ข้ามไปเนื้อหา

สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ATV)
สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์
ก่อนหน้าสถานีโทรทัศน์ลี่เตอ (RTV)
ก่อตั้ง29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500
(ครั้งที่ 1)
18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (7 ปี)
(ครั้งที่ 2)
เลิกกิจการ2 เมษายน พ.ศ. 2559 (58 ปี)
(ครั้งที่ 1)
สำนักงานใหญ่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
ผลิตภัณฑ์ATV Home, ATV World ฯลฯ
เว็บไซต์http://www.hkatv.com/
สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย
อักษรจีนตัวเต็ม亞洲電視
อักษรจีนตัวย่อ亚洲电视
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม亞視
อักษรจีนตัวย่อ亚视
อาคารสำนักงานใหญ่

สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย หรือ เอทีวี(จีน: 亞洲電視, ชื่อเต็ม: 亞洲電視有限公司, ชื่อย่อ: 亞視) หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอเชียเทลิวิชัน (อังกฤษ: Asia Television, ชื่อเต็ม: Asia Television Digital Media Limited, ชื่อย่อ aTV) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในฮ่องกง (แต่เป็นฟรีทีวีแห่งที่สองในฮ่องกง ส่วนช่องทีวีบีเป็นฟรีทีวีแห่งแรกในฮ่องกง) และเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาจีนแห่งแรกของโลกอีกด้วย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ในนาม สถานีโทรทัศน์ลี่เตอ (จีน: 麗的電視, ชื่อเต็ม: 麗的電視有限公司, ชื่อย่อ: 麗的; อังกฤษ: Rediffusion Television, ชื่อย่อ: RTV) ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2525 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ในฮ่องกงช่องนี้มีเรตติ้งรายการทีวีต่ำ รายการส่วนใหญ่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนไม่ถึง 15 จุดเปิด (ถ้ามีรายการทีวีเรื่องไหนมีคนดูสดเฉลี่ยเกือบล้านคนขึ้นไป ถือได้ว่าประสบความสำเร็จมากแล้วสำหรับช่องนี้)

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 รัฐบาลฮ่องกงได้ลงมติให้สิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินของสถานีฯ เนื่องจากเห็นว่าบริษัทประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก[1] โดยสิ้นสุดใบอนุญาตลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[2] และกำหนดยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 2 เมษายน ปีเดียวกัน โดยคลื่นความถี่ระบบแอนะล็อก 2 สถานี ได้โอนไปเป็นของ สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง (RTHK) โดยช่องที่เป็นของภาษาจีนนั้น RTHK นำรายการจากช่อง 31 ของ RTHK และช่องภาษาอังกฤษ นำรายการจากช่อง 33 (ซึ่งทวนสัญญาณรายการจากซีซีทีวี 9 ก่อนจะปรับมาทวนสัญญาณของ ซีซีทีวี 1 ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560) มาออกอากาศคู่ขนานกัน สวนคลื่นความถี่ระบบดิจิทัลซึ่งใช้ร่วมกับทีวีบีเจด ได้นำไปให้เอชเคเทลิวิชันเอนเทอร์เทนเมนต์ (HKTVE) ทำช่องรายการใหม่ ในชื่อ วิวทีวี (ViuTV) แล้วกลับมาออกอากาศอืกครั้ง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในฐานะผู้ให้บริการ OTT

เรตติ้งอ่อนแอตลอดหลายปีและการขาดทุน

[แก้]

สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศฟรีสองแห่งของฮ่องกงถูกครอบงำโดยละครของช่อง ทีวีบี (TVB) และเรตติ้งของช่อง เอทีวี (ATV) นั้นอ่อนแอ

ตามสถิติ โดยทั่วไปเรตติ้งของช่องทีวีบี นั้นจะสูงมาก และเรตติ้งของช่อง เอทีวี จะต่ำในช่วงเวลาส่วนใหญ่

ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการดูช่อง ทีวีบี ( TVB) เป็นหลัก และไม่ค่อยจะเปลี่ยนช่อง

ตามรายงานช่อง เอทีวี ( ATV) มีปัญหาการขาดทุนระยะยาวประมาณ 1 ล้านเหรียญฮ่องกงในช่วงปีพ.ศ. 2551 ความสูญเสียรายวันพุ่งสูงถึง 2 ล้านเหรียญฮ่องกง[3]อดีตประธานบริหารของ เอทีวี ( ATV)  ครั้งหนึ่ง ระบุว่า เอทีวี ขาดทุนในระยะยาว ในปีพ.ศ. 2551 มีการสูญเสียเม็ดเงินอย่างน้อย 5 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา[4]

ต่อมา หลายรายการของ เอทีวี (ATV) บันทึกเรตติ้งได้ 1 จุดเปิด และบางรายการที่ออกอากาศถึงกับไม่มีเรตติ้งเลย (หากเรตติ้งน้อยกว่า 1 จุดเปิด จะนับเป็น 0 จุดเปิด)

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ทางช่องทีวีบี (TVB) ออกอากาศตอนจบของ " ยอดหญิงจอมทรนง" (No Regrets) โดยตอนจบบันทึกเรตติ้งได้ 44 จุดเปิด (สูงสุดคือ 47 จุดเปิด) ทำให้รายการของ เอทีวี (ATV) หลายรายการทำเรตติ้งเฉลี่ยได้เพียง 1 จุดเปิด โดยในจำนวนนี้ รายการศาสนา "เสียงเรียกจากสายฝน" (The Sound of Rain) " ได้เรตติ้งเป็นศูนย์ (แทบไม่มีคนดู)

ประวัติการแพร่ภาพโทรทัศน์ในฮ่องกง (ละครที่มีเรตติ้งดีสำหรับช่องนี้)

[แก้]

"'โดยทั่วไปแล้ว เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนของช่อง ทีวีบี (TVB) จะสูงกว่าเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนของช่อง เอทีวี (ATV) อยู่มาก (หลายเท่า) และละครช่องเอทีวีจำนวนมากมีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนไม่ถึง 15 จุดเปิด"

ละครเอทีวีที่มีเรตติ้งเฉลี่ย 20 จุดเปิดขึ้นไป

[แก้]

แต่อย่างไรก็ตาม ในอดีตก็มีละครบางเรื่องและรายการบางรายการของช่อง เอทีวี ที่สามารถทำเรตติ้ง%ได้สูงกว่ารายการของ ทีวีบี ที่ออกอากาศชนกันในช่วงระยะสั้น ๆ ได้บ้าง อาทิเช่น "กระบี่ไร้เทียมทาน" (天蠶變 1979),"แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด" (大地恩情 1980), "วัยฝัน ยอดนักไอคิว" (IQ成熟時 1981) และ องค์หญิงกำมะลอ ภาค 1-2 (ละครไต้หวันที่นำมาฉายทางช่องเอทีวี),ภูตพิทักษ์ดูดวิญญาณ (My Date With A Vampire 1998), แค้นรักในสายโลหิต (縱橫四海 1999) ทั้งหมดมียอดผู้ชมโดยเฉลี่ยเกินหนึ่งล้านคนดูต่อตอน[5]

ละครเอทีวีที่มีเรตติ้งเฉลี่ย 15-19 จุดเปิด

[แก้]

ส่วนละครชุดเรื่องอื่น ๆ ที่มียอดผู้ชมเฉลี่ยเกือบหนึ่งล้านคนดูต่อตอน ได้แก่ พระนางซูสีไทเฮา(Young Dowager 1984), หวังเจาจวิน(王昭君 1984),บูเช็คเทียน(武则天 1984),ไซซี จอมใจสะท้านแผ่นดิน 1986 (The Beauty Xi Shi), จิ๋นซีฮ่องเต้(秦始皇 1986),ศึกสองนางพญา (Princess Cheung Ping 1981),สองสิงห์ตะลุยโลกันต์ (Tiger Hill Trail),นักชกผู้พิชิต (The Legendary Fok 1981), จางซานฟง ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม ภาค 1 (太極張三豐 1980), ศึกสายเลือด ภาค 1 (大內群英 1980), ไอ้มังกรหมัดสิงโต (少年黃飛鴻 1981),น้ำตาจระเข้ (鱷魚淚 1978),มังกรเปลี่ยนสี (變色龍 1978), นักสู้ผู้พิชิต (The Spirit of The Sword 1979), "กำเนิดอภินิหารโป๊ยเซียน (แปดเซียนข้ามสมุทร)"  (八仙过海 1985),13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง (满清十三皇朝 1987-1992),แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด (The Good Old Days 1996),วิมานลอย (Gone With The Wind 1980),ดรุณีรักนี้ไม่แปรเปลี่ยน (I have a date with Spring 1996),เฉือนคมจิ้งจอกเงิน (The Silver Tycoon), เจ้าแมวอ้วน ภาค1-2 (Forrest Cat-Forrest Cat II),เพลิงแค้น เพลิงชีวิต (The Burning Rain 1991),เลือดรักเลือดแค้น(Heaven's Retribution 1990),คนเหนือเซียน ภาค 1 - 2 (WHO'S THE WINNER I-II) ,เฉินเจิน มังกรผงาดฟ้า (Fist of Fury 1995),หงซีกวน มังกรเส้าหลิน (The Kung Fu Master 1994),กระบี่พิฆาตดาวเหนือ (The Blood Sword 1990),กระบี่กู้บัลลังก์ (萍踪侠影録 1985),เดชคัมภีร์กระบี่เลือด (Mythical Crane and Magical Needle 1992),มู่กุ้ยอิง ขุนศึกตระกูลหยาง(The Heroine of the Yangs 1998),ปึงซีเง็กหักด่านมนุษย์ทองคำ (Young Hero Fong Sai Yuk 1999),เปาบุ้นจิ้น ขุนศึกตระกูลหยาง (Heroic Legend of the Yang's Family 1994) เป็นต้น

ละครที่มีเรตติ้งต่ำ

[แก้]

ส่วนละครชุดของเอทีวีที่มียอดผู้ชมเฉลี่ยต่อตอนโดยประมาณ 5 แสนคนมีจำนวนเยอะมากหลายเรื่อง อาทิเช่น เมืองมายา (Showbiz Tycoon 2000) เป็นละครชุดฟอร์มใหญ่แต่กลับได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนเพียงแค่ 7.5 จุดเปิดเท่านั้น ส่งให้ละครฟอร์มยักษ์เรื่องนี้เรตติ้งต่ำ

คล้าย ๆ กันกับเรื่อง ตำรวจสากล(Interpol 1997) เป็นละครสากลฟอร์มใหญ่ เมื่อออกอากาศสัปดาห์แรกได้เพียง 9 จุดเปิด จากนั้นก็ลดลงไปอีก (เพียง 8 จุดเปิด) ตามลำดับ

นางพญากระบี่มาร (The Snow is Red) นำแสดงโดย หมีเซียะ ออกอากาศชนกับละครฮิตของทีวีบีเรื่อง 8 เทพอสูรมังกรฟ้า เวอร์ชัน หวงเย่อหัว นำแสดง ส่งผลให้เรตติ้งเฉลี่ยของเรื่อง นางพญากระบี่มาร ล้มเหลว โดยได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนเพียง 8.5 จุดเปิด เท่านั้น[6]。(คนดูเฉลี่ยต่อตอนเพียง 550,000)

ละครสากลเรื่อง "สงครามประกันภัย" (Central Affairs 2005) นำแสดงโดย เซี่ยเสียน เรตติ้งเฉลี่ยละครทั้งเรื่องอยู่ที่ 9 จุดเปิด สูงสุด 14 จุดเปิด เท่านั้น

ละครสากลเรื่อง กฎหมายเหนือบัลลังก์ (THE MEN OF JUSTICE 2010) แสดงนำโดย อู๋ฉีหัว, เฉินซิ่วเหวิน, หลี่ซ่งเสียน, หวงหวินไฉ และ พานจื้อเหวิน ได้เรตติ้งเฉลี่ยเพียง 4 จุดเปิด สูงสุดเพียง 6 จุดเปิด เปอร์เซ็นต์การดูสูงสุดเพียง 16%

ละครแนวสากลเรื่อง "เดอะฮีโร่ ฝ่าเซียนพนัน" (Who's the Hero 2010) นำแสดงโดย จาง จื้อหลิน ได้เรตติ้งเฉลี่ยเพียง 3 จุดเปิด เปอร์เซ็นต์การดูสูงสุดเพียง 12%

ละครเรื่อง "มังกรเปลี่ยนสี97" (The Year of Chameleon) มีเรตติ้งเฉลี่ย 11 จุดเปิด และตอนจบในช่วงสุดสัปดาห์ได้เรตติ้งเฉลี่ย 12 จุดเปิด

ละครสากลย้อนยุคเรื่อง "ฉันมาจากแต้จิ๋ว" (The Pride of Chaozhou 1997) ในช่วงเริ่มต้นของการออกอากาศเรตติ้งเฉลี่ย 10 จุดเปิด อย่างไรก็ตาม ต้นเดือนยังคงรักษาระดับไว้ที่ 11 จุดเปิด และขึ้นถึง 11 จุดเปิดในอีกสามสัปดาห์ถัดมาจนจบ

ละครเรื่อง "เกมเจ้าพ่อตลาดหุ้น" (Divine Retribution 2000) สร้างโดยคุณ "เหว่ยเจียฮุย" ให้กับทางช่องเอทีวี (ATV) ออกอากาศ โดยมีการดึงตัวเจิ้งเส้าชิว, หลิวชิงหวิน และ กัวอ้ายหมิง ไปร่วมแสดงด้วย ซึ่ง "ดูเหมือนว่าจะเป็นภาคต่อของละครฮิตเรื่อง "เจ้าพ่อตลาดหุ้น ของทางช่องทีวีบี" โดยมีตัวละครเอกเช่นเดียวกัน แต่ทว่ากลับได้เรตติ้งไม่สูง โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยตลอดทั้งเรื่องเพียง 11 จุดเปิด จนทำให้ เหว่ยเจียฮุย กล่าวว่า "ต่อให้ดาราแสดงดีแค่ไหน ช่องเอทีวี (ATV) ก็ไม่มีใครดู (เรตติ้งต่ำ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "อวสาน ATV! ทางการไม่ต่อใบอนุญาตฟรีทีวีปิดฉากทีวีสถานีแรกของฮ่องกง". ผู้จัดการออนไลน์. 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2016-04-08.[ลิงก์เสีย]
  2. Zheng, Anjie; Steger, Isabella (1 April 2015). "Hong Kong's Oldest TV Station, ATV, to shut down". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  3. เอทีวีขาดทุนรายวัน 2 ล้าน ATV ต้องการเงินทุนใหม่ เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน文匯報 2008-12-19
  4. การขาดทุนของ ATV ในระยะยาว เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน文匯報 2008-12-10
  5. "รายงานผลสำรวจเรตติ้ง ทีวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-07-16. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |dead-url= (help)
  6. "นางพญากระบี่มาร เรตติ้งล้มเหลว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-21. สืบค้นเมื่อ 2013-09-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เก็บถาวร 2013-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน