สัญญาณแจ้งเหตุร้าย

สัญญาณแจ้งเหตุร้าย (อังกฤษ: distress signal หรือ distress call) หรือที่เรียกกันว่า สัญญาณขอความช่วยเหลือ เป็นวิธีการขอความช่วยเหลือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยสัญญาณแจ้งเหตุร้ายจะได้รับการสื่อสารด้วยการส่งสัญญาณวิทยุ การแสดงวัตถุให้มองเห็นได้ การส่องแสงสว่าง หรือการทำให้ได้ยินเสียงจากในระยะไกล
สัญญาณแจ้งเหตุร้ายนั้น สามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคล หรือกลุ่มบุคคล, พาหนะทางน้ำ, อากาศยาน, หรือยานพาหนะอื่น ๆ กำลังถูกคุกคามจากอันตรายร้ายแรง หรืออันตรายที่ใกล้เข้ามา และต้องการความช่วยเหลือในทันที[1]: PCG D−3 การใช้สัญญาณแจ้งเหตุร้ายในสถานการณ์อื่น ๆ อาจขัดต่อกฎหมายท้องถิ่นหรือกฎหมายระหว่างประเทศ โดยในสถานการณ์ที่ไม่วิกฤตจะมีสัญญาณเร่งด่วนเพื่อขอความช่วยเหลือในอีกรูปแบบหนึ่ง
เพื่อให้การสัญญาณแจ้งเหตุร้ายมีประสิทธิภาพสูงสุด จะต้องสื่อสารโดยอาศัยตัวแปรสองตัว คือ
- การเตือนหรือการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินที่กำลังดำเนินอยู่
- พิกัดหรือตำแหน่ง (หรือจุดสังเกตในพื้นที่หรือการระบุตำแหน่ง) ของฝ่ายที่อยู่ในเหตุร้าย
ตัวอย่างเช่น พลุแฟลร์ทางอากาศเดี่ยว จะแจ้งเตือนผู้สังเกตการณ์ถึงการมีอยู่ของเรือที่กำลังประสบเหตุร้ายอยู่ที่ไหนสักแห่งในทิศทางทั่วไปของแสงแฟลร์ที่มองเห็นบนขอบฟ้า แต่จะดับลงภายในหนึ่งนาทีหรือน้อยกว่านั้น ในขณะที่พลุมือถือจะไหม้เป็นเวลาสามนาที และสามารถใช้เพื่อระบุตำแหน่งหรือระบุตำแหน่งที่ตั้งหรือตำแหน่งของบุคคลที่ประสบภัยได้แม่นยำยิ่งขึ้น ส่วนเครื่องวิทยุคมนาคมบอกตำแหน่งผ่านดาวเทียมในกรณีฉุกเฉิน (EPIRB) จะเตือนหรือแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ ในขณะเดียวกันก็จะส่งข้อมูลตำแหน่งให้เจ้าหน้าที่ด้วย
ทางทะเล
[แก้]สัญญาณแจ้งเหตุร้ายในทะเลถูกกำหนดไว้ในกฎข้อบังคับระหว่างประเทศเพื่อป้องกันเรือโดนกันในทะเล และในประมวลสากล (International Code of Signals) โดยจะสามารถใช้สัญญาณเมย์เดย์ก็ต่อเมื่อมีอันตรายร้ายแรงและใกล้จะเกิดขึ้นภัยอันตรายต่อชีวิตเท่านั้น หากยังไม่ถึงขั้นนั้นสามารถส่งสัญญาณเร่งด่วนอื่น เช่น แพน-แพนแทนได้ เขตอำนาจศาลส่วนใหญ่มักจะมีบทลงโทษอย่างหนักสำหรับสัญญาณแจ้งเหตุร้ายที่เป็นเท็จ ไม่สมควรต่อเหตุ หรือการกลั่นแกล้งกัน
การแจ้งเหตุร้ายต่าง ๆ ทางทะเล สามารถแจ้งตามช่องทางอย่างเป็นทางการได้ตามวิธีการต่อไปนี้:

- การส่งสัญญาณเสียงพูดข้อความเมย์เดย์ ทางวิทยุผ่านช่องความถี่สูงมาก ช่อง 16 (156.8 MHz) หรือความถี่กลางที่ 2182 kHz
- การส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือแบบดิจิทัลโดยการเปิดใช้งาน (หรือกด) ปุ่มขอความช่วยเหลือบนวิทยุทางทะเลที่ติดตั้งระบบการเรียกอย่างจาเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิทัล (Digital selective calling: DSC) ผ่านความถี่สูงมากช่อง 70 หรือผ่านความถี่ DSC อื่นที่กำหนดในย่านความถี่กลางและความถี่สูงทางทะเล
- การส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือแบบดิจิทัลโดยการเปิดใช้งาน (หรือกด) ปุ่มขอความช่วยเหลือ (หรือคีย์) บนอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Inmarsat-C
- การส่งกลุ่มรหัสมอร์ส SOS ( ▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄ ▄ ) ด้วยแสงวาบหรือเสียง
- การจุดพลุแฟลร์สีแดง (พลุแบบมือถือหรือพลุร่มชูชีพ)
- การปล่อยจรวดแจ้งเหตุร้าย
- ปล่อยสัญญาณควันสีส้มออกจากกระป๋อง
- แสดงเปลวไฟบนเรือ (เช่น จากถังน้ำมันดินที่ลุกไหม้ ถังน้ำมัน ฯลฯ)
- ยกและลดแขนทั้งสองข้างออกช้า ๆ และซ้ำ ๆ กัน
- สร้างเสียงต่อเนื่องด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณหมอก
- ยิงปืนหรือสัญญาณระเบิดอื่น ๆ เป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งนาที
- เชิญธงประมวลสากลอักษร NC
ขึ้นบนเสาเรือ
- การแสดงสัญญาณภาพประกอบด้วยธงสี่เหลี่ยมที่มีลูกบอลด้านบนหรือด้านล่าง หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายลูกบอล (มีลักษณะเป็นวงหรือกลม)
เสาลอยคนตกน้ำ หรือทุ่นหมายเขต สามารถใช้เพื่อแสดงว่าบุคคลอยู่ในภาวะอันตรายในน้ำ และโดยปกติจะติดธงสีเหลืองและสีแดง (รหัสธงประมวลสากล "O") และวาบไฟหรือแฟลชไฟ
ในทวีปอเมริกาเหนือ หน่วยงานค้นหาและช่วยเหลือทางทะเลในแคนาดาและสหรัฐยังตอบรับสัญญาณแจ้งเหตุร้ายอื่น ๆ บางรูปแบบ เช่น
- สีย้อมน้ำทะเล
- แสงแฟลชความเข้มสูงสีขาวกะพริบที่ 60 ครั้งต่อนาที
สัญญาณวิทยุอัตโนมัติ
[แก้]นอกจากนี้ การแจ้งเหตุร้ายยังสามารถส่งสัญญาณได้โดยใช้สัญญาณวิทยุอัตโนมัติ เช่น เครื่องทวนสัญญาณเพื่อการค้นหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Transponder: SART) ซึ่งจะตอบสนองต่อสัญญาณเรดาร์ความถี่ 9 GHz หรือเครื่องวิทยุคมนาคมบอกตำแหน่งผ่านดาวเทียมในกรณีฉุกเฉิน (EPIRB) ซึ่งทำงานในวิทยุความถี่ 406 MHz สัญญาณ EPIRB ได้รับและประมวลผลโดยกลุ่มดาวดาวเทียมที่เรียกว่า Cospas-Sarsat ขณะที่ EPIRB รุ่นเก่าที่ใช้งานความถี่ 121.5 MHz นั้นถือว่าล้าสมัยแล้ว ซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลทางทะเลหลายแห่งกำหนดให้เรือที่แล่นออกนอกชายฝั่งต้องมีเครื่อง EPIRB ติดอยู่บนเรือด้วย
EPIRB จำนวนมากมีตัวรับระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ในตัว เมื่อเปิดใช้งาน EPIRB ประเภทนี้จะรายงานละติจูดและลองจิจูดของเหตุฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำสูงภายในระยะ 120 เมตร (390 ฟุต) ตำแหน่งของ EPIRB ที่ไม่ใช่ GPS จะถูกกำหนดโดยดาวเทียมที่โคจรอยู่ ซึ่งอาจใช้เวลาเก้าสิบนาทีถึงห้าชั่วโมงหลังการเปิดใช้งาน และมีความแม่นยำในระยะ 5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์) โดยหน่วยงานความปลอดภัยทางทะเลแนะนำให้ใช้ EPIRB ที่ติดตั้ง GPS[2]
EPIRB ขนาดจิ๋วที่สามารถพกพาไปพร้อมกับเสื้อผ้าของลูกเรือได้เรียกว่าเครื่องระบุตำแหน่งส่วนบุคคลขนาดเล็กแบบพกพา (Personal Locator Beacon) หรือ PLB หน่วยงานกำกับดูแลทางทะเลมักจะไม่ถือว่าสิ่งเหล่านี้อุปกรณ์ทดแทน EPIRB ของเรือ ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่ "มีคนตกน้ำ" เช่น การแข่งเรือยอชท์ในมหาสมุทรเปิด ผู้จัดงานอาจกำหนดให้มีการติดเครื่อง PLBs บนเสื้อผ้า นอกจากนี้ PLB มักถูกพกพาระหว่างกิจกรรมกลางแจ้งบนบกที่มีความเสี่ยงเช่นกัน
EPIRB และ PLB แต่ละเครื่องจะมีหมายเลขประจำตัวที่ไม่ซ้ำกัน (UIN หรือ "HexID") ผู้ซื้อควรลงทะเบียน EPIRB หรือ PLB กับหน่วยงานค้นหาและช่วยเหลือแห่งชาติของตน ซึ่งมักจะไม่มีค่าใช้จ่ายในเขตอำนาจศาลส่วนใหญ่ การลงทะเบียน EPIRB ช่วยให้ผู้มีอำนาจในพื้นที่นั้นสามารถแจ้งเตือนผู้ที่ร่วมค้นหาเกี่ยวกับชื่อ ป้าย ประเภทเรือ ขนาด และงานสีของเรือ เพื่อแจ้งให้ญาติใกล้ชิดทราบทันที และเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วในกรณีการเปิดใช้งานโดยไม่ตั้งใจ
สัญญาณแจ้งเหตุร้ายจากวิทยุ DSC สามารถรวมตำแหน่งไว้ได้ หากป้อนละติจูด / ลองจิจูดลงในวิทยุด้วยตนเอง หรือหากตำแหน่งที่ได้รับจาก GPS ถูกส่งผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องวิทยุโดยตรง
เมย์เดย์
[แก้]ข้อความเมย์เดย์ (mayday) ประกอบด้วยคำว่า “เมย์เดย์” ที่พูดติดต่อกันสามครั้ง เป็นสัญญาณแจ้งเหตุร้าย ตามด้วยข้อความแจ้งเหตุร้ายซึ่งควรประกอบไปด้วย
- ชื่อเรือที่ประสบภัย
- ตำแหน่ง (ปัจจุบัน ที่ทราบล่าสุด หรือประมาณ โดยแสดงเป็นละติจูด / ลองจิจูด หรือระยะทาง / ทิศทางจากสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง)
- ลักษณะของสภาพหรือสถานการณ์เหตุร้ายของเรือ (เช่น ไฟไหม้ จม เกยตื้น โดนน้ำ ลอยลำอยู่ในน้ำที่เป็นอันตราย)
- จำนวนบุคคลที่มีประสบเหตุร้ายหรือต้องได้รับการช่วยเหลือ มีอาการบาดเจ็บสาหัส
- ประเภทของความช่วยเหลือที่จำเป็น หรือกำลังร้องขอ
- รายละเอียดอื่น ๆ เพื่ออำนวยในการแก้ไขเหตุฉุกเฉิน เช่น การดำเนินการ (เช่น การสละเรือ การสูบน้ำน้ำท่วมออกจากเรือ) เวลาที่เหลืออยู่โดยประมาณในการลอยน้ำ
รูปลักษณ์ที่ผิดปกติหรือพิเศษ
[แก้]เมื่อไม่มีสัญญาณที่ได้รับการอนุมัติใช้งานอย่างเป็นทางการตามที่อธิบายไว้ข้างต้น การให้ความช่วยเหลืออาจถูกทำให้สังเกตเห็นได้โดยสิ่งใดก็ตามที่ดูผิดปกติ หรือผิดปกติ เช่น ใบเรือที่ยกขึ้นกลับหัว
ในช่วงเวลากลางวันเมื่อมองเห็นดวงอาทิตย์ สามารถใช้กระจกเฮลิโอกราฟเพื่อฉายแสงที่สว่างจ้าและเข้มข้นได้ ไฟเลเซอร์แบบใช้แบตเตอรี่ขนาดเท่าไฟฉายขนาดเล็ก (คบเพลิงไฟฟ้า) มีจำหน่ายเพื่อใช้งานในการส่งสัญญาณฉุกเฉินเช่นกัน
ธงกลับหัว
[แก้]เป็นเวลาหลายร้อยปีที่ธงชาติกลับหัวถูกใช้งานเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือ[3] อย่างไรก็ตาม สำหรับธงชาติของบางประเทศ เป็นเรื่องยาก (เช่น สเปน เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร) หรือเป็นไปไม่ได้ (เช่น ญี่ปุ่น ไทย และอิสราเอล) ที่จะระบุว่าธงเหล่านั้นกลับด้านหรือไม่ ประเทศอื่น ๆ มีธงที่ตรงกันข้ามกัน ตัวอย่างเช่น ธงชาติโปแลนด์เป็นสีขาวที่ครึ่งบนและสีแดงที่ด้านล่าง ในขณะที่ธงของอินโดนีเซียและโมนาโกจะอยู่ตรงกันข้าม กล่าวคือ ครึ่งบนเป็นสีแดง ครึ่งล่างเป็นสีขาว เรือที่ไม่มีธงก็อาจจะถูกเข้าใจได้ว่ากำลังแจ้งเหตุร้าย[4] สำหรับประเทศหนึ่ง คือฟิลิปปินส์ ธงกลับหัวเป็นสัญลักษณ์ของสงครามมากกว่าการแจ้งเหตุร้าย[5]
หากมีธงอื่น ๆ ใช้งานไม่ใช่ในรูปแบบของธงชาติ อาจแสดงการแจ้งเหตุร้ายได้ด้วยการผูกปมแล้วโบกคว่ำลงจนกลายเป็นธง[6]
ตัวอย่างธงกลับหัวเป็นสัญญาณแจ้งเหตุร้าย | ||||
---|---|---|---|---|
|
การสูญหายและการกำจัดอุปกรณ์
[แก้]เพื่อหลีกเลี่ยงการค้นหาโดยใช่เหตุและไร้เหตุร้าย อุปกรณ์บางอย่างจะต้องรายงานเมื่อสูญหาย ข้อกำหนดนี้ใช้กับเครื่อง EPIRB ห่วงชูชีพ แพ และอุปกรณ์ที่มีชื่อเรือและท่าเรือโดยเฉพาะ
ไม่ควรนำพลุแฟลร์ที่หมดอายุมาใช้งานเพื่อทำลาย เนื่องจากอาจจะทำให้สับสนว่าเป็นการแจ้งเหตุร้าย การทำลายโดยเจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์เฉพาะในการกำจัดพลุแฟลร์แจ้งเหตุร้ายที่หมดอายุแล้ว ในบางพื้นที่จะมีการจัดฝึกอบรมพิเศษเพื่อให้พลุแฟลร์สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
เครื่อง EPIRB ที่เสื่อมสภาพไม่ควรทิ้งรวมกับขยะทั่วไป เนื่องจาก EPIRB ที่ถูกทิ้งมักจะถูกกระตุ้นให้ทำงานในสถานที่กำจัดของเสีย ในปี พ.ศ. 2556 การเปิดใช้งาน EPIRB ส่วนใหญ่ที่ตรวจสอบโดยหน่วยงานความปลอดภัยทางทะเลของออสเตรเลีย เกิดจากการกำจัดเครื่องบีคอน EPIRB รุ่นที่ใช้ความถี่ 121.5 MHz ที่ล้าสมัยอย่างไม่ถูกต้อง[7]
การบิน
[แก้]คลื่นความถี่อากาศยานพลเรือนสำหรับการแจ้งเหตุร้ายด้วยเสียงคือ 121.5 MHz อากาศยานทหารใช้คลื่นความถี่ 243 MHz (ซึ่งเป็นฮาร์มอนิกที่ 121.5 MHz ดังนั้นบีคอนพลเรือนจึงส่งความถี่นี้ด้วย) อากาศยานยังสามารถส่งสัญญาณเหตุฉุกเฉินได้ด้วยการตั้งรหัสเครื่องรับส่งเรดาร์ช่องสัญญาณพิเศษรหัสใดรหัสหนึ่ง เช่น 7700
สัญญาณ COSPAS/SARSAT สามารถส่งผ่านเครื่องส่งตำแหน่งอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Locator Transmitter) หรือ ELT ซึ่งคล้ายกับ EPIRB ทางทะเล บนความถี่วิทยุ 406 MHz (EPIRB ทางทะเลถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ลอยได้ ในขณะที่ ELT สำหรับการบิน ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ทำงานโดยการชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว และบางครั้งเรียกว่าเครื่องส่งสัญญาณฉุกเฉิน หรือ (Crash Position Indicator: CPI)
"รูปแบบแจ้งเหตุร้ายแบบสามเหลี่ยม" คือรูปแบบการบินที่ไม่ค่อยได้ใช้กันบ่อยนัก ซึ่งบินโดยอากาศยานที่กำลังประสบภาวะฉุกเฉิน แต่ไม่มีการสื่อสารทางวิทยุ รูปแบบมาตรฐาน คือชุดการเลี้ยวแบบ 120°
รหัสฉุกเฉินทางอากาศภาคพื้นดิน
[แก้]รหัสเหตุฉุกเฉินทางอากาศภาคพื้นดิน เป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือที่นักบินและเจ้าหน้าที่ทหารที่ประสบอุบัติเหตุใช้เพื่อส่งสัญญาณจากภาคพื้นดินไปยังอากาศยาน[8][9]
ชวาร์ซวัลด์
[แก้]สัญญาณแจ้งเหตุร้ายบนภูเขาที่ได้รับการยอมรับนั้น อิงรูปแบบมาจากกลุ่มสามหรือหกคนในสหราชอาณาจักรและชวาร์ซวัลด์ (ป่าดำ) ของยุโรป สัญญาณแจ้งเหตุร้ายอาจเป็นไฟหรือกองหิน 3 กองเป็นรูปสามเหลี่ยม เสียงนกหวีด 3 ครั้ง การยิงปืน 3 นัด หรือการกะพริบ 3 ครั้งติดต่อกัน ตามด้วยการหยุด 1 นาทีและทำซ้ำ ๆ จนกระทั่งได้รับการตอบสนอง การระเบิดหรือการวาบไฟสามครั้งถือเป็นรูปแบบการตอบสนองพื้นฐานในการตอบรับว่าทราบเหตุดังกล่าว
ในชวาร์ซวัลด์ (ป่าดำ) วิธีส่งสัญญาณแจ้งเหตุร้ายที่ได้รับการแนะนำคือสัญญาณแจ้งเหตุร้ายชวาร์ซวัลด์ โดยให้สัญญาณ 6 สัญญาณภายในหนึ่งนาที จากนั้นหยุดสักครู่หนึ่งนาที ทำซ้ำจนกว่าหน่วยกู้ภัยจะมาถึง สัญญาณอาจเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ (การโบกเสื้อผ้าหรือแสงไฟ การใช้กระจกสัญญาณ) หรือเสียง (เสียงตะโกน นกหวีด ฯลฯ) ซึ่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยจะรับทราบด้วยสัญญาณสามสัญญาณต่อนาที
ในทางปฏิบัติ รูปแบบสัญญาณใดรูปแบบหนึ่ง มีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับในพื้นที่ภูเขาที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่ เนื่องจากทีมปีนเขาในบริเวณใกล้เคียงมีแนวโน้มที่จะมีนักปีนเขาอื่นที่เป็นชาวยุโรปหรืออเมริกาเหนืออยู่ในพื้นทีใกล้เคียงนั้น
หากต้องการสื่อสารกับเฮลิคอปเตอร์ที่อยู่ในระยะสายตา ให้ยกแขนทั้งสองข้างขึ้น (เป็นรูปตัวอักษร Y) เพื่อระบุว่า "ใช่" หรือ "ฉันต้องการความช่วยเหลือ" หรือเหยียดแขนข้างหนึ่งขึ้นและอีกข้างหนึ่งลง (เลียนแบบตัวอักษร N) สำหรับ "ไม่" หรือ "ฉันไม่ต้องการความช่วยเหลือ" หากมีธงสองมือ ก็สามารถใช้เพื่อสื่อสารกับผู้ช่วยเหลือได้

กระโจมภาคพื้นดิน
[แก้]สัญญาณแจ้งเหตุร้ายด้วยความถี่วิทยุ COSPAS-SARSAT 406 MHz สามารถส่งโดยนักเดินป่า แบ็คแพ็คเกอร์ นักเดินป่าระยะไกล นักปีนเขา และผู้แสวงหาการผจญภัยทางไกลภาคพื้นดินรูปแบบอื่น ๆ และบุคคลที่ทำงานในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล โดยใช้เครื่องระบุตำแหน่งส่วนบุคคลขนาดเล็กแบบพกพา (Personal Locator Beacon) หรือ PLB
ดูเพิ่ม
[แก้]- 2182 กิโลเฮิรตซ์
- 500 กิโลเฮิรตซ์
- COSPAS-SARSAT ดาวเทียมช่วยติดตามค้นหาและกู้ภัย
- การเรียกอย่างจาเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิทัล
- ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน
- หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
- ระบบความปลอดภัยและแจ้งเหตุภัยพิบัติทางทะเลทั่วโลก GMDSS
- ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล
- วิทยุสมัครเล่นเคลื่อนที่ทางทะเล
- เมย์เดย์ (สัญญาณ)
- การกู้ภัยภูเขา
- เครื่องทวนสัญญาณเพื่อการค้นหาและช่วยเหลือ
- อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล (SOLAS Convention)
- เอสโอเอส
- เครื่องส่งสัญญาณนำทางทางยุทธวิธี
- วีเอส-17
- เครื่องส่งสัญญาณนำทางฉุกเฉิน
- การสื่อสารทางอากาศสู่พื้นดิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Aeronautical Information Manual, U.S. Federal Aviation Administration, 2016
- ↑ "GPS versus Non-GPS: A comparison of GPS vs non-GPS 406 MHz distress beacons". Australian Maritime Safety Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-24. สืบค้นเมื่อ 21 March 2014.
- ↑ For example, 36 U.S. Code §176(a) provides: "The flag should never be displayed with the union down, except as a signal of dire distress in instances of extreme danger to life or property."
- ↑ "Slave Ship Mutiny Program Transcript" เก็บถาวร 15 พฤศจิกายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Educational Broadcasting Corporation. 2010. Retrieved 2012-02-15.
- ↑ "U.S. Apologizes for flying Philippine flag upside down". Reuters. 27 September 2010.
- ↑ "Flying flags upside down". Allstates-flag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-13. สืบค้นเมื่อ 2009-07-27.
- ↑ Gaden, Phil. "A 406Mhz beacon is your best chance of being rescued". Australian Maritime Safety Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ 21 March 2014.
- ↑ The Handbook Of The SAS And Elite Forces. How The Professionals Fight And Win. Edited by Jon E. Lewis. p.185-Tactics And Techniques, Evasion, Capture And Escape. Robinson Publishing Ltd 1997. ISBN 1-85487-675-9
- ↑ "International Ground-to-Air Signaling Code". December 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- What is the meaning of SOS?
- US Coast Guard: Visual Distress Signals for Recreational Boaters
- US Coast Guard: Flares and other Visual Distress Signals
- Transport Canada: Radio Distress Procedures Card
- FM 31-70 Appendix B
- SIGNALING TECHNIQUES TO ASK HELP • Survive
- 4.82 Communications and Equipment – New Zealand Private Pilots Licence Exam Notes
- 19.md
- The Postal History of ICAO
- GEN 3.6 Search and Rescue
- "Ground to Air Visual Signals" (PDF). 2019-03-07. สืบค้นเมื่อ 2023-04-13.
- "Ground-to-Air Emergency Code". probablyhelpful.com. สืบค้นเมื่อ 2023-04-13.