แนวคิดปฏิเสธเอดส์
แนวคิดปฏิเสธเอดส์ (AIDS denialism) เป็นมุมมองของกลุ่มคนและองค์กรบางกลุ่มที่ปฏิเสธว่าเชื้อเอชไอวีเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมหรือเอดส์[1] ผู้มีแนวคิดปฏิเสธบางคนปฏิเสธการมีอยู่ของเชื้อเอชไอวี ในขณะที่บางคนยอมรับว่าเชื้อนี้มีจริง แต่เป็นเชื้อไวรัสอาศัยธรรมดาที่ไม่มีอันตราย และไม่ได้ทำให้เกิดเอดส์ แม้ผู้มีแนวคิดปฏิเสธจะยอมรับว่าเอดส์เป็นโรคที่มีอยู่จริง แต่ก็จะเชื่อว่าเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด ภาวะทุพโภชนาการ ปัญหาสุขอนามัย และผลข้างเคียงจากยาต้านไวรัส แทนที่จะเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี
ในทางวิทยาศาสตร์นั้นถือว่าหลักฐานสนับสนุนว่าเอชไอวีเป็นสาเหตุของโรคเอดส์นั้นได้ข้อสรุปแล้ว[2][3] ชุมชนวิทยาศาสตร์ได้ปฏิเสธและเพิกเฉยต่อข้ออ้างของเหล่าผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์จากการใช้เหตุผลที่ไม่ถูกต้อง การเลือกยกข้อมูลบางส่วนขึ้นอ้าง และการแปลผลให้เข้าใจผิดจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ล้าสมัย[4] จากการที่มีการปฏิเสธที่จะถกเถียงข้ออ้างเหล่านี้จากชุมชนวิทยาศาสตร์ ข้อมูลของผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์จึงแพร่กระจายทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก[5][6]
แม้จะไม่ได้รับการยอมรับจากวิทยาศาสตร์ แนวคิดปฏิเสธเอดส์กลับมีผลกระทบทางการเมืองไม่น้อย โดยเฉพาะในประเทศแอฟริกาใต้ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Thabo Mbeki นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ได้พยายามเตือนถึงผลเสียต่อมนุษย์ที่เกิดจากแนวคิดปฏิเสธเอดส์ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่มารับการรักษาจากวิธีการรักษาที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล[3][5][7][8][9][10] นักวิจัยทางสาธารณสุขในแอฟริกาใต้และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดต่างศึกษาผลกระทบจากแนวคิดปฏิเสธเอดส์โดยเป็นอิสระจากกัน ประมาณการว่าผลจากการยอมรับแนวคิดปฏิเสธเอดส์ของรัฐบาลแอฟริกาใต้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากเอดส์เพิ่ม 330,000 ถึง 340,000 คน ติดเชื้อเอชไอวี 171,000 คน และมีทารกแรกเกิดติดเชื้อเอชไอวี 35,000 คน[11][12]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ปี ค.ศ. 1983 นักวิทยาศาสตร์และแพทย์กลุ่มหนึ่งในสถาบันปาสเตอร์ ฝรั่งเศส นำโดย Luc Montagnier ค้นพบไวรัสชนิดใหม่ชนิดหนึ่งในผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงที่มักพบนำมาก่อนเอดส์[13] และตั้งชื่อไวรัสนี้ว่า "lymphadenopathy-associated virus" (ไวรัสที่สัมพันธ์กับการมีพยาธิสภาพของต่อมน้ำเหลือง) หรือ LAV และได้ส่งตัวอย่างไวรัสนี้ไปให้ทีมวิจัยของ Robert Gallo ในสหรัฐอเมริกา การค้นพบนี้ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เสมอกันและได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Science
ชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์
[แก้]อดีตผู้คัดค้าน
[แก้]การเสียชีวิตของผู้มีแนวคิดปฏิเสธที่ติดเชื้อเอชไอวี
[แก้]ในปี พ.ศ. 2550 เว็บไซต์ aidstruth.org นำโดยนักวิจัยเรื่องเอชไอวีเพื่อต่อต้านคำอ้างของกลุ่มผู้มีแนวคิดปฏิเสธ[14] ได้แสดงรายชื่อส่วนหนึ่งของผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์ที่เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ตัวอย่างเช่น นิตยสาร Continuum ซึ่งเคยปฏิเสธการมีอยู่ของเอชไอวีและเอดส์มาตลอดต้องปิดตัวลงหลังจากบรรณาธิการของนิตยสารต่างเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับเอดส์ทั้งหมด ในทุกรายที่เสียชีวิตนั้น ชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์ต่างลงความเห็นว่าเป็นการเสียชีวิตที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือจากการใช้ยาบางอย่างโดยลับ หรือความเครียด แทนที่จะเป็นจากเอชไอวีหรือเอดส์[15][16] เช่นเดียวกันมีอดีตผู้คัดค้านที่มีเชื้อเอชไอวีหลายคนถูกขับออกจากชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์หลังจากที่มีอาการของเอดส์และเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส[17]
ในปีพ.ศ. 2551 Christine Maggiore นักเคลื่อนไหวคนหนึ่งเสียชีวิตลงด้วยวัย 52 ปี ขณะที่รับการรักษาจากแพทย์ด้วยโรคปอดบวม โดย Maggiore มีบุตรสองคน เธอเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรเพื่อช่วยเหลือให้แม่ที่มีเชื้อเอชไอวีหลีกเลี่ยงการรับยาต้านไวรัสที่ลดความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก[18] หลักจากบุตรสาวอายุ 3 ปีได้เสียชีวิตลงจากโรคปอดบวมที่เกิดจากเอดส์ในปี พ.ศ. 2548 แล้ว Maggiore ก็ยังเชื่ออยู่ว่าเอชไอวีไม่ใช่สาเหตุของเอดส์ และเธอกับสามีคือ Robin Scovil ฟ้อง Los Angeles County ร่วมกับคนอื่นในนามของบุตรสาวเรื่องการละเมิดสิทธิของบุตรสาวของเธอด้วยการเปิดเผยผลการชันสูตรศพที่ระบุว่าบุตรสาวเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับเอดส์[19] ผลการฟ้องศาลทำให้เขตปกครองต้องจ่าย Scovill เป็นเงิน 15,000 เหรียญในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 โดยไม่ยอมรับผิด คำตัดสินของเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพของลอสแอลเจลิสว่า Eliza Jane Scovill เสียชีวิตจากโรคเอดส์ยังคงได้รับการยอมรับจากคณะลูกขุนอยู่
ข้ออ้างของผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์
[แก้]แม้สมาชิกชุมชนผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์จะรวมตัวกันด้วยความเข้าใจร่วมกันคือการไม่เห็นด้วยว่าเอชไอวีเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ รายละเอียดของแนวคิดก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ผู้มีแนวปฏิเสธปฏิเสธจะอ้างข้อมูลหลายอย่าง เช่น เอชไอวีไม่มีจริง เอชไอวีไม่เคยได้รับการเพาะเชื้ออย่างเหมาะสม[20] เอชไอวีไม่เป็นไปตามสมมติฐานของโคช[21] การตรวจเอชไอวีไม่มีความแม่นยำ[22] และแอนติบอดีต่อเอชไอวีสามารถป้องกันไวรัสไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้[23] สาเหตุอื่นของโรคเอดส์ที่มีการเสนอไว้มีหลายอย่างเช่น การใช้ยาเสพติด ภาวะทุพโภชนาการ รวมถึงตัวยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาโรคเองด้วย[24]
ข้ออ้างเช่นนี้ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วในบทความทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ชนิดที่มีการตรวจสอบโดยผู้เสมอกัน เกิดเป็นข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่ล้มล้างข้ออ้างของแนวคิดนี้อย่างชัดเจน และเชื้อเอชไอวีเป็นสาเหตุของเอดส์จริงๆ[3][25][26] สำหรับกรณีที่ดูสเบิร์กอ้างอิงว่ายังไม่สามารถ "แยก" เชื้อเอชไอวีออกมาได้นั้น การทำปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (PCR) หรือเทคนิกอื่นๆ สามารถแสดงให้เห็นการมีอยู่ของเชื้อไวรัสได้[27] และคำอ้างของแนวคิดปฏิเสธที่ว่าการตรวจเอชไอวีไม่มีความแม่นยำนั้นมาจากความเข้าใจที่ผิดหรือไม่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับวิธีการตรวจแอนติบอดีต่อเอชไอวีและการแปลผล[28][29] ส่วนเรื่องของ Koch's postulate นั้น วารสาร New Scientist กล่าวว่า "ควรมีการถกเถียงตั้งแต่ความเหมาะสมของการมุ่งเอาหลักการที่คิดขึ้นสำหรับพิจารณาการติดเชื้อแบคทีเรียตั้งแต่ศตวรรษที่ยังไม่มีการค้นพบไวรัสมาใช้ในการนี้ อย่างไรก็ดี เชื้อ HIV นั้นเป็นไปตาม Koch's postulate ทุกประการ ตราบเท่าที่ไม่มีการนำหลักการนั้นไปใช้อย่างบิดเบือนจนไม่เหลือความเป็นเหตุเป็นผล" บทความเดียวกันนี้ได้อธิบายไว้ชัดเจนว่าเชื้อ HIV ตรงตาม postulate แต่ละข้ออย่างไร[30]
ในช่วงแรกนั้นผู้มีแนวคิดปฏิเสธยกคำอ้างขึ้นว่าแนวคิดเรื่อง HIV/AIDS มีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถสร้างวิธีการรักษาที่ได้ผลดีตามแนวคิดนี้ได้ อย่างไรก็ดี หลังจากมีการนำการรักษาด้วยยาต้านรีโทรไวรัสแบบได้ผลสูง (HAART) มาใช้ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 แล้วผลปรากฏว่าจำนวนผู้รอดชีวิตจากการป่วยติดเชื้อ HIV/AIDS เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนก็ทำให้คำอ้างนี้ตกไป เพราะวิธีการรักษานี้พัฒนามาจากแนวคิดว่าด้วย HIV/AIDS โดยตรง[31] การพัฒนาการรักษา AIDS ด้วยยาต้าน HIV ที่ได้ผลดีนี้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่เคยมีแนวคิดปฏิเสธหลายคนยอมรับว่า HIV เป็นสาเหตุของ AIDS[16]
ในบทความปี ค.ศ. 2010 ว่าด้วยทฤษฎีสมคบคิดทางวิทยาศาสตร์ Ted Goertzel ได้ลงรายชื่อของผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์เอาไว้เป็นตัวอย่างของการที่ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถูกปฏิเสธด้วยแนวคิดที่ไม่มีเหตุผล เขากล่าวว่าผู้ค้านทั้งหลายอาศัยแต่เพียงข้ออ้างที่เรียกร้องความเท่าเทียม และสิทธิในการเสนอความคิดเห็น มากกว่าที่จะเสนอหลักฐานโต้แย้ง ผู้คัดค้านเหล่านี้มักยกเอาเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์อิสระผู้กล้าหาญต่อต้านกระแสความคิดหลักดั้งเดิม โดยยกชื่อนักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ชื่อดังในอดีตอย่างกาลิเลโอขึ้นมาเปรียบเทียบ[32] Goertzel กล่าวถึงการยกเปรียบเทียบนี้เอาไว้ว่า
...การมีแนวคิดต่อต่อต้านความคิดดั้งเดิมนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนที่ยากคือการหาทฤษฎีที่ดีกว่ามาเสนอแทนแนวคิดเก่า การตีพิมพ์ทฤษฎีใหม่ที่คัดค้านทฤษฎีเดิมนั้นจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือมารองรับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องให้คนอ่านใช้เวลาเท่ากันมาวิจารณ์ทฤษฎีที่คัดค้านทฤษฎีเก่าๆ ทุกทฤษฎี[33][32]
ผลกระทบนอกชุมชนวิทยาศาสตร์
[แก้]คำอ้างของกลุ่มผู้มีแนวคิดปฏิเสธเอดส์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชมวิทยาศาสตร์เนื่องจากหลักฐานว่าด้วยการเป็นเชื้อก่อโรคของ HIV ต่อ AIDS นั้นถือว่าชัดเจนเป็นที่สรุปแล้ว แต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มฯ ก็ยังมีผลกระทบในวงการการเมือง ทำให้อดีตประธานาธิบดีประเทศแอฟริกาใต้อย่าง Thabo Mbeki ถึงกับยอมรับคำกล่าวอ้างของกลุ่มฯ ผลที่ตามมาทำให้รัฐบาลปฏิเสธที่จะสนับสนุนการให้การรักษาด้วยการใช้ยาต้าน HIV จนมีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ก่อนเวลาอันควรในประเทศแอฟริกาใต้มากถึงหลายแสนคน[34]
ผลกระทบในอเมริกาเหนือและยุโรป
[แก้]ความสงสัยเรื่อง HIV เป็นสาเหตุของ AIDS จริงหรือไม่เริ่มมีขึ้นแทบจะทันทีที่มีการประกาศการค้นพบ HIV ผู้ตั้งข้อสงสัยคนแรกๆ ที่มีบทบาทสำคัญคือนักข่าว John Lauritsen ซึ่งโต้แย้งเอาไว้ในบทความที่เขียนลง New York Native ว่า AIDS นั้น จริง ๆ แล้ว เกิดจากเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่มีส่วนผสมของ amyl nitrite และรัฐบาลกำลังวางแผนสมคบคิดเพื่อปิดบังเรื่องนี้[35]
ในบทความวิชาการ
[แก้]ในข่าวทั่วไปและอินเทอร์เน็ต
[แก้]ผลกระทบในอเมริกาใต้
[แก้]คำประกาศดูร์บาน
[แก้]คำวิจารณ์ต่อการตอบสนองของรัฐบาล
[แก้]"ยุคของแนวคิดปฏิเสธหมดไปแล้ว"
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- National Institute of Allergy and Infectious Diseases (NIAID) Focus on the HIV-AIDS Connection: Resources and Links เก็บถาวร 2006-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Series of articles in Science magazine examining denialist claims
- HIV Denial in the Internet Era เก็บถาวร 2007-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, from PLoS Medicine, August 2007
- Avert.org: Evidence that HIV causes AIDS เก็บถาวร 2010-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- AEGIS: News and Views on AIDS Causality เก็บถาวร 2010-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- AidsTruth.org, an organization that advocates against AIDS denialism
- How to spot an AIDS denialist, from New Humanist
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kalichman, 2009, p.205.
- ↑ Institute of Medicine (US) Committee for the Oversight of AIDS Activities (1988). Confronting AIDS: Update 1988. Institute of Medicine of the U.S. National Academy of Sciences. doi:10.17226/771. ISBN 978-0-309-03879-9. PMID 25032454.
…the evidence that HIV causes AIDS is scientifically conclusive.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "The Evidence that HIV Causes AIDS". National Institute of Allergy and Infectious Disease. 4 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2017. สืบค้นเมื่อ 14 October 2009.
- ↑ "Denying science". Nat. Med. 12 (4): 369. 2006. doi:10.1038/nm0406-369. PMID 16598265.
To support their ideas, some AIDS denialists have also misappropriated a scientific review in Nature Medicine which opens with this reasonable statement: "Despite considerable advances in HIV science in the past 20 years, the reason why HIV-1 infection is pathogenic is still debated."
- ↑ 5.0 5.1 Smith, TC; Novella, SP (August 2007). "HIV denial in the internet era". PLOS Medicine. 4 (8): e256. doi:10.1371/journal.pmed.0040256. PMC 1949841. PMID 17713982.
- ↑ Steinberg, J (2009-06-17). "AIDS denial: A lethal delusion". New Scientist. 2713. สืบค้นเมื่อ 2009-10-14.
- ↑ Cohen, J (December 1994). "The Duesberg phenomenon" (PDF). Science. 266 (5191): 1642–4. Bibcode:1994Sci...266.1642C. doi:10.1126/science.7992043. PMID 7992043. สืบค้นเมื่อ 22 June 2009.
- ↑ Watson, J (2006). "Scientists, activists sue South Africa's AIDS 'denialists'". Nat. Med. 12 (1): 6. doi:10.1038/nm0106-6a. PMID 16397537. S2CID 3502309.
- ↑ Boseley, S (14 May 2005). "Discredited doctor's 'cure' for Aids ignites life-and-death struggle in South Africa". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 14 October 2009.
- ↑ "The Durban Declaration". Nature. 406 (6791): 15–6. 2000. doi:10.1038/35017662. PMID 10894520. S2CID 205007392.
- ↑ Chigwedere, P; Seage, GR; และคณะ (October 2008). "Estimating the lost benefits of antiretroviral drug use in South Africa". Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes. 49 (4): 410–15. doi:10.1097/QAI.0b013e31818a6cd5. PMID 19186354. S2CID 11458278.
- ↑ Nattrass, N (February 2008). "AIDS and the scientific governance of medicine in post-Apartheid South Africa". African Affairs. 107 (427): 157–76. doi:10.1093/afraf/adm087.
- ↑ Barré-Sinoussi F, Chermann J, Rey F, Nugeyre M, Chamaret S, Gruest J, Dauguet C, Axler-Blin C, Vézinet-Brun F, Rouzioux C, Rozenbaum W, Montagnier L (1983). "Isolation of a T-lymphotropic retrovirus from a patient at risk for acquired immune deficiency syndrome (AIDS)". Science. 220 (4599): 868–71. doi:10.1126/science.6189183. PMID 6189183.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Cohen, J (2007). "HIV/AIDS. AIDSTruth.org Web site takes aim at 'denialists'". Science. 316 (5831): 1554. doi:10.1126/science.316.5831.1554. PMID 17569834. S2CID 30223809.
- ↑ "AIDS Denialists Who Have Died". aidstruth.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2010. สืบค้นเมื่อ 15 June 2009.
- ↑ 16.0 16.1 Schüklenk, U (2004). "Professional responsibilities of biomedical scientists in public discourse". J Med Ethics. 30 (1): 53–60, discussion 61–2. doi:10.1136/jme.2003.002980. PMC 1757140. PMID 14872076.
- ↑ Mirken, B (2 February 2000). "Bad science: They once thought HIV was harmless. Now, they say, AIDS has forced them to reconsider". San Francisco Bay Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2008. สืบค้นเมื่อ 9 May 2008.
- ↑ Ornstein, C; Costello, D (24 September 2005). "A mother's denial, a daughter's death". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2008. สืบค้นเมื่อ 29 December 2008.
- ↑ Gorman, A; Zavis, A (30 December 2008). "Christine Maggiore, vocal skeptic of AIDS research, dies at 52". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2008. สืบค้นเมื่อ 30 December 2008.
- ↑ Turner V. (1999) E-Mail Correspondence Between Val Turner and Robin Weiss
- ↑ Duesberg P (1989). "Human immunodeficiency virus and acquired immunodeficiency syndrome: correlation but not causation". Proc Natl Acad Sci USA. 86 (3): 755–64. doi:10.1073/pnas.86.3.755. PMC 286556. PMID 2644642.
- ↑ Papadopulos-Eleopulos E, Turner V, Papadimitriou J (1993). "Is a positive western blot proof of HIV infection?". Biotechnology (N Y). 11 (6): 696–707. doi:10.1038/nbt0693-696. PMID 7763673.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ HealToronto.com, dissident website, claiming to provide 10 reasons why HIV cannot cause AIDS เก็บถาวร 2006-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 28 September 2006.
- ↑ Duesberg P, Koehnlein C, Rasnick D (2003). "The chemical bases of the various AIDS epidemics: recreational drugs, anti-viral chemotherapy and malnutrition". J Biosci. 28 (4): 383–412. doi:10.1007/BF02705115. PMID 12799487.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Fact Sheets on HIV/AIDS, from the Centers for Disease Control. Accessed 26 Feb 2007.
- ↑ World Health Organization HIV and AIDS Programme, จากเว็บไซต์ World Health Organization เรียกข้อมูลเมื่อ 26 ก.พ. 2550
- ↑ O'Brien SJ, Goedert JJ. (1996). "HIV causes AIDS: Koch's postulates fulfilled". Curr Opin Immunol. 8 (5): 613–618. doi:10.1016/S0952-7915(96)80075-6. PMID 8902385.
- ↑ "HIV Science and Responsible Journalism" (PDF). XVI International AIDS Conference. 2006-08-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-02. สืบค้นเมื่อ 2008-12-17.
- ↑ Moore, John (2008-05-16). "How Immunoassays Work: The Curious Case of AIDS Denialist Roberto Giraldo and his Ignorance of the Basics". Aidstruth.org. สืบค้นเมื่อ 2008-12-17.
- ↑ Steinberg, J (23 June 2009). "Five myths about HIV and AIDS". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 4 February 2011.
- ↑ Major studies confirming the benefits and effectiveness of modern anti-HIV therapy include, but are not limited to:
- Lima V, Hogg R, Harrigan P, Moore D, Yip B, Wood E, Montaner J (2007). "Continued improvement in survival among HIV-infected individuals with newer forms of highly active antiretroviral therapy". AIDS. 21 (6): 685–92. doi:10.1097/QAD.0b013e32802ef30c. PMID 17413689.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Jordan R, Gold L, Cummins C, Hyde C (2002). "Systematic review and meta-analysis of evidence for increasing numbers of drugs in antiretroviral combination therapy". BMJ. 324 (7340): 757. doi:10.1136/bmj.324.7340.757. PMC 100314. PMID 11923157.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Ivers L, Kendrick D, Doucette K (2005). "Efficacy of antiretroviral therapy programs in resource-poor settings: a meta-analysis of the published literature". Clin Infect Dis. 41 (2): 217–24. doi:10.1086/431199. PMID 15983918.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Mocroft A, Ledergerber B, Katlama C, Kirk O, Reiss P, d'Arminio Monforte A, Knysz B, Dietrich M, Phillips A, Lundgren J (2003). "Decline in the AIDS and death rates in the EuroSIDA study: an observational study". Lancet. 362 (9377): 22–9. doi:10.1016/S0140-6736(03)13802-0. PMID 12853195.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Sterne J, Hernán M, Ledergerber B, Tilling K, Weber R, Sendi P, Rickenbach M, Robins J, Egger M (2005). "Long-term effectiveness of potent antiretroviral therapy in preventing AIDS and death: a prospective cohort study". Lancet. 366 (9483): 378–84. doi:10.1016/S0140-6736(05)67022-5. PMID 16054937.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
- Lima V, Hogg R, Harrigan P, Moore D, Yip B, Wood E, Montaner J (2007). "Continued improvement in survival among HIV-infected individuals with newer forms of highly active antiretroviral therapy". AIDS. 21 (6): 685–92. doi:10.1097/QAD.0b013e32802ef30c. PMID 17413689.
- ↑ 32.0 32.1 PMID 20539311 (PMID 20539311)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ ...being a dissenter from orthodoxy is not difficult; the hard part is actually having a better theory. Publishing dissenting theories is important when they are backed by plausible evidence, but this does not mean giving critics ‘equal time’ to dissent from every finding by a mainstream scientist.| Goertzel, 2010
- ↑ Dugger, Celia (25 November 2008). "Study Cites Toll of AIDS Policy in South Africa". New York Times. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ Biography of John Lauritsen เก็บถาวร 2008-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Virusmyth.com, a dissident website. Retrieved 7 Sep 2006.