ข้ามไปเนื้อหา

สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Asia Television)
สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์
ก่อนหน้าสถานีโทรทัศน์ลี่เตอ (RTV)
ก่อตั้ง29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500
(ครั้งที่ 1)
18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (6 ปี)
(ครั้งที่ 2)
เลิกกิจการ2 เมษายน พ.ศ. 2559 (58 ปี)
(ครั้งที่ 1)
สำนักงานใหญ่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
ผลิตภัณฑ์ATV Home, ATV World ฯลฯ
เว็บไซต์http://www.hkatv.com/
สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย
อักษรจีนตัวเต็ม亞洲電視
อักษรจีนตัวย่อ亚洲电视
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม亞視
อักษรจีนตัวย่อ亚视
อาคารสำนักงานใหญ่

สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย หรือ เอทีวี(จีน: 亞洲電視, ชื่อเต็ม: 亞洲電視有限公司, ชื่อย่อ: 亞視) หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอเชียเทลิวิชัน (อังกฤษ: Asia Television, ชื่อเต็ม: Asia Television Digital Media Limited, ชื่อย่อ aTV) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในฮ่องกง และเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาจีนแห่งแรกของโลกอีกด้วย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ในนาม สถานีโทรทัศน์ลี่เตอ (จีน: 麗的電視, ชื่อเต็ม: 麗的電視有限公司, ชื่อย่อ: 麗的; อังกฤษ: Rediffusion Television, ชื่อย่อ: RTV) ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2525 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 รัฐบาลฮ่องกงได้ลงมติให้สิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินของสถานีฯ เนื่องจากเห็นว่าบริษัทประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก[1] โดยสิ้นสุดใบอนุญาตลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[2] และกำหนดยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 2 เมษายน ปีเดียวกัน โดยคลื่นความถี่ระบบแอนะล็อก 2 สถานี ได้โอนไปเป็นของ สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง (RTHK) โดยช่องที่เป็นของภาษาจีนนั้น RTHK นำรายการจากช่อง 31 ของ RTHK และช่องภาษาอังกฤษ นำรายการจากช่อง 33 (ซึ่งทวนสัญญาณรายการจากซีซีทีวี 9 ก่อนจะปรับมาทวนสัญญาณของ ซีซีทีวี 1 ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560) มาออกอากาศคู่ขนานกัน สวนคลื่นความถี่ระบบดิจิทัลซึ่งใช้ร่วมกับทีวีบีเจด ได้นำไปให้เอชเคเทลิวิชันเอนเทอร์เทนเมนต์ (HKTVE) ทำช่องรายการใหม่ ในชื่อ วิวทีวี (ViuTV) แล้วกลับมาออกอากาศอืกครั้ง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในฐานะผู้ให้บริการ OTT

เรตติ้งอ่อนแอตลอดหลายปีและการขาดทุน

[แก้]

สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศฟรีสองแห่งของฮ่องกงถูกครอบงำโดยละครของช่อง ทีวีบี (TVB) และเรตติ้งของช่อง เอทีวี (ATV) นั้นอ่อนแอ

ตามสถิติ โดยทั่วไปเรตติ้งของช่องทีวีบี นั้นจะสูงมาก และเรตติ้งของช่อง เอทีวี จะต่ำในช่วงเวลาส่วนใหญ่

ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการดูช่อง ทีวีบี ( TVB) เป็นหลัก และไม่ค่อยจะเปลี่ยนช่อง

ตามรายงานช่อง เอทีวี ( ATV) มีปัญหาการขาดทุนระยะยาวประมาณ 1 ล้านเหรียญฮ่องกงในช่วงปีพ.ศ. 2551 ความสูญเสียรายวันพุ่งสูงถึง 2 ล้านเหรียญฮ่องกง[3]อดีตประธานบริหารของ เอทีวี ( ATV)  ครั้งหนึ่ง ระบุว่า เอทีวี ขาดทุนในระยะยาว ในปีพ.ศ. 2551 มีการสูญเสียเม็ดเงินอย่างน้อย 5 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา[4]

ต่อมา หลายรายการของ เอทีวี (ATV) บันทึกเรตติ้งได้ 1 จุดเปิด และบางรายการที่ออกอากาศถึงกับไม่มีเรตติ้งเลย (หากเรตติ้งน้อยกว่า 1 จุดเปิด จะนับเป็น 0 จุดเปิด)

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ทางช่องทีวีบี (TVB) ออกอากาศตอนจบของ " ยอดหญิงจอมทรนง" (No Regrets) โดยตอนจบบันทึกเรตติ้งได้ 44 จุดเปิด (สูงสุดคือ 47 จุดเปิด) ทำให้รายการของ เอทีวี (ATV) หลายรายการทำเรตติ้งเฉลี่ยได้เพียง 1 จุดเปิด โดยในจำนวนนี้ รายการศาสนา "เสียงเรียกจากสายฝน" (The Sound of Rain) " ได้เรตติ้งเป็นศูนย์ (แทบไม่มีคนดู)

ประวัติการแพร่ภาพโทรทัศน์ในฮ่องกง

[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว เรตติ้งของช่อง ทีวีบี (TVB) จะสูงกว่าเรตติ้งของช่อง เอทีวี (ATV) อยู่มาก

แต่อย่างไรก็ตาม ในอดีตก็มีละครบางเรื่องและรายการบางรายการของช่อง เอทีวี ที่สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่ารายการของ ทีวีบี ที่ออกอากาศชนกันในช่วงสั้นๆ ได้บ้าง อาทิเช่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "อวสาน ATV! ทางการไม่ต่อใบอนุญาตฟรีทีวีปิดฉากทีวีสถานีแรกของฮ่องกง". ผู้จัดการออนไลน์. 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2016-04-08.[ลิงก์เสีย]
  2. Zheng, Anjie; Steger, Isabella (1 April 2015). "Hong Kong's Oldest TV Station, ATV, to shut down". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  3. เอทีวีขาดทุนรายวัน 2 ล้าน ATV ต้องการเงินทุนใหม่ เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน文匯報 2008-12-19
  4. การขาดทุนของ ATV ในระยะยาว เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน文匯報 2008-12-10

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]