ประเทศบราซิล
บราซิล (อังกฤษ: Brazil; โปรตุเกส: Brasil, สำเนียงบราซิล: [bɾaˈziw] ( ฟังเสียง)) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (อังกฤษ: Federal Republic of Brazil; โปรตุเกส: )[11] เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดทั้งในทวีปอเมริกาใต้และภูมิภาคลาตินอเมริกา ด้วยเนื้อที่ 8.5 ล้านตารางกิโลเมตร (3,300,000 ตารางไมล์)[12] และประชากรกว่า 211 ล้านคน จึงเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก โดยมีเมืองหลวงคือกรุงบราซิเลีย ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเซาเปาลู สหพันธ์บราซิลประกอบขึ้นจากการรวมตัวกันของรัฐ 26 รัฐและเขตเมืองหลวงสหพันธ์ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกและประเทศเดียวในทวีปอเมริกาที่ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ[13][14] นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์มากที่สุดประเทศหนึ่งจากการย้ายถิ่นเข้ามาของผู้คนจากทั่วโลกมานานกว่าหนึ่งศตวรรษ[15]
บราซิลมีพื้นที่จรดมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันออก โดยมีแนวชายฝั่งยาว 7,491 กิโลเมตร (4,655 ไมล์)[16] มีพรมแดนติดกับทุกประเทศในอเมริกาใต้ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี และครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 47.3 ของทวีป[17] ลุ่มน้ำแอมะซอนในบราซิลเป็นที่ตั้งของป่าฝนเขตร้อนอันกว้างใหญ่ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของพืชและสัตว์ป่านานาชนิด ระบบนิเวศที่หลากหลาย และทรัพยากรธรรมชาติที่กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่คุ้มครองหลายแห่ง[16] มรดกทางสิ่งแวดล้อมอันเป็นเอกลักษณ์ดังกล่าวทำให้บราซิลเป็นหนึ่งในสิบเจ็ดประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งและอยู่ในความสนใจจากทั่วโลก เนื่องจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการอย่างการทำลายป่าได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
บราซิลเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าชนหลายเผ่าก่อนที่เปดรู อัลวารึช กาบรัล นักสำรวจชาวโปรตุเกสจะมาขึ้นฝั่งใน ค.ศ. 1500 และอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่นี้ในนามจักรวรรดิโปรตุเกส บราซิลมีฐานะเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสเรื่อยมาจนกระทั่ง ค.ศ. 1808 เมื่อเมืองหลวงของจักรวรรดิย้ายจากลิสบอนมายังรีโอเดจาเนโร ใน ค.ศ. 1815 อาณานิคมบราซิลได้รับการยกฐานะเป็นราชอาณาจักรเมื่อมีการจัดตั้งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ บราซิลได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1822 ด้วยการก่อตั้งจักรวรรดิบราซิลซึ่งเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและระบบรัฐสภา การให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญฉบับแรกใน ค.ศ. 1824 นำไปสู่การก่อตั้งสภานิติบัญญัติระบบสองสภา บราซิลกลายเป็นสาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1889 หลังรัฐประหารโดยทหาร คณะทหารเข้ายึดอำนาจใน ค.ศ. 1964 และปกครองประเทศจนถึง ค.ศ. 1985 เมื่ออำนาจการปกครองกลับสู่รัฐบาลพลเรือนอีกครั้ง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของบราซิลซึ่งตราขึ้นใน ค.ศ. 1988 กำหนดให้ประเทศเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย[18] เนื่องจากความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศ บราซิลจึงอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลกในแง่จำนวนแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[19]
บราซิลจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงโดยธนาคารโลก[20] และในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่[21] โดยมีส่วนแบ่งความมั่งคั่งสุทธิมากที่สุดในอเมริกาใต้ ถือเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่[22] โดยมีขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลกตามราคาตลาด และอันดับที่ 8 ของโลกตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ[23][24] เป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก โดยเป็นผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา[25] นอกจากนี้ยังเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคและประเทศอำนาจปานกลาง[26][27][28] และจัดว่ามีโอกาสก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่[29][30][31][32] อย่างไรก็ตาม ประเทศนี้ยังคงมีการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ อาชญากรรม และความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมในระดับสูง บราซิลเป็นสมาชิกก่อตั้งของสหประชาชาติ, กลุ่ม 20, บริกส์, ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง, องค์การนานารัฐอเมริกา, องค์การรัฐไอบีโร-อเมริกา และประชาคมประเทศผู้ใช้ภาษาโปรตุเกส
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภาคเหนือ กินพื้นที่ร้อยละ 42 ของทั้งประเทศหรือใหญ่กว่ายุโรปตะวันตกทั้งหมด เป็นเขตลุ่มน้ำแอมะซอนซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีปริมาณน้ำจึด 1 ใน 5 ของโลก รวมทั้งเป็นเขตป่าดิบชื้นที่ใหญ่ที่สุดของโลกด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของทั้ง 5 ภูมิภาคของบราซิล (คิดเป็นร้อยละ 18) ประกอบด้วย 7 รัฐ มีพื้นที่ติดชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีทั้งเขตลุ่มแม่น้ำที่สามารถทำการเพาะปลูกพืชเขตร้อน และเขตที่ราบสูงที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเล มีเมืองใหญ่หลายเมือง ได้แก่ ซัลวาดอร์และเรซีฟี
ภาคตะวันตกตอนกลาง เป็นที่ราบสูงเฉลี่ย 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล กินพื้นที่ร้อยละ 22 ของประเทศต่อจากเขตแอมะซอนไปทางใต้ เป็นเขตป่าไม้ชุกชุม เป็นพี้นที่เพาะปลูกและทำปศุสัตว์ บางแห่งเป็นพื่นที่แห้งแล้งกันดาร
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่เพียงร้อยละ 11 ของประเทศ แต่เป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่ที่สุด 3 เมืองของบราซิล คือ รีโอเดจาเนโร เซาเปาลู และเบลูโอรีซองชี และเป็นที่อยู่ของประชากรร้อยละ 45 ของทั้งประเทศ เป็นพื้นที่ชายฝั่ง หาดทราย และที่ราบสูง
ภาคใต้ มีพื้นที่น้อยที่สุด มีอากาศใกล้เคียงกับยุโรป มีหิมะตกบางพื้นที่ในฤดูหนาว เป็นที่ตั้งรกรากของชาวยุโรปที่ไปตั้งถิ่นฐานในบราซิลในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะจากอิตาลี เยอรมนี โปแลนด์ และรัสเซีย และอยู่อาศัยเรื่อยมาจนปัจจุบัน ถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ ผลิตผลสำคัญ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าว รวมทั้งเป็นเขตปศุสัตว์ที่สำคัญของประเทศด้วย
ประวัติศาสตร์
[แก้]เดิมทีทวีปอเมริกาใต้ ชนเผ่าพื้นเมืองคือพวกอินเดียแดงเผ่าต่าง ๆ ต่อมาชาวยุโรปได้เข้ามายึดครองบริเวณนี้ โดยชาวโปรตุเกสได้ยึดครองบริเวณประเทศบราซิล ส่วนบริเวณประเทศอื่น ๆ ในทวีปนี้ถูกยึดครองโดยชาวสเปน เหตุเพราะในต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ชาวยุโรปได้เข้ามาในทวีปนี้ด้วยเข้าใจว่าทวีปนี้มีแร่ต่าง ๆ เช่น น้ำมัน ทองคำ เงินและอื่น ๆ แล้วชาวยุโรปได้ใช้กำลังกองทัพเข้าควบคุมบังคับชาวพื้นเมืองให้ทำงานในไร่นาและในเหมืองของตน ต่อมาหญิงชาวพื้นเมืองจำนวนมากได้แต่งงานกับชาวยุโรปทำให้มีลูกเลือดผสมจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า เมสติโซ ปัจจุบันมีสายเลือดผสมนี้เป็นชนส่วนใหญ่ในทวีป และได้รับภาษา วัฒนธรรมจากทวีปยุโรป รวมทั้งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกด้วย
การเมืองการปกครอง
[แก้]ฝ่ายบริหาร
[แก้]ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล และเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ทั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในคราวเดียว ด้วยวิธีการลงคะแนนเสียงระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคม 2014 หากจำเป็นจะมีการเลือกตั้งอีกครั้ง (runoff election) ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2014
ฝ่ายนิติบัญญัติ
[แก้]ระบบ 2 สภา (Bicameral National Congress หรือ Congresso Nacional) ประกอบด้วย (1) Federal Senate หรือ Senado Federal จำนวน 81 ที่นั่ง สมาชิก 3 คนมาจากรัฐแต่ละรัฐ ระบบเสียงข้างมาก วาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี โดยจะมีการเลือกตั้งหนึ่งในสาม และสองในสามของสมาชิกทุก ๆ 4 ปี สลับกัน และ (2) Chamber of Deputies หรือ Camera dos Deputados จำนวน 513 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบสัดส่วน (proportional representation) วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ฝ่ายตุลาการ
[แก้]ฝ่ายตุลาการ มีศาลสูงสุดแห่งชาติ (Supreme Federal Tribunal) โดยที่ผู้พิพากษาทั้ง 11 คน มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยวุฒิสภา มีวาระดำรงตำแหน่งตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว จะเกษียณอายุเหมือนลูกจ้างภาครัฐทั่วไปที่อายุ 70 ปี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
[แก้]สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลกับราชอาณาจักรไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2502 บราซิลมีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ณ กรุงเทพมหานคร และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำจังหวัดภูเก็ต และไทยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย[33]
ประเทศบราซิลเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทยในลาตินอเมริกา รองจากเม็กซิโก ไทยและบราซิลต่างเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ซึ่งกันและกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และลาตินอเมริกา
ในปี 2560 มีนักท่องเที่ยวชาวบราซิลเดินทางมาประเทศไทย จำนวน 83,827 คน[34] โดยถือเป็นอันดับ 1 ของจำนวนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคลาตินอเมริกาในประเทศไทย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ประเทศบราซิลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 รัฐ (estado) และเฟเดอรัลดิสตริกต์ (Distrito Federal) (เป็นที่ตั้งของกรุงบราซิเลีย เมืองหลวง) ได้แก่
รัฐต่าง ๆ และเฟเดอรัลดิสตริกต์ของบราซิลนั้น ถูกแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค โดยสถาบันภูมิศาสตร์และสถิติบราซิล (IBGE) คือ
- ภาคเหนือ ประกอบด้วยรัฐอาครี, รัฐอามาปา, รัฐอามาโซนัช, รัฐปารา, รัฐฮงโดเนีย, รัฐโฮไรมา, และรัฐโตกังจิงช์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยรัฐอาลาโกวัช, รัฐบาเยีย, รัฐเซอารา, รัฐมารันเญา, รัฐปาราอีบา, รัฐเปร์นังบูกู, รัฐปีเอาอี, รัฐฮิวกรังจีดูนอร์ชี, และรัฐแซร์จีปี
- ภาคกลางและตะวันตก ประกอบด้วยรัฐโกยาช, รัฐมาตูโกรซู, รัฐมาตูโกรซูดูซูว, และเฟเดอรัลดิสตริกต์
- ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐเอชปีรีตูซังตู, รัฐมีนัชเจไรช์, รัฐรีโอเดจาเนโร, และรัฐเซาเปาลู
- ภาคใต้ ประกอบด้วยรัฐปารานา, รัฐฮิวกรังจีดูซูว, และรัฐซังตากาตารีนา
เศรษฐกิจ
[แก้]มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นบทความใหม่ชื่อ เศรษฐกิจบราซิล (อภิปราย) |
บราซิลเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกทั้งในแง่จำนวนประชากรและอาณาเขต เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปละตินอเมริกาและมีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นดินส่วนใหญ่ของทวีป บราซิลใช้ระบบปกครองแบบสหพันธรัฐ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 รัฐและเขตนครหลวง 1 เขต โดยแต่ละรัฐจะมีรัฐบาลท้องถิ่นที่บริหารปกครองแบบอิสระ สามารถแบ่งรัฐเหล่านี้ออกได้เป็น 5 ภูมิภาค (ที่มีความสำคัญเชิงวัฒนธรรมและสถิติ) กล่าวโดยรวมได้ว่าบราซิลเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายด้าน ทั้งในแง่ทรัพยากรธรรมชาติและพันธุ์ไม้ที่มีมากมายมหาศาล ชาติพันธุ์หลากวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ การใช้อำนาจอย่างนุ่มนวลทางการเมือง และชนชั้นกลางที่กำลังรุ่งเรือง
เศรษฐกิจของบราซิลประกอบไปด้วยภาคส่วนเกษตรกรรม เหมืองแร่ การผลิต และการบริการขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนาอย่างสูง ตลอดจนชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าบราซิลเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในทวีปอเมริกาใต้ทั้งในแง่เศรษฐกิจและการเมือง โดยมีการขยายอำนาจกว้างขวางขึ้นในตลาดโลกผ่านผู้เล่นสำคัญระดับโลก (บริษัทข้ามชาติ) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เศรษฐกิจระดับมหภาคได้ค่อย ๆ ทวีความมั่นคงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศและลดระดับหนี้โดยแปลงหนี้ให้เป็นตราสารหนี้สกุลเงินจริงและตราสารหนี้ในประเทศ
จนกระทั่งปี ค.ศ. 2008 บราซิลได้ผงาดขึ้นเป็นประเทศเจ้าหนี้สุทธิและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเหมาะสมแก่การลงทุนจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 2 แห่ง ทว่าหลังจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในปี ค.ศ. 2007-2008 วิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลกได้โถมกระหน่ำบราซิลในช่วงปี ค.ศ. 2008 อย่างไรก็ดี แม้เศรษฐกิจจะทรุดตัวเล็กน้อยจากผลกระทบนี้ แต่บราซิลสามารถหลบเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้จากมาตรการจูงใจภาครัฐและเงินลงทุนมหาศาล หลังจากที่อุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์ส่งออกของบราซิลลดลงและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศตกต่ำ สินเชื่อจากภายนอกเริ่มหายากขึ้น ทั้งนี้ในช่วงปี ค.ศ. 2010 ความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุนเริ่มฟื้นตัวและการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมไต่ระดับสูงถึง 7.5% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมากสำหรับบราซิล ด้วยเหตุนี้ทำให้ทั่วโลกหันมาจับตามองและนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักชี้ว่าบราซิลจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ แม้การคาดการณ์นี้จะมีข้อยืนยันว่าเป็นจริงในอีกหลายปีต่อมา แต่อำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศได้ชะลอตัวและมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมแตะอยู่ที่ราว 1% ในปัจจุบัน
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเติบโตลดลงคือภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจึงต้องหันมาใช้มาตรการผ่อนการตึงตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งมาตรการดังกล่าวและภาวะเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ทรุดตัวทำให้การเติบโตของประเทศช้าลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการว่างงานอยู่ในระดับต่ำลงเป็นประวัติการณ์และความเหลื่อมล้ำทางรายได้ซึ่งโดยมากอยู่ในระดับสูงกลับลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี บราซิลสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้โดยใช้อัตราดอกเบี้ยสูง ทว่ากลับส่งผลเสียต่อธุรกิจในประเทศ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ค่าเงินลอยตัวซึ่งกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตเมื่อเทียบกับตลาดทั่วโลก รัฐบาลได้เข้ามาแทรกแซงตลาดเงินตราระหว่างประเทศและขึ้นภาษีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศบางส่วน
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการปกครองของประเทศในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาได้ผลักดันให้บราซิลเติบโตและเป็นที่จับตามองของประชาคมทั่วโลก มีเสียงชื่นชมนวัตกรรมที่ช่วยเหลือและสนับสนุนประชากรผู้ยากไร้ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งได้นำไปใช้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมเกษตรและเชื้อเพลิงชีวภาพยังกลายมาเป็นโมเดลระหว่างประเทศ ฐานผู้บริโภคที่เติบโตอย่างรวดเร็วได้ดึงดูดบริษัทและนักลงทุนมากมายมายังบราซิล ดังจะเห็นได้จากจำนวนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าราว 64-66 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.92-1.98 ล้านล้านบาท ) ต่อปีตั้งแต่ ค.ศ. 2011
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจบราซิลเริ่มชะลอตัวในปี ค.ศ. 2014 และคาดว่าจะยังคงชะลอตัวต่อไปในปี ค.ศ. 2015 จากการปรับตัวทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำลังจะนำมาใช้ (เช่น มาตรการขึ้นราคาน้ำมัน) แม้สถานการณ์นี้จะทำให้บริษัทลงทุนต่างประเทศเริ่มหมดความสนใจ แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังคงอัดฉีดเงินทุนและขยายโรงงานหรือจัดทำโครงการใหม่ ๆ เพื่อป้อนให้กับฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ต่อไป การชะลอตัวทางเศรษฐกิจนี้ไม่ควรนำมาซึ่งมาตรการคุ้มครองการค้า เนื่องจากมีระบบการคุ้มครองการค้าระดับสูงมากพออยู่แล้ว โดยเฉพาะในภาคการส่งออกอุตสาหกรรม นอกจากนี้ แรงกดดันจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและธุรกิจในการลดอุปสรรคด้านภาษีอากรจากวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวกลาง รวมทั้งการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีใหม่ ยังสื่อให้เห็นว่ารัฐบาลมีแนวโน้มที่จะวางนโยบายการค้าไปในทิศทางดังกล่าว
อุตสาหกรรมหลัก
[แก้]อุตสาหกรรมหลักของประเทศบราซิลประกอบไปด้วยการผลิตอลูมิเนียม ซีเมนต์ เชื้อเพลิง เครื่องจักร กระดาษ พลาสติกและเหล็ก อุตสาหกรรมอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคประกอบด้วยการผลิตอุปกรณ์ทำความสะอาด การผลิตและสุขอนามัยอาหาร การผลิตยาและสิ่งทอ อุตสาหกรรมสินค้าคงทนประกอบด้วยการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนและยานพาหนะ บริการด้านการเงินประกอบด้วยอุตสาหกรรมบริการเงินทุน นอกจากนี้ บราซิลยังเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่หลากหลายรายใหญ่ของโลก อาทิ กล้วย กาแฟ ข้าวโพด หัวน้ำส้มเข้มข้น ข้าว ถั่วเหลือง แอลกอฮอล์และอ้อย
ในแง่อื่นนอกเหนือจากเศรษฐกิจ บราซิลเป็นประเทศที่เติบโตในเชิงการเมืองและมีความโดดเด่นท่ามกลางประชาคมนานาชาติในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมายได้ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนต่างชาติและอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้ทรัพยากรสูง โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและจีนที่มีฐานประชากรขนาดใหญ่ที่กำลังเติบโต นอกจากนี้ บราซิลยังมีบทบาทสำคัญในการเวทีโต้วาทีและการเจรจาระหว่างประเทศ โดยมากจะรับหน้าที่เป็นผู้นำหรือตัวแทนของประเทศกำลังพัฒนา อาทิ การอภิปรายด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ การยื่นมือเข้าช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศเฮติหลังประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 2010 การเข้าร่วมหารือกลุ่มประเทศ BRIC และเป็นผู้นำประเทศกลุ่มจี 20 ในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา (Doha Round) โดยองค์การการค้าโลก การดำเนินการนี้ได้สร้างความสนใจจากประชาคมโลกในเชิงความสามารถทางเศรษฐกิจและการเมืองที่กำลังรุ่งเรืองของบราซิล ไม่เพียงเท่านั้น การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี ค.ศ. 2014 และงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะมีขึ้นในปี ค.ศ. 2016 ยังกระตุ้นความสนใจจากชาวต่างชาติ ทั้งในวงการสื่อและนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป
บราซิลเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยหลายภูมิภาคที่มีแง่มุมและความแตกต่างเชิงวัฒนธรรมที่เด่นชัดจนในบางครั้งทำให้ยากต่อการสรุปลักษณะทั่วไป ส่วนในแง่ธุรกิจ บริษัทส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติที่มีสำนักงานในเมืองเซาเปาลู หากกล่าวในแง่วัฒนธรรมแล้ว ถือว่าบราซิลมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวค่อนข้างสูง มีการผสมผสานรากเหง้าในแบบยุโรปและเอเชียเข้าด้วยกันเนื่องจากมีผู้อพยพไหลบ่าเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมากในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา ความหลากหลายด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม และลักษณะนิสัยส่งผลให้ชาวบราซิลเป็นชาติพันธุ์ที่มีความซับซ้อนและมีวิถีชีวิตในแบบของตนเอง ชาวต่างชาติควรทำความเข้าใจว่าแม้ว่าชาวบราซิลจะมีนิสัยที่เป็นกันเองและให้การต้อนรับอย่างมาก แต่การอาศัยอยู่ในบราซิลอาจทำให้ตนตกใจเมื่อพบเห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรม จึงขอแนะนำให้พนักงานต่างชาติโดยเฉพาะในระดับผู้จัดการหรือผู้อำนวยการเข้าเรียนรู้วัฒนธรรมบราซิลและวิธีบรรเทาความสับสนที่อาจเกิดขึ้น ในแง่การปฏิบัติงาน ผู้บริหารระดับสูงควรทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบบราซิลเพื่อรับการสนับสนุนและแรงบันดาลใจจากพนักงานของตน
โครงสร้าง
[แก้]นโยบายด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ
- ก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยยึดหลักสำคัญคือ พลังงานสะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี การลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต
- รักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมนโยบายการค้าเสรี ต่อต้านระบบ Protectionism
- สนับสนุนการปฏิรูประบบการเงินโลก เพื่อป้องกันปัญหาเงินทุนไหลเวียนและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ต่อต้านการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม/การไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศเพื่อเก็งกำไร
- ปฏิรูประบบภาษีให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน และเป็นธรรม รวมทั้งแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 5
- ส่งเสริมโครงการลงทุนและระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2557 และกีฬาโอลิมปิกในปี 2559 และเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นในระยะยาว
- พัฒนาโครงการขุดเจาะน้ำมันซึ่งถือเป็นอนาคตของชาติด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อความก้าวหน้าทางสังคมโดยคำนึงถึงดุลยภาพด้านสิ่งแวดล้อม
- ลดรายจ่ายภาครัฐ โดยการลดงบประมาณของทุกกระทรวงลงตามสัดส่วน ยกเว้นนโยบายด้านสังคม เช่น Bolsa Familia
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
[แก้]ในช่วง 3 ทศวรรษก่อนทศวรรษที่ 1980 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลสูงถึงร้อยละ 7.3 แต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้เกิดวิกฤตการณ์เสถียรภาพทางการเงิน โดยมีปัญหาเงินเฟ้อและขาดดุลการชำระเงิน รัฐบาลจึงดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในชื่อ Real Plan เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงิน โดยสร้างวินัยการเงิน ปล่อยค่าเงินลอยตัว และลดภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงทบทวนนโยบายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าซึ่งดำเนินมาตรการมากว่า 35 ปีและทำให้เศรษฐกิจมีลักษณะปิดและปกป้องตัวเอง
โดยในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ และได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 และในเวลาต่อมา รัฐบาลของประธานาธิบดี Lula ได้แสดงเจตจำนงในการใช้หนี้ต่างประเทศทำให้ลดลงจากร้อยละ 58.7 ของ GDP ในปี 2546 เหลือร้อยละ 51.6 ในปี 2548 และในปี 2552 หนี้ต่างประเทศของบราซิลลดเหลือร้อยละ 11.6 ของ GDP นอกจากนี้ การตัดสินใจให้กู้เงินจำนวน 14 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศในปลายปี 2552 แสดงถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของบราซิลเป็นอย่างมาก และในปี 2554 บราซิลคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขยายตัวของ GDP ประมาณร้อยละ 8
ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุม G20 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่สาธารณรัฐเกาหลี ประธานาธิบดีบราซิลได้วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างรุนแรง ว่าเป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามเงินตรา (Currency War) ทั่วโลก และจะทำให้เศรษฐกิจของโลกล้มละลายหากทุกประเทศลดค่าเงินของตนเพื่อความได้เปรียบในการส่งออก
ภาพรวมเศรษฐกิจ
[แก้]- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เมื่อเดือนมกราคม 2555 ธนาคารกลางบราซิลเปิดเผยว่า GDP ของบราซิลจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5 จากปีที่ผ่านมา
- การค้าระหว่างประเทศ ในปี 2554 บราซิลส่งออกเป็นมูลค่ารวม 256.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าเป็นมูลค่ารวม 226.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้บราซิลได้เปรียบดุลการค้า 29.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการค้ารวมปรับตัวสูงขึ้น จาก 383.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2553 เป็น 482.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2555
- การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment – FDI) ธนาคารกลางบราซิล รายงานว่ามูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศปี 2554 มีมูลค่าถึง 66.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึงร้อยละ 37.5 อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางบราซิลคาดว่าในปี 2555 มูลค่าการลงทุนจะลดเหลือ 50 พันล้านดอลลร์สหรัฐ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของเม็ดเงินที่ไหลเข้าบราซิลมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็งกำไรจากอัตราดอกเบี้ย ขณะที่เศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐฯ กำลังประสบปัญหา
- อัตราเงินเฟ้อ เมื่อปี 2554 ธนาคารกลางบราซิลได้ประเมินอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ ร้อยละ 6.5 และได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 12.50 เพื่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ในปี 2555 และ 2556 บราซิลตั้งเป้าจะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ และเพื่อควบคุมราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มสูงขึ้น
ภาพรวมพลังงานทดแทนของบราซิล
[แก้]บราซิลมีเป้าหมายจะลงทุนด้านพลังงานมูลค่าประมาณ 644 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างปี ค.ศ. 2011 – 2020 โดยจะลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (434 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภาคการผลิตไฟฟ้า (149 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเชื้อเพลิงชีวภาพ (61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งหากการลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายภายในปี ค.ศ. 2020 พลังงานทดแทนจะมีสัดส่วนเป็น ร้อยละ 46.3 (ปัจจุบันพลังงานทดแทนมีสัดส่วน ร้อยละ 44.8) และปิโตเลียมจะมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 31.8 (ปัจจุบันปิโตรเลียมมีสัดส่วนร้อยละ 38.5) ของโครงสร้างพลังงานของประเทศ
ปัจจุบัน บราซิลมีบทบาทสำคัญในการสร้างอุปสงค์ของพลังงานทดแทนในเวทีระหว่างประเทศ และเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเพื่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและเอทานอลในหลายโอกาส
การพัฒนาเอทานอลเป็นพลังงานทดแทน
[แก้]วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 ประกอบกับราคาน้ำตาลตกต่ำ ทำให้รัฐบาลบราซิลประกาศโครงการ “Pro-Alcool” หรือ “Program Nacional do Alcool” (National Alcohol Program) ขึ้นในปี 2518 ส่งเสริมการใช้เอทานอลที่ผลิตจากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ โดยรัฐบาลบราซิล และธนาคารโลกได้ให้เงินสนับสนุนทั้งในการขยายพื้นที่การ ปลูกอ้อย และการสร้างโรงกลั่นเอทานอล
ในระยะแรก บราซิลใช้เอทานอลผสมในน้ำมัน (anhydrous ethanol) ในอัตราส่วนร้อยละ 13 - 20 (E13 – E20) ต่อมาในปี 2523 บราซิลเริ่มทดลองใช้เอทานอล ร้อยละ 100 (E100 - hydrous ethanol) แต่โดยที่รถยนต์ยังเป็นแบบที่ผลิตเพื่อใช้กับน้ำมัน จึงทำให้การทำงานของเครื่องยนต์ไม่ได้ ประสิทธิภาพเต็มที่ รัฐบาลบราซิลจึงเริ่มส่งเสริมการผลิตรถยนต์ที่ออกแบบพิเศษ สามารถใช้ได้กับทั้งเอทานอล และกับน้ำมันเชื้อเพลิง (Flexible-fuel vehicle หรือ Flex-Fuel) และตั้งแต่ปี 2546 ก็เริ่มมีการผลิตรถยนต์ Flex-Fuel เพื่อการค้า ซึ่งใช้ได้กับ E100 และ E18 – E25 ทั้งนี้ รถยนต์ Flex-Fuel ได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2547 ปริมาณการผลิตรถยนต์ Flex-Fuel มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 17 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด และในปี 2554 มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 83 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในบราซิล
ในการเยือนบราซิลของอดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ระหว่าง 15 – 16 มิถุนายน 2547 ไทยและบราซิลได้หารือความร่วมมือด้านเอทานอล นับจากนั้นไทยและบราซิลได้ แลกเปลี่ยนการเยือนของผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทนของบราซิลและชาติอื่น ๆ เข้าร่วมการประชุม FEALAC Inter-regional Workshop on Clean Fuels and Vehicle Technologies: the Role of Science and Innovation เมื่อ 28 – 29 มิถุนายน 2549 ที่กรุงเทพฯ ช่วยให้เกิดเครื่อข่ายระหว่างผู้เชี่ยวชาญ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยี
เมื่อปี 2553 บราซิลผลิตเอทานอลเป็นปริมาณ 27 พันล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณที่ผลิตได้ในโลก เป็นรองเพียงสหรัฐฯ ซึ่งผลิตเป็นปริมาณ 50 พันล้านลิตรในปีเดียวกัน บราซิลและสหรัฐฯ สามารถผลิตเอทานอลได้กว่าร้อยละ 70 ของเอทานอลที่จำหน่ายทั่วโลก โดยสหรัฐฯ ผลิตเอทานอลจากข้าวโพด ในขณะที่บราซิลผลิตจากอ้อย ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพจึงทำให้สามารถผลิตเอทานอลได้ในราคาที่ถูกกว่าการใช้วัตถุดิบประเภทอื่น อย่างไรก็ดี การผลิตเอทานอลจากอ้อยยังไม่เสถียรเพราะเมื่อราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้น เกษตรกรก็จะหันไปให้ความสำคัญกับการผลิตน้ำตาลเป็นหลัก
ประชากรศาสตร์
[แก้]ศาสนา
[แก้]โรมันคาทอลิก 73.6% โปรเตสแตนท์ 15.4% Spiritualist 1.3% Bantu/Voodoo 0.3% อื่นๆ 1.8% ไม่สามารถระบุได้ 0.2% ไม่นับถือศาสนา 7.4%
เมืองใหญ่
[แก้]วัฒนธรรม
[แก้]ดนตรี
[แก้]วัฒนธรรมของประชากรบราซิลจะต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ความรักดนตรีจะฝังอยู่ในสายเลือดของชาวบราซิลเลียนมานาน เพราะพวกเขาจะรักดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ ดนตรีจึงมีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ บราซิล จะรับเอาวัฒนธรรมของแอฟริกาเอาไว้มาก ลักษณะการร้องรำทำเพลงและจังหวะกลองเป็นเครื่องดนตรีหลัก การเต้นรำและเสียงดนตรีจึงเป็นศิลปะที่โดดเด่นที่สุดของบราซิล ชาวบราซิลเป็นคนเปิดเผย เป็นมิตรกับคนง่าย รักสนุก ลักษณะเด่นที่เป็นธรรมชาติคือเวลาพูดจะเคลื่อนไหวร่างกายไปด้วย ภาษาท่าทาง บางครั้งใช้แทนคำพูดได้ เช่น เมื่อยกนิ้วหัวแม่มือขึ้น หมายถึงตกลงหรือขอบคุณ และอาจเป็นคำพูดที่ทักทายเมื่อพบกับ
แซมบา (Samba) เป็นดนตรีที่มีลักษณะผสมผสาน กันจากชน 3 ทวีป ที่มาอยู่ในบราซิล คือการร้องเพลงแบบโบเลโร ของสเปน จังหวะกลองของแอฟริกาและการเต้นรำจะเป็นแบบชาวลาตินอเมริกา ซึ่งรวม 3 อย่างเข้าด้วยกันแล้วจะสนุกสนานทั้งคนเต้นและคนฟัง ซึ่งดนตรีแซมบา เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมสูงสุด
บอซานอวา (Bossanova) เป็นจังหวะดนตรีที่มีวิวัฒนาการมาจากแซมบา นอกจากแซมบาและบอซานอวา ยังมีดนตรีที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน คือ แรมบาดา (Lambada) จังหวะดนตรีจะสนุกสนามด้วยจังหวะกลองของชาวแคริบเบียน
เทศกาล
[แก้]บราซิลมีเทศกาลที่น่าสนใจและยิ่งใหญ่ 2 งานด้วยกัน งานแรกคืองานคาร์นิวัลที่รีโอเดจาเนโร จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ งานที่สองคืองานคาร์นิวัลที่บาเยีย จัดขึ้นหลังเทศกาลคริสต์มาส ช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Exército Brasileiro. "Hino à Bandeira Nacional" (ภาษาโปรตุเกส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2014. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ "Demographics". Brazilian Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2011.
- ↑ "Caracteristicas da População e dos Domicílios do Censo Demográfico 2010 – Cor ou raça" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 February 2012. สืบค้นเมื่อ 7 April 2012.
- ↑ "South America :: BRAZIL". CIA The World Factbook. สืบค้นเมื่อ 30 August 2017.
- ↑ IBGE – Instituto Brasileiro de Geografia e Estatística (Brazilian Institute for Geography and Statistics). 2010 Census. Retrieved 7 August 2012.
- ↑ "2010 Population Census – General characteristics of population, religion and persons with disabilities (Portuguese)". ibge.gov.br (ภาษาโปรตุเกส). 16 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2012. สืบค้นเมื่อ 10 August 2019.
- ↑ "Brazil". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022. (Archived 2022 edition)
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "World Economic Outlook Database, October 2021". Imf. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate) – Brazil". World Bank. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ José María Bello (1966). A History of Modern Brazil: 1889–1964. Stanford University Press. p. 56. ISBN 978-0-8047-0238-6.
- ↑ "Área Territorial Brasileira" [Brazilian Territorial Area] (ภาษาโปรตุเกส). Instituto Brasileiro de Geografia e Estatística. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2012. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
Para a superfície do Brasil foi obtido o valor de 8.515.759,090 km2, publicado no DOU nº 124 de 30/06/2017, conforme Resolução Nº 02, de 29 de junho de 2017.
- ↑ Philander, S. George (2012). Encyclopedia of Global Warming and Climate Change, Second Edition. Vol. 1 (Second ed.). Los Angeles: Princeton University. p. 148. ISBN 978-1-4129-9261-9. OCLC 970592418.
- ↑ Vallance, Monique M. (2012). "Preface and Observations on Contemporary Brazil". ใน Crocitti, John J. (บ.ก.). Brazil Today: An Encyclopedia of Life in the Republic. Contributing editor Monique M. Vallance. ABC-CLIO. p. xxiii. ISBN 978-0-313-34672-9. OCLC 787850982.
- ↑ "Os migrantes de hoje". BBC Brasil. สืบค้นเมื่อ 24 October 2018.
- ↑ 16.0 16.1 "Geography of Brazil". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 1 May 2018. Geography > Coastline. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ "Brazil – Land". Permanent Missions. United Nations. Geography. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2014.
- ↑ "Brazilian Federal Constitution" (ภาษาโปรตุเกส). Presidency of the Republic. 1988. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2007. สืบค้นเมื่อ 3 June 2008. "Brazilian Federal Constitution". v-brazil.com. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 3 June 2008.
Unofficial translate
- ↑ "UNESCO World Heritage Centre — World Heritage List". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 May 2012.
- ↑ "Country and Lending Groups". World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2011. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
Uppermiddle Income defined as a per capita income between $3,976 – $12,275
- ↑ "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 29 September 2019.
- ↑ "FTSE Country Classification" (PDF). FTSE Group. September 2018. สืบค้นเมื่อ 20 November 2018.
- ↑ "International Monetary Fund". imf.org.
- ↑ "CIA – The World Factbook – Country Comparisons – GDP (purchasing power parity)". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
- ↑ Jeff Neilson; Bill Pritchard (2011). Value Chain Struggles. John Wiley & Sons. p. 102. ISBN 978-1-4443-5544-4.
- ↑ M. Schaefer; J. Poffenbarger (2014). The Formation of the BRICS and its Implication for the United States: Emerging Together. Springer. p. 32. ISBN 978-1-137-38794-3.
- ↑ Sean W. Burges (2016). Latin America and the Shifting Sands of Globalization. Routledge. pp. 114–15. ISBN 978-1-317-69658-2.
- ↑ Gardini, Gian Luca (2016). "Brazil: What Rise of What Power?". Bulletin of Latin American Research. 35: 5–19. doi:10.1111/blar.12417. ISSN 0261-3050.
- ↑ FRIDE: The international arena and emerging powers: stabilising or destabilising forces? เก็บถาวร 15 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Susanne Gratius, April 2008
- ↑ Peter Collecott (29 October 2011). "Brazil's Quest for Superpower Status". The Diplomatic Courier. สืบค้นเมื่อ 10 August 2014.
- ↑ Clendenning, Alan (17 April 2008). "Booming Brazil could be world power soon". USA Today. The Associated Press. p. 2. สืบค้นเมื่อ 12 December 2008.
- ↑ Jorge Dominguez; Byung Kook Kim (2013). Between Compliance and Conflict: East Asia Latin America and the New Pax Americana. Center for International Affairs, Harvard University. pp. 98–99. ISBN 978-1-136-76983-2.
- ↑ "ความสัมพันธ์ไทย-บราซิล". mfa. 26 พฤษภาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
- ↑ "สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล – Federative Republic of Brazil". mfa. มกราคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2021-08-17.
- ↑ "2010 Brazilian Institute of Geography and Statistics estimate". Brazilian Institute of Geography and Statistics. 29 November 2011. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
- ข้อมูลประเทศบราซิล เก็บถาวร 2007-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย
บรรณานุกรม
[แก้]- Azevedo, Aroldo. O Brasil e suas regiões. São Paulo: Companhia Editora Nacional, 1971
- Barman, Roderick J. Citizen Emperor: Pedro II and the Making of Brazil, 1825–1891. Stanford: Stanford University Press, 1999. ISBN 0-8047-3510-7
- Biscardi, Afrânio; Rocha, Frederico Almeida (May 2006), "O Mecenato Artístico de D. Pedro II e o Projeto Imperial", 19&20 – A revista eletrônica de DezenoveVinte, vol. I no. 1
- Boxer, Charles R.. The Portuguese Seaborne Empire (1969)
- O império marítimo português 1415–1825. São Paulo: Companhia das Letras, 2002. ISBN 85-359-0292-9
- Bueno, Eduardo. Brasil: uma História. São Paulo: Ática, 2003. ISBN 85-08-08213-4
- Calmon, Pedro. História da Civilização Brasileira. Brasília: Senado Federal, 2002
- Carvalho, José Murilo de. D. Pedro II. São Paulo: Companhia das Letras, 2007
- Coelho, Marcos Amorim. Geografia do Brasil. 4th ed. São Paulo: Moderna, 1996
- Diégues, Fernando. A revolução brasílica. Rio de Janeiro: Objetiva, 2004
- Enciclopédia Barsa. Volume 4: Batráquio – Camarão, Filipe. Rio de Janeiro: Encyclopædia Britannica do Brasil, 1987
- Ermakoff, George (2006). Rio de Janeiro – 1840–1900 – Uma crônica fotográfica (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: G. Ermakoff Casa Editorial. ISBN 978-85-98815-05-3.
- Fausto, Boris and Devoto, Fernando J. Brasil e Argentina: Um ensaio de história comparada (1850–2002), 2nd ed. São Paulo: Editoria 34, 2005. ISBN 85-7326-308-3
- Gaspari, Elio. A ditadura envergonhada. São Paulo: Companhia das Letras, 2002. ISBN 85-359-0277-5
- Janotti, Aldo. O Marquês de Paraná: inícios de uma carreira política num momento crítico da história da nacionalidade. Belo Horizonte: Itatiaia, 1990
- Lyra, Heitor. História de Dom Pedro II (1825–1891): Ascenção (1825–1870). v. 1. Belo Horizonte: Itatiaia, 1977
- Lyra, Heitor. História de Dom Pedro II (1825–1891): Declínio (1880–1891). v. 3. Belo Horizonte: Itatiaia, 1977
- Lustosa, Isabel. D. Pedro I: um herói sem nenhum caráter. São Paulo: Companhia das letras, 2006. ISBN 85-359-0807-2
- Moreira, Igor A. G. O Espaço Geográfico, geografia geral e do Brasil. 18. Ed. São Paulo: Ática, 1981
- Munro, Dana Gardner. The Latin American Republics; A History. New York: D. Appleton, 1942.
- Peres, Damião (1949) O Descobrimento do Brasil por Pedro Álvares Cabral: antecedentes e intencionalidade Porto: Portucalense.
- Scheina, Robert L. Latin America: A Naval History, 1810–1987. Annapolis, MD: Naval Institute Press, 1987. ISBN 0-87021-295-8
- Lilia Schwarcz (30 พฤศจิกายน 1998), As barbas do imperador: D. Pedro II, um monarca nos trópicos, เซาเปาลู: Companhia das Letras, ISBN 978-85-7164-837-1, OL 142027M, Wikidata Q18238040
- Stuart B. Schwartz Sovereignty and Society in Colonial Brazil (1973)
- Early Latin America (1983)
- Sugar Plantations in the Formation of Brazilian Society (1985)
- Skidmore, Thomas E. Brazil: Five Centuries of Change (Oxford University Press, 1999)
- Uma História do Brasil. 4th ed. São Paulo: Paz e Terra, 2003. ISBN 85-219-0313-8
- Souza, Adriana Barreto de. Duque de Caxias: o homem por trás do monumento. Rio de Janeiro: Civilização Brasileira, 2008. ISBN 978-85-200-0864-5.
- Wright, Simon. 1992. Villa-Lobos. Oxford and New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-315475-7
- Vainfas, Ronaldo. Dicionário do Brasil Imperial. Rio de Janeiro: Objetiva, 2002. ISBN 85-7302-441-0
- Vesentini, José William. Brasil, sociedade e espaço – Geografia do Brasil. 7th Ed. São Paulo: Ática, 1988
- Vianna, Hélio. História do Brasil: período colonial, monarquia e república, 15th ed. São Paulo: Melhoramentos, 1994
- Zirin, Dave. Brazil's Dance with the Devil: The World Cup, The Olympics, and the Fight for Democracy Haymarket Books 2014. ISBN 978-1-60846-360-2
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Alencastro Felipe, Luiz Felipe de. The Trade in the Living: The Formation of Brazil in the South Atlantic, Sixteenth to Seventeenth Centuries (SUNY Press, 2019) excerpt
- Alves, Maria Helena Moreira (1985). State and Opposition in Military Brazil. Austin, TX: University of Texas Press.
- Amann, Edmund (1990). The Illusion of Stability: The Brazilian Economy under Cardoso. World Development (pp. 1805–19).
- "Background Note: Brazil". US Department of State. สืบค้นเมื่อ 16 June 2011.
- Bellos, Alex (2003). Futebol: The Brazilian Way of Life. London: Bloomsbury Publishing plc.
- Bethell, Leslie (1991). Colonial Brazil. Cambridge: CUP.
- Costa, João Cruz (1964). A History of Ideas in Brazil. Los Angeles, CA: University of California Press.
- Fausto, Boris (1999). A Concise History of Brazil. Cambridge: CUP.
- Furtado, Celso (1963). The Economic Growth of Brazil: A Survey from Colonial to Modern Times. Berkeley, CA: University of California Press.
- Leal, Victor Nunes (1977). Coronelismo: The Municipality and Representative Government in Brazil. Cambridge: CUP.
- Levine, Robert M. Historical Dictionary of Brazil (2019)
- Malathronas, John (2003). Brazil: Life, Blood, Soul. Chichester: Summersdale.
- Martinez-Lara, Javier (1995). Building Democracy in Brazil: The Politics of Constitutional Change. Macmillan.
- Prado Júnior, Caio (1967). The Colonial Background of Modern Brazil. Los Angeles, CA: University of California Press.
- Schneider, Ronald (1995). Brazil: Culture and Politics in a New Economic Powerhouse. Boulder Westview.
- Skidmore, Thomas E. (1974). Black into White: Race and Nationality in Brazilian Thought. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-501776-2.
- Wagley, Charles (1963). An Introduction to Brazil. New York, New York: Columbia University Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]รัฐบาล
- Brazilian Federal Government
- Official Tourist Guide of Brazil
- Brazilian Institute of Geography and Statistics
- Wikimedia Atlas of Brazil
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศบราซิล ที่โอเพินสตรีตแมป