ไมก์ เพนซ์
ไมก์ เพนซ์ | |
---|---|
Mike Pence | |
เพนซ์ ใน ค.ศ. 2017 | |
รองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 48 | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม ค.ศ. 2017 – 20 มกราคม ค.ศ. 2021 | |
ประธานาธิบดี | ดอนัลด์ ทรัมป์ |
ก่อนหน้า | โจ ไบเดิน |
ถัดไป | กมลา แฮร์ริส |
ผู้ว่าการรัฐอินดีแอนา คนที่ 50 | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มกราคม ค.ศ. 2013 – 9 มกราคม ค.ศ. 2017 | |
รักษาการแทน |
|
ก่อนหน้า | มิทช์ แดเนียลส์ |
ถัดไป | เอริค โฮลโคมบ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ จาก รัฐอินดีแอนา | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มกราคม ค.ศ. 2001 – 3 มกราคม ค.ศ. 2013 | |
ก่อนหน้า | เดวิด เอ็ม. แมคอินทอช |
ถัดไป | ลุค เมสเซอร์ |
เขตเลือกตั้ง |
|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไมเคิล ริชาร์ด เพนซ์ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2502 โคลัมบัส รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา |
ศาสนา | โปรแตสแตนท์ |
พรรคการเมือง | ริพับลิกัน |
คู่สมรส | แคเรน แบทเทน (สมรส 1985) |
บุตร | 3 |
ลายมือชื่อ | |
ไมเคิล ริชาร์ด เพนซ์ (อังกฤษ: Michael Richard Pence) หรือเรียกอย่างง่ายว่า ไมก์ เพนซ์ (Mike Pence) นักการเมืองชาวอเมริกันสังกัดพรรคริพับลิกัน อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 48 ระหว่าง ค.ศ. 2017–2021 อดีตผู้ว่าการรัฐอินดีแอนาระหว่าง ค.ศ. 2013–2017 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ
เขาเกิดและโตในเมืองโคลัมบัส รัฐอินดีแอนา จบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จากวิทยาลัยแฮโนเวอร์ และเข้าศึกษาต่อด้านกฎหมายที่วิทยาลัยกฎหมายแม็กคินนีย์แห่งมหาวิทยาลัยอินดีแอนา รอเบิร์ต เฮช. ต่อมาหลังพ่ายแพ้ในการชิงตำแหน่งเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครเป็นสมาชิกรัฐสภาใน ค.ศ. 1988 และ 1990 เขากลายเป็นนักจัดรายการวิทยุและพิธีกรทอล์กโชว์ระหว่าง ค.ศ. 1994 ถึง ค.ศ. 1999 เพนซ์ได้เข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระหว่าง ค.ศ. 2001 ถึง ค.ศ. 2013 โดยเป็นผู้แทนจากรัฐอินดีแอนาเขต 2 และ 6 เพนซ์ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐอินดีแอนาในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2013 เขาได้ลดอัตราภาษีในรัฐอินดีแอนาลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มงบประมาณด้านการศึกษา และเริ่มใช้นโยบายการคลังแบบเกินดุล และยังลงนามในกฎหมายต้านการทำแท้ง[1] นอกจากนี้เขายังมีชื่อเสียงจากการประกาศใช้รัฐบัญญัติฟื้นฟูศาสนาอย่างเสรี ซึ่งกลายเป็นข้อขัดแย้งกับสมาชิกระดับกลางในพรรคริพับลิกัน เขายังประกาศใช้รัฐบัญญัติคุ้มครองเพศหลากหลายอีกด้วย[2] หลังจากที่ประกาศตัวใน ค.ศ. 2016 ว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการสมัยถัดไป เขาออกเดินสายหาเสียงกับดอนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยทรัมป์ได้ประกาศว่าหากเขาชนะจะให้เพนซ์เป็นรองประธานาธิบดีซึ่งทั้งคู่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง
ในฐานะรองประธานาธิบดี เพนซ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานสภาอวกาศแห่งชาติ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานเฉพาะกิจของทำเนียบขาวในการรับมือการระบาดทั่วของโควิด-19 ทรัมป์และเพนซ์แพ้การเลือกตั้งสมัยที่สองให้แก่ โจ ไบเดิน และ กมลา แฮร์ริส แม้จะมีการเรียกร้องให้มีการนับคะแนนใหม่ รวมถึงการยื่นฟ้องร้องโดยทรัมป์เพื่อพยายามพลิกผลการเลือกตั้งซึ่งเป็นชนวนไปสู่เหตุจราจลในการบุกเข้าอาคารรัฐสภา ทว่าเพนซ์ได้ยอมรับผลดังกล่าว ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างทรัมป์และเพนซ์แย่ลงนับจากนั้น เขาเริ่มวิจารณ์กลุ่มผู้สนับสนุนของทรัมป์จากเหตุจราจลอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงวิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของทรัมป์ ในเดิอนมิถุนายน ค.ศ. 2023 เพนซ์ประกาศลงแข่งขันเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 2024 แต่ได้ถอนตัวในช่วงปลายเดือนตุลาคม
ประวัติ
[แก้]เพนซ์เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1952 ในเมืองโคลัมบัส รัฐอินดีแอนา เป็นลูกหนึ่งในหกคนของแอน เจน "แนนซี" คอว์ลีย์ และเอ็ดเวิร์ด โจเซฟ เพนซ์ จูเนียร์ ซึ่งเป็นผู้บริหารปั๊มน้ำมัน[3] บิดาของเขารับราชการในฐานะทหารกองทัพสหรัฐในช่วงสงครามเกาหลี และได้รับเหรียญทองแดงเชิดชูเกียรติใน ค.ศ. 1953 ซึ่งเพนซ์ได้นำเหรียญดังกล่าวจัดแสดงในห้องทำงานของเขาตลอดอาชีพของเขา พร้อมด้วยจดหมายชมเชยจากรัฐบาลสหรัฐและรูปถ่ายของบิดา[4] บิดาของเขามีเชื้อสายเยอรมันและไอริช ในขณะที่มารดามีเชื้อสายไอริช[5] ปู่ของเขา เอ็ดเวิร์ด โจเซฟ เพนซ์ ซีเนียร์ ทำงานในฟาร์มปศุสัตว์ในชิคาโก[6]
เพนซ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมัธยมโคลัมบัส นอร์ท ก่อนจะจบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จากวิทยาลัยแฮโนเวอร์ ค.ศ. 1981 และเข้าศึกษาต่อด้านกฎหมายที่วิทยาลัยกฎหมายแม็กคินนีย์แห่งมหาวิทยาลัยอินดีแอนา รอเบิร์ต เฮช. [7] กระทั่งสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1986 เพนซ์ยังเคยเป็นเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาในการเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยอินดีแอนาระหว่าง ค.ศ. 1981–83[8] เพนซ์เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับวูดดี แฮร์เรลสัน นักแสดงผู้โด่งดัง แฮร์เรลสันเคยให้สัมภาษณ์ในการออกรายการของจิมมี คิมเมล ว่าตนค่อนข้างชอบเพนซ์ในเวลานั้น
เพนซืเคยนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเคยเป็นสมาชิกพรรคเดโมแครตเช่นเดียวกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว[9] เพนซ์ลงคะแนนให้กับจิมมี คาร์เตอร์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1980[10] แรงบันดาลใจในการเข้าสู่แวดวงการเมืองของเพนซ์คืออดีตประธานาธิบดีอย่างจอห์น เอฟ. เคนเนดี และ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ มุมมองทางการเมืองของเขาเริ่มเปลี่ยนไปในเวลาต่อมา โดยให้ความศรัทธาในความเป็นอนุรักษฺนิยมและการเมืองฝ่ายขวา โดยได้แรงบันดาลใจจากประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน[11]
อาชีพในช่วงแรก
[แก้]หลังจากสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยกฎหมายใน ค.ศ. 1986 เพนซ์เริ่มต้นเป็นทนายความอิสระใน ค.ศ. 1988 ต่อมา เพนซ์ลงสมัครชิงตำแหน่งสภาคองเกรสเพื่อต่อต้านฟิลิป ชาร์ป ผู้ดำรงตำแหน่งจากพรรคเดโมแครต แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เขาลงแข่งกับชาร์ปอีกครั้งในปี 1990 โดยลาออกจากงานเพื่อมาทำงานเต็มเวลาในแคมเปญนี้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกครั้ง[12] ในระหว่างการลงสมัครเพื่อแข่งขัน เพนซ์นำเงินบริจาคจากผู้สนับสนุนเพื่อชำระค่าจำนองบ้านของเขา รวมถึงบัตรเครดิตส่วนตัว และค่าธรรมเนียมเพื่อลงแข่งกอล์ฟและค่าใช้จ่ายทางรถยนต์ของภรรยา
ในระหว่างการหาเสียงใน ค.ศ. 1990 เพนซ์ได้ลงโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อเสียดสีชาร์ป ซึ่งเนื้อหามีนักแสดงคนหนึ่งสวมชุดคลุมและผ้าโพกศีรษะ และพูดด้วยสำเนียงตะวันออกกลางที่หนักแน่น กล่าวขอบคุณชาร์ป คู่ต่อสู้ของเขาที่ไม่ทำอะไรเลยเพื่อให้สหรัฐเลิกนำเข้าน้ำมันในฐานะประธานของคณะอนุกรรมการสภาด้านพลังงานและพลังงาน ซึ่งได้รับการวิจารณ์อย่างหนัก จนในเวลาต่อมาเขาต้องกล่าวขอโทษชาร์ปผ่านงานเขียนส่วนตัวในชื่อ "Confessions of a Negative Campaigner"
ไม่นานหลังเปิดตัวเพื่อลงชิงตำแหน่งใน ค.ศ. 1988 สถานีวิทยุ WRCR-FM ในรัชวิลล์ ได้ว่าจ้างเพนซ์ให้จัดรายการวิทยุประจำสัปดาห์ในชื่อ "Washington Update with Mike Pence" ในปี 1992 เพนซ์เริ่มจัดรายการทอล์คโชว์รายวันทาง WRCR, The Mike Pence Show นอกเหนือจากรายการวันเสาร์ทาง WNDE ในอินเดียแนโพลิส[13][14] เขากลายเป็นนักจัดรายการวิทยุและพิธีกรทอล์กโชว์ระหว่าง ค.ศ. 1994 ถึง ค.ศ. 1999[15] ตั้งแต่ปี 1995 เพนซ์ยังเป็นเจ้าภาพจัดรายการทีวีประชาสัมพันธ์สุดสัปดาห์ในชื่อ The Mike Pence Show ทางสถานีโทรทัศในอินเดียแนโพลิส[16] เพนซ์ยุติอาชีพทางรายการวิทยุเพื่อมุ่งเน้นไปที่การหาเสียงการรณรงค์หาเสียงเข้าสู่สภาคองเกรสในปี 2000 ซึ่งเขาได้รับชัยชนะในที่สุด
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2001–2013)
[แก้]เพนซ์ลงสมัครรับตำแหน่งสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาอีกครั้งใน ค.ศ. 2000 เขาได้รับที่นั่งในเขตรัฐสภาที่ 2 ของรัฐอินดีแอนา หลังจากที่เดวิด เอ็ม. แมคอินทอช ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาหกปี เลือกลงสมัครรับตำแหน่งผู้ว่าการรัฐอินเดียนาแทน เขตที่ 2 (เปลี่ยนชื่อเป็นเขตที่ 6 ใน ค.ศ. 2000) ประกอบด้วยทั้งหมดหรือบางส่วนของ 19 มณฑลในรัฐอินดีแอนาตะวันออก ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่ เพนซ์นำสโลแกนที่เขาใช้ในวิทยุ โดยบรรยายคุณสมบัติตนเองว่าเป็น "คริสเตียน อนุรักษ์นิยม และรีพับลิกัน ตามลำดับ"[17] ในปี 2016 ประธานสภาผู้แทนราษฎร พอล ไรอัน อธิบายว่าเพนซ์เป็น "ผู้มีหลักการอนุรักษ์นิยม"
ในช่วงแรก เพนซ์ต่อต้านร่างกฎหมาย No Child Left Behind Act ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช[18] เพนซ์ชนะการเลือกตั้งอีกสี่ครั้งด้วยคะแนนขาดลอยใน ค.ศ. 2006, 2008 และ 2010 เอาชนะคู่แข่งจากเดโมแครตอย่างแบร์รี เวลล์[19] ตั้งแต่ ค.ศ. 2005 เพนซ์ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการศึกษาของพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นกลุ่มพรรครีพับลิกันในสภาอนุรักษ์นิยม[20] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เพนซ์ได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมของพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำของพรรครีพับลิกันสูงสุดเป็นอันดับสามในขณะนั้น เป็นรองผู้นำเสียงข้างน้อยอย่าง จอห์น โบห์เนอร์ และเอริค คันทอร์ เขาเป็นตัวแทนคนแรกจากรัฐอินดีแอนาที่ดำรงตำแหน่งผู้นำสภาผู้แทนราษฎรนับตั้งแต่ปี 1981[21] ในช่วงสิบสองปีในการดำรงตำแหน่งของเพนซ์ในสภา เขาได้เสนอร่างกฎหมายกว่า 90 ฉบับแต่ไม่มีฉบับใดผ่านร่างกฎหมาย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Indiana Governor Signs Abortion Bill With Added Restrictions (www.nytimes.com, 24 March 2016)
- ↑ "Indiana business leaders embrace RFRA fix". Indy Star. April 2, 2015.
- ↑ "The Republic from Columbus, Indiana". Newspapers.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1988-04-14.
- ↑ "5 things to know about US Vice President Mike Pence - StarTribune.com". web.archive.org. 2017-04-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-18. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
- ↑ Neal, Andrea (2018-07-11). Pence: The Path to Power (ภาษาอังกฤษ). Indiana University Press. ISBN 978-1-68435-038-4.
- ↑ Mayer, Jane (2017-10-16). "The Danger of President Pence". The New Yorker (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0028-792X. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
- ↑ "Biography". web.archive.org. 2012-03-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
- ↑ Cook, Tony. "Is Gov. Mike Pence moving to the center amid talk of presidential run?". The Indianapolis Star (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Inside Washington: What You Didn't Know About Rep. Mike Pence of Indiana - US News and World Report". web.archive.org. 2010-02-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-17. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Eason, Brian. "Trump's VP: 11 things to know about Mike Pence". The Indianapolis Star (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Mike Pence explains how Ronald Reagan made him a Republican". Orange County Register (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-09-09.
- ↑ Sager, Ryan (2006). The elephant in the room : evangelicals, libertarians, and the battle to control the Republican Party. Internet Archive. Hoboken, N.J. : Wiley. ISBN 978-0-471-79332-8.
- ↑ Congressional Record (ภาษาอังกฤษ). U.S. Government Printing Office. 2009-07-07. ISBN 978-0-16-085707-2.
- ↑ "Mike Pence for Congress". web.archive.org. 2001-01-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
- ↑ "The Indianapolis Star from Indianapolis, Indiana". Newspapers.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1994-02-24.
- ↑ "The Arena: - Mike Pence Bio". web.archive.org. 2010-10-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-12. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Miller, Emily McFarlan (2020-08-24). "5 faith facts about Vice President Mike Pence: A 'born-again, evangelical Catholic'". Religion News Service (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "At first official event, Pence, Trump set sights on Clinton, vow to restore prosperity, safety to America". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-07-16.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-23. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
- ↑ Harris, Shane (2016-07-15). "Donald Trump and Mike Pence: Two Newbies, One Dangerous World". The Daily Beast (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
- ↑ "Indianapolis Politics/Government | Indianapolis Star | indystar.com". web.archive.org. 2015-01-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-29. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Governor Mike Pence official government site
- MikePence.com เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - official campaign site (now redirects to Donald Trump campaign website)
- ไมก์ เพนซ์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน
- Profile at Ballotpedia
ก่อนหน้า | ไมก์ เพนซ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โจ ไบเดิน | รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนที่ 48 (20 มกราคม ค.ศ. 2017 - 20 มกราคม ค.ศ. 2021) |
กมลา แฮร์ริส |