ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติออสเตรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Austria national football team)
ออสเตรีย
Shirt badge/Association crest
ฉายาDas Team (ทีม)
Burschen (The Boys)
Unsere Burschen (Our Boys)
วิหคเพลิง (ฉายาในประเทศไทย[1]
สมาคมสมาคมฟุตบอลออสเตรีย
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนรัล์ฟ รังนิค
กัปตันเดวิด อาลาบา
ติดทีมชาติสูงสุดมาร์กอ อาร์นาอูตอวิช (106)
ทำประตูสูงสุดToni Polster (44)
สนามเหย้าเอิร์นส์ท-แฮปเปิล-สตาดิโอน
รหัสฟีฟ่าAUT
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 25 Steady (20 มิถุนายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด10 (มีนาคม–มิถุนายน 2016)
อันดับต่ำสุด105 (กรกฎาคม 2008)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 5–0 ฮังการี ธงชาติฮังการี
(เวียนนา ออสเตรีย; 12 ตุลาคม ค.ศ. 1902)
ชนะสูงสุด
ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 9–0 มอลตา ธงชาติมอลตา
(ซัลบวร์ก ประเทศออสเตรีย; 30 เมษายน ค.ศ. 1977)
แพ้สูงสุด
ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 1–11 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(เวียนนา ออสเตรีย; 8 มิถุนายน ค.ศ. 1908)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม7 (ครั้งแรกใน 1934)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 3 (1954)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 2008)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีมสุดท้าย, 2020
เว็บไซต์oefb.at

ฟุตบอลทีมชาติออสเตรีย (เยอรมัน: Österreichische Fußballnationalmannschaft) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนในระดับทีมชาติของออสเตรีย ประเทศในภูมิภาคยุโรปกลาง ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลออสเตรีย

ทีมชาติออสเตรียมีทีมชาติคู่ปรับคือทีมชาติฮังการี

ประวัติ

[แก้]

สมาคมฟุตบอลออสเตรียก่อตั้งในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1904 ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ส่วนประวัติในระดับสากลของออสเตรีย เริ่มต้นขึ้นในทศวรรษที่ 30 เมื่อได้รับการขนานนามให้เป็น "ทีมมหัศจรรย์" จากรูปแบบการเล่นที่สวยงามและมีประสิทธิภาพ และมีสถิติไม่แพ้ใครติดต่อกันถึง 14 นัด ในช่วง ค.ศ. 1931–32 และเข้าร่วมฟุตบอลโลก 1934 โดยถูกจัดให้เป็นทีมหนึ่งที่มีโอกาสคว้าแชมป์ไปครอง แต่ในรอบรองชนะเลิศออสเตรียแพ้ต่ออิตาลี ซึ่งต่อมาอิตาลีก็ได้แชมป์ไปในท้ายที่สุด

ออสเตรียประสบความสำเร็จสูงสุดในฟุตบอลโลก 1954 เมื่อเป็นทีมที่ได้ถึงอันดับ 3 จนถึงปัจจุบันออสเตรียผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายมาแล้ว 7 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายคือฟุตบอลโลก 1998 โดยมี โทนี โพลสเตอร์ และแอนเดรียส แฮร์โซก โดยทั้งคู่เป็นผู้เล่นคนสำคัญจากบุนเดิสลีกา จากนั้นออสเตรียก็ถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนถ่ายตัวผู้เล่นในยุคต่อมา ซึ่งต้องใช้เวลานานในการจะมีผู้เล่นที่มีความสามารถขึ้นมาสู่ระดับทีมชาติ

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ออสเตรียก็ไม่มีวี่แววว่าจะผ่านเข้าไปได้เล่นอีกเลย เมื่อเป็นยุคของการเปลี่ยนถ่ายตัวผู้เล่น โดยในปี ค.ศ. 2008 ก็ได้ใช้สิทธิในการเป็นเจ้าภาพร่วมกับสวิตเซอร์แลนด์ ผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายได้ แต่ก็ต้องตกรอบแรกไปอย่างที่เก็บคะแนนได้เพียงแต้มเดียวเท่านั้นเอง

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ออสเตรียก็ได้ผ่านเข้าไปร่วมแข่งขันด้วย โดยมีผลงานที่ยอดเยี่ยมคือการเอาชนะสวีเดนไปได้ถึง 1–4 ถึงสวีเดนในรอบคัดเลือกเมื่อปี ค.ศ. 2015 ออสเตรียอยู่ในกลุ่มเอฟ เช่นเดียวกับ โปรตุเกส, ฮังการี และไอซ์แลนด์ โดยลงแข่งขันนัดแรกพบกับฮังการี ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2016 ที่สนามนูโวสตาดเดบอร์โด ในเมืองบอร์โด[1]

ผู้เล่นคนสำคัญ

[แก้]

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

[แก้]

ชุดแข่งขันแบ่งตามปี

[แก้]
1978
1982
1990
1992
1998
2008
2012
2014
2016

ออสเตรียได้ใช้ชุดแข่งของพูมามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978

หมายเหตุ

[แก้]
  1. หลังจากปี 1988 การแข่งขันได้รับการจำกัดให้มีทีมไม่เกิน 3 ทีม และผู้เล่นห้ามเกินอายุ 23 และจะไม่ถูกบันทึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติหรือได้รับรางวัลใด ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 หน้า 20 กีฬา, ออสเตรีย หวังไกลถึงรอบ 8 ทีม.... "ตะลุยยูโร" โดย ทีมข่าวกีฬา. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,344: วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]