อันดับปลาหนัง
อันดับปลาหนัง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสยุคปลาย-ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลาค้าวดำ (Wallagonia miostoma) ปลาหนังขนาดใหญ่ในวงศ์ Siluridae | |
ปลาซัคเกอร์ม้าลาย (Hypancistrus zebra) เป็นปลาขนาดเล็กในวงศ์ Loricariidae นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้นใหญ่: | Osteichthyes |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับใหญ่: | Ostariophysi |
อันดับ: | Siluriformes Cuvier, 1817 |
วงศ์ | |
| |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (อังกฤษ: Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลากด
ลักษณะ
[แก้]ปลาในตระกูลนี้ เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ ปลาหลายชนิดในตระกูลนี้มีผิวหนังอ่อนนุ่ม แต่บางชนิดก็มีเกราะแข็งหุ้มร่างกาย เช่น ปลาเทศบาล และปลาแพะ ปลาหนังส่วนใหญ่มีหนวดใช้ช่วยหาอาหาร เป็นประสาทสัมผัสและเป็นปุ่มรับรส ซึ่งจำนวนหนวดจะแตกต่างกันไปตามชนิด โดยปลาหนังที่มีหนวดมากที่สุด จะมีหนวดสี่คู่ แบ่งเป็น หนวดที่รูจมูกหนึ่งคู่ หนวดที่ข้างปากหนึ่งคู่ และหนวดใต้คางสองคู่ นอกจากนี้แล้วผิวหนังของปลาหนังถือเป็นประสาทสัมผัสที่ดีมาก ใช้สำหรับการรับรู้รสและการเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำ [3]
ปลาหนังเกือบทุกชนิด มีเงี่ยงแข็งบนครีบกระโดงหลังและครีบอก ซึ่งไว้ใช้ป้องกันตัว เงี่ยงของปลาหนังบางชนิดมีพิษเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้
ปลาหนังมีถิ่นกำเนิดกว้าง สามารถพบได้ในทุกทวีป ยกเว้นแต่เพียงขั้วโลกใต้ ปลาส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่น ปลาในวงศ์ปลากดทะเลและวงศ์ปลาดุกทะเล ซึ่งอาศัยในน้ำกร่อยและน้ำทะเลได้
วงศ์
[แก้]ตระกูลปลาหนังในปัจจุบัน สามารถแบ่งย่อยออกไปได้ 35 วงศ์ ตัวอย่างวงศ์ที่สำคัญและพบในประเทศไทย ได้แก่
- วงศ์ปลาขยุย (Akysidae) (ปลาขยุย)
- วงศ์ปลาดัก (Amblycipitidae) (ปลาดัก)
- วงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) (ปลาริวกิว, ปลาอุก)
- วงศ์ปลากด (Bagridae) (ปลาแขยง, ปลากด, ปลามังกง)
- วงศ์ปลากะแมะ (Chacidae) (ปลากะแมะ)
- วงศ์ปลาดุก (Clariidae) (ปลาดุกด้าน, ปลาดุกอุย)
- วงศ์ปลาแค้ขี้หมู (Erethistidae) (ปลาแค้ขี้หมู)
- วงศ์ปลาจีด (Heteropneustidae) (ปลาจีด)
- วงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) (ปลาสังกะวาด, ปลาเผาะ, ปลาโมง, ปลาบึก, ปลาเทโพ, ปลาเทพา)
- วงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae) (ปลาดุกทะเล, ปลาปิ่นแก้ว)
- วงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) (ปลาสังกะวาด, ปลายอนทอง, ปลายอนโล่)
- วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) (ปลาก้างพระร่วง, ปลาเบี้ยว, ปลาสายยู, ปลาปีกไก่, ปลาชะโอน, ปลาค้าว)
- วงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) (ปลาค้างคาว, ปลายะคุย)
นอกจากนี้ ยังมีวงศ์ปลาหนังจากต่างประเทศ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั่วไป คือ
- Callichthyidae (ปลาแพะ)
- Loricariidae (ปลาเทศบาล, ปลาซักเกอร์)
- Malapteruridae (ปลาดุกไฟฟ้า)
- Mochokidae (ปลากลับหัว)
- Pimelodidae (ปลาเรดเทลแคทฟิช, ปลาไทเกอร์โชวเวลโนส[1])
Siluriformes |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จาก Fishbase.org (อังกฤษ)
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ "สุดยอดสารคดีโลก : ชีวิตมหัศจรรย์ ตอน จักรวาลกว้างใหญ่". ไทยพีบีเอส. 15 September 2014. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.[ลิงก์เสีย]