อาร์พีจี-7
หน้าตา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี-7 พร้อมลูกจรวดแบบ PG-7V | |
อาร์พีจี-7 | |
---|---|
ชนิด | เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง |
สัญชาติ | สหภาพโซเวียต |
สมัย | พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ปัจจุบัน |
การใช้งาน | อาวุธประจำหมู่ |
เป้าหมาย | พาหนะ, บุคคล, สิ่งก่อสร้าง |
เริ่มใช้ | |
ช่วงผลิต | |
ช่วงการใช้งาน | พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน |
ผู้ใช้งาน | |
สงคราม | สงครามเวียดนาม, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอิรัก |
ขนาดลำกล้อง | 40 มิลลิเมตร (1.57 นิ้ว) |
ความยาวลำกล้อง | 950 มิลลิเมตร |
อัตราการยิง | 4-6 นัด/นาที |
ความเร็วปากลำกล้อง | 115 เมตร/วินาที |
ระยะยิงหวังผล | 200 เมตร |
ระยะยิงไกลสุด | 1,500 เมตร |
ระยะเจาะเกราะ | แผ่นเหล็กกล้า : 180 มิลลิเมตร คอนกรีต : 600-800 มิลลิเมตร ดิน : 1,000-1,200 มิลลิเมตร[ต้องการอ้างอิง] |
น้ำหนัก | 7 กิโลกรัม |
แบบอื่น | RPG-2 RPG-16 RPG-18 RPG-22 RPG-26 RPG-27 RPG-28 อาร์พีจี-29 |
อาร์พีจี-7 (รัสเซีย: РПГ-7) เป็นเครื่องยิงจรวดที่มีน้ำหนักเบา มีขนาดลำกล้อง 40 มิลลิเมตร บรรจุลูกจรวดทางปากลำกล้อง สามารถนำไปได้เพียงบุคคลเดียว ยิงด้วยการเล็งตรงจากท่าประทับบ่า ท่านอนราบ หรือใช้ขาหยั่งในการยิง ปรับปรุงมาจากเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี-2 ในส่วนของแท่งดินขับ ทำให้มีระยะยิงมากขึ้นกว่าเดิม
เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี-7 เดิมผลิตโดยโรงงานอาวุธของกองทัพสหภาพโซเวียต ปัจจุบันถือเป็นสิทธิบัตรของบริษัทบาซัลต์ (Bazalt) ประเทศรัสเซีย รวมถึงมีการใช้สิทธิบัตรอาวุธรุ่นนี้นี้ในการผลิตในประเทศด้วย เช่น ไทป์ 69 ของประเทศจีน ฯลฯ เป็นต้น ด้วยความเรียบง่าย มีราคาถูก และมีประสิทธิภาพพอสมควร ทำให้เครื่องยิงจรวดรุ่นนี้เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในกลุ่มกองกำลังติดอาวุธต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ อาร์พีจี-7