เพลงชาติเม็กซิโก
คำแปล: เพลงชาติเม็กซิโก | |
---|---|
Himno Nacional Mexicano | |
เอกสารต้นฉบับโน้ตเพลงชาติเม็กซิโก พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) | |
ชื่ออื่น | เมฆิกาโนสอัลกริโตเดเกร์รา |
เนื้อร้อง | ฟรันซิสโก กอนซาเลซ โบกาเนกรา, ค.ศ. 1853 |
ทำนอง | ไฆเม นูโน, ค.ศ. 1854 |
รับไปใช้ | 16 กันยายน ค.ศ. 1854 ค.ศ. 1943 |
ตัวอย่างเสียง | |
เพลงชาติเม็กซิโก (บรรเลง) |
เพลงชาติเม็กซิโก (สเปน: Himno Nacional Mexicano) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) เนื้อร้องของเพลงนี้ เป็นบทกวีที่กล่าวถึงชัยชนะของชาวเม็กซิโกในสงครามอันรุนแรง และสัจจะวาจาของพวกเขาที่จะพิทักษ์บ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ซึ่งได้ประพันธ์ขึ้นโดยกวีชื่อ ฟรันซิสโก กอนซาเลซ โบกาเนกรา (Francisco González Bocanegra) เมื่อ ค.ศ. 1853 (พ.ศ. 2396) ต่อมาไฆเม นูโน (Jaime Nunó) จึงได้เรียบเรียงดนตรีประกอบบทกวีของกอนซาเลซใน ค.ศ. 1854 (พ.ศ. 2397) ผลงานดังกล่าวนี้ได้เริ่มใช้เป็นเพลงชาติครั้งแรกในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1854 ประกอบด้วยบทร้องทั้งหมด 10 บท และท่อนแยกประสานเสียงอีก 1 บท ส่วนของเนื้อร้องนั้นได้มีการแก้ไขหลายครั้งเนื่องจากความผันผวนทางการเมือง จนกระทั่งเมื่อมีการรับรองเพลงนี้เป็นเพลงชาติเม็กซิโกอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) เนื้อร้องเพลงชาติที่บังคับใช้จึงไม่มีการแก้ไขดัดแปลงใด ๆ อีกเลย
ในบางครั้ง จะมีการเรียกชื่อเพลงชาติเม็กซิโกอย่างไม่เป็นทางการว่า เมฆิกาโนสอัลกริโตเดเกร์รา (สเปน: Mexicanos, al grito de guerra) หรือ "ชาวเม็กซิโกทั้งหลาย, ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของสงคราม" ซึ่งชื่อดังกล่าวนี้มาจากวรรคแรกในเนื้อร้องท่อนประสานเสียงของเพลงนี้
การประกวดเพลงชาติ
[แก้]การประกวดเนื้อร้อง
[แก้]การประกวดบทร้องของเพลงชาติเม็กซิโกได้มีขึ้นตามประกาศของประธานาธิบดีอันโตนิโน โลเปซ เด ซันตา อันนา เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1853 โดยบทกวีที่แสดงออกถึงความรักชาติได้ดีที่สุดจะได้รับเลือกให้เป็นบทร้องของเพลงชาติ ฟรันซิสโก กอนซาเลซ โบกาเนกรา ซึ่งกวีผู้มีความสามารถและเป็นผู้ประพันธ์บทร้องเพลงชาติเม็กซิโกที่ใช้ในทุกวันนี้ ในชั้นแรกเขาไม่ได้สนใจที่จะเข้าร่วมการประกวดดังกล่าว โดยอ้างว่าการเขียนบทกวีที่กล่าวถึงความรักนั้นใช้ความสามารถมากยิ่งกว่าการเขียนเพลงชาติ แต่คู่หมั้นของเขาซึ่งมีชื่อว่า กัวดาลูเป กอนซาเลซ เดล ปิโน (Guadalupe González del Pino) เชื่อมั่นในความสามารถของเขาและรู้สึกไม่พอใจที่เขาไม่คิดเข้าร่วมประกวดครั้งนี้ ทั้ง ๆ ที่เธอก็ได้รับแรงสนับสนุนและคำร้องขอจากเพื่อนของโบกาเนกราอยู่เสมอ เธอจึงได้ลวงให้โบกาเนกราเข้าไปอยู่ในห้องนอนในบ้านของพ่อแม่เธอแล้วจัดการขังเขาไว้ในห้อง พร้อมทั้งตั้งเงื่อนไขว่าจะไม่ยอมให้เขาออกจากห้องจนกว่าจะเขียนบทกวีเพื่อการประกวดเพลงชาติสำเร็จ
ภายในห้องซึ่งโบกาเนกราถูกขังไว้ชั่วขณะนั้น มีภาพต่าง ๆ ที่บอกเล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของประเทศเม็กซิโกประดับอยู่หลายภาพ กลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในผลงานของเขา เขาใช้เวลาสี่ชัวโมงในการใช้จินตนาการอย่างคล่องแคล่ว (แม้ว่าจะถูกบังคับก็ตาม) เขียนบทกวีเพลงชาติทั้งสิบบทและส่งออกมาให้คู่หมั้นของเขาที่ใต้ประตู และได้รับอิสรภาพในที่สุด หลังจากนั้นเมื่อได้รับความเห็นพ้องจากคู่หมั้นและบิดาของเธอแล้ว โบกาเนกราจึงได้ส่งบทกวีชิ้นนี้เข้าประกวดและชนะเลิศการประกวดด้วยคะแนนเสียงอย่างเป็นเอกฉันท์[1] ฟรันซิสโก กอนซาเลซ โบกาเนกรา ได้รับการประกาศชื่อเป็นผู้ชนะการประกวดในวารสารข่าวราชการแห่งสหพันธรัฐ (Diario Oficial de la Federación) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1854
การประกวดทำนองเพลง
[แก้]ในช่วงเวลาเดียวกับการเลือกบทร้องเพลงชาติ ก็ได้มีการเลือกทำนองเพลงชาติด้วยเช่นกัน ทำนองเพลงที่ได้รับเลือกในครั้งนั้นเป็นผลงานการประพันธ์ของฆวน โบเตซินิ (Juan Bottesini) แต่ผลงานนี้ถูกปฏิเสธไปเนื่องจากปัญหาทางสุนทรียภาพ ทำให้ต้องมีการประกวดทำนองเพลงชาติขึ้นเป็นครั้งที่สอง เพื่อสรรหาทำนองเพลงสำหรับบทร้องของโบกาเนกรา[2] เมื่อสิ้นสุดการประกวด ปรากฏว่าผลงานทำนองเพลงที่ได้รับเลือกครั้งนี้เป็นผลงานการประพันธ์ของไฆเม นูโน (Jaime Nunó) หัวหน้าวงดนตรีชาวแคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน ซึ่งในขณะที่มีการประกวดทำนองเพลงชาติครั้งที่ 2 นั้น นูโนเป็นหัวหน้าวงโยธวาทิตของเม็กซิโกอยู่หลายวง เขาได้รับการเชิญให้มาทำการควบคุมวงดนตรีเหล่านี้จากประธานาธิบดีซันตา อันนา เมื่อครั้งที่ทั้งสองคนได้พบกันที่ประเทศคิวบา และเมื่อนูโนเริ่มเข้ามาคุมวงดนตรีในเม็กซิโกนั้น เป็นช่วงที่ประธานาธิบดีซันตา อันนาได้ออกประกาศเกี่ยวกับการสร้างเพลงชาติ ซึ่งจากผลงานการประพันธ์ดนตรีที่เข้าร่วมการประกวดครั้งนี้ที่มีไม่มากนัก ผลงานของนูโน ซึ่งมีชื่อว่า "พระเจ้าและเสรีภาพ" (Dios y libertad) ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดครั้งนี้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1854[3]
เพลงชาติเม็กซิโกทั้งบทร้องและทำนองข้างต้น ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเมื่อวันที่ 16 กันยายน ปีเดียวกัน อันเป็นวันคล้ายวันประกาศเอกราชของเม็กซิโก ซึ่งได้มีการขับร้องและบรรเลงครั้งแรก ณ โรงละครซันตาอันนา (ปัจจุบันคือโรงละครแห่งชาติของประเทศเม็กซิโก) อำนวยการบรรเลงเพลงครั้งแรกโดยฆวน โบเตซินิ ขับร้องโดยเคลาเดีย โฟลเรนตี (Claudia Florenti) นักร้องเสียงโซปราโน และโลเรนโซ ซัลวี (Lorenzo Salvi) นักร้องเสียงเทเนอร์ [4][2]
บทร้อง
[แก้]ฉบับ ค.ศ. 1849
[แก้]เพลงชาติเม็กซิโก (ค.ศ. 1849) | |
---|---|
ภาษาสเปน | คำแปล |
บทประสานเสียง | |
Truenen, truenen el cañón, que el acero |
ฟ้าร้องเอ๋ย ฟ้าร้อง จงยิงปืนใหญ่ให้เหล็กอันขงแข็ง |
บทที่ 1 | |
Llora un pueblo infeliz su existencia |
ผู้คนที่ไม่มีความสุขก็เสียใจกับการดำรงอยู่ของพวกข้า |
บทที่ 2 | |
Se remonta a las nubes el Águila, |
นกอินทรีเอย มันทะยานเข้าสู่เมฆอันสีขาว |
บทที่ 3 | |
Si su brillo, un instante empañara, |
หากความสว่างไสวของเรา ทำให้มัวหมองในทันทีเอย |
ฉบับราชการ
[แก้]บทร้องเพลงชาติเม็กซิโกซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2486 ประกอบด้วยบทร้องประสานเสียง บทที่ 1 บทที่ 5 บทที่ 6 และบทที่ 10 ของบทร้องเพลงชาติฉบับแรกสุด ซึ่งการแก้ไขบทร้องเพลงชาตินี้ ดำเนินการภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีมานูเอล อาบิลา กามาโช (Manuel Ávila Camacho)[5] หากมีการบรรเลงเพลงชาติเม็กซิโกในการแข่งขันกีฬา จะขับร้องเฉพาะบทร้องประสานเสียง บทร้องบทที่ 1 และบทร้องประสานเสียง ส่วนการบรรเลงเพลงนี้เป็นสัญญาณการเปิดและปิดสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ ในบางครั้งจะไม่ขับร้องเพลงชาติเต็มเพลง จะขับร้องเฉพาะบทร้องประสานเสียง - บทที่ 1 - บทร้องประสานเสียง - บทที่ 10 - และบทร้องประสานเสียง ตามลำดับ
เพลงชาติเม็กซิโก (ฉบับราชการ) | |
---|---|
ภาษาสเปน | คำแปล |
บทประสานเสียง | |
Mexicanos, al grito de guerra |
ชาวเม็กซิโกทั้งหลาย ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของสงคราม |
บทที่ 1 | |
Ciña ¡oh Patria! tus sienes de oliva |
มาตุภูมิเอย ! จงคาดศีรษะของเธอด้วยช่อมะกอก |
บทที่ 5 | |
¡Guerra, guerra sin tregua al que intente |
สงคราม ! สงครามจงอย่าได้ละเว้น |
บทที่ 6 | |
Antes, patria, que inermes tus hijos |
มาตุภูมิเอย ! ก่อนที่ลูกหลานผู้ไร้หนทางปกป้องตน |
บทที่ 10 | |
¡Patria! ¡Patria! Tus hijos te juran |
มาตุภูมิ ! มาตุภูมิเอย ! เหล่าลูกหลานขอปฏิญาณ |
ฉบับ ค.ศ. 1864 – 1867
[แก้]เพลงชาติเม็กซิโก (จักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2) | |
---|---|
ภาษาสเปน | คำแปล |
บทประสานเสียง | |
Mexicanos, la Santa Bandera |
|
บทที่ 1 | |
Del Anáhuac el águila hermosa |
|
บทที่ 2 | |
Con la paz y la unión para siempre |
. |
บทที่ 3 | |
Nuestro lema será Independencia, |
. |
สื่อ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ David Kendall National Anthems—Mexico เก็บถาวร 2008-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 2.0 2.1 Embassy of Mexico in Serbia and Montenegro Mexican Symbols—Himo เก็บถาวร 2009-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved March 19, 2006.
- ↑ President of the Republic—National Anthem for Kids เก็บถาวร 2006-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved March 15, 2006.
- ↑ Secretary of External Relations History of the Mexican Anthem. Retrieved March 15, 2006. (สเปน)
- ↑ Administration of Ernesto Zedillo National Symbols of Mexico เก็บถาวร 2006-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved Mar. 15, 2006.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- SEGOB page about the 150th anniversary of the anthem(สเปน)
- (สเปน)
- President of Mexico's page about the anthem, with two recordings (สเปน)
- Brief history of the anthem for children เก็บถาวร 2006-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 24 de febrero de 1940.- Día de la Bandera. เก็บถาวร 2008-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Full lyrics of the anthem (PDF) (สเปน)
- Chorus and first stanza in 10 native languages เก็บถาวร 2010-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สเปน)