ข้ามไปเนื้อหา

ที-6 เท็กซัน 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Beechcraft T-6 Texan II)
ที-6 เท็กซัน 2
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินฝึก
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตเท็กซ์ตรอนเอวิเอชัน
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
กองทัพเรือสหรัฐ
กองทัพอากาศแคนาดา
จำนวนที่ผลิตมากกว่า 1,000 ลำ
ประวัติ
เริ่มใช้งานค.ศ. 2001
เที่ยวบินแรก15 กรกฎาคม ค.ศ. 1998

บีชคราฟท์ ที-6 เท็กซัน 2 (Beechcraft T-6 Texan II) เป็นเครื่องบินเทอร์โบพร็อปแบบเครื่องยนต์เดี่ยว สร้างโดยบริษัทเท็กซ์ตรอนเอวิเอชันของสหรัฐ เป็นการพัฒนาต่อยอดจากเครื่องบิน Pilatus PC-9 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อส่งเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกของกองทัพอากาศสหรัฐในช่วงปี 1990

T-6A ถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศสหรัฐในฐานะอากาศยานฝึกนักบินพื้นฐานและฝึกนายทหารระบบอำนวยการรบ ถูกใช้งานโดยกองทัพเรือสหรัฐและเหล่านาวิกโยธินสหรัฐในฐานะอากาศยานฝึกนักบินทหารเรือขั้นต้นและนายทหารการบินนาวีขั้นต้นและขั้นกลาง นอกจากนี้ ยังถูกใช้งานเป็นเครื่องบินฝึกพื้นฐานของกองทัพอากาศแคนาดา กองทัพอากาศกรีก และกองทัพอากาศอิสราเอล ขณะที่รุ่น T-6B ถูกใช้งานเป็นเครื่องบินฝึกของกองทัพอากาศเม็กซิโก กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร กองทัพอากาศโมร็อกโก และกองทัพอากาศนิวซีแลนด์

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาขีดความสามารถเพื่อใช้งานเป็นเครื่องบินโจมตีเบา โดยรุ่นโจมตีเบาจะขึ้นต้นด้วยอักษร AT และใช้ชื่อเรียกว่า วูล์ฟเวอรีน ทั้งนี้กองทัพอากาศไทยมีการใช้งานเครื่องบินรุ่นนี้ในฐานะเครื่องบินฝึก (ใช้รหัสรุ่นว่า T-6TH) และเป็นประเทศแรกที่ใช้งานในฐานะเครื่องบินโจมตีเบา (ใช้รหัสรุ่นว่า AT-6TH)

รุ่นย่อย

[แก้]
  • Model 3000 ชื่อรุ่นเดิมที่ตั้งโดยบริษัท
  • T-6A Texan II รุ่นมาตรฐานสำหรับ ทอ.สหรัฐ, ทร.สหรัฐ และทอ.กรีก
  • T-6A NTA Texan II คือรุ่น T-6A ที่ติดอาวุธสำหรับ ทอ.กรีก สามารถบรรทุกกระเปาะจรวด กระเปาะปืน และถังเชื้อเพลิงภายนอก[1]
  • T-6B Texan II รุ่นอัพเกรดจาก T-6A มีหน้าจอดิจิทัล, หนึ่งจอ HUD, หกจอ MFD และคันบังคับ HOTAS
  • AT-6B Wolverine คือรุ่น T-6B ที่ติดระบบอาวุธ เพื่อฝึกใช้อาวุธหรือโจมตีเบา มีหน้าตาเหมือน T-6B แต่ปรับปรุงระบบเดต้าลิงก์ ระบบเซนเซอร์ และเปลี่ยนลักษณะติดตั้งอาวุธ[1][2] เพิ่มกำลังเครื่องยนต์เป็น 1,193 กิโลวัตต์ (จากปกติ 820 กิโลวัตต์)
  • T-6C Texan II รุ่นอัพเกรดจาก T-6B เน้นเพื่อการส่งออก
  • T-6D Texan II รุ่นต่อยอดจาก T-6B และ C สำหรับ ทบ.สหรัฐ
  • AT-6E Wolverine รุ่นโจมตีเบา ซื้อโดย ทอ.ไทย โดยใช้รหัสรุ่นว่า AT-6TH
  • CT-156 Harvard II อีกรุ่นของ T-6A เพื่อใช้ฝึกทหารอากาศชาติเนโท ในประเทศแคนาดา

ข้อมูลจำเพาะของรุ่น T-6A เท็กซัน 2

[แก้]
T-6C ในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร

คุณลักษณะทั่วไป

[แก้]
  • ลูกเรือ : สองคน
  • ความยาว : 10.16 ม.
  • ช่วงระหว่างปลายปีก : 10.19 ม.
  • ความสูง : 3.25 ม.
  • พื้นที่ปีก : 16.49 ตร.ม.
  • น้ำหนักลำเปล่า : 2,135 กก.
  • น้ำหนักมวลรวม : 2,858 กก.
  • ความจุถังเชื้อเพลิงภายใน : 677.5 ลิตร (149 แกลลอน)
  • เครื่องยนต์ : Pratt & Whitney Canada PT6A-68 ให้กำลัง 1,100 แรงม้า (820 กิโลวัตต์)
  • ตัวขับเคลื่อน : 4 ใบพัด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.46 เมตร

สมรรถนะ

[แก้]
  • ความเร็วทำการบิน : 510 กม./ชม.
  • ความเร็วสูงสุด : 586 กม./ชม.
  • พิสัยบิน : 1,700 กม.
  • เพดานบิน : 9,400 ม.
  • ขีดจำกัดแรงจี : +7.0 g / −3.5 g

ข้อมูลจำเพาะของรุ่น AT-6B วูล์ฟเวอรีน

[แก้]

คุณลักษณะทั่วไป

[แก้]
  • ลูกเรือ : สองคน
  • ความยาว : 10.16 ม. (เท่ารุ่นบินฝึก)
  • ช่วงระหว่างปลายปีก : 10.40 ม.
  • ความสูง : 3.25 ม. (เท่ารุ่นบินฝึก)
  • พื้นที่ปีก : 16.60 ตร.ม.
  • น้ำหนักลำเปล่า : 2,671 กก.
  • น้ำหนักสูงสุดเมื่อรวมสิ่งบรรทุก : 4,536 กก.
  • ความจุถังเชื้อเพลิงภายใน : 677.5 ลิตร (149 แกลลอน)
  • เครื่องยนต์ : Pratt & Whitney Canada PT6A-68D ให้กำลัง 1,600 แรงม้า (1,193 กิโลวัตต์)
  • ตัวขับเคลื่อน : 4 ใบพัด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.46 เมตร

สมรรถนะ

[แก้]
  • ความเร็วทำการบิน : 556 กม./ชม.
  • ความเร็วสูงสุด : 858 กม./ชม.
  • พิสัยบิน (เมื่อไม่ติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอก) : 1,300 กม.
  • พิสัยบิน (เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอกสองถัง) : 2,240 กม.
  • เพดานบิน : 9,949 ม.

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]
ผู้ใช้งานที-6 เท็กซัน 2
 อาร์เจนตินา
 แคนาดา
 โคลอมเบีย
 กรีซ
 อิรัก
 อิสราเอล
 เม็กซิโก
 โมร็อกโก
 นิวซีแลนด์
 ไทย
 ประเทศตูนิเซีย
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ
 เวียดนาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Bertorelli, Paul (21 ตุลาคม 2009). "NBAA 2009 Video Series: Hawker Beechcraft's Turboprop Attack Aircraft". AvWeb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2016.
  2. Hawker Beechcraft Corporation. "Beechcraft AT-6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2008.
  3. "2 Canadian Forces Flying Training School". forces.gc.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2015. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  4. "La Fuerza Aérea Colombiana continua la adquisición de aviones de entrenamiento". 2 January 2023. สืบค้นเมื่อ 2 January 2023.
  5. "Hellenic Air Force Weapons - T-6A TEXAN II". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2015. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  6. "The Penny Drops: Iraq Chooses its COIN Aircraft". Defense Industry Daily. 12 August 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2009. สืบค้นเมื่อ 14 August 2009.
  7. "World Air Forces 2023". Flight Global. 2022. p. 21. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
  8. "Mexico compra en EU aviones militares para practicas". Notimex (ภาษาสเปน). 9 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2012. สืบค้นเมื่อ 10 January 2012.
  9. Minister of Defence Jonathan Coleman (22 August 2014). "New military pilot training aircraft arrive in NZ". Beehive.govt.nz (Press release). สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
  10. "Tunisian Air Force Receives First Beechcraft T-6C Texan II Trainer Aircraft". MilitaryLeak. 9 November 2022.
  11. "First T-6C Texan trainers arrive at RAF Valley". 16 February 2018. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
  12. "United States Expands U.S.-Vietnam Defense Cooperation with Delivery of T-6C Trainer Aircraft". Consulate General of the United States, Ho Chi Minh City (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). United States Department of State. 2024-11-20. สืบค้นเมื่อ 2024-11-20. The handover of five next generation American-made T-6C Trainer Aircraft demonstrates the U.S. commitment to partner with Vietnam as it develops self-reliant defense capabilities in accordance with the U.S. – Vietnam Comprehensive Strategic Partnership.
  13. "COMPACAF Attends Historic T-6C Aircraft Delivery to Vietnam". Pacific Air Forces (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). United States Air Force. 2024-11-20. สืบค้นเมื่อ 2024-11-20. ...with the full complement of 12 T-6C aircraft scheduled for delivery by 2025.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]