ข้ามไปเนื้อหา

สเตอรอยด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สเตียรอยด์)

สเตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน

Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent.

ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล

สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

สเตอรอยด์ฮอร์โมน ทำให้เกิดผลทางสรีรวิทยา โดยการเชื่อมกับสเตอรอยด์ฮอร์โมนรีเซพเตอร์ โปรตีนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยีนทรานสคริปชั่น และการทำงานของเซลล์

การสังเคราะห์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]