverage (5.05 pm)
  40. "Legal and political heavyweights unite in call for end to protests". South China Morning Post. 5 October 2014. สืบค้นเมื่อ 12 October 2014.
  41. "Hong Kong 'calls off student talks'". BBC News. 9 October 2014. สืบค้นเมื่อ 9 October 2014.
  42. Denyer, Simon (9 October 2014). "Hong Kong government backs out of talks; students vow new protests". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 9 October 2014.
  43. 43.0 43.1 "Hong Kong authorities vow to probe alleged police beating at protest". CNN. 15 October 2014. สืบค้นเมื่อ 15 October 2014.
  44. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 20141015timekentsang
  45. Weaver, Jonathan Kaiman Matthew (15 October 2014). "Hong Kong police beat protester in violent crackdown on demonstrations". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 5 September 2016.
  46. "Government's response to dialogue with HKFS". Government of Hong Kong. 21 October 2014. สืบค้นเมื่อ 23 October 2014.
  47. 學聯發公開信 提對話二前提 [Federation of Students sends a letter naming two prerequisites]. Hong Kong Economic Journal (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2014. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.
  48. Forsythe, Michael (24 October 2014). "Pro-Beijing lawmaker urges hong kong leader to consider quitting". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
  49. "Petition against democracy movement in Hong Kong collects more than 1.8 million signatures". The Straits Times. 4 November 2014. สืบค้นเมื่อ 12 November 2014.
  50. Ng, Joyce (10 July 2014). "Questions raised over credibility of planned anti-Occupy signature campaign". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  51. "Hong Kong protesters face arrest after court rules on evictions". The Guardian. Associated Press. 11 November 2014. สืบค้นเมื่อ 11 November 2014.
  52. Lamar, Mia; Steger, Isabella (30 October 2014). "Hong Kong Students Consider Taking Protest to Beijing". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 5 September 2016.
  53. Ng, Joyce; Nip, Amy; Lau, Stuart (15 November 2014). "Beijing bans student leaders from taking trip to mainland to press for democracy". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 30 November 2014.
  54. "Protesters clash with police at Hong Kong legislature". BBC. 19 November 2014. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  55. "Hong Kong democracy activists protest outside British consulate". Agence France-Presse. 21 November 2014. สืบค้นเมื่อ 23 November 2014.
  56. "Hong Kong student leaders arrested as police attempt to clear protest zone". The Guardian. 26 November 2014. สืบค้นเมื่อ 26 November 2014.
  57. Sala, Ilaria Maria; Kaiman, Jonathan (1 December 2014). "Hong Kong protest leader Joshua Wong goes on hunger strike". The Guardian.
  58. South China Morning Post – DAY 64: Full coverage (10.40 pm)
  59. "【金鐘清場】警方共拘209人 籲佔銅者盡快離開". Apple Daily. 11 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2014. สืบค้นเมื่อ 11 December 2014.
  60. "Hong Kong protests: Arrests as Admiralty site is cleared". BBC News. BBC. 11 December 2014. สืบค้นเมื่อ 11 December 2014.
  61. "Police clear final Hong Kong protest site at Causeway Bay". BBC News. 15 December 2014.
  62. Mia Lamar And Isabella Steger (15 December 2014). "Hong Kong Police Clear Last Protest Site". The Wall Street Journal.
  63. "Hong Kong residents slowly losing patience with protests". สืบค้นเมื่อ 28 October 2014.
  64. Alex Davis (20 October 2014). "Hong Kong Court Bans Occupations as Police Warn of Riot". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 28 October 2014.