ต่อมคาวเปอร์
ต่อมคาวเปอร์ | |
---|---|
กายวิภาคในชาย | |
สาขาของหลอดเลือดแดง internal pudendal artery (Bulbourethral gland มีป้ายอยู่ตรงกลางด้านซ้าย) | |
รายละเอียด | |
คัพภกรรม | Urogenital sinus |
หลอดเลือดแดง | Artery of the urethral bulb |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | Glandulae bulbourethrales |
MeSH | D002030 |
TA98 | A09.3.09.001 |
TA2 | 3659 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
ต่อมบัลโบยูรีทรัล[1][2][3][4] หรือ ต่อมคาวเปอร์[1][3] (อังกฤษ: Bulbourethral gland/Cowper's gland) ตามชื่อของนักกายวิภาคชื่อว่า วิลเลียม คาวเปอร์ เป็นต่อมขับออก (exocrine gland) ในระบบสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวผู้มากมายหลายประเภท (ในบรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย มีสุนัขเท่านั้นที่ไม่มี)[5] เป็นต่อมที่มีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับต่อมบาร์โทลิน (Bartholin's gland) ในสัตว์ตัวเมีย
ตำแหน่ง
[แก้]ต่อมนี้อยู่ที่ส่วนหลังด้านข้างของส่วนที่เป็นเยื่อบุท่อปัสสาวะที่โคนองคชาต (ดูรูป) อยู่ในระหว่างสองชั้นของ fascia of the urogenital diaphragm ใน deep perineal pouch และปกคลุมด้วยใยกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะ (urethral sphincter) แนวขวาง
โครงสร้าง
[แก้]ต่อมนี้เป็นต่อมประกอบ tubulo-alveolar แต่ละข้างมีขนาดเท่ากับเม็ดถั่วลันเตาในมนุษย์ ในลิงชิมแปนซี จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์[6] ในหมูป่า ต่อมนี้อาจยาวถึง 18 ซ.ม. และมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 5 ซ.ม.[5]
ต่อมนี้ประกอบด้วยกลีบเล็ก ๆ ที่มัดเข้าด้วยกันด้วยเยื่อเส้นใย แต่ละกลีบประกอบด้วยกระเปาะ (Acinus) หลายกระเปาะ มีภายในบุด้วยเนื้อเยื่อบุผิว (epithelium) ที่มีช่องเปิดออกไปเป็นท่อที่เชื่อมต่อกับท่อของกลีบอื่น ๆ รวมกันเป็นท่อสำหรับหลั่งออกท่อเดียว ท่อหลั่งออกนี้ยาวประมาณ 2.5 ซ.ม. และมีช่องเปิดเข้าไปในท่อปัสสาวะที่โคนองคชาต ต่อมนี้จะเล็กลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น[7]
หน้าที่
[แก้]เมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ ต่อมแต่ละข้างจะผลิตน้ำเหนียว ๆ ใส ๆ มีรสเค็มที่รู้จักกันว่า น้ำหล่อลื่น (pre-ejaculate) ซึ่งช่วยหล่อลื่นท่อปัสสาวะเพื่อเปิดทางแก่ตัวอสุจิ โดยทำฤทธิ์กรดที่เกิดจากปัสสาวะในท่อปัสสาวะให้เป็นกลาง[8] และช่วยล้างปัสสาวะและสิ่งแปลกปลอมที่เหลืออยู่ออกไป
แม้ว่าน้ำหล่อลื่นจะไม่มีตัวอสุจิ แต่ก็เป็นไปได้ว่ามันอาจจะเก็บตกตัวอสุจิที่อยู่ในป่ององคชาต (bulb of penis) อันเป็นส่วนเหลือจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งสุดท้าย ๆ แล้วส่งตัวอสุจิออกก่อนที่จะเกิดการหลั่งน้ำอสุจิต่อไป
ต่อมคาวเปอร์ยังผลิตแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (prostate-specific antigen[9] ตัวย่อ PSA) และมะเร็งที่ต่อมคาวเปอร์อาจจะเพิ่มปริมาณ PSA ไปในระดับที่ทำให้สงสัยได้ว่าอาจมีมะเร็งต่อมลูกหมาก[ต้องการอ้างอิง]
รูปอื่น ๆ
[แก้]-
โครงสร้างองคชาต
-
อวัยวะเชิงกรานของชายดูจากด้านขวา
ดูเพิ่ม
[แก้]- น้ำหล่อลื่น (ที่ต่อมคาวเปอร์หลั่งออก)
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์" (PDF). p. 13. สืบค้นเมื่อ 2557-04-09.
ตอมขับน้ำเมือก หรือ ตอมคาวเปอร (Bulbourethral gland หรือ Cowper’s gland)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "กายวิภาคของสัตว์เลี้ยง บทที่ 9 ระบบสืบพันธุ์" (PDF). p. 104. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-03-28. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "คำถามเรื่องกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Mechanism of Emission and Ejaculation". สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 5.0 5.1 Mark McEntee (December 2, 2012). Reproductive Pathology of Domestic Mammals. Elsevier Science. p. 333. ISBN 978-0-323-13804-8. สืบค้นเมื่อ August 20, 2013.
- ↑ Jeffrey H. Schwartz (1988). Orang-utan Biology. Oxford University Press. p. 92. ISBN 978-0-19-504371-6. สืบค้นเมื่อ August 20, 2013.
- ↑ Gray's Anatomy, 38th ed., p 1861.
- ↑ Chughtai, Bilal (April 2005). "A Neglected Gland: A Review of Cowper's Gland". International Journal of Andrology. Blackwell Publishing. 28 (2): 74–7. doi:10.1111/j.1365-2605.2005.00499.x. ISSN 0105-6263. PMID 15811067.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ prostate specific antigen เป็นเอนไซม์ไกลโคโปรตีนซึ่งมีการเข้ารหัสในยีน KLK3 เป็นเอนไซม์ที่หลั่งออกโดยเซลล์เยื่อบุผิวของต่อมลูกหมาก ผลิตเพื่อการหลั่งน้ำอสุจิ ทำหน้าที่ละลายน้ำอสุจิที่เกาะติดกันคล้ายวุ้นเพื่อให้ตัวอสุจิเคลื่อนไหวไปได้อย่างอิสระ และเชื่อกันว่าทำหน้าที่ละลายเมือกที่ปากมดลูก เพื่อให้ตัวอสุจิสามารถเข้าไปในมดลูกด้วย