การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2563
| |||||||||||||||||||||||||||||
538 สมาชิกคณะผู้เลือกตั้ง ต้องการ เสียงคณะผู้เลือกตั้ง 270 เสียงจึงชนะ | |||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 66.2% (โดยประมาณ)[3] | ||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
แผนที่จำนวนคณะผู้เลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 ตามมติเอกฉันท์ของบรรดาสื่อ สีแดงหมายถึงรัฐที่ทรัมป์/เพนซ์ชนะ สีน้ำเงินหมายถึงรัฐที่ไบเดน/แฮร์ริสชนะ และสีเทาหมายถึงรัฐที่ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าใครเป็นผู้ชนะ ตัวเลขนั้นแสดงถึงจำนวนคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐ ตามจำนวนประชากรสหรัฐในสำมะโนปี พ.ศ. 2553 | |||||||||||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2563 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 59 มีขึ้นในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2563 โจ ไบเดน อดีตรองประธานาธิบดี และ กมลา แฮร์ริส สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต เอาชนะประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี ไมก์ เพนซ์ ผู้สมัครจากพรรคริพับลิกัน การเลือกตั้งเกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก และภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตั้งแต่ปี 2535, การเลือกตั้งครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 21, และครั้งที่ 5 ในรอบ 100 ปี, ที่ประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ไม่ได้ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2443, โดยผู้สมัครทั้งสองพรรคได้มากกว่า 74 ล้านเสียง, ทำลายสถิติ 69.5 ล้านเสียงของบารัก โอบามา ในปี 2551 โจ ไบเดน ได้มากกว่า 81 ล้านเสียง ถือเป็นคะแนนเสียงที่ได้รับมากที่สุดในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
ในการเลือกตั้งขั้นต้นของพรรคเดโมแครตที่มีผู้ลงสมัครถึง 29 คน โจ ไบเดน เอาชนะคู่แข่งคนสำคัญอย่าง สมาชิกวุฒิสภา เบอร์นี แซนเดอร์ส ไปได้ คู่หูของโจ ไบเดน, กมลา แฮร์ริส, เป็นผู้ลงสมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดีคนแรกที่มีเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน, คนแรกที่มีเชื้อสายเอเชียน-อเมริกัน, และผู้หญิงคนที่สามของพรรคใหญ่สองพรรค โจ จอร์เกนเซน และ สไปค์ โคเฮน เป็นผู้สมัครลงชิงตำแหน่งของพรรคลิเบอร์เทเรียน โฮวี่ ฮอว์กินส์ และ แองเจลา นิโคล วอล์คเกอร์ เป็นผู้สมัครลงชิงตำแหน่งของพรรคกรีน ประเด็นหลักของการเลือกตั้งครั้งนี้คือระบบสาธารณสุขและผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19; การประท้วงจากการเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์; ศาลสูงสุดหลังการเสียชีวิตของรูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก และการโหวตรับรองเอมี โคนีย์ บาร์เรตต์; และอนาคตของรัฐบัญญัติคุ้มครองผู้ป่วยและการบริบาลที่เสียได้ (Affordable Care Act)
การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของโควิด-19 ทำให้มีการลงคะแนนเสียงล่วงหน้าและลงคะแนนเสียงผ่านทางจดหมายเป็นจำนวนมาก พรรคเดโมแครตมีการลงเสียงผ่านจดหมายมากกว่าพรรครีพับลิกัน เนื่องจากการลงคะแนนเสียงทางจดหมายเป็นจำนวนมาก Swing States บางรัฐมีความล่าช้าในการนับและรายงานคะแนนเสียง หลายสำนักข่าวจึงได้ประกาศให้ไบเดนเป็นว่าที่ประธานาธิบดีและแฮร์ริสเป็นว่าที่รองประธานาธิบดีในเช้าวันที่ 7 พฤศจิกายน หลังจากผ่านวันเลือกตั้งไปสามวันครึ่ง ท้ายที่สุด ไบเดนได้รับคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 306 คะแนน ส่วนทรัมป์ได้ 232 คะแนน ไบเดนเป็นเดโมแครตคนแรกที่ชนะในรัฐจอร์เจียตั้งแต่ปี 2535 และเป็นเดโมแครตคนแรกที่ชนะในรัฐแอริโซนาตั้งแต่ปี 2539 และเป็นคนแรกที่ชนะการเลือกตั้งโดยแพ้รัฐโอไฮโอตั้งแต่ปี 2503 และชนะการเลือกตั้งโดยแพ้รัฐฟลอริดาตั้งแต่ปี 2535 ทำลายสถานะการเป็นรัฐ bellwether ไบเดนเป็นเดโมแครตคนแรกที่ชนะการเลือกตั้งโดยแพ้รัฐไอโอวาตั้งแต่ปี 2519 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2423 ที่ผู้สมัครทั้งสองพรรคมีจำนวนรัฐที่ชนะเท่ากัน และเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2491 ที่พรรคเดโมแครต (หรือพรรคอื่น ๆ) ชนะ Popular vote ติดกันสี่ครั้ง
ก่อน ระหว่าง และหลังวันเลือกตั้ง ทรัมป์และคนในพรรครีพับลิกันหลายคนพยายามเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง โดยอ้างว่ามีการโกงเลือกตั้งอย่างกว้างขวางและเข้าไปยุ่งการนับคะแนนเสียงในรัฐ swing states อัยการสูงสุด วิลเลียม บาร์ และเจ้าหน้าที่ทั้ง 50 รัฐไม่เจอหลักฐานของการโกงเลือกตั้งหรือความผิดปกติในการเลือกตั้ง หน่วยงานรัฐบาลกลางที่ดูแลการเลือกตั้งกล่าวว่านี่เป็นการเลือกตั้งที่สะอาดที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา ทรัมป์และพวกพ้อง รวมถึงสมาชิกพรรคริพับลิกันในสภาคองเกรส ยังคงพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งโดยยื่นฟ้องไป 63 คดีความ (โดยคดีความทั้งหมดถูกถอนฟ้องหรือถอดออก), อ้างทฤษฎีสมคบคิดว่ามีการโกง, กดดันให้เจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลการเลือกตั้ง (ที่ชัดเจนคือ แบรด รัฟเฟนสเปอเกอร์ เลขาธิการรัฐจอร์เจีย ในการสนทนาโทรศัพท์กับทรัมป์ทำให้เกิดเป็นข่าวดังขึ้นมา) และสมาชิกสภานิติบัญญัติที่อยู่พรรครีพับลิกันเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง, กดดันให้กระทรวงยุติธรรมประกาศว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีการ “ทุจริต” และเข้าแทรกแซง, คัดค้านการรับรองคะแนนคณะผู้เลือกตั้งในสภาคองเกรส, และปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนผ่านและถ่ายโอนอำนาจไปยังโจ ไบเดน จนกระทั่งในวันที่ 6 มกราคม 2564 ม็อบสนับสนุนทรัมป์บุกเข้าอาคารรัฐสภา หลังจากทรัมป์ยังคงพูดว่าจะไม่ยอมประกาศรับความพ่ายแพ้ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 7 มกราคม ทรัมป์โพสต์วิดีโอบนทวิตเตอร์ รับรองการเข้ามาของรัฐบาลชุดถัดไป โดยไม่มีการกล่าวถึงชื่อไบเดน ไบเดนและแฮร์ริสเข้าร่วมพิธีสาบานตนรับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2564
เบื้องหลัง
[แก้]วิธีดำเนินการ
[แก้]รัฐธรรมนูญสหรัฐ มาตรา 2 ระบุว่า บุคคลที่จะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐต้องเป็นพลเมืองสหรัฐโดยกำเนิด มีอายุ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเป็นผู้พำนักในสหรัฐอย่างน้อย 14 ปี ผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีตรงแบบมองหาการเสนอชื่อของพรรคการเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐ โดยแต่ละพรรคมีวิธีการของตน (เช่น การเลือกตั้งขั้นต้น) เพื่อเลือกผู้สมัครที่พรรคเห็นว่าเหมาะสมลงรับสมัครเลือกตั้ง การเลือกตั้งขั้นต้นปกติเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมโดยผู้ออกเสียงเลือกตั้งของแต่ละพรรคลงคะแนนเลือกรายชื่อผู้แทนที่จะส่งสมัครรับเลือกตั้งที่จะเลือกผู้สมัครคนหนึ่ง ๆ จากนั้นผู้แทนของพรรคจะเสนอชื่อผู้สมัครให้ลงรับเลือกตั้งในนามของพรรคอย่างเป็นทางการ ผู้เสนอชื่อประธานาธิบดีตรงแบบเลือกผู้ร่วมสมัครรับเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งผู้แทนพรรคจะให้สัตยาบัน การเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนก็เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมเช่นกัน ซึ่งผู้ออกเสียงเลือกตั้งลงคะแนนให้สมาชิกคณะผู้เลือกตั้ง แล้วผู้เลือกตั้งเหล่านี้จะเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีโดยตรง[5]
ในเดือนพฤศจิกายน 2561 คณะกรรมการแห่งชาติของพรรคเดโมแครตออกเสียงไม่อนุญาตให้ซูเปอร์เดลีเกตออกเสียงเป็นลำดับแรกในกระบวนการเสนอชื่อ เริ่มตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2563 ทำให้ผู้สมัครต้องชนะผู้แทนที่ให้สัญญาฝ่ายข้างมากจากการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อให้พรรคเสนอชื่อ[6]
คณะกรรมการระดับรัฐของพรรครีพับลิกันหลายคณะมีรายงานว่าพิจารณายกเลิกการเลือกตั้งขั้นต้นและการประชุมลับปี 2563 ส่วนอีกหลายคณะดำเนินการไปแล้ว[7] โดยอ้างข้อเท็จจริงว่ารีพับลิกันเคยยกเลิกการเลือกตั้งขั้นต้นหลายรัฐเมื่อจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช และจอร์จ ดับเบิลยู. บุชลงสมัครสมัยที่สองในปี 2535 และ 2547 ตามลำดับ ส่วนเดโมแครตเคยยกเลิกการเลือกตั้งขั้นต้นเมื่อบิล คลินตันและบารัค โอบามากำลังรับเลือกตั้งสมัยที่สองในปี 2539 และ 2555 ตามลำดับ[8][9]
วันที่ 26 สิงหาคม 2562 สภานิติบัญญัติรัฐเมนผ่านร่างกฎหมายใช้การออกเสียงลงคะแนนแบบตัวเลือกจัดอันดับ (ranked-choice voting) สำหรับทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีขั้นต้นและการเลือกตั้งทั่วไป[10][11] วันที่ 6 กันยายน 2562 ผู้ว่าการรัฐเมน เจเน็ต มิลส์ อนุญาตให้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวโดยไม่ลงนาม ซึ่งทำให้ชะลอเวลามีผลจนกระทั่งหลังเลือกตั้งขั้นต้นพรรคเดโมแครตปี 2563 ในเดือนมีนาคม ทำให้รัฐเมนจะเป็นรัฐแรกที่ใช้การออกเสียงลงคะแนนแบบตัวเลือกจัดอันดับสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปประธานาธิบดี[12] กฎหมายยังคงใช้วิธีการเขตเลือกตั้งรัฐสภาสำหรับการจัดสรรผู้เลือกตั้ง โดยรัฐเมนและรัฐเนแบรสกาใช้ในการเลือกตั้งล่าสุด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจชะลอการทำนายผู้ชนะเสียงผู้เลือกตั้งของรัฐเมนเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังวันเลือกตั้ง และยังจะทำให้การตีความคะแนนของประชาชนทั่วประเทศยุ่งยากขึ้นด้วย
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 22 ระบุว่าบุคคลไม่สามารถได้ร้บเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกินสองครั้ง ทำให้อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน, จอร์จ ดับเบิลยู. บุช และบารัค โอบามาไม่มีสิทธิ์รับเลือกตั้งอีกสมัย
แนวโน้มประชากรศาสตร์
[แก้]กลุ่มอายุที่จะมีอายุอยู่ในช่วง 18 ถึง 45 ปีคาดว่าจะคิดเป็นผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งของสหรัฐน้อยกว่าร้อยละ 40 เล็กน้อยในปี 2563 คาดหมายว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งสหรัฐกว่าร้อยละ 30 ไม่ใช่ผิวขาว[13]
รายงานสองพรรคระบุว่าประชากรศาสตร์ผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปนับแต่การเลือกตั้งปี 2559 อาจมีผลต่อการเลือกตั้งปี 2563 แอฟริกันอเมริกัน ฮิสแปนิก เอเชียและชนกลุ่มน้อยอื่น ตลอดจน "ผิวขาวที่มีปริญญาวิทยาลัย" ล้วนคาดว่าจะมีสัดส่วนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกต้งเพิ่มขึ้นทั่วประเทศภายในปี 2563 ส่วน "ผิขาวที่ไม่มีปริญญาวิทยาลัย" จะลดลง การเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้ผู้สมัครพรรคเดโมแครตได้เปรียบ แต่เนื่องจากความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ อาจทำให้ผู้สมัครพรรครีพับลิกันชนะคณะผู้เลือกตั้งได้แม้จะแพ้คะแนนเสียงของประชาชน โดยอาจทิ้งห่างมากยิ่งกว่าปี 2559[14]
การเลือกตั้งในปีเดียวกัน
[แก้]การเลือกตั้งประธานาธิบดีจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร หลายรัฐจัดการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐและสภานิติบัญญัติของรัฐด้วย หลังการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรจะมีการจัดสรรที่นั่งใหม่ให้กับ 50 รัฐตามผลของสำมะโนสหรัฐปี 2563 และรัฐจะจัดเขตเลือกตั้งรัฐสภาและสภานิติบัญญัติของรัฐใหม่ ในหลายรัฐ ผู้ว่าการและสภานิติบัญญัติของรัฐจะจัดเขตเลือกตั้งใหม่ และบ่อยครั้งที่พรรคที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีจะมีผลอาศัยบารมีช่วยทำให้ผู้สมัครอื่นจากพรรคเดียวกันชนะการเลือกตั้งตามไปด้วย[15] ฉะนั้น พรรคที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2563 อาจมีข้อได้เปรียบสำคัญในการร่างเขตรัฐสภาและสภานิติบัญญัติของรัฐใหม่ซึ่งจะมีผลจนถึงการเลือกตั้งปี 2575[16]
การสรรหาตัวแทนพรรครีพับลิกัน
[แก้]ผู้สมัครตัวแทนพรรค
[แก้]พรรคริพับลิกัน | |||||||||||||||||||||||||||||
ดอนัลด์ ทรัมป์ | ไมก์ เพนซ์ | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นประธานาธิบดี | เป็นรองประธานาธิบดี | ||||||||||||||||||||||||||||
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 45 (พ.ศ. 2560–2564) |
รองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 48 (พ.ศ. 2560–2564) | ||||||||||||||||||||||||||||
การรณรงค์หาเสียง | |||||||||||||||||||||||||||||
[17][18][19] |
ชื่อ | เกิด / รัฐเหย้า | ประสบการณ์ | การรณรงค์หาเสียง วันประกาศ |
จำนวนผู้แทนพรรค[20] | คะแนนเสียง[20] | รัฐที่ชนะ[c] |
---|---|---|---|---|---|---|
ดอนัลด์ ทรัมป์ |
14 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (78 ปี) ควีนส์ รัฐนิวยอร์ก |
ประธานาธิบดีสหรัฐ (พ.ศ. 2560–2564) นักธุรกิจ บุคคลในวงการโทรทัศน์ และนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
การรณรงค์หาเสียง การรณรงค์หาเสียง (อย่างไม่เป็นทางการ): 17 กุมภาพันธ์ 2560 (อย่างเป็นทางการ): 18 มิถุนายน 2562 คำแถลงการณ์ FEC[22] |
19 (0.78%) |
0 (0%) |
1 ฮาวาย[23] |
ฟลอริดา[24] | ||||||
โจ วอล์ช |
27 ธันวาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี) นอร์ทแบร์ริงตัน รัฐอิลลินอย |
ส.ส. รัฐอิลลินอย เขต 8 (พ.ศ. 2554–2556) นักจัดรายการวิทยุอนุรักษ์นิยม |
การรณรงค์หาเสียง การรณรงค์หาเสียง: 25 สิงหาคม 2562 คำแถลงการณ์ FEC[25] |
0 (0%) |
0 (0%) |
0 |
อิลลินอยส์ | ||||||
บิล เวลด์ |
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี) สมิธทาวน์ รัฐนิวยอร์ก |
ผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ (พ.ศ. 2534–2540) ตัวแทนพรรคลิเบอร์เทเรียนในการเสนอชื่อ รองประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559 ตัวแทนพรรคในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ จากรัฐแมสซาชูเซตส์ พ.ศ. 2539 |
การรณรงค์หาเสียง จัดตั้งคณะกรรมการหยั่งเสียง: 15 กุมภาพันธ์ 2562 การรณรงค์หาเสียง: 15 เมษายน 2562 คำแถลงการณ์ FEC[26] |
0 (0%) |
0 (0%) |
0 |
แมสซาชูเซตส์ |
ผู้สมัครที่ถอนตัวก่อนการเลือกตั้ง
[แก้]ชื่อ | เกิด | ประสบการณ์ | รัฐเหย้า | วันประกาศลงสมัคร | วันประกาศถอนตัว | บทความ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
มาร์ก แซนฟอร์ด |
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี) ฟอร์ตลอเดอร์เดล รัฐฟลอริดา |
ส.ส. รัฐเซาท์แคโรไลนา เขต 1 (พ.ศ. 2538–2544, 2556–2562) ผู้ว่าการรัฐเซาท์แคโรไลนา (พ.ศ. 2546–2554) |
เซาท์แคโรไลนา |
8 กันยายน 2562 | 12 พฤศจิกายน 2562 | การรณรงค์หาเสียง คำแถลงการณ์ FEC[27] |
[28][29] |
การสรรหาตัวแทนพรรคเดโมแครต
[แก้]ผู้สมัครตัวแทนพรรค
[แก้]พรรคเดโมแครต | |||||||||||||||||||||||||||||
โจ ไบเดิน | กมลา แฮร์ริส | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นประธานาธิบดี | เป็นรองประธานาธิบดี | ||||||||||||||||||||||||||||
รองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 47 (พ.ศ. 2552–2560) |
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ จากรัฐแคลิฟอร์เนีย (พ.ศ. 2560–2564) | ||||||||||||||||||||||||||||
การรณรงค์หาเสียง | |||||||||||||||||||||||||||||
[30][31][32] |
ผู้สมัครที่ถอนตัวก่อนการเลือกตั้ง
[แก้]การทำนายผลของรัฐต่าง ๆ
[แก้]ผู้ทำนายผลการเลือกตั้งส่วนใหญ่ใช้ศัพท์ดังนี้
- "tossup": ไม่มีข้อได้เปรียบ
- "tilt" (ใช้น้อย): ได้เปรียบโดยไม่มากเท่ากับ "lean"
- "lean": ได้เปรียบเล็กน้อย
- "likely" หรือ "favored": ได้เปรียบมาก แต่ยังเอาชนะได้
- "safe" or "solid": โอกาสชนะเกือบแน่นอน
รัฐ | ดัชนี PVI[33] |
ผลครั้งก่อน | คุก 29 ต.ค. 2019[34] |
IE 19 ธ.ค. 2019[35] |
สะบาโต 7 พ.ย. 2019[36] |
โพลิติโก 19 พ.ย. 2019[37] |
---|---|---|---|---|---|---|
แอละแบมา | R+14 | 62.1% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
อะแลสกา | R+9 | 51.3% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
แอริโซนา | R+5 | 48.9% R | Tossup | Tilt R | Tossup | Tossup |
อาร์คันซอ | R+15 | 60.6% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
แคลิฟอร์เนีย | D+12 | 61.7% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
โคโลราโด | D+1 | 48.2% D | Likely D | Safe D | Lean D | Lean D |
คอนเนตทิคัต | D+6 | 54.6% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
เดลาแวร์ | D+6 | 53.1% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
เขตโคลัมเบีย | D+41 | 90.9% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
ฟลอริดา | R+2 | 49.0% R | Tossup | Tossup | Lean R | Tossup |
จอร์เจีย | R+5 | 50.8% R | Lean R | Likely R | Lean R | Lean R |
ฮาวาย | D+18 | 62.2% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
ไอดาโฮ | R+19 | 59.3% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
อิลลินอยส์ | D+7 | 55.8% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
อินดีแอนา | R+9 | 56.8% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
ไอโอวา | R+3 | 51.2% R | Lean R | Lean R | Lean R | Lean R |
แคนซัส | R+13 | 56.7% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
เคนทักกี | R+15 | 62.5% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
ลุยเซียนา | R+11 | 58.1% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
เมน | D+3 | 47.8% D | Lean D | Lean D (ประเมิน เฉพาะทั้งรัฐ) |
Lean D | Lean D |
เมน เขต 1 | D+8 | 54.0% D | Safe D | Safe D | Safe D | |
เมน เขต 2 | R+2 | 51.3% R | Lean R | Lean R | Lean R | |
แมริแลนด์ | D+12 | 60.3% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
แมสซาชูเซตส์ | D+12 | 60.1% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
มิชิแกน | D+1 | 47.5% R | Lean D (พลิกชนะ) | Tilt D (พลิกชนะ) | Lean D (พลิกชนะ) | Tossup |
มินนิโซตา | D+1 | 46.4% D | Lean D | Likely D | Lean D | Lean D |
มิสซิสซิปปี | R+9 | 57.9% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
มิสซูรี | R+9 | 56.8% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
มอนแทนา | R+11 | 56.2% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
เนแบรสกา | R+14 | 58.8% R | Safe R | Safe R (ประเมิน เฉพาะทั้งรัฐ) |
Safe R | Safe R |
เนแบรสกา เขต 1 | R+11 | 56.2% R | Safe R | Safe R | Safe R | |
เนแบรสกา เขต 2 | R+4 | 47.2% R | Lean R | Tossup | Tossup | |
เนแบรสกา เขต 3 | R+27 | 73.9% R | Safe R | Safe R | Safe R | |
เนวาดา | D+1 | 47.9% D | Likely D | Lean D | Lean D | Tossup |
นิวแฮมป์เชียร์ | EVEN | 47.0% D | Lean D | Lean D | Lean D | Tossup |
นิวเจอร์ซีย์ | D+7 | 55.0% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
นิวเม็กซิโก | D+3 | 48.4% D | Safe D | Safe D | Likely D | Likely D |
นิวยอร์ก | D+11 | 59.0% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
นอร์ทแคโรไลนา | R+3 | 49.8% R | Tossup | Tossup | Lean R | Tossup |
นอร์ทดาโคตา | R+16 | 63.0% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
โอไฮโอ | R+3 | 51.7% R | Lean R | Likely R | Lean R | Lean R |
โอคลาโฮมา | R+20 | 65.3% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
ออริกอน | D+5 | 50.1% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
เพนซิลเวเนีย | EVEN | 48.2% R | Tossup | Tilt D (พลิกชนะ) | Tossup | Tossup |
โรดไอแลนด์ | D+10 | 54.4% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
เซาท์แคโรไลนา | R+8 | 54.9% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
เซาท์ดาโคตา | R+14 | 61.5% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
เทนเนสซี | R+14 | 60.7% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
เท็กซัส | R+8 | 52.2% R | Likely R | Safe R | Lean R | Lean R |
ยูทาห์ | R+20 | 45.5% R | Safe R | Safe R | Safe R | Likely R |
เวอร์มอนต์ | D+15 | 56.7% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
เวอร์จิเนีย | D+1 | 49.7% D | Likely D | Safe D | Likely D | Lean D |
วอชิงตัน | D+7 | 52.5% D | Safe D | Safe D | Safe D | Safe D |
เวสต์เวอร์จิเนีย | R+19 | 68.5% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
วิสคอนซิน | EVEN | 47.2% R | Tossup | Tossup | Tossup | Tossup |
ไวโอมิง | R+25 | 67.4% R | Safe R | Safe R | Safe R | Safe R |
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Most states allowed early voting in person or by mail, with the earliest state starting on September 4.[1] Most voters voted before November 3, most of them by mail.[2]
- ↑ Trump's official state of residence was New York in the 2016 election but has since changed to Florida, with his permanent residence switching from Trump Tower to Mar-a-Lago in 2019.[4]
- ↑ In bolded states and territories, the leading candidate won the support of an absolute majority of that state's delegation for the first ballot; according to Rule 40(b), eight such states are needed to be eligible.[21] In states and territories that are not bolded, the leading candidate won the support of a simple plurality of delegates.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Knight, Stef W.; Ahmed, Naema (August 13, 2020). "When and how to vote in all 50 states". Axios.
- ↑ McDonald, Michael (November 6, 2020). "2020 General Election Early Vote Statistics". U.S. Elections Project.
- ↑ 2020 November General Election Turnout Rates, United States Election Project. This turnout figure is the estimated number of ballots counted (including ballots without a valid vote for president) divided by the estimated number of eligible voters (U.S. residents, excluding those ineligible to vote due to lack of U.S. citizenship or to a criminal conviction, and U.S. citizens residing in other countries, at or over age 18). This figure is preliminary and unofficial, and not comparable to figures for previous years calculated by the Federal Election Commission, which uses only valid votes for president divided by the U.S. population at or over age 18 (including those ineligible to vote, and not including U.S. citizens residing in other countries).
- ↑ Choi, Matthew (October 31, 2019). "Trump, a symbol of New York, is officially a Floridian now". Politico. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "US Election guide: how does the election work?". เดอะเดลีเทลิกราฟ. 6 พฤศจิกายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2015.
- ↑ Levy, Adam (25 สิงหาคม 2018). "DNC changes superdelegate rules in presidential nomination process". ซีเอ็นเอ็น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2018.
- ↑ Isenstadt, Alex (6 กันยายน 2019). "Republicans to scrap primaries and caucuses as Trump challengers cry foul". โพลิติโก. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2019.
- ↑ Karni, Annie (6 กันยายน 2019). "GOP plans to drop presidential primaries in 4 states to impede Trump challengers". เดอะบอสตันโกลบ. เอ็มเอสเอ็น. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2019.
- ↑ Steakin, Will; Karson, Kendall (6 กันยายน 2019). "GOP considers canceling at least 3 GOP primaries and caucuses, Trump challengers outraged". เอบีซีนิวส์. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2019.
- ↑ Miller, Kevin (26 สิงหาคม 2019). "Maine Senate passes ranked-choice voting for March presidential primaries". Portland Press Herald. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2019.
- ↑ Shepard, Michael (28 สิงหาคม 2019). "Maine might switch to a ranked-choice presidential election. Here's how it would look". ซีบีเอส 13. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2019.
- ↑ Sherpard, Michael (6 กันยายน 2019). "Maine will use ranked-choice voting in next year's presidential election — but not the 2020 primaries". Portland Press Herald. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2019.
- ↑ Weeks, Linton (25 มกราคม 2013). "Forget 2016. The Pivotal Year In Politics May Be 2020". เอ็นพีอาร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2015.
- ↑ Chinni, Dante (22 เมษายน 2018). "Demographic shifts show 2020 presidential race could be close". เอ็นบีซีนิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
- ↑ Campbell, James E. (มีนาคม 1986). "Presidential Coattails and Midterm Losses in State Legislative Elections". The American Political Science Review. 80 (1): 45–63. doi:10.2307/1957083. JSTOR 1957083.
- ↑ Sarlin, Benjy (26 สิงหาคม 2014). "Forget 2016: Democrats already have a plan for 2020". เอ็มเอสเอ็นบีซี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Donald Trump is running for president". Business Insider. June 16, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2015.
- ↑ "Donald Trump announces presidential bid". The Washington Post. June 16, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2015.
- ↑ "Donald Trump FEC filing" (PDF). FEC.gov. June 22, 2015. สืบค้นเมื่อ June 24, 2015.
- ↑ 20.0 20.1 Berg-Andersson, Richard E. "Republican Convention". The Green Papers. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2019.
- ↑ "The rules of the Republican Party" (PDF). Republican National Convention. 8 สิงหาคม 2014. p. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-16. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2016.
- ↑ "Statement of Candidacy" (PDF). docquery.fec.gov. 2019.
- ↑ "Hawaii GOP cancels caucus after Trump is only candidate". แอสโซซิเอทเต็ดเพรส. 13 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2019.
- ↑ "Trump, a symbol of New York, is officially a Floridian now". โพลิติโก. 31 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2019.
- ↑ "Statement of Candidacy" (PDF). docquery.fec.gov. 2019.
- ↑ "Statement of Candidacy" (PDF). docquery.fec.gov. 2019.
- ↑ "Statement of Candidacy" (PDF). docquery.fec.gov. 2019.
- ↑ "Mark Sanford Will Challenge Trump in Republican Primary". เดอะนิวยอร์กไทมส์. 8 กันยายน 2019.
- ↑ Byrd, Caitlin (12 พฤศจิกายน 2019). "Former SC Gov. Mark Sanford has dropped out of presidential race". The Post and Courier. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ Chozick, Amy. "Hillary Clinton Announces 2016 Presidential Bid". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 12, 2015.
- ↑ Karni, Annie (April 12, 2015). "Hillary Clinton formally announces 2016 run". Politico. สืบค้นเมื่อ April 18, 2015.
- ↑ "Hillary Rodham Clinton FEC filing" (PDF). FEC. April 13, 2015. สืบค้นเมื่อ April 13, 2015.
- ↑ "2016 State PVI Changes – Decision Desk HQ". decisiondeskhq.com. 15 ธันวาคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2019.
- ↑ "2020 Electoral College Ratings" (PDF). Cook Political Report. 29 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2019.
- ↑ "Presidential Ratings". Inside Elections. 19 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2019.
- ↑ "2020 President". Sabato's Crystal Ball. 7 พฤศจิกายน 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-13. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2019.
- ↑ "2020 Election Forecast". โพลิติโก. 19 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2019.