บัฟฟาโล (รถยานเกราะป้องกันทุ่นระเบิด)
บัฟฟาโล | |
---|---|
บัฟฟาโลขณะใช้เพื่อขุดระเบิดแสวงเครื่องระหว่างการฝึก | |
ชนิด | เอ็มแรป |
แหล่งกำเนิด | สหรัฐ |
บทบาท | |
ผู้ใช้งาน | ดูประจำการ |
สงคราม | สงครามอิรัก, สงครามอัฟกานิสถาน |
ประวัติการผลิต | |
บริษัทผู้ผลิต | ฟอร์ซโพรเทกชัน, อิงก์. |
ช่วงการผลิต | ค.ศ. 2003 |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 45,320 ปอนด์ (20,560 กก.) (น้ำหนักรถเปล่า)[1] 56,000 ปอนด์ (25,000 กก.) (น้ำหนักสูงสุด)[1] |
ความยาว | 27 ฟุต (8.2 ม.) |
ความกว้าง | 8.5 ฟุต (2.6 ม.) |
ความสูง | 13 ฟุต (4.0 ม.) |
ลูกเรือ | 2+4 นาย |
เกราะ | ปกป้องล้อทั้งหมดและทุ่นระเบิดตรงกลาง |
เครื่องยนต์ | แม็ก เอเอสอีที เอไอ-400 ไอ6 330 กิโลวัตต์ (450 แรงม้า) |
ความจุน้ำหนักบรรทุก | 38,680 ปอนด์ |
เครื่องถ่ายกำลัง | อัลลิสัน เอชดี-4560พี อัตโนมัติ |
กันสะเทือน | ขับเคลื่อน 6 ล้อ |
ความสูงจากพื้นรถ | 15 นิ้ว (410 มม.) |
ความจุเชื้อเพลิง | 85 แกลลอน |
พิสัยปฏิบัติการ | 300 ไมล์ (483 กม.) |
ความเร็ว | 65 ไมล์ต่อชั่วโมง (105 กม./ชม.) |
บัฟฟาโล (อังกฤษ: Buffalo) เป็นยานพาหนะทางทหารหุ้มเกราะต้านทานทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี (เอ็มแรป) แบบล้อยาง ที่สร้างขึ้นโดยฟอร์ซโพรเทกชัน, อิงก์. ซึ่งเป็นแผนกของบริษัทเจเนอรัลไดนามิกส์ โดยเป็นยานพาหนะที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์บริษัทฟอร์ซโพรเทกชัน รองลงมาคือคูการ์ ที่เป็นรถหุ้มเกราะต้านทานทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี กับโอเซลอต ที่เป็นรถตรวจการณ์ป้องกันเบา (LPPV)
ประวัติ
[แก้]รถบัฟฟาโลได้รับการออกแบบโดยอิงจากรถป้องกันทุ่นระเบิดอย่างแคสเปอร์ของประเทศแอฟริกาใต้ที่ประสบความสำเร็จ[2] ซึ่งแคสเปอร์เป็นรถสี่ล้อ ในขณะที่บัฟฟาโลมีหกล้อ ทั้งนี้ บัฟฟาโลยังมีแขนเป็นข้อขนาดใหญ่ ที่ใช้สำหรับการถอดและทำลายระเบิด ยานพาหนะทั้งสองรุ่นมีแชสซีโมโนฮัลล์รูปตัววี ซึ่งควบคุมแรงระเบิดให้ห่างจากผู้โดยสาร[3]
ในเวลานี้บัฟฟาโลยังติดตั้งเกราะกรงแอลอาร์โอดี ของบีเออี ซิสเต็มส์ เพื่อการป้องกันเพิ่มเติมจากกระสุนสู้รถถังอย่างอาร์พีจี-7[4] เกราะแก้วเพียงพอที่ความหนา 6 นิ้ว ส่วนยางรันแฟลตติดตั้งอยู่บนล้อทั้งหกล้อ บัฟฟาโลผสมผสานการป้องกันขีปนาวุธและระเบิดเข้ากับเทคโนโลยีอินฟราเรด เพื่อตรวจจับการมีอยู่ของอาวุธยุทโธปกรณ์อันตราย และแขนหุ่นยนต์เพื่อทำให้อาวุธยุทโธปกรณ์ระเบิดไร้ความสามารถ กำลังพลปฏิบัติการแขนหุ่นยนต์และกรงเล็บ 30 ฟุตของบัฟฟาโลจากภายในตัวถังหุ้มเกราะผ่านกล้องที่ติดตั้งและอุปกรณ์ประสาทสัมผัส เพื่อกำจัดทุ่นระเบิดและระเบิดแสวงเครื่องอย่างปลอดภัย
ใน ค.ศ. 2004 สหรัฐมีบัฟฟาโลประจำการในในจำนวนจำกัด โดยได้สั่งซื้อเพิ่มอีก 15 คัน ในราคา 10 ล้านดอลลาร์[5] กระทั่งเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2008 บริษัทฟอร์ซโพรเทกชัน, อิงก์ ได้ส่งมอบบัฟฟาโลกคันที่ 200 ให้แก่กองทัพสหรัฐ[6]
ใน ค.ศ. 2009 บริษัทฟอร์ซโพรเทกชันได้เริ่มผลิตรุ่นเอ2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเพลาหลังแอ็กเซิลเทค, เครื่องยนต์แคตซี13, เกียร์แคตซีเอกซ์31 และระบบกันสะเทือน พร้อมกับการอัปเกรดเพิ่มเติมในระบบปรับสภาวะอากาศ, ฝากระโปรงหน้า และกันชนหน้า วิธีที่ง่ายที่สุดในการระบุรุ่นเอ1 จากรุ่นเอ2 คือกันชนหน้าของเอ2 มีขนาดใหญ่กว่า รถบรรทุกเอ็มแรปบัฟฟาโลเอ2 คันสุดท้ายแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 จากนั้น บริษัทฟอร์ซโพรเทกชันได้ถูกซื้อกิจการโดยบริษัทเจเนอรัลไดนามิกส์แลนด์ซิสเตมส์ (GDLS) ใน ค.ศ. 2011 ด้วยมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์
รุ่น
[แก้]- บัฟฟาโล เอช
- บัฟฟาโล เอ2[7]
ประจำการ
[แก้]- สหรัฐ - รุ่นเอ1 จำนวน 200 คัน และรุ่นเอ2 ประมาณ 450 คัน
- แคนาดา - 5 คัน[8] บวกเพิ่มอีก 10 คันสำหรับการส่งมอบใน ค.ศ. 2009[9][10] โดย 19 คันประจำการในอัฟกานิสถาน ซึ่งแคนาดายุติภารกิจในในอัฟกานิสถานเมื่อ ค.ศ. 2011 และเลิกใช้ในอัฟกานิสถานแล้ว[ต้องการอ้างอิง]
- ฝรั่งเศส - 5 คัน[11][12]
- อิตาลี[13]
- ปากีสถาน: คูการ์ เจิร์ฟ 20 คัน (บัฟฟาโลรุ่นหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด) ได้รับจากสหรัฐ ภายใต้กองทุนสนับสนุนแนวร่วมใน ค.ศ. 2010[14][15]
- สหราชอาณาจักร - 18 คัน[16]
การปรากฏที่โดดเด่นในสื่อ
[แก้]บัฟฟาโลได้ปรากฏตัวในฐานะโหมดยานพาหนะของโบนครัชเชอร์แห่งฝ่ายดีเซปติคอนในภาพยนตร์มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาล (ค.ศ. 2007) และในภาคต่อคือทรานส์ฟอร์เมอร์ส อภิมหาสงครามแค้น โดยเจฟฟ์ แมนน์ ผู้ออกแบบงานสร้างได้กล่าวว่า "เราพบภาพของยานพาหนะกวาดทุ่นระเบิดที่มีแขนขนาดใหญ่และดูเหมือนเป็นส้อมในตอนท้าย เราเลยโทรหาคนที่เป็นเจ้าของโดยหวังว่าจะมีโอกาสเช่าหรือซื้อได้ แต่เมื่อเราได้ข้อมูลแล้ว กลับกลายเป็นว่าส้อมมีความกว้างเพียง 14 นิ้ว (360 มิลลิเมตร)—พวกเขาหลอกลวงทุกอย่างในโฟโตชอปโดยสิ้นเชิง.... เราต้องสร้างอุปกรณ์ให้พอดีกับแขนที่มีอยู่ ซึ่งจะไม่กระเด้งมากเกินไปเพราะกว้างประมาณ 10 ฟุต (3.0 เมตร)"[17]
นอกจากนี้ ยานพาหนะบัฟฟาโล และเจิร์ฟ ได้รับการใช้โดยทีมหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (EOD) ของกองทัพเรือ ในรายการโทรทัศน์อย่าง"บอมบ์พาโทรลอัฟกานิสถาน"[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]ระเบียงภาพ
[แก้]-
รถยานเกราะป้องกันทุ่นระเบิดบัฟฟาโล และจีไอ
-
บัฟฟาโลขณะแสดงแขนหุ่นยนต์
-
บัฟฟาโลที่อยู่รอดโดยห้องโดยสารไม่บุบสลายหลังจากการโจมตีด้วยระเบิดแสวงเครื่องซึ่งถอดสองล้อหน้าและเพลาล้อออก
-
บัฟฟาโลประจำการในประเทศอิตาลี
-
บัฟฟาโลในประจำการสหราชอาณาจักรพร้อมเกราะตะแกรงเหล็กเพิ่มเติม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Buffalo fact sheet เก็บถาวร มีนาคม 19, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Force Protection. (requires login)
- ↑ Buffalo Armoured Vehicle เก็บถาวร 2008-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. armedforces-int.com
- ↑ "Combat engineers comb streets of Iraq for IEDs" (PDF). United States Department of Defense. August 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-20.
- ↑ BAE’s LROD Cage Armor. Defense Industry Daily
- ↑ "Buffalo helps protect from bullets, blasts". Department of Defense. 2004-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-06.
- ↑ "200th Buffalo MRAP delivered to military". Upi.com. 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29.
- ↑ http://www.asd-network.com/press_detail/18127/Buffalo_A2_Undergoes_Testing_at_White_Sands.htm[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Buffalo vehicle coverage on". Defenseindustrydaily.com. 2007-05-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-30. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29.
- ↑ "Force Protection, Inc. IN THE NEWS: Canadian Forces to Receive Additional Force Protection Vehicles". Forceprotection.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-27. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29.
- ↑ "Force Protection – Orders for an Additional 48 EROC Vehicles: Blast-Resistant Buffalo and Cougars – Industry News Release". Canadian American Strategic Review. November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
- ↑ (ในภาษาฝรั่งเศส) ["Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) La Task Force 700 se prépare au théâtre afghan, 06/28/2008, TTU - ↑ French Military Orders Buffalo Vehicles from Force Protection, 07/23/2008
- ↑ https://armadainternational.com/wp-content/uploads/2018/01/ARM_COM_1302_03_MineProtectedTransport.pdf [bare URL PDF]
- ↑ "Major U.S. Arms Sales and Grants to Pakistan Since 2001" (PDF).
- ↑ "SIPRI Arms Transfers Database". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-05. สืบค้นเมื่อ 2022-03-23.
- ↑ "Force Protection Receives Multiple Buffalo Vehicle Orders". Business Wire. 2008-11-13. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29.
- ↑ "The Making Of The Transformers Movie - Production Design: The Robots, The Vehicles, The Sets". ENI. 2007-06-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-17. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Buffalo series ForceProtection.net
- Buffalo MPCV EOD Technical Data Sheet and Pictures Army Recognition