ข้ามไปเนื้อหา

เชื้อสายของดาวิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Davidic line)
เชื้อสายของดาวิด
ฮีบรู: בית דוד
พระราชอิสริยยศ
ปกครองสหราชอาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์
ราชอาณาจักรยูดาห์
สาขาราชวงศ์ซาโลมอน
ประมุขพระองค์แรกดาวิด (ตามความเชื่อดั้งเดิม)
ประมุขพระองค์สุดท้ายเศเดคียาห์

เชื้อสายของดาวิด (อังกฤษ: Davidic line) หรือ ราชวงศ์ดาวิด (อังกฤษ: House of David; ฮีบรู: בֵּית דָּוִד, อักษรโรมัน: Bēt Dāvīḏ) เป็นเชื้อสายของดาวิดกษัตริย์แห่งวงศ์วานอิสราเอล ในศาสนายูดาห์ แนวคิดเรื่องเชื้อสายของดาวิดมาจากความในคัมภีร์ฮีบรูและจากแบบแผนประเพณีในสมัยต่อ ๆ ไปตลอดหลายศตวรรษ

ในคัมภีร์ไบเบิล ดาวิดแห่งเผ่ายูดาห์เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 3 ของสหราชาธิปไตยแห่งอิสราเอลและยูดาห์[1][2] ภายหลังซาโลมอนพระราชโอรสของพระองค์ขึ้นสืบราชบัลลังก์ หลังการสิ้นพระชนม์ของซาโลมอน สิบเผ่าทางเหนือปฏิเสธเชื้อสายของดาวิดจากการไม่ยอมรับเรโหโบอัมที่เป็นพระราชโอรสของซาโลมอน แต่เลือกเยโรโบอัมขึ้นเป็นกษัตริย์แทนและก่อตั้งราชอาณาจักรอิสราเอลเหนือ เผ่ายูดาห์และเผ่าเบนยามินทางใต้ยังคงภักดีต่อราชวงศ์ดาวิด อาณาจักรของราชวงศ์ดาวิดกลายเป็นที่รู้จักในชื่อราชอาณาจักรยูดาห์ กล่าวกันว่ากษัตริย์แห่งยูดาห์ลำดับต่อ ๆ มาทุกพระองค์ยกเว้นอาธาลิยาห์เป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงของดาวิด ราชอาณาจักรยูดาห์ตกเป็นของจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ เมื่อ 587/6 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มฮัสโมเนียนที่ก่อตั้งระบอบกษัตริย์ของตนเองในยูเดียเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลไม่ถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับเชื้อสายของดาวิดหรือเผ่ายูดาห์

ในศาสนายูดาห์ เชื้อสายของดาวิดเป็นสายเลือดที่พระเมสสิยาห์ชาวฮีบรูเป็นผู้สืบเชื้อสายจากการสืบตระกูลฝั่งบิดา ในอวสานวิทยาของศาสนายูดาห์ พระเมสสิยาห์เป็นกษัตริย์ชาวยิวในอนาคตจากเชื้อสายของดาวิด ผู้ซึ่งคาดว่าจะขึ้นปกครองชาวยิวในยุคพระเมสสิยาห์และโลกที่จะมาถึง[3][4][5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Carr, David M. (2011). An Introduction to the Old Testament: Sacred Texts and Imperial Contexts of the Hebrew Bible. John Wiley & Sons. p. 58. ISBN 978-1-44435623-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
  2. Falk, Avner (1996). A Psychoanalytic History of the Jews. Fairleigh Dickinson University Press. p. 115. ISBN 978-0-83863660-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  3. Schochet, Rabbi Prof. Dr. Jacob Immanuel. "Moshiach ben Yossef". Tutorial. moshiach.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2002. สืบค้นเมื่อ 2 December 2012.
  4. Blidstein, Prof. Dr. Gerald J. "Messiah in Rabbinic Thought". MESSIAH. Jewish Virtual Library and Encyclopaedia Judaica 2008 The Gale Group. สืบค้นเมื่อ 2 December 2012.
  5. Telushkin, Joseph. "The Messiah". The Jewish Virtual Library Jewish Literacy. NY: William Morrow and Co., 1991. Reprinted by permission of the author. สืบค้นเมื่อ 2 December 2012.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]