ข้ามไปเนื้อหา

ศาลสูงสุดอินเดีย

พิกัด: 28°37′20″N 77°14′23″E / 28.622237°N 77.239584°E / 28.622237; 77.239584
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Supreme Court of India)
ศาลสูงสุดอินเดีย
Supreme Court of India
भारत का उच्चतम न्यायालय
แผนที่
สถาปนา28 มกราคม 1950
ที่ตั้งติลกมรรค นิวเดลี
พิกัด28°37′20″N 77°14′23″E / 28.622237°N 77.239584°E / 28.622237; 77.239584
คติพจน์มีธรรมจึงมีชัย
यतो धर्मस्ततो जयः
Yatō Dharmastatō Jayaḥ
Whence Dharma, Thence Victory
วิธีได้มาสรรหาโดยฝ่ายบริหาร
ที่มารัฐธรรมนูญอินเดีย
ยื่นอุทธรณ์ต่อไม่มี
(แต่ประธานาธิบดีอินเดียสามารถอภัยโทษ)
วาระตุลาการจนกว่าอายุครบ 65 ปี
จำนวนตุลาการ31
(ประธาน 1 คน ตุลาการอีก 30 คน)
เว็บไซต์sci.nic.in
ประธานศาลสูงสุดแห่งอินเดีย
ปัจจุบันพี. สตศิวัม (P. Sathasivam)
ตั้งแต่19 กรกฎาคม 2013
ตำแหน่งผู้นำสิ้นสุด26 เมษายน 2014

ศาลสูงสุดอินเดีย (อังกฤษ: Supreme Court of India) เป็นศาลชั้นสูงสุดแห่งสาธารณรัฐอินเดีย จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญอินเดีย ภาค 5 หมวด 4 เพื่อแทนที่ศาลกลาง (Federal Court) และคณะกรรมการตุลาการในคณะองคมนตรี (Judicial Committee of the Privy Council) ออกนั่งบัลลังก์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มกราคม 1950[1]

รัฐธรรมนูญ มาตรา 124 ถึงมาตรา 147 กำหนดองค์ประกอบและเขตอำนาจของศาลไว้ ตามความในบทบัญญัติดังกล่าว ศาลมีอำนาจเบื้องต้นเป็นการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชำระข้อพิพาททางปกครองเกี่ยวกับรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ ศาลยังมีอำนาจชำระอุทธรณ์จากศาลสูง (High Court) และจากศาลอื่น ๆ ในระดับรัฐและระดับดินแดน

ตั้งแต่ปี 1937 ถึงปี 1950 บัลลังก์ของศาลอยู่ที่นเรนทรมณฑล (Chamber of Princes) ในอาคารรัฐสภา ซึ่งเคยใช้เป็นบัลลังก์ศาลกลางแห่งอินเดีย ครั้นปี 1958 จึงย้ายไปยังอาคารใหม่จนปัจจุบัน[1]

ในระยะหลัง โดยเฉพาะในปี 2008 ศาลต้องผจญเรื่องอื้อฉาวจำนวนมาก โดยเฉพาะข้อกล่าวหาว่า ตุลาการชั้นผู้ใหญ่ฉ้อราษฎร์บังหลวง[2] ทั้งยังนำภาษีประชาชนไปใช้ส่วนตัว[3] แต่งตั้งข้าราชการตุลาการโดยวิธีลับ[4] ไม่ยอมเปิดเผยสินทรัพย์ต่อสาธารณชน[5] และไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชนตามความในรัฐบัญญัติสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Right to Information Act)[6] อนึ่ง เมื่อเค. จี. พลกฤษณัน (K. G. Balakrishnan) ประธานศาล แสดงความคิดเห็นว่า ตนไม่ใช่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง แต่เป็นเจ้าหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างใหญ่หลวง[7] ขณะเดียวกัน ฝ่ายตุลาการอินเดียเองถูกประธานาธิบดีหลายคน เช่น ประติภา ปาฏีล (Pratibha Patil) และเอ. พี. เจ. อับดุล กลาม (A. P. J. Abdul Kalam) ตำหนิอย่างหนักว่า ละเลยหน้าที่[8] ทั้งมานโมฮัน ซิงห์ (Manmohan Singh) นายกรัฐมนตรี ก็ระบุว่า ปัญหาหลักของฝ่ายตุลาการ คือ การฉ้อฉลโกงกิน และเสนอแนะให้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อขจัด "ภัยคุกคาม" (menace) เหล่านี้[9]

นอกจากปัญหาข้างต้นแล้ว ศาลยังถูกติเตียนเรื่องทำหน้าที่เชื่องช้า สิ้นปี 2011 ปรากฏสถิติว่า มีคดีที่ชำระไม่เสร็จ 58,519 เรื่อง และในจำนวนนั้น คดี 37,385 เรื่องถูกดองไว้นานกว่า 1 ปี แต่ถ้าไม่นับคดีที่เกี่ยวพันกันแล้ว จะมีคดีค้างอยู่ 33,892 เรื่อง[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 History of the Supreme Court of India, Supreme Court of India
  2. Ex-chief justice under corruption panel scanner เก็บถาวร 2009-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Hindustan Times, New Delhi, 9 June 2008
  3. Are judges holidaying at public expense? เก็บถาวร 2013-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, May 2008
  4. The case of judicial injustice, The Indian Express, 31 March 1999
  5. Judges' asset declaration before CJI not for public eye: SC to CIC, The Indian Express, 6 November 2008
  6. RTI Act does not apply to my office: CJI เก็บถาวร 2013-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Times of India, 20 April 2008
  7. Is the CJI a public servant? เก็บถาวร 2013-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Times of India, 22 April 2008
  8. Delayed justice leading to lynching mobs: Pratibha เก็บถาวร 2013-01-03 ที่ archive.today, The Times of India, 24 February 2008
  9. Manmohan Singh calls for check on corruption in judiciary เก็บถาวร 2018-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Thaindian News, 19 April 2008
  10. "Supreme Court Quarterly Newsletter - Oct - Dec 2011" (PDF). Supreme Court of India. สืบค้นเมื่อ 18 September 2012.