ดาวซิ่ง
ดาวซิ่ง (อังกฤษ: dowsing) เป็นวิธีการพยากรณ์แบบหนึ่งที่อ้างว่าสามารถระบุตำแหน่งของแหล่งน้ำใต้ดิน โลหะหรือแร่ธาตุที่ฝังอยู่ใต้ดิน อัญมณี น้ำมัน แม้กระทั่งหลุมฝังศพ[1] หรือกระทั่งการติดต่อกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติอย่าง ผีหรือวิญญาณ[2] โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์มาช่วย
วัตถุแท่งรูปร่างคล้ายตัว Y หรือตัว L จะเรียกว่า แท่งดาวซิ่ง (อังกฤษ: dowsing rod) บางครั้งมีการนำมาใช้ประกอบการทำดาวซิ่งด้วย ส่วนผู้ทำนายหรือ dowser บางครั้งอาจใช้เครื่องมือลักษณะอื่น หรืออาจไม่ใช้เครื่องมือประกอบเลยก็ได้
วิธีการดาวซิ่งเริ่มปรากฏขึ้นในยุคฟื้นฟูเวทมนตร์ในเยอรมนี (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-16) และเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่คนที่เลื่อมใสในลัทธิ Forteana หรือพวกที่เชื่อเรื่องรังสีในตัวมนุษย์ (radiesthesia)[3] แม้ว่าจะไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่ยอมรับวิธีการนี้ และไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ยืนยันว่ามีประสิทธิผลจริง
อุปกรณ์ดาวซิ่งยุคใหม่
[แก้]มีเครื่องมือจำนวนมากที่จัดว่าเป็นแท่งดาวซิ่งแบบ "ไฮเทค" ที่เข้ามาทำการค้ากับกิจการตำรวจและการทหาร แต่ไม่มีเครื่องมือใดที่ยอมรับว่าใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผลจริง[4] อุปกรณ์ที่โดดเด่นในจำพวกนี้ได้แก่ ADE 651, Sniffex, และ GT200[5][6] ทางการสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาและออกประกาศเตือนให้ระวังการจัดซื้อ "อุปกรณ์ตรวจจับระเบิดปลอม" เมื่อปี ค.ศ. 1999[4]
ตัวอย่างอุปกรณ์
[แก้]- ห้องทดลอง Sandia National Laboratories ทำการทดสอบระบบ MOLE ผลิตโดยบริษัท Global Technical ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Kent ประเทศอังกฤษ และพบว่าไม่มีประสิทธิผล[5]
- ADE 651 เป็นอุปกรณ์ผลิตโดยบริษัท ATSC จากประเทศอังกฤษ มีการใช้งานแพร่หลายโดยตำรวจอิรักในการใช้ตรวจหาระเบิด[6] มีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้งานเครื่องมือนี้[6][7] และยืนยันว่า ADE 651 ล้มเหลวในการป้องกันเหตุระเบิดหลายครั้งในอิรัก วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 กรรมการบริษัท ATSC คือนายจิม แมคคอร์มิค ถูกจับกุมในฐานะผู้ต้องสงสัยการฉ้อโกงโดยนำเสนอสิ่งที่ไม่เป็นความจริง[8] โดยที่ก่อนหน้านั้นรัฐบาลอังกฤษได้ประกาศห้ามการส่งออกอุปกรณ์ ADE 651[9]
- SNIFFEX ปรากฏในรายงาน United States Navy Explosive Ordnance Disposal ซึ่งระบุว่า "อุปกรณ์ตรวจจับระเบิดแบบมือถือ SNIFFEX ใช้การไม่ได้"[10]
- EK9 (หรือ EK-9) GT200 อุปกรณ์ตรวจจับระเบิดอีกชนิดหนึ่งที่ใช้หลักการดาวซิ่ง[11]
- GT200 ได้รับการทดสอบโดยคณะกรรมการอันมีตัวแทนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เป็นแกนนำ ปรากฏผลการทดสอบ สามารถตรวจพบวัตถุที่ต้องการได้เพียง 4 ครั้ง จากการทดสอบ 20 ครั้ง อันนำไปสู่การสรุปผลการทดสอบได้ว่า อุปกรณ์ GT200 ซึ่งใช้หลักการดาวซิ่ง ไม่สามารถทำการตรวจหาวัตถุระเบิด หรือวัตถุอันตรายอื่น ได้ตามที่กล่าวอ้าง[12]
รายชื่อนักทำนายที่มีชื่อเสียง
[แก้]ชื่อนักทำนายหรือดาวเซอร์จำนวนหนึ่งที่เป็นที่รู้จักดี มีดังนี้
- Karl Spiesberger
- Ludwig Straniak
- A. Frank Glahn
- J. Francis Hitching
- Hellmut Wolff
- Uri Geller
- Thomas Charles Lethbridge[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kenney, Andrew. The Herald (Johnson County, North Carolina); "Grave Hunters." http://www.theherald-nc.com/front/story/10836.html; 29 July 2009, page 1. Article also reproduced as a source document at WeRelate.
- ↑ ปรากฏการณ์สารคดีโลก The Documentaries, รายการทางสปริงนิวส์: วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2559
- ↑ จากการแปลความในบทนำเรื่องของบันทึกการทดลองของ Kassel "มีนักดาวเซอร์ประมาณ 10,000 คนเฉพาะในเยอรมนี สามารถทำรายได้ต่อปีมากกว่า 100 ล้านดอยช์มาร์ค (ประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)" GWUP-Psi-Tests 2004: Keine Million Dollar für PSI-Fähigkeiten เก็บถาวร 2005-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in German) and English version เก็บถาวร 2007-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ 4.0 4.1 Guide for the Selection of Commercial Explosives Detection Systems for Law Enforcement Applications (NIJ Guide 100-99), Chapter 7. WARNING: DO NOT BUY BOGUS EXPLOSIVES DETECTION EQUIPMENT
- ↑ 5.0 5.1 Double-Blind Field Evaluation of the MOLE Programmable Detection System, Sandia National Laboratories
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Iraq Swears by Bomb Detector U.S. Sees as Useless
- ↑ A Direct, Specific, Challenge From James Randi and the JREF
- ↑ http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/8476381.stm
- ↑ http://news.bbc.co.uk/2/hi/programmes/newsnight/8475875.stm
- ↑ Test Report: The detection capabilities of the SNIFFEX explosive detector, p.8
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-27. สืบค้นเมื่อ 2010-01-26.
- ↑ ข่าวประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553, กระทรวงวิทย์ฯสวนทบ.เตรียมเปิดผลทดสอบจีที200วันที่23ก.พ.นี้, http://www.posttoday.com/[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Tom Lethbridge's dowsing measurments". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2010-01-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Unconventional Water Detection - article from Journal of Scientific Exploration เก็บถาวร 2008-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Hans-Dieter Betz (1995)
- Mystery Robot Said to Solve Crimes, Find Mines in Chile - Manuel Salinas, a 39-year-old inventor, claims he has built a machine that has extraordinary capabilities for finding buried objects.
- Dowsing Archaeological Features An empirical study at Cressing Temple, Witham, Essex.
- George P. Hansen: Dowsing: A Review of Experimental Research. In: Journal of the Society for Psychical Research, Band 51, Nr. 792, Oktober 1982, S.343–67
- Linda K. Barrett und Evon Z. Vogt: The Urban American Dowser. In: The Journal of American Folklore 325 (1969), S. 195-213
- Adolphe Landspurg เก็บถาวร 2010-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Honorary President of the Dowser and Geobiologist's Association of Europe.
- ISD - International Society of Dowsing Research เก็บถาวร 2010-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- International Digital Dowsers Forum Board เก็บถาวร 2008-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ASD - American Society of Dowsers
- BSD - British Society of Dowsers เก็บถาวร 2008-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- CSD - Canadian Society of Dowsers
- SIDG - School of Indian Dowsers and Geomancy
- James Randi on Dowsing
- The Skeptics Dictionary - Includes details of various scientific tests.
- Australian Skeptics Divining Test เก็บถาวร 2012-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- An Australian television program เก็บถาวร 2007-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน about the above divining test at Google Video.
- Dowsing In Connecticut - by Perry DeAngelis
- "Beyond Science" video[ลิงก์เสีย] PBS show Scientific American Frontiers on dowsing featuring Ray Hyman, November 19, 1997
- Experimental protocol: Dowsing เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Scientific test conducted by the Observatoire Zetetique
- The Straight Dope: Does dowsing for water really work? เก็บถาวร 2008-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2007)
- UNAMID peacekeeper Lieutenant Kiatsakul Malisuwan, from Thailand and posted at the Engineers company in Mukjar (West Darfur), เก็บถาวร 2013-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน uses an ancient way to find water underground. The company has already built three waterholes at the team site, enough to provide 100,000 liters per day necessary for the 811 troops. They are now planning another one in Mukjar village for the local school. Photo by Albert Gonzalez Farran / UNAMID (2011)