ข้ามไปเนื้อหา

การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Carlos Sainz Jr.)
การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์
เกิดการ์โลส ไซนซ์ บัซเกซ เด กัสโตร
(1994-09-01) 1 กันยายน ค.ศ. 1994 (30 ปี)
มาดริด สเปน
บิดามารดา
ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก
สัญชาติสเปน สเปน
ทีมในปี 2025วิลเลียมส์[1]
หมายเลขรถ55
แข่ง209 (เริ่มต้น 206)
ชนะเลิศ0
ชนะ4
โพเดียม27
คะแนน1272.5
ตำแหน่งโพล6
ทำรอบได้เร็วที่สุด4
แข่งครั้งแรกออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ 2015
ชนะครั้งแรกบริติชกรังด์ปรีซ์ 2022
ชนะครั้งล่าสุดเม็กซิโกซิตีกรังด์ปรีซ์ 2024
แข่งครั้งล่าสุดอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024
อันดับในปี 20245 (290 คะแนน)
รายการที่แล้ว
ตำแหน่งแชมป์
เว็บไซต์carlossainz.es
ลายมือชื่อ

การ์โลส ไซนซ์ บัซเกซ เด กัสโตร[] (สเปน: Carlos Sainz Vázquez de Castro, เสียงอ่านภาษาสเปน: [ˈkaɾlos ˈsajnθ ˈβaθkeθ ðe ˈkastɾo] ; เกิด 1 กันยายน ค.ศ. 1994) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อย่อ การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์ หรือ การ์โลส ไซนซ์ (สเปน: Carlos Sainz Jr.) เป็นนักแข่งรถชาวสเปน ปัจจุบันแข่งรถในการแข่งขันฟอร์มูลาวันให้แก่แฟร์รารี ไซนซ์คว้าชัยชนะมาได้ 4 กรังด์ปรีซ์ตลอด 10 ฤดูกาลแข่งขัน

ไซนซ์เกิดที่มาดริด โดยเขาเป็นบุตรของแชมป์โลกสองสมัยในการแข่งแรลลีชิงแชมป์โลก การ์โลส ไซนซ์[3] เมื่อเลื่อนขั้นจากการแข่งรถโกคาร์ตสู่รายการแข่งขันฟอร์มูลาระดับรอง ไซนซ์คว้าแชมป์แรกในอาชีพของเขาที่การแข่งขันฟอร์มูลาเรอโนลต์ เอ็นอีซีในฤดูกาล 2011 กับก็อยราเน็นจีพี[4] และได้อันดับรองชนะเลิศโดยเป็นรองเพียงโรบิน ไฟรนส์ ในการแข่งขันยูโรคัพในฤดูกาลเดียวกัน[5] หลังจากเข้าแข่งขันรายการบริติชฟอร์มูลา 3 ฟอร์มูลา 3 ยูโรซีรีส์ และเอฟไอเอฟอร์มูลา 3 ในฤดูกาล 2012 ไซนซ์ได้เลื่อนขั้นสู่จีพี3 ซีรีส์ กับอาร์เดน แต่ทว่าเขาทำผลงานจบอันดับที่สิบในฤดูกาลแรกของเขา[6] ถึงอย่างนั้นเขาก็มาประสบความสำเร็จในรายการฟอร์มูลาเรอโนลต์ 3.5 ซีรีส์ ด้วยการคว้าแชมป์ฤดูกาล 2014 กับทีมใหม่คือเดอาแอมแอ็ส[7]

ไซนซ์เป็นสมาชิกเร็ดบุลจูเนียร์ทีมตั้งแต่ ค.ศ. 2010 และทำสัญญากับโตโรรอสโซในฤดูกาล 2015 โดยเปิดตัวคู่กับมักซ์ แฟร์สตัปเปิน[8][9] เขาอยู่กับโตโรรอสโซจนถึงยูไนเต็ดสเตตส์กรังด์ปรีซ์ 2017 ในที่ซึ่งเขามาแทนที่โจเลียน พาล์มเมอร์ ที่เรอโนลต์[10] ไซนซ์ย้ายเข้าสู่แม็กลาเรนในฤดูกาล 2019 เป็นจุดสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเร็ดบุล[11] เขาได้โพเดียมแรกของเขาที่บราซิลเลียนกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาลนั้น และอีกครั้งที่อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาล 2020[12][13] ไซน์ทำสัญญากับแฟร์รารีในฤดูกาล 2021 โดยแทนที่เซบัสทีอัน เฟ็ทเทิล และจับคู่กับชาร์ล เลอแกลร์[14] หลังจากฤดูกาลเปิดตัวที่ไร้ชัยชนะกับแฟร์รารี ไซนซ์ก็สามารถคว้าตำแหน่งโพลและชัยชนะแรกได้ที่บริติชกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาล 2022[15] เขาคว้าชัยชนะเพิ่มให้กับแฟร์รารีที่สิงค์โปร์ในฤดูกาล 2023[16] เช่นเดียวกับที่ออสเตรเลีย และเม็กซิโกซิตีในฤดูกาล 2024[17][18]

อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024 ไซนซ์มีผลงานชนะการแข่งขัน 4 ครั้ง ตำแหน่งโพล 6 ครั้ง รอบที่เร็วที่สุด 4 ครั้ง และโพเดียม 27 ครั้งในการแข่งขันฟอร์มูลาวัน ไซนซ์จะออกจากแฟร์รารีเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2024 เพื่อย้ายเข้าสู่วิลเลียมส์[1]

สถิติการแข่งรถโกคาร์ต

[แก้]
ฤดูกาล รายการ ทีม อันดับ
2006 ตอร์เนโออินดุสตรีเอ – รุ่นมินิคาร์ต 3
โกปา เด กัมเปออนส์ – รุ่นคาเด็ต 2
2007 สเปนิชแชมเปียนชิปรุ่นเคเอฟ3 11
ตอร์เนโออินดุสตรีเอ – รุ่นเคเอฟ3 12
โกปา เด กัมเปออนส์ – รุ่นเคเอฟ3 6
ซีไอเค-เอฟไอเอ เอเชียแปซิฟิกแชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟ3 3
2008 เซาท์การ์ดาวินเทอร์คัพ – รุ่นเคเอฟ3 NC
โตรเฟโออันเดรอามาร์กุตตี – รุ่นเคเอฟ3 7
ซีไอเค-เอฟไอเอ ยูโรเปียนแชมเปียนชิปรุ่นเคเอฟ3 NC
ดับเบิลยูเอสเคอินเตอร์เนชันแนลซีรีส์ – รุ่นเคเอฟ3 16
โมนาโกคาร์ตคัพรุ่นเคเอฟ3 เฆนิการ์ต-แอลทีพี 12
ซีไอเค-เอฟไอเอ เอเชียแปซิฟิกแชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟ3 1
2009 เซาท์การ์ดาวินเทอร์คัพ – รุ่นเคเอฟ3 โทนีคาร์ตจูเนียร์เรซซิงทีม 5
โตรเฟโออันเดรอามาร์กุตตี – รุ่นเคเอฟ3 เฆนิการ์ต-แอลทีพี 7
สเปนิชแชมเปียนชิปรุ่นเคเอฟ3 2
เจอร์มันคาร์ตติงแชมเปียนชิป – รุ่นจูเนียร์ เคเอสเอ็มเรซซิงทีม 12
ซีไอเค-เอฟไอเอ ยูโรเปียนแชมเปียนชิปรุ่นเคเอฟ3 โทนีคาร์ตจูเนียร์เรซซิงทีม 2
ซีไอเค-เอฟไอเอ เวิร์ลคัพรุ่นเคเอฟ3 24
ดับเบิลยูเอสเค อินเตอร์เนชันแนลซีรีส์ – รุ่นเคเอฟ3 3
โมนาโกคาร์ตคัพรุ่นเคเอฟ3 เฆนิการ์ต-แอลทีพี 1
แหล่งที่มา:[19][20]

สถิติการแข่งรถ

[แก้]

สรุปอาชีพนักแข่งรถ

[แก้]
ฤดูกาล รายการ ทีม แข่งขัน ชนะ โพล ทำรอบ โพเดียม คะแนน อันดับ
2010 ฟอร์มูลาบีเอ็มดับเบิลยูยุโรป ยูโรอินเตอร์เนชันแนล 16 1 2 2 5 227 4
ฟอร์มูลาบีเอ็มดับเบิลยูแปซิฟิก 9 2 3 2 5 NC
ยูโรคัพฟอร์มูลาเรอโนลต์ 2.0 เอปไซลอนเอวส์กาดี 2 0 0 2 1 NC
เทค 1 เรซซิง 2 0 0 0 0
ยูโรเปียนเอฟ3 โอเพน เด บิโยตามอเตอร์สปอร์ต 4 0 0 0 1 NC
ฟอร์มูลาเรอโนลต์ยูเควินเทอร์ซีรีส์ ก็อยราเน็นบราเทอส์มอเตอร์สปอร์ต 2 0 0 0 0 18 18
2011 ยูโรคัพฟอร์มูลาเรอโนลต์ 2.0 ก็อยราเน็นมอเตอร์สปอร์ต 14 2 4 5 10 200 2
ฟอร์มูลาเรอโนลต์ 2.0 เอ็นอีซี 20 10 8 12 17 489 1
ฟอร์มูลา 3 ยูโรซีรีส์ ซิกเนเจอร์ 3 0 0 0 0 NC
มาเก๊ากรังด์ปรีซ์ 1 0 0 0 0 17
2012 บริติชฟอร์มูลา 3 แชมเปียนชิป คาร์ลิน 26 5 1 2 9 224 6
ฟอร์มูลา 3 ยูโรซีรีส์ 24 0 2 0 2 112 9
เอฟไอเอ ฟอร์มูลา 3 ยูโรเปียนแชมเปียนชิป 20 1 2 1 5 161 5
มาสเตอส์ออฟฟอร์มูลา 3 1 0 0 0 0 4
มาเก๊ากรังด์ปรีซ์ 1 0 0 0 0 7
2013 จีพี3 ซีรีส์ อาร์เดน 16 0 1 2 2 66 10
ฟอร์มูลาเรอโนลต์ 3.5 ซีรีส์ เซตากอร์เซ 9 0 0 1 0 22 19
มาเก๊ากรังด์ปรีซ์ คาร์ลิน 1 0 0 0 0 7
2014 ฟอร์มูลาเรอโนลต์ 3.5 ซีรีส์ เดอาแอมแอ็ส 17 7 7 6 7 227 1
2015 ฟอร์มูลาวัน สกูเดเรียโตโรรอสโซ 19 0 0 0 0 18 15
2016 ฟอร์มูลาวัน สกูเดเรียโตโรรอสโซ 21 0 0 0 0 46 12
2017 ฟอร์มูลาวัน สกูเดเรียโตโรรอสโซ 16 0 0 0 0 54 9
เรอโนลต์สปอร์ต เอฟ1 ทีม 4 0 0 0 0
2018 ฟอร์มูลาวัน เรอโนลต์สปอร์ต เอฟ1 ทีม 21 0 0 0 0 53 10
2019 ฟอร์มูลาวัน แม็กลาเรน เอฟ1 ทีม 21 0 0 0 1 96 6
2020 ฟอร์มูลาวัน แม็กลาเรน เอฟ1 ทีม 17 0 0 1 1 105 6
2021 ฟอร์มูลาวัน สกูเดเรียแฟร์รารีมิสชันวินนาว 22 0 0 0 4 164.5 5
2022 ฟอร์มูลาวัน สกูเดเรียแฟร์รารี 22 1 3 2 9 246 5
2023 ฟอร์มูลาวัน สกูเดเรียแฟร์รารี 22 1 2 0 3 200 7
2024 ฟอร์มูลาวัน สกูเดเรียแฟร์รารี 24 2 1 1 9 290 5
แหล่งที่มา:[20]
หมายเหตุ
  • † เนื่องจากไซนซ์เป็นนักแข่งรับเชิญ จึงไม่มีสิทธิ์สะสมคะแนนชิงแชมป์

ผลการแข่งขันฟอร์มูลาวัน

[แก้]
(คำสำคัญ) (การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือตำแหน่งโพล; การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวเอียง คือทำรอบเร็วที่สุด)
ปี ผู้เข้าแข่งขัน แชสซี เครื่องยนต์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 อันดับ คะแนน
2015 สกูเดเรียโตโรรอสโซ โตโรรอสโซ เอสทีอาร์10 เรอโนลต์ เอ็นเนอร์จี เอฟ1‑2015 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
9
MAL
8
CHN
13
BHR
Ret
ESP
9
MON
10
CAN
12
AUT
Ret
GBR
Ret
HUN
Ret
BEL
Ret
ITA
11
SIN
9
JPN
10
RUS
Ret
USA
7
MEX
13
BRA
Ret
ABU
11
15 18
2016 สกูเดเรียโตโรรอสโซ โตโรรอสโซ เอสทีอาร์11 แฟร์รารี 060 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
9
BHR
Ret
CHN
9
RUS
12
ESP
6
MON
8
CAN
9
EUR
Ret
AUT
8
GBR
8
HUN
8
GER
14
BEL
Ret
ITA
15
SIN
14
MAL
11
JPN
17
USA
6
MEX
16
BRA
6
ABU
Ret
12 46
2017 สกูเดเรียโตโรรอสโซ โตโรรอสโซ เอสทีอาร์12 โตโรรอสโซ 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
8
CHN
7
BHR
Ret
RUS
10
ESP
7
MON
6
CAN
Ret
AZE
8
AUT
Ret
GBR
Ret
HUN
7
BEL
10
ITA
14
SIN
4
MAL
Ret
JPN
Ret
9 54
เรอโนลต์สปอร์ต เอฟ1 ทีม เรอโนลต์ อาร์.เอส.17 เรอโนลต์ อาร์.เอส.17 1.6 วี6 เทอร์โบ USA
7
MEX
Ret
BRA
11
ABU
Ret
2018 สกูเดเรียโตโรรอสโซ โตโรรอสโซ อาร์.เอส.18 โตโรรอสโซ อาร์.เอส.18 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
10
BHR
11
CHN
9
AZE
5
ESP
7
MON
10
CAN
8
FRA
8
AUT
12
GBR
Ret
GER
12
HUN
9
BEL
11
ITA
8
SIN
8
RUS
17
JPN
10
USA
7
MEX
Ret
BRA
12
ABU
6
10 53
2019 แม็กลาเรน เอฟ1 ทีม แม็กลาเรน เอ็มซีแอล34 เรอโนลต์ อี-เทค 19 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
Ret
BHR
19†
CHN
14
AZE
7
ESP
8
MON
6
CAN
11
FRA
6
AUT
8
GBR
6
GER
5
HUN
5
BEL
Ret
ITA
Ret
SIN
12
RUS
6
JPN
5
MEX
13
USA
8
BRA
3
ABU
10
6 96
2020 แม็กลาเรน เอฟ1 ทีม แม็กลาเรน เอ็มซีแอล35 เรอโนลต์ อี-เทค 20 1.6 วี6 เทอร์โบ AUT
5
STY
9
HUN
9
GBR
13
70A
13
ESP
6
BEL
DNS
ITA
2
TUS
Ret
RUS
Ret
EIF
5
POR
6
EMI
7
TUR
5
BHR
5
SKH
4
ABU
6
6 105
2021 สกูเดเรียแฟร์รารีมิสชันวินนาว แฟร์รารี เอสเอฟ21 แฟร์รารี 065/6 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
8
EMI
5
POR
11
ESP
7
MON
2
AZE
8
FRA
11
STY
6
AUT
5
GBR
6
HUN
3
BEL
10
NED
7
ITA
6
RUS
3
TUR
8
USA
7
MXC
6
SAP
63
QAT
7
SAU
8
ABU
3
5 164.5
2022 สกูเดเรียแฟร์รารี แฟร์รารี เอฟ1-75 แฟร์รารี 066/7 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
2
SAU
3
AUS
Ret
EMI
Ret4
MIA
3
ESP
4
MON
2
AZE
Ret
CAN
2
GBR
1
AUT
Ret3
FRA
5
HUN
4
BEL
3
NED
8
ITA
4
SIN
3
JPN
Ret
USA
Ret
MXC
5
SAP
32
ABU
4
5 246
2023 สกูเดเรียแฟร์รารี แฟร์รารี เอสเอฟ-23 แฟร์รารี 066/10 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
4
SAU
6
AUS
12
AZE
55
MIA
5
MON
8
ESP
5
CAN
5
AUT
63
GBR
10
HUN
8
BEL
Ret4
NED
5
ITA
3
SIN
1
JPN
6
QAT
DNS6
USA
36
MXC
4
SAP
68
LVG
6
ABU
18†
7 200
2024 สกูเดเรียแฟร์รารี แฟร์รารี เอสเอฟ-24 แฟร์รารี 066/12 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
3
SAU
WD
AUS
1
JPN
3
CHN
55
MIA
55
EMI
5
MON
3
CAN
Ret
ESP
6
AUT
35
GBR
5
HUN
6
BEL
6
NED
5
ITA
4
AZE
18†
SIN
7
USA
22
MXC
1
SAP
Ret5
LVG
3
QAT
64
ABU
2
5 290
แหล่งที่มา:[21][22]
หมายเหตุ
  • † ไม่จบการแข่งขันแต่ถูกจัดอันดับ เนื่องจากแข่งขันมากกว่าร้อยละ 90 ของระยะทางการแข่งขัน
  • ‡ คะแนนเพียงครึ่งหนึ่งถูกมอบให้ เนื่องจากการแข่งขันเสร็จสิ้นน้อยกว่าร้อยละ 75 ของระยะทางการแข่งขัน

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชื่อเต็ม: การ์โลส ไซนซ์ บัซเกซ เด กัสโตร เซนามอร์ รินกอน เรโบโย บีร์โต โมเรโน เด อารันดา ดอน เปร์ อูร์ริเอลากอยเรีย เปเรซ เดล ปุลการ์ (สเปน: Carlos Sainz Vázquez de Castro Cenamor Rincón Rebollo Virto Moreno de Aranda Don Per Urrielagoiria Pérez del Pulgar)[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Williams Racing welcomes Carlos Sainz for 2025, 2026 and beyond". Williams Racing. 29 July 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2024.
  2. Ferrari (21 May 2021). "C² Classroom: Spanish lesson". YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2022. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.
  3. "An ode to my father, The Matador – By Carlos Sainz". Formula 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2022. สืบค้นเมื่อ 6 November 2022.
  4. "Carlos Sainz Jr. conquista la Fórmula Renault 2.0". Diario AS (ภาษาสเปน). 28 August 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2021. สืบค้นเมื่อ 15 May 2017.
  5. "Frijns takes title in style". World Series by Renault. Renault Sport. 18 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2011. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  6. "Daniil Kvyat clinched the 2013 GP3 title with a dominant win in Abu Dhabi". Sky Sports. 2 November 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2013. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  7. "La dixième saison des World Series by Renault s'achève en beauté à Jerez". World Series by Renault (ภาษาฝรั่งเศส). Renault Sport. 20 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2014. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  8. "Five things you should know about Carlos Sainz". Redbull. 2 August 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2022. สืบค้นเมื่อ 30 April 2022.
  9. "Sainz to race for Scuderia Toro Rosso". Scuderia Toro Rosso. Scuderia Toro Rosso S.p.A. 28 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2017. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  10. "Renault Sport Formula One Team confirms driver change". Renault F1. Renault Sport. 7 October 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
  11. "Carlos Sainz to race for McLaren from 2019". McLaren Formula One Team. 16 August 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2019. สืบค้นเมื่อ 16 August 2018.
  12. "The wait is over! Sainz celebrates his first F1 podium - and McLaren's first in 2,072 days". Formula 1. 17 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2023. สืบค้นเมื่อ 9 April 2023.
  13. "Gasly beats Sainz to maiden win in Monza thriller, as Hamilton recovers to P7 after penalty". Formula 1. 6 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2020. สืบค้นเมื่อ 6 September 2020.
  14. "Carlos Sainz confirmed as Charles Leclerc's Ferrari team mate for 2021, replacing Sebastian Vettel". Formula 1. 14 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2021. สืบค้นเมื่อ 14 May 2020.
  15. "Sainz converts pole into maiden Grand Prix victory at Silverstone after scintillating race". Formula 1. 3 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2022. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
  16. "Sainz holds off Norris and fast-charging Mercedes pair to take sensational Singapore Grand Prix victory". Formula 1. 17 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2023. สืบค้นเมื่อ 17 September 2023.
  17. "Sainz storms to victory amid drama in Australia as Verstappen retires and Russell crashes out". Formula 1. 24 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2024. สืบค้นเมื่อ 24 March 2024.
  18. "Sainz surges to Mexico victory ahead of Norris and Leclerc as Verstappen hit with two penalties for Norris moves". Formula 1. 27 October 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2024. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  19. "Sainz Carlos". Kartcom.com (ภาษาฝรั่งเศส). 13 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2021. สืบค้นเมื่อ 30 November 2021.
  20. 20.0 20.1 "Carlos Sainz Jr. | Racing career profile". DriverDB.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2019. สืบค้นเมื่อ 30 November 2021.
  21. "Carlos Sainz | Results". Motorsport Stats. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2024. สืบค้นเมื่อ 16 December 2024.
  22. "Carlos Sainz | Involvement". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2024. สืบค้นเมื่อ 16 December 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]