ข้ามไปเนื้อหา

กมลา แฮร์ริส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kamala Harris)
กมลา แฮร์ริส
Kamala Harris
แฮร์ริส ใน ค.ศ. 2021
รองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 49
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 2021
(3 ปี 361 วัน)
ประธานาธิบดีโจ ไบเดิน
ก่อนหน้าไมก์ เพนซ์
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ
จาก รัฐแคลิฟอร์เนีย
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม ค.ศ. 2017 – 18 มกราคม ค.ศ. 2021
(4 ปี 15 วัน)
ก่อนหน้าบาร์บารา บ็อกเซอร์
ถัดไปอเล็กซ์ ปาดียา
อัยการสูงสุดรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 32
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม ค.ศ. 2011 – 3 มกราคม ค.ศ. 2017
(6 ปี 0 วัน)
ผู้ว่าการเจอร์รี บราวน์
ก่อนหน้าเจอร์รี บราวน์
ถัดไปฆาบิเอร์ บีเซอร์รา
อัยการเมืองซานฟรานซิสโก คนที่ 27
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม ค.ศ. 2004 – 3 มกราคม ค.ศ. 2011
(6 ปี 360 วัน)
ก่อนหน้าเทเรนซ์ แฮลลินัน
ถัดไปจอร์จ กัสกอญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1964-10-20) 20 ตุลาคม ค.ศ. 1964 (60 ปี)
โอกแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
พรรคการเมืองเดโมแครต
คู่สมรสดั๊ก เอ็มฮัฟฟ์
บุพการีศยามลา โคปาลัน (แม่)
ดอนัลด์ แฮร์ริส (พ่อ)
ความสัมพันธ์มายา แฮร์ริส (น้องสาว)
มีนา แฮร์ริส (หลานสาว)
พี.วี. โคปาลัน (ตา)
การศึกษามหาวิทยาลัยฮอเวิร์ด (อักษรศาสตรบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตแฮสทิงส์ (นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต)
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์เว็บไซต์หาเสียง

กมลา เทวี แฮร์ริส (อังกฤษ: Kamala Devi Harris[1]; เกิด 20 ตุลาคม ค.ศ. 1964) เป็นนักการเมืองและอัยการชาวอเมริกัน ปัจจุบันเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 49 ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2021 ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี โจ ไบเดิน เธอเป็นรองประธานาธิบดีหญิงคนแรก อีกทั้งยังเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาและชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ ก่อนหน้านี้เธอเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สังกัดพรรคเดโมแครต

กมลา แฮร์ริส เกิดที่เมืองโอกแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรของนายดอนัลด์ เจ. แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ชาวอเมริกันเชื้อสายจาเมกา กับนางศยามลา โคปาลัน นักชีวการแพทย์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เธอได้รับชัยชนะเหนือลอเร็ตตา ซันเชซ ในการเลือกตั้งวุฒิสภาของปีนั้น ส่งผลให้แฮร์ริสเป็นวุฒิสมาชิกสตรีคนที่สามจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สตรีเชื้อสายแอฟริกาคนที่สอง และสตรีเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ[2][3]

ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา เธอสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ การยกเลิกสถานะยาเสพติดของกัญชาในระดับประเทศ การช่วยเหลือให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารได้รับสถานะพลเมืองสหรัฐ รัฐบัญญัติดรีม การห้ามใช้อาวุธสังหาร และการปฏิวัติการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า เธอเป็นที่จดจำในระดับชาติภายหลังเธอได้ตั้งคำถามที่เฉียบแหลมต่อเจ้าหน้าที่ภายใต้การบริหารของทรัมป์ระหว่างการรับฟังโดยวุฒิสภา ซึ่งรวมถึงอัยการสูงสุดเจฟฟ์ เซชชันส์ และวิลเลียม บาร์[4]

เธอได้สมัครเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2020 ก่อนยุติการชิงตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2019[5] อย่างไรก็ตาม เธอได้รับการสนับสนุนให้เป็นคู่ท้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต คู่กับอดีตรองประธานาธิบดีโจ ไบเดิน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ส่งผลให้เธอเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาและชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้หาเสียงเคียงคู่กับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งคนสำคัญของพรรคฯ[6] และเป็นสตรีคนที่สามที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งดังกล่าว ถัดจากเจรัลดีน เฟอร์ราโร (ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 1984) และแซราห์ เพลิน (ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2008)[7][8][9]

ในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 โจ ไบเดิน ได้ระบุในคำประกาศถอนตัวจากการเสนอชื่อรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ให้แฮร์ริสเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของพรรคเดโมแครตแทนตนเอง[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thomas, Ken (February 15, 2013). "You Say 'Ka-MILLA;' I Say 'KUH-ma-la.' Both Are Wrong". The Wall Street Journal: 1. 'It's "COMMA-la",' Ms. Harris said with a laugh. 'Just think of "calm". At least I try to be most of the time.'
  2. "Kamala D. Harris: US Senator from California". United States Senate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-14. สืบค้นเมื่อ July 29, 2020. Quote: "In 2017, Kamala D. Harris was sworn in as a United States Senator for California, the second African-American woman and first South Asian-American senator in history."
  3. Weinberg, Tessa; Palaniappan, Sruthi (December 3, 2019). "Kamala Harris: Everything you need to know about the 2020 presidential candidate". ABC News. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020. Quote: "Harris is the daughter of an Indian mother and Jamaican father, and is the second African-American woman and first South Asian-American senator in history."
  4. Viser, Matt (January 21, 2019). "Kamala Harris enters 2020 Presidential Race". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ January 22, 2019.
  5. Herndon, Astead; Goldmacher, Shane (December 3, 2019). "Kamala Harris Is Dropping Out of 2020 Race". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 3, 2019.
  6. Zeleny, Jeff; Merica, Dan; Saenz, Arlette. "Joe Biden picks Kamala Harris as his running mate". CNN. สืบค้นเมื่อ 2020-08-11.
  7. Zeleny, Jeff; Merica, Dan; Saenz, Arlette (August 11, 2020). "Joe Biden picks Kamala Harris as his running mate". CNN.
  8. "Joe Biden selects California Sen. Kamala Harris as running mate". Associated Press. August 11, 2020. selecting the first African American woman and South Asian American to compete on a major party's presidential ticket
  9. "Kamala Harris' selection as VP resonates with Black women". Associated Press. August 12, 2020. making her the first Black woman on a major party's presidential ticket ... It also marks the first time a person of Asian descent is on the presidential ticket.
  10. John, Arit (2024-07-21). "Harris will seek Democratic nomination and could be the first Black woman and Asian American to lead a major party ticket | CNN Politics". CNN (ภาษาอังกฤษ).
ก่อนหน้า กมลา แฮร์ริส ถัดไป
ไมก์ เพนซ์
รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนที่ 49
(20 มกราคม ค.ศ. 2021 – ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง