ข้ามไปเนื้อหา

เนื้อเยื่อบุผิว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Epithelium)
เนื้อเยื่อบุผิว
ประเภทของเยื่อบุผิว
ตัวระบุ
MeSHD004848
THH2.00.02.0.00002
FMA9639
ศัพท์ทางกายวิภาคของจุลกายวิภาคศาสตร์

เนื้อเยื่อบุผิว (อังกฤษ: Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก

ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน[1][2]: 3  เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้

การแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อบุผิว

[แก้]

การแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อบุผิวอาศัยหลัก 3 ประการ

  • รูปร่างลักษณะของเซลล์
  • จำนวนชั้นของเซลล์
  • การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นบนสุด

รูปร่างลักษณะของเซลล์

[แก้]
  • สความัส (Squamous) เซลล์มีรูปร่างแบน ถ้าเซลล์เรียงตัวชั้นเดียวเรียกว่า ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) พบที่ถุงลมในปอด เซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแพร่ผ่านของสาร นอกจากนั้นยังพบเซลล์แบบสความัสนี้ในไต และช่องว่างส่วนใหญ่ในลำตัว เซลล์เหล่านี้ไม่ค่อยมีกระบวนการเมตาบอลิซึมมากนัก ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ของน้ำ สารละลาย และสารอื่นๆ
  • คิวบอยดัล (Cuboidal) เซลล์มีลักษณะเหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์ ความสูงเท่าๆ กับความกว้าง นิวเคลียสมักอยู่บริเวณกลางเซลล์
  • คอลัมนาร์ (Columnar) เซลล์มีความสูงมากกว่าความกว้าง เซลล์ที่เรียงตัวชั้นเดียวเรียกว่า ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) นิวเคลียสมักอยู่ใกล้กับฐานเซลล์ พบบุผิวที่ลำไส้เล็ก และพบเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมหลั่งสารเรียกว่า เซลล์กอบเลท (Goblet cell) อยู่กระจายทั่วไปในชั้นของเนื้อเยื่อนี้เพื่อทำหน้าที่หลั่งเมือก ด้านบนของเซลล์อาจพบส่วนที่ยื่นออกมาคล้ายเส้นขนขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครวิลไล (Microvilli) ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มพื้นที่การดูดซึม
  • เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) เป็นเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวลักษณะพิเศษพบบุในอวัยวะที่สามารถยืดหดได้ เช่น ยูโรทีเลียม (Urothelium) ที่บุอยู่ในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์ดังกล่าวสามารถเลื่อนไถลซึ่งกันและกันได้ขึ้นกับว่าอวัยวะนั้นกำลังยืดหรือหด ถ้ามีการยืดจะทำให้เห็นเนื้อเยื่อผิวบริเวณนั้นบางลง ในทางกลับกันถ้าเกิดการหดจะเห็นเนื้อเยื่อนี้หนาขึ้น

จำนวนชั้นของเซลล์

[แก้]
  • เดี่ยว หรือ ซิมเปิล (Simple) ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวชั้นเดียว
  • เป็นชั้นๆ หรือ สแตรทิฟายด์ (Stratified) ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวหลายชั้น มีเซลล์ชั้นล่างสุดชั้นเดียวที่ติดอยู่กับเบซัล ลามินา (basal lamina) การจำแนกประเภทให้อาศัยสังเกตรูปร่างลักษณะเซลล์ที่อยู่ด้านบน เนื้อเยื่อนี้สามารถทนต่อแรงดึงหรือกดได้มากกว่า
  • เป็นชั้นๆ เทียม หรือ ซูโดสแตรทิฟายด์ และซีเลีย (Pseudostratified with cilia) มักเป็น ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (pseudostratified columnar epithelium) ลักษณะเซลล์เรียงตัวเป็นชั้นเดียว แต่ตำแหน่งของนิวเคลียสซ้อนกันจนมองดูเหมือนกับว่าเซลล์มีหลายชั้น การระบุชนิดเซลล์นี้สามารถสังเกตได้ว่ามีซีเลีย (เซลล์ที่เป็นซูโดสแตรทิฟายด์อาจจะมีซีเลีย แต่เซลล์ที่เป็นสแตรทิฟายด์จะไม่มีซีเลีย) เซลล์ที่มีขนจะแข็งแรงกว่าเซลล์ปกติประมาณ 10 เท่า

การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นบนสุด

[แก้]
  • คีราตินไนซด์ (Keratinized) เซลล์จะมีคีราติน (โปรตีนโครงเซลล์ (cytoskeleton)) เซลล์เนื้อเยื่อบุผิวที่เกิดคีราตินไนซด์พบที่ผิวหนัง ปาก และจมูก ช่วยให้ผิวหนังเหนียว สาก และทำให้สารแพร่ผ่านเข้าไม่ได้
  • ซีเลียเอต (Ciliated) เยื่อหุ้มเซลล์ที่ด้านบนของเซลล์จะมีส่วนยื่นประกอบด้วยไมโครทิวบูล (microtubule) ที่สามารถเคลื่อนพัดโบกเป็นจังหวะเพื่อพัดพาเมือกและสารอื่นๆ ในท่อ มักจะพบซีเลียได้ในระบบหายใจและเซลล์บุผิวท่อนำไข่ (oviduct)

ตัวอย่างเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว

[แก้]
ระบบ เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อบุผิว ประเภท
ไหลเวียน หลอดเลือด (blood vessels) ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) เนื้อเยื่อบุโพรง
ย่อยอาหาร ท่อของต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (ducts of submandibular glands) ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) -
ย่อยอาหาร เหงือก (attached gingiva) สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinized) -
ย่อยอาหาร ด้านบนของลิ้น (dorsum of tongue) สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinized) -
ย่อยอาหาร เพดานแข็ง (hard palate) สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinized) -
ย่อยอาหาร หลอดอาหาร (esophagus) สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) -
ย่อยอาหาร กระเพาะอาหาร (stomach) ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) -
ย่อยอาหาร ลำไส้เล็ก (small intestine) ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) -
ย่อยอาหาร ลำไส้ใหญ่ (large intestine) ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) -
ย่อยอาหาร ไส้ตรง (rectum) สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) -
ย่อยอาหาร ทวารหนัก (anus) สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinised) -
ย่อยอาหาร ถุงน้ำดี (gallbladder) ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) -
ต่อมไร้ท่อ ฟอลลิเคิล (ถุงน้อย) ของต่อมไทรอยด์ (thyroid follicles) ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) -
ประสาท อีเพนดีมา (ependyma) ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) -
น้ำเหลือง ท่อน้ำเหลือง (lymph vessel) ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) เนื้อเยื่อบุโพรง
ปกคลุมร่างกาย ผิวหนัง - เซลล์ชั้นบนสุดที่ตายแล้ว (skin - dead superficial layer) สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinised) -
ปกคลุมร่างกาย ท่อต่อมเหงื่อ (sweat gland ducts) สแตรทิฟายด์ คิวบอยดัล (Stratified cuboidal) -
ปกคลุมร่างกาย มีโซทีเลียม (เนื้อเยื่อบุช่องว่างในลำตัว) (mesothelium of body cavities) ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) -
สืบพันธุ์เพศหญิง รังไข่ (ovaries) ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) เนื้อเยื่อบุผิวในระบบสืบพันธุ์ (เพศหญิง) (germinal epithelium (female))
สืบพันธุ์เพศหญิง ท่อนำไข่ (Fallopian tubes]) ซิมเปิล คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Simple columnar, ciliated) -
สืบพันธุ์เพศหญิง มดลูก (uterus) ซิมเปิล คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Simple columnar, ciliated) -
สืบพันธุ์เพศหญิง เยื่อบุมดลูก (endometrium) ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) -
สืบพันธุ์เพศหญิง คอมดลูก (ด้านใน) (cervix (endocervix)) ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) -
สืบพันธุ์เพศหญิง คอมดลูก (ด้านนอก) (cervix (ectocervix)) สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) -
สืบพันธุ์เพศหญิง ช่องคลอด (vagina สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) -
สืบพันธุ์เพศหญิง แคมใหญ่ (labia majora) สแตรทิฟายด์ สความัส คีราตินไนซด์ (Stratified squamous, keratinised) -
สืบพันธุ์เพศชาย ทิวบูไล เรกไท (tubuli recti) ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) เนื้อเยื่อบุผิวในระบบสืบพันธุ์ (เพศชาย) (germinal epithelium (male))
สืบพันธุ์เพศชาย เรเต เทสทิส (rete testis) ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) -
สืบพันธุ์เพศชาย ดักทิวไล เอฟเฟอเรนทส์ (ductuli efferentes) ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (Pseudostratified columnar) -
สืบพันธุ์เพศชาย เอพิดิไดมิส (epididymis) ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ และสเตอริโอซีเลีย (Pseudostratified columnar, with stereocilia) -
สืบพันธุ์เพศชาย หลอดนำอสุจิ (vas deferens) ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (Pseudostratified columnar) -
สืบพันธุ์เพศชาย ท่อฉีดอสุจิ (ejaculatory duct) ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) -
สืบพันธุ์เพศชาย (ต่อม) ต่อมคาวเปอร์ หรือ ต่อมบัลโบยูรีทรัล (Cowper's or bulbourethral glands) ซิมเปิล คอลัมนาร์ (Simple columnar) -
สืบพันธุ์เพศชาย (ต่อม) ถุงน้ำอสุจิ (seminal vesicle) ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (Pseudostratified columnar) -
ทางเดินหายใจ คอหอยส่วนปาก (oropharynx) สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) -
ทางเดินหายใจ กล่องเสียง (larynx) ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Pseudostratified columnar, ciliated) เนื้อเยื่อบุผิวในระบบทางเดินหายใจ (respiratory epithelium)
ทางเดินหายใจ ท่อลม (trachea) ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Pseudostratified columnar, ciliated) เนื้อเยื่อบุผิวในระบบทางเดินหายใจ (respiratory epithelium)
ทางเดินหายใจ หลอดลมฝอย (respiratory bronchioles) ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) -
รับสัมผัส กระจกตา (cornea) สแตรทิฟายด์ สความัส ไม่มีคีราตินไนซด์ (Stratified squamous, non-keratinised) เนื้อเยื่อบุผิวส่วนกระจกตา (corneal epithelium)
รับสัมผัส จมูก (nose) ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ (Pseudostratified columnar) olfactory epithelium
ขับถ่าย ไต - ท่อไตส่วนต้น (proximal convoluted tubule) ซิมเปิล คอลัมนาร์ ซีเลียเอต (Simple columnar, ciliated) -
ขับถ่าย ไต - ท่อส่วนบางที่ไหลขึ้นของห่วงเฮนเล (ascending thin limb) ซิมเปิล สความัส (Simple squamous) -
ขับถ่าย ไต - ท่อไตส่วนปลาย (distal convoluted tubule) ซิมเปิล คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Simple columnar, non-ciliated) -
ขับถ่าย ไต - ท่อรวม (collecting duct) ซิมเปิล คิวบอยดัล (Simple cuboidal) -
ขับถ่าย กรวยไต (renal pelvis) เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) ยูโรทีเลียม (urothelium)
ขับถ่าย ท่อไต (ureter) เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) ยูโรทีเลียม (urothelium)
ขับถ่าย กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) ยูโรทีเลียม (urothelium)
ขับถ่าย ท่อปัสสาวะที่ผ่านต่อมลูกหมาก (prostatic urethra) เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน (Transitional) ยูโรทีเลียม (urothelium)
ขับถ่าย ท่อปัสสาวะหลังต่อมลูกหมาก (membranous urethra) ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Pseudostratified columnar, non-ciliated) -
ขับถ่าย ท่อปัสสาวะที่ผ่านองคชาต (penile urethra) ซูโดสแตรทิฟายด์ คอลัมนาร์ ไม่มีซีเลีย (Pseudostratified columnar, non-ciliated) -
ขับถ่าย ช่องเปิดภายนอกของท่อปัสสาวะ (external urethral orifice) สแตรทิฟายด์ สความัส (Stratified squamous) -

บริเวณเชื่อมติดกันของเซลล์ (Cell junction)

[แก้]

บริเวณเชื่อมติดกันของเซลล์ (Cell Junction) เป็นโครงสร้างภายในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ มักพบมากในบริเวณเนื้อเยื่อบุผิว ประกอบด้วยโปรตีนที่ซับซ้อนและช่วยในการยึดติดกันระหว่างเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ระหว่างเซลล์และเมตริกซ์ภายนอกเซลล์ (extracellular matrix) หรือเป็นโครงสร้างขวางกั้นระหว่างเซลล์ทางด้านข้าง (paracellular barrier) และควบคุมการขนส่งระหว่างเซลล์ทางด้านข้าง

เนื้อเยื่อบุผิวที่คัดหลั่งสาร

[แก้]

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น การหลั่งสารเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ต่อมเกิดจากการหวำของเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวและต่อมาได้เจริญเติบโตภายใต้เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ต่อมแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ ต่อมไร้ท่อ (endocrine glands) และ ต่อมมีท่อ (exocrine glands) ต่อมไร้ท่อเป็นต่อมที่หลั่งสารออกมายังผิวโดยตรงโดยไม่ผ่านท่อ ต่อมที่เป็นต่อมไร้ท่อจัดอยู่ในระบบต่อมไร้ท่อ

วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology)

[แก้]

เนื้อเยื่อบุผิวเจริญมาจากชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน (embryological germ layers) ทั้ง 3 ชนิด คือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Eurell JA, Frappier BL, บ.ก. (2006). Dellmann's Textbook of Veterinary Histology. Wiley-Blackwell. p. 18. ISBN 978-0-7817-4148-4.
  2. Freshney RI (2002). "Introduction". ใน Freshney RI, Freshney M (บ.ก.). Culture of epithelial cells. John Wiley & Sons. ISBN 978-0-471-40121-6.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]