แฟนเทเชีย (ภาพยนตร์)
แฟนเทเชีย | |
---|---|
เขียนบท | โจ แกรนต์ ดิก ฮิวเมอร์ |
อำนวยการสร้าง | วอลต์ ดิสนีย์ |
นักแสดงนำ | ลีโอโปลด์ สโตคอฟสกี ดีมส์ เทย์เลอร์ ฟิลาเดลเฟียออร์เคสตรา วอลต์ ดิสนีย์ มิกกี เมาส์ |
ผู้บรรยาย | ดีมส์ เทย์เลอร์ |
กำกับภาพ | เจมส์ หว่อง โฮว |
ดนตรีประกอบ | Stephen Csillag |
บริษัทผู้สร้าง | Walt Disney Productions |
ผู้จัดจำหน่าย | Walt Disney Productions RKO Radio Pictures |
วันฉาย | 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 |
ความยาว | 125 นาที |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
ภาษา | ภาษาอังกฤษ |
ทุนสร้าง | 2.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ทำเงิน | 76.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ต่อจากนี้ | แฟนเทเชีย 2000 |
แฟนเทเชีย (อังกฤษ: Fantasia) เป็นภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่องยาวเรื่องที่สามของดิสนีย์ ต่อจากเรื่องสโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (1937) และพินอคคิโอ (1940) ออกฉายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2483 อำนวยการสร้างโดยวอลต์ ดิสนีย์ เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันประกอบดนตรีคลาสสิกโดยไม่มีบทพูด มีเพียงบทบรรยายโดยดีมส์ เทย์เลอร์ นักประพันธ์เพลงและนักวิจารณ์ดนตรีคลาสสิก ดนตรีในภาพยนตร์บรรเลงโดยวงฟิลาเดลเฟียออร์เคสตรา อำนวยเพลงโดยลีโอโปลด์ สโตคอฟสกี เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกที่ใช้ระบบเสียงสเตอริโอ ใช้ชื่อเรียกว่า "แฟนตาซาวด์" [1]
ภาพยนตร์ใช้เวลาสร้างถึง 2 ปี ใช้งบประมาณบานปลายและล่าช้า อีกทั้งภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้า คือ หุ่นไม้พินอคคิโอ ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในขณะเข้าฉายในปี พ.ศ. 2483 ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จนทำให้บริษัทดิสนีย์ประสบปัญหาทางการเงิน ก่อนจะประสบความสำเร็จจากภาพยนตร์เรื่องถัดมา คือ ดัมโบ้ ในปี พ.ศ. 2484
ภาพยนตร์แบ่งออกเป็น 8 ส่วน ได้แก่
- Toccata and Fugue in D Minor ใช้เพลง Toccata and Fugue in D Minor ของโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค
- Nutcracker Suite ใช้เพลง Nutcracker Suite Op. 71a ของปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี
- The Sorcerer's Apprentice จากบทประพันธ์ L'apprenti sorcier ในปี ค.ศ. 1897 ของพอล ดูคาส [2] โดยได้แรงบันดาลใจจากบทประพันธ์ของโยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ (ปี 1797) [3]
- The Rite of Spring จากบัลเลต์ Le Sacre du Printemps ของอิกอร์ สตราวินสกี
- Intermission / Meet the Soundtrack เป็นช่วงพักครึ่งและแจมเซสชันกับนักดนตรี
- The Pastoral Symphony ใช้เพลง ซิมโฟนีหมายเลขหก บันไดเสียง F Op.68 "Pastorale" ของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟิน
- Dance of the Hours จากเพลงโอเปรา La Gioconda ท่อน Dance of the Hours ของอามิลกาเร ปอนซิเอลลี
- Night on Bald Mountain / Ave Maria ใช้เพลง Night on Bald Mountain ของโมเดสต์ มูสซอร์กสกี และ Ellens dritter Gesang ของฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต
นอกจาก 8 ตอนนี้แล้ว ยังมีอีกหนึ่งตอนที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ถูกตัดออกจากภาพยนตร์เนื่องจากทำให้ต้องใช้เวลาฉายนานเกินไป คือ Clair de Lune จากเพลงของโคล้ด เดอบุซซี ถูกนำมาบูรณะ และบรรจุรวมในดีวีดีที่วางจำหน่ายในปี 2000 นอกจากนี้ ยังมีการเขียนสตอรีบอร์ด สำหรับเพลงอีกหลายเพลง เช่น Ride of the Valkyries (จากโอเปราของริชาร์ด วากเนอร์), Swan of Tuonela (จากบทประพันธ์ของฌอง ซิเบลิอุส), Flight of the Bumblebee (จากอินเทอร์ลูดของนีโคไล ริมสกี-คอร์ซาคอฟ), Adventures in Perambulator (จากบัลเลต์ของจอห์น อัลเดน คาร์เพนเทอร์) แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้ถูกนำมาสร้าง
ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้งบประมาณในการพัฒนาระบบบันทึกเสียงถึง 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1/5 ของงบประมาณสร้าง [4] จนถึงปัจจุบัน แฟนเทเชียได้รับการยอมรับว่าเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมที่สุดเรื่องหนึ่งตลอดกาล ถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จในการฉายครั้งแรก [5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Andrew R. Boone, "Mickey Mouse Goes Classical", Popular Science, January 1941, p. 65.
- ↑ Fanning, Neil Cardew (2005). All music guide to classical music: the definitive guide to classical music. New York: Hal Leonard. p. 388.
- ↑ Knight, David B. (2006). Landscapes in music: space, place, and time in the world's great music. New York: Rowman & Littlefield. p. 104.
- ↑ Gelder, Peter Van (1990). That's Hollywood: A Behind-the-Scenes Look at 60 of the Greatest Films of All Time. New York: Harper Collins. pp. 87–90. ISBN 0060965126.
- ↑ Box Office Mojo lists Fantasia as the 20th most successful film when its gross receipts are adjusted for inflation. "All Time Box Office". Box Office Mojo.com. สืบค้นเมื่อ August 22, 2009.