เรื่องสมคบคิดบีเลอเฟ็ลท์
เรื่องสมคบคิดบีเลอเฟ็ลท์ (เยอรมัน: Bielefeldverschwörung หรือ Bielefeld-Verschwörung, ออกเสียง: [ˈbiːləfɛltfɛɐ̯ˌʃvøːʁʊŋ]) เป็นทฤษฎีสมคบคิดเชิงเสียดสี ที่บอกว่าเมืองบีเลอเฟ็ลท์ในประเทศเยอรมนีไม่มีอยู่จริง[1] แต่เป็นภาพลวงตาและโฆษณาชวนเชื่อที่สร้างขึ้นโดยอำนาจหลายกลุ่ม เรื่องสมคบคิดนี้เริ่มต้นครั้งแรกในยูสเน็ตเยอรมันในปี 1994 และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดของเมือง[2] และอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยังเคยพูดถึงเรื่องสมคบคิดนี้[3]
ภาพรวม
[แก้]เรื่องสมคบคิดนี้ระบุว่าเมืองบีเลอเฟ็ลท์ (ประชากร 341,755 คน ข้อมูลเมื่อ ธันวาคม 2021[update])[4] ซึ่งอยู่ในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงเรื่องชวนเชื่อที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มคนหรือคนที่เรียกว่า ซี (SIE; "พวกมัน/พวกเขา" ในภาษาเยอรมัน เขียนเป็นอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกตัว) ซึ่งสร้างเรื่องนี้ขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อสร้างภาพลวงตาว่าเมืองนี้มีอยู่
ทฤษฎีนี้เสนอคำถามไว้สามข้อ:
- คุณรู้จักใครสักคนที่มาจากบีเลอเฟ็ลท์ไหม?
- คุณเคยไปบีเลอเฟ็ลท์ไหม?
- คุณรู้จักใครสักคนที่เคยไปบีเลอเฟ็ลท์ไหม?
คนส่วนใหญ่มักจะตอบว่า ไม่ สำหรับสามคำถามนี้ ใครก็ตามที่อ้างว่ารู้จักบีเลอเฟ็ลท์จะถูกเถียงว่าเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีสมคบคิด หรือไม่ก็ถูกล้างสมอง
ที่มาและสาเหตุของทฤษฎีสมคบคิดนี้เริ่มต่อเติมเข้ามาจากทฤษฎีเดิม มีผู้ตั้งข้อสังเกตขำ ๆ ว่า "ซี" คือซีไอเอ, มอสซาด หรือเอเลียนที่ใช้มหาวิทยาลัยบีเลอเฟ็ลท์ปลอมมาปกปิดยานอวกาศของตน[5][6]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ทฤษฎีสมคบคิดนี้เปิดเผยสู่สาธารณะครั้งแรกในโพสต์บนเว็บกลุ่มข่าว de.talk.bizarre
ในวันที่ 16 พฤษภาคม 1994 โดยอัคคิม เฮ็ลท์ (Achim Held) นักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยคีล[7] หลังจากที่เพื่อนคนหนึ่งของเฮ็ลท์เจอกับคนจากบีเลอเฟ็ลท์คนหนึ่งในงานเลี้ยงนักศึกษาเมื่อปี 1993 เขากล่าวว่า "เป็นไปไม่ได้น่า" (Das gibt's doch gar nicht) อย่างไรก็ตาม คำแปลตรงตัวของประโยคนี้คือ "สิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง" จึงเป็นการกล่าวกลาย ๆ (และออกกำกวม) ว่าไม่ใช่แค่เขาไม่เชื่อบุคคลนั้น แต่ยังรวมถึงว่าเมืองนี้ไม่มีอยู่จริงด้วย เรื่องนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกอินเทอร์เน็ตของเยอรมนี และยังคงเป็นที่พูดถึงแม้ผ่านมาแล้วกว่า 31 ปี
ในบทสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์เนื่องในโอกาสสิบปีของโพสต์ในกลุ่มข่าว เฮ็ลท์ระบุว่าเรื่องนี้มีที่มาจากโพสต์ในยูสเน็ตของเขาแน่นอน โพสต์ดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อความตลกล้วน ๆ และเรื่องเล่านี้เขาคิดขึ้นระหว่างอยู่ที่งานเลี้ยงนักศึกษาและกำลังคุยกับนักอ่านนิตยสารนิวเอจ และจากการเดินทางโดยรถยนต์ผ่านเมืองบีเลอเฟ็ลท์ตอนที่มีการปิดทางลงทางด่วนไปที่ออกไปเมืองลีเบอฟีลท์[8][9]
แอลัน เลสซอฟฟ์ (Alan Lessoff) นักประวัติศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตว่าความน่าสนใจของทฤษฎีว่าบีเลอเฟ็ลท์ไม่มีอยู่จริงเป็นผลมาจากว่าบีเลอเฟ็ลท์ไม่มีจุดเด่น ไม่มีสถาบันสำคัญ หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่น ไม่ได้ตั้งอยู่บนแม่น้ำสายสำคัญ เขาระบุต่อว่า "บีเลอเฟ็ลท์คือนิยามของความไม่เข้าพวก" (Bielefeld defines nondescript)[10][11]
การตอบรับ
[แก้]ในปี 1999 หรือห้าปีหลังเรื่องนี้แพร่กระจาย สภานครบีเลอเฟ็ลท์ได้ปล่อยประกาศสู่สาธารณะ หัวเรื่องว่า "บีเลอเฟ็ลท์มีอยู่จริง!" (Bielefeld gibt es doch!) ในวันเมษาหน้าโง่ งานฉลองครบรอบ 800 ปีของเมืองในปี 2014 จัดขึ้นโดยใช้คำขวัญว่า "เป็นไปไม่ได้น่า" (Das gibt's doch gar nicht)[2]
ในเดือนพฤศจิกายน 2012 อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เคยกล่าวเป็นนัยถึงทฤษฎีสมคบคิดในที่สาธารณะขณะเล่าถึงการประชุมครั้งหนึ่งที่เธอเคยเข้าร่วมที่ศาลาว่าการเมืองบีเลอเฟ็ลท์ เธอระบุว่า "...ก็ต่อเมื่อเมืองนี้มีอยู่จริงตั้งแต่แรก" (... so es denn existiert) และ "ฉันมีความรู้สึกว่าฉันเคยไปที่นั่น" (Ich hatte den Eindruck, ich war da)[3]
เรื่องคล้ายกัน
[แก้]เรื่องสมคบคิดเชิงเสียดสีคล้าย ๆ กัน มีทั้งเกี่ยวกับรัฐอาครีในประเทศบราซิล,[12] แคว้นโมลีเซในประเทศอิตาลี,[13] รัฐตลัซกาลาในประเทศเม็กซิโก,[14] แคว้นมูร์เซียในประเทศสเปน, เมืองฮัสเซิลต์ในประเทศเบลเยียม,[15] เมืองรังกากัวและเมืองกอมบาร์บาลาในประเทศชิลี, เมืองบาร์รังกาเบร์เมฮาในประเทศโคลอมเบีย,[16] รัฐลาปัมปาในประเทศอาร์เจนตินา,[17] ทะเลสาบบอลอโตนในประเทศฮังการี,[18] เมืองเนสซีโอนาในประเทศอิสราเอล ไปจนถึงทั้งประเทศฟินแลนด์[19] และประเทศออสเตรเลีย[20] ส่วนในสหรัฐมีเรื่องคล้ายกันสำหรับรัฐไวโอมิง[21] และรัฐไอดาโฮ[22] โดยเรื่องของไวโอมิงนี้มีมาจากการ์ตูน การ์ฟีลด์และผองเพื่อน[23][24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: Tom Scott (19 October 2015). "The Bielefeld Conspiracy". YouTube.
- ↑ 2.0 2.1 von Lüpke, Marc. "'Ich habe die Bielefeld-Verschwörung unterschätzt'" [I underestimated the Bielefeld Conspiracy]. Der Spiegel (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 16 May 2014.
- ↑ 3.0 3.1 "Auch Merkel zweifelt an Existenz Bielefelds" (ในภาษาเยอรมัน), Die Welt, November 27, 2012 (retrieved May 7, 2013).
- ↑ "Aktuelle Einwohnerzahlen". Bielefeld.de. 2021-12-31. สืบค้นเมื่อ 2022-02-08.
- ↑ Die Bielefeld-Verschwörung – German page detailing the conspiracy, as originally setup by Achim Held in 1994. (ในภาษาเยอรมัน)
- ↑ Germany's Latest Conspiracy Theory at the Deutsche Welle website
- ↑ The first newsgroup posting (Archived version at Google Groups) (ในภาษาเยอรมัน)
- ↑ "Transcript of the TV interview with Achim Held in 2004". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2007.
- ↑ "Der Mann hinter der großen Bielefeld-Verschwörung". Die Welt (ภาษาเยอรมัน). 2013-01-23.
- ↑ Alan Lessoff (28 February 2015). Where Texas Meets the Sea: Corpus Christi and Its History. University of Texas Press. pp. 17–18. ISBN 978-0-292-76823-9.
- ↑ Philippe Blanchard; Dimitri Volchenkov (23 October 2008). Mathematical Analysis of Urban Spatial Networks. Springer Science & Business Media. pp. 11–12. ISBN 978-3-540-87829-2.
- ↑ Ball, James (16 April 2018). "Australia doesn't exist! And other bizarre geographic conspiracies that won't go away". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 July 2020.
- ↑ Leggieri, Antonio (5 October 2015). "Il Molise non esiste!". Il Fatto Quotidiano (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 24 November 2020.
- ↑ Brooks, Darío (26 March 2019). "Tlaxcala: por qué 500 años después en México no perdona la alianza tlaxcalteca con el conquistador Hernán Cortés". BBC (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 17 December 2020.
- ↑ Vandael, Birger (2021-02-20). ""Parodie op complottheorieën", maar hoax 'Hasselt bestaat niet' doet flink de ronde op sociale media". Het Laatste Nieuws (ภาษาดัตช์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ Gutierrez, Luis (17 April 2020). "Barrancabermeja no existe". Digame. สืบค้นเมื่อ 6 July 2021.
- ↑ "¿La Pampa no existe? el debate en Twitter que divirtió y enojó a varios". La Nación. October 2019. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
- ↑ "Eddig hazugságban éltünk: a Balaton valójában nem létezik". 9 August 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2021.
- ↑ Lamoureux, Mack (December 8, 2016). "This Dude Accidentally Convinced the Internet That Finland Doesn't Exist". Vice (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ "Australia doesn't exist! And other bizarre geographic conspiracies that won't go away". TheGuardian.com. 15 April 2018.
- ↑ Goodrick, Jake (20 November 2020). "Growing online theory says Wyoming doesn't exist". AP News. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
- ↑ "CONSPIRACY THEORY: IDAHO DOESN'T EXIST".
- ↑ Roddam, Rick (March 13, 2018). "The 'Wyoming Doesn't Exist' Myth Began With Garfield The Cat". 101.9 KING FM (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
- ↑ Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: "Garfield: It Must Be True! - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
บรรณานุกรม
[แก้]- Günther Butkus, บ.ก. (2010). Rätselhaftes Bielefeld. Die Verschwörung (ภาษาเยอรมัน). Pendragon. ISBN 978-3-86532-188-6.
- Thomas Walden (2010). Die Bielefeld-Verschwörung. Der Roman zum Film (ภาษาเยอรมัน). Pendragon. ISBN 978-3-86532-194-7.
- Thomas Walden (2012). Drachenzeit in Bielefeld: Aufgabe 2 der Bielefeld Verschwörung (ภาษาเยอรมัน). tredition. ISBN 978-3-8472-3859-1.
- Karl-Heinz von Halle (2013). Gibt es Bielefeld oder gibt es Bielefeld nicht? (ภาษาเยอรมัน). Eichborn-Verlag. ISBN 978-3-8479-0546-2.