ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์บากราตีออนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์บากราตีออนี

ตราพระราชลัญจกรเจ้าชายวัฆตันก์-อัลมัสฆันแห่งจอร์เจีย ที่อารามอะเลคซันดร์ เนฟสกี
พระราชอิสริยยศ
ปกครองจอร์เจีย
สาขา
ประมุขพระองค์แรกอาดาร์นาเซที่ 1 แห่งตาออ-กลาร์เจที
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียง
ประมุขพระองค์สุดท้าย
คาร์ทลี-กาเฆที:
พระเจ้ากีออร์กีที่ 12 (ค.ศ. 1798–1800)
อีเมเรที:
พระเจ้าซอลอมอนที่ 2 (ค.ศ. 1789–1810)
สถาปนาราว ค.ศ. 780
ล่มสลายค.ศ. 1801/1810

ราชวงศ์บากราตีออนี (จอร์เจีย: ბაგრატიონი, อักษรโรมัน: bagrat'ioni, ออกเสียง: [bɑɡrɑtʼiɔni]) เป็นราชวงศ์ชนชั้นเจ้าซึ่งปกครองจอร์เจียตั้งแต่สมัยกลางจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองด้วยศาสนาคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดราชวงศ์หนึ่งของโลก ในสมัยใหม่ ชื่อของราชวงศ์บางครั้งได้ผ่านการแปลงเป็นภาษากรีกในนามว่า บากราทิดจอร์เจีย (Georgian Bagratids) หรือในภาษาอังกฤษในนามว่า บาเกรชัน (Bagrations)

ต้นกำเนิดของราชวงศ์นี้ยังเป็นที่ถกเถียง พวกสมาชิกราชตระกูลบากราตีออนีช่วงแรกมีการการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์และได้ปกครองราชรัฐไอบีเรียสืบต่อจากราชวงศ์ฆอสรอวีอาเนบีในช่วงสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 8 ใน ค.ศ. 888 พระเจ้าอาดาร์นาเซที่ 4 แห่งไอบีเรีย ได้ฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ของชาวจอร์เจีย ชนพื้นเมืองต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรจอร์เจียซึ่งเจริญรุ่งเรืองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยเฉพาะในรัชกาลของพระเจ้าดาวิทที่ 4 แห่งจอร์เจีย (ค.ศ. 1089–1125) และในรัชกาลของพระปนัดดาของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์แห่งจอร์เจีย (ค.ศ. 1184–1213) ทำให้เกิดยุคทองของจอร์เจียในประวัติศาสตร์จอร์เจีย[1]

หลังจากการแตกแยกของราชอาณาจักรจอร์เจียในช่วงหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15 ราชวงศ์บากราตีออนีได้แตกแยกออกเป็นสามสาขาปกครองราชอาณาจักรจอร์เจียสามแห่ง ได้แก่ ราชอาณาจักรคาร์ทลี, ราชอาณาจักรกาเฆที และราชอาณาจักรอีเมเรที จนกระทั่งจักรวรรดิรัสเซียได้เข้ายึดครองในคริสต์ศตวรรษที่ 19[1] แม้ว่ามาตรา 3 ของสนธิสัญญาเกออร์กีเยฟสค์ ค.ศ. 1793 จะรับประกันอำนาจอธิปไตยที่ต่อเนื่องของราชวงศ์บากราตีออนีในการครองราชบัลลังก์จอร์เจีย แต่จักรวรรดิรัสเซียได้ละเมิดข้อสัญญาและการเข้าอารักขาจอร์เจียของรัสเซียจึงเป็นกลายเป็นการผนวกดินแดนอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย[2]

ราชวงศ์ยังคงประทับอยู่ในจักรวรรดิรัสเซียในฐานะตระกูลขุนนางของรัสเซียจนกระทั่งการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 การจัดตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจียใน ค.ศ. 1921 ทำให้สมาชิกพระราชวงศ์บางพระองค์ต้องยอมรับสถานะที่ถูกลดลงและสูญเสียทรัพย์สินในจอร์เจีย บางพระองค์ย้ายไปประทับยังยุโรปตะวันตก แต่บางพระองค์ได้กลับประเทศหลังจากจอร์เจียได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1991

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Montgomery-Massingberd, Hugh. "Burke's Royal Families of the World: Volume II Africa & the Middle East, 1980, pp. 56-67 ISBN 0-85011-029-7
  2. Martin, Russell. "The Treaty of Georgievsk; A Translation". Westminster College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-16. สืบค้นเมื่อ 16 March 2014.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • A. Khakhanov. "Histoire de la Georgie", Paris, 1900 (in French)
  • A. Manvelichvili. "Histoire de la Georgie", Paris, 1951 (in French)
  • A. Manvelishvili. "Russia and Georgia. 1801-1951", Vol. I, Paris, 1951 (in Georgian)
  • K. Salia. "History of the Georgian Nation", Paris, 1983
  • Kartlis Tskhovreba, vol. I-IV, Tbilisi, 1955-1973 (in Georgian)
  • P. Ingorokva. Giorgi Merchule (a monograph), Tbilisi, 1954 (in Georgian)
  • E. Takaishvili. "Georgian chronology and the beginning of the Bagratid rule in Georgia".- Georgica, London, v. I, 1935
  • Sumbat Davitis dze. "Chronicle of the Bagration's of Tao-Klarjeti", with the investigation of Ekvtime Takaishvili, Tbilisi, 1949 (in Georgian)
  • "Das Leben Kartlis", ubers. und herausgegeben von Gertrud Patch, Leipzig, 1985 (in German)
  • V. Guchua, N. Shoshiashvili. "Bagration's".- Encyclopedia "Sakartvelo", vol. I, Tbilisi, 1997, pp. 318–319 (in Georgian)

เว็บไซต์อ้างอิง

[แก้]