ปลาจีด
ปลาจีด | |
---|---|
ภาพวาดของปลาจีดชนิด Heteropneustes fossilis | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Siluriformes |
วงศ์: | Heteropneustidae Hora, 1936 |
สกุล: | Heteropneustes Müller, 1840 |
ชนิดต้นแบบ | |
Silurus fossilis Bloch, 1794 | |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาจีด หรือ ปลาเมง ในภาษาใต้[1](อังกฤษ: Stinger catfish, Heteropneustid catfish, Airsac catfish) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Heteropneustidae (/เฮท-แอร์-โอ-นิวส์-ทิ-ดี้/)
มีเพียงสกุลเดียว คือ Heteropneustes (/เฮท-แอร์-โอ-นิวส์-ทิส/)
มีรูปร่างคล้ายปลาใน วงศ์ปลาดุก (Clariidae) แต่มีลำตัวยาวเรียวและแบนข้างกว่ามาก ส่วนหัวแบนลาดลงข้างล่าง ปากเล็ก ตาเล็ก มีหนวดค่อนข้างยาว 4 คู่รอบปาก ครีบหลังมีขนาดเล็ก อยู่ตรงกับครีบท้อง ครีบหูมีก้านครีบที่เป็นหนามแหลมหนึ่งอัน มีพิษแรงกว่าปลาดุกมาก ครีบก้นเป็นแผง ครีบหางกลมมน ไม่มีครีบไขมัน ครีบก้นเล็ก ตัวมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำตาลอมแดง และอาจมีแถบสีขาวจางบนข้างลำตัวข้างละ 1-2 แถบตามความยาวลำตัว
นอกจากนี้แล้วปลาจีดยังมีอวัยวะช่วยหายใจที่แตกต่างไปจากปลาในวงศ์ Clariidae ชนิดและสกุลอื่น คือ มีท่อยื่นยาวจากช่องเหงือกไปทางด้านท้ายของลำตัว 1 คู่ [2]
ปลาจีดพบได้ในทุกแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย รวมทั้งพบในประเทศใกล้เคียง ตั้งแต่ อินเดีย, ปากีสถาน, ศรีลังกา, พม่า จนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย สำหรับในประเทศไทย ใกล้สูญพันธุ์แล้วในภาคกลาง แต่ในภาคใต้ยังพบมากอยู่ และมีการนิยมเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจด้วยการผสมเทียมในบ่อเลี้ยง
ปลาจีดจะแพร่พันธุ์วางไข่ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยแม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว 70-100 กรัม สามารถวางไข่ได้ประมาณ 2,500-4,000 ฟอง โดยไข่มีลักษณะเป็นไข่จมน้ำและมีสภาพเกาะตัวติดกัน
นอกจากนี้แล้ว ปลาจีดยังถูกนิยมรวบรวมปลาวัยอ่อนที่พบในธรรมชาติ เลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย[1]
การจำแนก
[แก้]มีเพียงสกุลเดียว แต่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นชนิดที่ซ้ำซ้อนกัน
- Heteropneustes fossilis (Bloch, 1794)
- Heteropneustes kemratensis (Fowler, 1937)
- Heteropneustes nani Hossain, Sarker, Sharifuzzaman & Chowdhury, 2013[3]
- Heteropneustes longipectoralis Rema Devi & Raghunathan, 1999
- Heteropneustes microps (Günther, 1864)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวช. สารานุกรมปลาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทเอม ซัพพลาย, 2543. 170 หน้า. ISBN 9748990028
- ↑ Nelson, J. S.: Fishes of the World, John Wiley & Sons, Inc., p , 2006 ISBN 0-471-25031-7
- ↑ Hossain, M.S., Sarker, S., Sharifuzzaman, S.M. & Chowdhury, S.R. (2013): New species of stinging catfish Heteropneustes nani (Siluriformes: Heteropneustidae) from Noakhali, Bangladesh. Vertebrate Zoology, 63 (3): 259–267.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Heteropneustes ที่วิกิสปีชีส์