โรคจากไข่พยาธิตัวตืด
โรคจากไข่พยาธิตัวตืด (Cysticercosis) | |
---|---|
![]() | |
ภาพการสแกนสมองด้วยวิธีเอ็มอาร์ไอของผู้ป่วยโรคพยาธิตัวตืดขึ้นสมองซึ่งแสดงภาพของถุงน้ำหลายถุงที่อยู่ในสมอง | |
สาขาวิชา | Infectious disease |
อาการ | 1–2 cm lumps under the skin[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | Neurocysticercosis[2] |
ระยะดำเนินโรค | Long term[3] |
สาเหตุ | Eating tapeworm eggs (fecal oral transmission)[1] |
วิธีวินิจฉัย | aspiration of a cyst[2] |
การป้องกัน | Improved sanitation, treating those with taeniasis, cooking pork well[1] |
การรักษา | None, medications[2] |
ยา | Praziquantel, albendazole, corticosteroids, anti seizure medications[1] |
ความชุก | 1.9 million[4] |
การเสียชีวิต | 400[5] |
โรคจากไข่พยาธิตัวตืด (อังกฤษ: cysticercosis, neurocysticercosis) เป็นโรคติดเชื้อปรสิตหรือพยาธิชนิดหนึ่ง โรคนี้เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อปรสิตในระบบประสาทส่วนกลางที่พบมากที่สุดทั่วโลก[6] ผู้ป่วยจะเป็นโรคนี้ได้จากการกินเอาไข่ของพยาธิตืดหมู Taenia solium เข้าไป แบ่งได้เป็นชนิดที่มีการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง (neurocysticercosis) และติดเชื้อนอกระบบประสาท (extraneural cysticercosis)
การติดเชื้อของเนื้อเยื่อมีสาเหตุจาก ตัวอ่อน (cysticercus) ของพยาธิตืดหมู (Taenia solium)[7][1] อาจปรากฏอาการเพียงเล็กน้อยหรือว่าไม่มีอาการเลยเป็นปี ๆ โดยในบางคนอาจจะเกิดเป็นตุ่มที่ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อขนาดหนึ่งหรือสองเซนติเมตรและไม่รู้สึกเจ็บปวด หากว่ามีการติดเชื้อที่สมองอาจจะเป็น อาการทางสมอง [2][3] หลังจากที่มีตุ่มขึ้นนานหลายเดือนหรือหลายปี อาจจะรู้สึกเจ็บที่ตุ่มเหล่านั้น ตุ่มจะบวมและค่อย ๆ ยุบลง ในประเทศที่กำลังพัฒนา โรคนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของอาการชัก[2]
โดยปกติมักเกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่มีไข่ของพยาธิตัวตืดปนเปื้อนอยู่ แหล่งที่พบส่วนใหญ่คือในผักที่ไม่ได้ปรุงสุก [1] ไข่ของพยาธิตัวตืดมาจาก อุจจาระของผู้ที่มีพยาธิที่โตเต็มวัยอยู่ในร่างกายซึ่งอาการนี้จะเรียกว่าโรคพยาธิตัวตืด[2][8] โรคพยาธิตัวตืดเป็นอีกโรคหนึ่งที่แตกต่างไปซึ่งเกิดจากการรับประทานถุงน้ำของตัวพยาธิซึ่งปนเปื้อนมากับเนื้อหมูที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ[1] ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ที่มีพยาธิตัวตืดจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคจากไข่พยาธิตัวตืดได้มากกว่า [8] การวินิจฉัยโรคสามารถทำโดยการดูดถุงน้ำออก [2] การถ่ายภาพสมองด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์หรือการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (การตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI) มีประโยชน์อย่างมากต่อการตรวจวินิจฉัยโรคทางสมอง และยังพบว่าจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นซึ่งเรียกอาการนี้ว่าอีโอซิโนฟิลในน้ำหล่อสมองไขสันหลังและจะใช้เลือดเป็นตัวบ่งชี้[2]
การป้องกันโรคทำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลและการสุขาภิบาล อันได้แก่ การปรุงเนื้อหมูให้สุก ห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะและการมีแหล่งน้ำสะอาด ในการรักษาผู้ที่เป็นโรคพยาธิตัวตืดการป้องกันการแพร่กระจายเป็นเรื่องสำคัญ [1] ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาโรคที่ไม่มีอาการเกี่ยวข้องกับระบบสมอง [2] การรักษาผู้ที่มีอาการโรคพยาธิตืดหมูขึ้นสมองอาจทำโดยการให้ยาพราซิควอนเทลหรืออัลเบนดาโซล การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้อาจจะต้องใช้เวลายาวนาน อาจจำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อป้องกันการอักเสบระหว่างการรักษาและยาป้องกันการชัก การผ่าตัดบางทีอาจใช้รักษาเพื่อตัดถุงน้ำออก [1]
พยาธิตัวตืดพบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย แอฟริกาใต้สะฮารา และละตินอเมริกา[2] ในบางพื้นที่ประมาณว่าอาจมีผู้ที่ติดเชื้อมากถึง 25%[2] ในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ค่อยพบโรคนี้ [9] โรคนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1,200 รายในปี ค.ศ. 2010 เพิ่มจาก 700 รายที่พบในปี ค.ศ. 1990[10] โรคจากไข่ของพยาธิตัวตืดพบได้ในหมูและวัวแต่ไม่ค่อยปรากฏอาการเพราะส่วนใหญ่ตายก่อนที่จะเริ่มมีอาการ[1] มนุษย์เป็นโรคนี้มาโดยตลอดเวลาที่ผ่านมา[9] เป็นหนึ่งในโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Taeniasis/Cysticercosis Fact sheet N°376". World Health Organization. February 2013. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 García HH; Gonzalez AE; Evans CA; Gilman RH (August 2003). "Taenia solium cysticercosis". Lancet. 362 (9383): 547–56. doi:10.1016/S0140-6736(03)14117-7. PMC 3103219. PMID 12932389.
- ↑ 3.0 3.1 García HH; Evans CA; Nash TE; และคณะ (October 2002). "Current consensus guidelines for treatment of neurocysticercosis". Clin. Microbiol. Rev. 15 (4): 747–56. doi:10.1128/CMR.15.4.747-756.2002. PMC 126865. PMID 12364377.
- ↑ GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
{{cite journal}}
:|first1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015De
- ↑ García HH; Evans CA; Nash TE; และคณะ (October 2002). "Current consensus guidelines for treatment of neurocysticercosis". Clin. Microbiol. Rev. 15 (4): 747–56. doi:10.1128/CMR.15.4.747-756.2002. PMC 126865. PMID 12364377. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
- ↑ Roberts, Larry S.; Janovy, Jr., John (2009). Gerald D. Schmidt & Larry S. Roberts' Foundations of Parasitology (8 ed.). Boston: McGraw-Hill Higher Education. pp. 348–351. ISBN 978-0-07-302827-9.
- ↑ 8.0 8.1 "CDC - Cysticercosis".
- ↑ 9.0 9.1 Bobes RJ; Fragoso G; Fleury A; และคณะ (April 2014). "Evolution, molecular epidemiology and perspectives on the research of taeniid parasites with special emphasis on Taenia solium". Infect. Genet. Evol. 23: 150–60. doi:10.1016/j.meegid.2014.02.005. PMID 24560729.
- ↑ Lozano R; Naghavi M; Foreman K; และคณะ (December 2012). "Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2095–128. doi:10.1016/S0140-6736(12)61728-0. PMID 23245604.
- ↑ "Neglected Tropical Diseases". cdc.gov. June 6, 2011. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Taenia solium". NCBI Taxonomy Browser. 6204.
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |