ข้ามไปเนื้อหา

ดีปไมด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก DeepMind)
ดีปไมด์
ประเภทของธุรกิจบริษัทย่อย
ก่อขึ้น23 กันยายน 2010; 14 ปีก่อน (2010-09-23)[1]
สำนักงานใหญ่
ผู้ก่อตั้ง
ผู้บริหารสูงสุดDemis Hassabis
ผู้จัดการทั่วไปLila Ibrahim
อุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์
สินค้าAlphaGo, AlphaStar, AlphaFold, AlphaZero
พนักงานมากกว่า 1,000 คน (มิถุนายน ค.ศ. 2020)[3]
บริษัทแม่อิสระ (2010–2014)
บริษัทกูเกิล (2014–2015)
Alphabet Inc. (2015–ปัจจุบัน)
ยูอาร์แอลwww.deepmind.com

กูเกิล ดีปไมด์ (Google DeepMind) เป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษด้านปัญญาประดิษฐ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2011 ภายใต้ชื่อ ดีปไมด์ เทคโนโลยี และกูเกิลเข้ามาซื้อกิจการ[4]ใน ค.ศ. 2014

ประวัติ

[แก้]

ค.ศ. 2011 ถึง ค.ศ. 2014

[แก้]

Demis Hassabis, Shane Legg และ Mustafa Suleyman ก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัพในปี ค.ศ. 2011 โดยที่ Hassabis พบกับ Legg ครั้งแรกที่ Gatsby Computational Neuroscience Unit มหาวิทยาลัย University College London หลังจากนั้น บริษัทเงินทุน Horizons Ventures และ Founders Fund รวมทั้ง Scott Banister และ Elon Musk ผู้ประกอบการได้เข้ามาลงทุนในบริษัท โดยผู้ลงทุนรายแรกๆคือ Jaan Tallinn ที่ได้เป็นที่ปรึกษาของบริษัทด้วย ในปี ค.ศ. 2014 บริษัทได้รับรางวัลบริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี จากห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เคมบริดจ์ บริษัทเป็นผู้สร้างโครงข่ายประสาทเทียมที่สามารถเรียนรู้ได้ว่าจะเล่นวิดีโอเกมให้เหมือนมนุษย์ได้อย่างไร และโครงข่ายประสาทเทียมนี้ที่สามารถเข้าถึงความจำภายนอกคล้ายกับเครื่องจักรทัวริงได้ ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถเลียนแบบความทรงจำระยะสั้นของมนุษย์ได้

กูเกิลเข้าครอบครองกิจการ

[แก้]

ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2014 กูเกิลประกาศว่าได้ตกลงกับบริษัทดีปไมด์ เทคโนโลยีในการเข้าครองครองกิจการแล้ว[5] นอกจากนี้ยังมีรายงานมาว่า เฟซบุ๊กเคยเข้ามาเจรจากับดีปไมด์ เทคโนโลยีเช่นกันแต่ได้ล้มเลิกไปก่อนในปี ค.ศ. 2013 หลังจากนั้น บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น กูเกิล ดีปไมด์ มูลค่าในการเข้าครอบครองกิจการในครั้งนั้นอยู่ที่ประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึง 500 ล้านปอนด์ เงื่อนไขของทางดีปไมด์ในการเข้าครอบครองกิจการของกูเกิลคือ จะต้องมีการจัดตั้งบอร์ดจริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์[6]

งานวิจัย

[แก้]

เป้าหมายของ ดีปไมด์ เทคโนโลยี คือ การแก้ไขปัญหาความฉลาด โดยบริษัทต้องการจะรวมเอาเทคนิคที่ดีที่สุดทางด้านการเรียนรู้ของเครื่องกับประสาทวิทยาระบบเข้าด้วยกันเพื่อสร้าง อัลกอริธึมที่เรียนรู้ได้ที่ทรงพลังและใช้งานได้หลากหลาย บริษัทต้องการจะทำให้ความฉลาดมีความเป็นแบบแผนมากขึ้น ไม่เพียงแต่จะทำให้เครื่องจักรฉลาดขึ้น แต่ยังมีจุดประสงค์เพื่อเข้าใจสมองของมนุษย์ด้วย

ปัจจุบัน บริษัทหันมาเน้นด้านงานวิจัยทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถเล่นเกมได้ และพัฒนาระบบเหล่านี้ให้สามารถเล่นเกมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเกมโกะ ไปจนถึงเกมตู้ การทำงานของเทคโนโลยีดีปไมด์นั้น มีความแตกต่างกับเครื่องดีปบลูหรือวัตสันของบริษัทไอบีเอ็มที่พัฒนาขึ้นเพื่อจุดประสงค์บางอย่างและมีประโยชน์เฉพาะอย่าง แต่ดีปไมด์อ้างว่า ระบบนั้นไม่จำเป็นต้องมีการป้อนคำสั่งล่วงหน้า ระบบสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ และใช้เพียงพิกเซลของภาพเป็นข้อมูลป้อนเข้าไป บริษัทได้ทดสอบระบบนี้กับวิดีโอเกม โดยเฉพาะเกมตู้ในยุคแรกๆ เช่น Space Invaders หรือ Breakout แม้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโค้ด แต่เครื่องก็สามารถเริ่มทำความเข้าใจได้ว่าจะเล่นเกมอย่างไร และหลังจากเล่นไปหลายๆเกมแล้ว ก็สามารถเล่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือมากกว่าที่มนุษย์ทำได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "DeepMind Technologies Limited – Overview (free company information from Companies House)". Companies House. สืบค้นเมื่อ 13 March 2016.
  2. Mnih, Volodymyr; Kavukcuoglu, Koray; Silver, David (26 February 2015). "Human-level control through deep reinforcement learning". Nature. 518 (7540): 529–33. Bibcode:2015Natur.518..529M. doi:10.1038/nature14236. PMID 25719670. S2CID 205242740.
  3. Shead, Sam (5 June 2020). "Why the buzz around DeepMind is dissipating as it transitions from games to science". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 June 2020.
  4. Bray, Chad (27 January 2014). "Google Acquires British Artificial Intelligence Developer". DealBook (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-04.
  5. "Google to buy artificial intelligence company DeepMind". Reuters. 26 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 12 October 2014.
  6. "Inside Google's Mysterious Ethics Board". Forbes. 3 February 2014. สืบค้นเมื่อ 12 October 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]