ข้ามไปเนื้อหา

บีเลอเฟ็ลท์

พิกัด: 52°01′16″N 08°32′05″E / 52.02111°N 8.53472°E / 52.02111; 8.53472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bielefeld)
บีเลอเฟ็ลท์
บีเลอเฟ็ลท์มองจากปราสาทชปาเรินแบร์ค
บีเลอเฟ็ลท์มองจากปราสาทชปาเรินแบร์ค
ธงของบีเลอเฟ็ลท์
ธง
ตราราชการของบีเลอเฟ็ลท์
ตราอาร์ม
อำเภอของบีเลอเฟ็ลท์
บีเลอเฟ็ลท์ ตั้งอยู่ในเยอรมนี
บีเลอเฟ็ลท์
บีเลอเฟ็ลท์
บีเลอเฟ็ลท์ ตั้งอยู่ในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน
บีเลอเฟ็ลท์
บีเลอเฟ็ลท์
พิกัด: 52°01′16″N 08°32′05″E / 52.02111°N 8.53472°E / 52.02111; 8.53472
ประเทศเยอรมนี
รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน
จังหวัดเด็ทม็อลท์
อำเภอนครปลอดอำเภอ
ก่อตั้ง1214
เขตการปกครอง10 อำเภอ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–25) Pit Clausen[1] (SPD)
พื้นที่
 • นคร257.8 ตร.กม. (99.5 ตร.ไมล์)
ความสูง118 เมตร (387 ฟุต)
ประชากร
 (2020-12-31)[2]
 • นคร333,509 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,400 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง591,862 คน
เขตเวลาUTC+01:00 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+02:00 (CEST)
รหัสไปรษณีย์33501-33739
รหัสโทรศัพท์0521, 05202-05209
ทะเบียนพาหนะBI
เว็บไซต์Welcome to Bielefeld

บีเลอเฟ็ลท์ (เยอรมัน: Bielefeld, ออกเสียง: [ˈbiːləfɛlt] ) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นนครนอกอำเภอ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐ ปัจจุบันมีประชากร 341,755 คน[3] ถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่แปดของรัฐ การตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9[4] และถูกกล่าวถึงในฐานะเมืองครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1214 บีเลอเฟ็ลท์เคยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยลินินมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันเป็นเมืองอุตสาหกรรมด้านอาหาร สิ่งทอ เครื่องพิมพ์ และเครื่องจักรกล มีมหาวิทยาลัยหลักคือมหาวิทยาลัยบีเลอเฟ็ลท์ นอกจากนี้ยังเป็นบ้านของสโมสรฟุตบอลอาร์มีนีอาบีเลอเฟ็ลท์ ซึ่งลงเล่นในลีกระดับสองของประเทศ บีเลอเฟ็ลท์ยังเป็นที่รู้จักจากเรื่องสมคบคิดบีเลอเฟ็ลท์ที่อังเกลา แมร์เคิลเคยพูดเป็นนัยถึง

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิประเทศ

[แก้]
คลองลุทเทอร์บาคขณะไหลผ่านตัวเมือง
ช่องบีเลอเฟ็ลท์

บีเลอเฟ็ลท์ตั้งอยู่บริเวณสันปันน้ำระหว่างแม่น้ำเวเซอร์กับแม่น้ำเอมส์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมืองสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่ราบสลับกับเนินเขาเตี้ย ส่วนหนึ่งของแอ่งราเวนส์แบร์ก ซึ่งครอบคลุมทิศเหนือ ทิศตะวันออก และใจกลางเมือง ทิศตะวันตกเป็นแนวภูเขาทอดยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ป่าทอยโตบูร์ก แนวภูเขาดังกล่าว ช่วงที่ผ่านใกล้ใจกลางเมืองมีลักษณะเป็นช่องระหว่างภูเขา มีชื่อทางภูมิศาสตร์ว่า ช่องบีเลอเฟ็ลท์ ในเขตเทศบาลบรัคเวเดอ ถือเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญทางหนึ่งที่รองรับการจราจรจากทิศตะวันตก ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของเทือกเขา พื้นที่ทิศใต้ของเมืองในเขตเทศบาลเซ็นเนอและเซ็นเนอชตัดท์เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบต่ำเวสฟาเลิน ซึ่งมีธรรมชาติที่โดดเด่นคือ ประกอบด้วยไม้พุ่มเตี้ยกระจายอยู่ทั่วไป และพื้นดินเป็นตะกอนทรายจากยุคน้ำแข็งจำนวนมาก

แหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ คลองลุทเทอร์บาค (ความยาว 12 กิโลเมตร[5]) เป็นลำธารสายเล็ก ๆ ไหลผ่านพื้นที่ใจกลางเมือง ด้วยเหตุนี้ในวรรณคดีบางชิ้นได้พรรณนาว่าบีเลอเฟ็ลท์ตั้งอยู่ริมน้ำลุทเทอร์ ("am Lutterbach liegen")[6] คลองดังกล่าวกำเนิดจากการแตกสาขาของแม่น้ำลุทเทอร์ (ความยาว 26 กิโลเมตร[5]) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ในเขตเควลเลอ และไหลไปสู่เมืองกือเทอร์สโล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบีเลอเฟ็ลท์

พื้นที่ทางเหนือของเมืองมีภูมิประเทศเป็นเนินคล้ายลูกคลื่น ครอบคลุมบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอ่งราเวนส์แบร์ก ประกอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งหญ้า ลำธาร และแม่น้ำสายเล็ก แหล่งน้ำที่สำคัญคือ อ่างเก็บน้ำโอเบอร์เซ (พื้นที่ 20 เฮกตาร์) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำธารโยฮันนิสบาค ถือเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดของบีเลอเฟ็ลท์ เมื่อมองภาพรวมของเส้นทางน้ำจะสังเกตได้ว่า แหล่งน้ำที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบีเลอเฟ็ลท์จะไหลลงแม่น้ำอา (Aa) ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเวเซอร์ ส่วนแหล่งน้ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะไหลลงแม่น้ำเอมส์ โดยมีสันปันน้ำเป็นเทือกเขาของป่าทอยโตบูร์กตั้งอยู่กึ่งกลาง ป่าดังกล่าวยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองบีเลอเฟ็ลท์ มีเส้นทางเดินธรรมชาติหลายแห่ง[7]

ตำแหน่งที่สูงที่สุดของเมืองคือเนินเขาอัฟเดมโพลเลอ (Auf dem Polle) ในเขตเลเมอร์สฮาเกน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมือง มีความสูง 320 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จุดต่ำสุดอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือในเขตบราเกอ ริมแม่น้ำอา เขตติดต่อเมืองแฮร์ฟอร์ด สูง 71 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ส่วนใจกลางเมือง ณ ศาลากลางเมืองบีเลอเฟ็ลท์สูงจากระดับน้ำทะเลราว 114 เมตร นอกจากนี้เส้นละติจูดที่ 52 องศาเหนือยังตัดผ่านพื้นที่เมือง ซึ่งมีหลักหินแสดงไว้

บีเลอเฟ็ลท์ตั้งอยู่ในเขตชุมชนเมืองแห่งหนึ่งที่มีความหนาแน่นประชากรสูง เขตชุมชนเมืองนี้ตั้งขนานไปกับทางพิเศษออโตบาห์นหมายเลข 2 เริ่มตั้งแต่เมืองกือเทอร์สโล บีเลอเฟ็ลท์ แฮร์ฟอร์ด สิ้นสุดที่เมืองมินเดิน เมืองใหญ่แห่งอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงบีเลอเฟ็ลท์จะแสดงเป็นแผนภาพตามทิศ ดังนี้

พื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

[แก้]
ป่าแห่งเมืองบีเลอเฟ็ลท์

บีเลอเฟ็ลท์มีพื้นที่ 257.91 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นเมืองใหญ่ขนาดเล็ก[8] (เยอรมัน: kleine Großstadt) ส่วนที่กว้างที่สุดตามแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออก-ตะวันตกยาว 22 กิโลเมตรและ 19 กิโลเมตรตามลำดับ[9] การใช้ประโยชน์ที่ดินของบีเลอเฟ็ลท์แสดงในตารางด้านล่าง[8] โดยบีเลอเฟ็ลท์มีพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าราวร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับเมืองแห่งอื่นในรัฐที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เขตอนุรักษ์ธรรมชาติมีราวร้อยละ 7.5 ของพื้นที่เมือง[10] และพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดขนาด 2,256 เฮกตาร์ตั้งอยู่ในเขตบีเลอเฟลเดอร์ชตัดท์วัลด์ หรือ "ป่าแห่งเมืองบีเลอเฟ็ลท์"[11]

พื้นที่เรียงตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละของพื้นที่ทั้งหมด
เกษตรกรรม 95.75 37.13 %
ป่าไม้ 52.22 20.25 %
สิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ว่าง และอุตสาหกรรม 70.20 27.22 %
ที่อยู่อาศัย และคมนาคม 24.89 9.65 %
แหล่งน้ำ 1.86 0.72 %
กีฬา สันทนาการ และพื้นที่สีเขียว 11.79 4.57 %
อื่น ๆ 1.19 0.46 %
แผนที่เขตปกครองของเมืองบีเลอเฟ็ลท์

การแบ่งเขตปกครอง

[แก้]

เมืองบีเลอเฟ็ลท์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เทศบาล (Stadtbezirk) แต่ละเขตมีสภาผู้แทนเทศบาล (Bezirksvertretung) สมาชิกสภาผู้แทนเทศบาลมีจำนวนสูงสุด 19 คน ซึ่งได้จากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาลนั้น ๆ แต่ละเขตมีนายกเทศมนตรี (Bezirksbürgermeister) เป็นของตนเอง ปัจจุบันผู้คนยังนิยมใช้เขตย่อย (Stadtteil) ซึ่งเล็กกว่าเทศบาล เพื่อระบุตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ใด ๆ ในบีเลอเฟ็ลท์ ถึงแม้ว่าทางราชการจะไม่ใช้การแบ่งเขตปกครองระดับเขตย่อยแล้ว และบ่อยครั้งที่ชื่อของเขตย่อยตรงกับชื่อเดิมของพื้นที่ในสมัยที่ยังเป็นชุมชนอิสระก่อนการยุบรวมเข้ากับบีเลอเฟ็ลท์ในช่วงปี พ.ศ. 2473–2516 ตามกฎหมายบีเลอเฟ็ลท์ เขตเทศบาลทั้ง 10 แห่งของบีเลอเฟ็ลท์มีดังนี้

  1. บรัคเวเดอ (Brackwede)
  2. ดอร์นแบร์ก (Dornberg)
  3. กัดเดอร์เบาม์ (Gadderbaum)
  4. ฮีพเพิน (Heepen)
  1. เยิลเลินเบ็ค (Jöllenbeck)
  2. มิทเทอ (Mitte)
  3. ชิลเดชเชอ (Schildesche)
  1. เซ็นเนอ (Senne)
  2. เซ็นเนอชตัดท์ (Sennestadt)
  3. ชตีกฮอร์สท์ (Stieghorst)

แต่ละเทศบาลยังแบ่งออกเป็นเขตย่อย ดังนี้ (ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนเขตย่อย)

เทศบาลฮีพเพิน (7)

  1. อัลเทินฮาเกิน (Altenhagen)
  2. เบาม์ไฮเดอ (Baumheide)
  3. บราเคอ (Brake)
  4. เบรินนิงเฮาเซิน (Brönninghausen)
  5. ฮีพเพิน (Heepen)
  6. มิลเซอ (Milse)
  7. โอลเดินทรุพ (Oldentrup)

เทศบาลดอร์นแบร์ก (6)

  1. บาเบินเฮาเซิน (Babenhausen)
  2. โกรซดอร์นแบร์ก (Großdornberg)
  3. โฮแบร์เกอ-อือเรินทรุพ (Hoberge-Uerentrup)
  4. เคียร์ชดอร์นแบร์ก (Kirchdornberg)
  5. นีเดอร์ดอร์นแบร์ก-เดพเพินดอร์ฟ (Niederdornberg-Deppendorf)
  6. ชเริททิงเฮาเซิน (Schröttinghausen)

เทศบาลชตีกฮอร์สท์ (5)

  1. ฮิลเลอกอสเซิน (Hillegossen)
  2. เลเมอร์สฮาเกิน-เกรฟิงฮาเกิน (Lämershagen-Gräfinghagen)
  3. ซีเคอร์ (Sieker)
  4. ชตีกฮอร์สท์ (Stieghorst)
  5. อุบเบอดีสเซิน (Ubbedissen)

เทศบาลบรัคเวเดอ (4)

  1. บรัคเวเดอ (Brackwede)
  2. โฮลท์คัมพ์ (Holtkamp)
  3. เควลเลอ (Quelle)
  4. อุมเมิลน์ (Ummeln)

เทศบาลเซ็นเนอชตัดท์ (4)

  1. ดัลบ์เคอ (Dalbke)
  2. เอ็กคาร์ดท์สไฮม์ (Eckardtsheim)
  3. ไฮเดบลืมเชิน (Heideblümchen)
  4. เซ็นเนอชตัดท์ (Sennestadt)

เทศบาลเยิลเลินเบ็ค (3)

  1. เยิลเลินเบ็ค (Jöllenbeck)
  2. เทเซิน (Theesen)
  3. ฟิลเซินดอร์ฟ (Vilsendorf)

เทศบาลชิลเดชเชอ (3)

  1. เกลเลอร์สฮาเกิน (Gellershagen)
  2. ชิลเดชเชอ (Schildesche)
  3. ซุดบรัค (Sudbrack)

เทศบาลเซ็นเนอ (3)

  1. บุชคัมพ์ (Buschkamp)
  2. วินเดิลส์ไบลเคอ (Windelsbleiche)
  3. วินด์เฟลอเทอ (Windflöte)

เทศบาลกัดเดอร์เบาม์ (2)

  1. เบเทิล (Bethel)
  2. กัดเดอร์เบาม์ (Gadderbaum)

เทศบาลมิทเทอ (0)

เมืองพี่น้อง

[แก้]

บีเลอเฟ็ลท์มีเมืองพี่น้องดังนี้:[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wahlergebnisse in NRW Kommunalwahlen 2020, Land Nordrhein-Westfalen, accessed 19 June 2021.
  2. "Bevölkerung der Gemeinden Nordrhein-Westfalens am 31. Dezember 2020". Landesbetrieb Information und Technik NRW (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2021.
  3. "Aktuelle Einwohnerzahlen". Bielefeld.de. 31 December 2021. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
  4. bi-info.de
  5. 5.0 5.1 Topographisches Informationsmanagement, Bezirksregierung Köln, Abteilung GEObasis NRW เก็บถาวร 2012-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เยอรมัน)
  6. Walter Vollmer: Westfälische Städtebilder. Bertelsmann Verlag, Gütersloh 1963, Bielefeld,Soll und Haben, หน้า 56. (เยอรมัน)
  7. Homepage der Stadt Bielefeld, Natur und Landschaft เก็บถาวร 2016-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เยอรมัน)
  8. 8.0 8.1 Landesamt für Datenverarbeitung und Statistik Nordrhein-Westfalen. PDF "Kommunalprofil Langfassung" (ภาษาเยอรมัน). {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. "Homepage der Stadt Bielefeld, Geographie" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
  10. "Homepage der Stadt Bielefeld, Naturschutzgebiete" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
  11. Umweltbetrieb der Stadt Bielefeld. "Stadt Bielefeld - Bielefelder Stadtwald" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-03. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
  12. "Städtepartnerschaften". bielefeld.de (ภาษาเยอรมัน). Bielefeld. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-02. สืบค้นเมื่อ 10 February 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บีเลอเฟ็ลท์