เอ็ลเลินส์ดริทเทอร์เกอซัง
เอ็ลเลินส์ดริทเทอร์เกอซัง (เยอรมัน: Ellens dritter Gesang) หรือ เอลเลนส์เทิร์ดซอง (อังกฤษ: Ellen's third song, D839, Op. 52, No. 6) เป็นงานประพันธ์ชิ้นหนึ่งที่เป็นที่นิยมของฟรันทซ์ ชูเบิร์ท แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1825 มักเรียกกันว่าเป็น "อาเว มารีอา ฉบับชูเบิร์ท" ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นชูเบิร์ทไม่ได้ประพันธ์เพลงนี้เพื่อสดุดีพระแม่มารี
ชูเบิร์ทประพันธ์งานชิ้นนี้เพื่อประกอบโคลงภาษาเยอรมัน [1] ที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาสกอตชื่อ "The Lady of the Lake" ที่แต่งโดยเซอร์วอลเทอร์ สกอตต์ (1771 - 1832) กวีชาวสกอต ซึ่งเป็นโคลงที่กล่าวถึงตำนานกษัตริย์อาเธอร์โดยบรรยายถึงตัวละครชื่อ เอลเลน ดักลัส "ธิดาแห่งสายน้ำ" ผู้เป็นบุตรสาวของเจมส์ ดักลัส
ผลงานชิ้นนี้บรรเลงเป็นครั้งแรกที่ปราสาทของเคาน์เทสส์โซฟี ไวส์เซนวอล์ฟ ในออสเตรีย[2] ที่ทำให้เธอเองได้รับฉายาว่า "The Lady of the Lake"
บทนำและบทร้องซ้ำของเพลงเอลเลนที่เริ่มด้วยคำว่า "อาเว มารีอา" ซึ่งเป็นคำเดียวกับบทภาวนาอาจจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความคิดในการดัดแปลงท่วงทำนองดนตรีของชูเบิร์ทไปเป็นดนตรีทั้งชิ้นของธรรมเนียมบทสวดมนต์อาเว มารีอา ของโรมันคาทอลิก อาเว มารีอาภาษาละตินในปัจจุบันมักจะใช้กับดนตรีของชูเบิร์ท ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันไปว่าชูเบิร์ทตั้งใจที่จะประพันธ์งานชิ้นนี้เพื่อเป็นการในการที่จะเขียนบทสวดมนต์ขอพรพระแม่มารี จึงทำให้พากันเรียกงานชิ้นนี้ว่า "อาเว มารีอา "
ในปี ค.ศ. 1940 วอลต์ ดิสนีย์ได้นำทำนองเพลงนี้มาใช้ในตอนจบของภาพยนตร์ แฟนเทเชีย เรียบเรียงโดยลีโอโปลด์ สโตคอฟสกี โดยนำเพลงนี้มาต่อเนื่องกับ Night on Bald Mountain ผลงานประพันธ์ของโมเดสต์ มูสซอร์กสกี แต่ได้ดัดแปลงคำร้องเป็นภาษาอังกฤษ [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Das Fräulein vom See: Ein Gedicht in sechs Gesängen von Walter Scott. Aus dem Englischen, und mit einer historischen Einleitung und Anmerkungen von D. Adam Storck, Professor in Bremen. Essen, bei G. D. Bädeker, 1819
- ↑ cf. The Schubert Institute (UK)
- ↑ http://www.amazon.com/Fantasia-Taylor-foreword-Leopold-Stokowski/dp/B000KM5K12/ref=sr_1_1?ie=UTF8&s=books&qid=1237237008&sr=1-1