การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553
การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 | |
---|---|
ปล่องภูเขาไฟในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2010 | |
วันที่ | 20 มีนาคม – 23 มิถุนายน ค.ศ. 2010 |
ประเภท | การปะทุแบบสตรอมโบเลียน และวัลคาเนียน |
สถานที่ | ไอซ์แลนด์ 63°37′59″N 19°36′00″W / 63.633°N 19.6°W |
ระดับ | 4 |
ผลกระทบ | มีผลต่อการเดินทางกับอากาศยานอย่างมาก แต่มีผลต่อการเกษตรในไอซ์แลนด์เพียงเล็กน้อย |
แผนที่แสดงที่เมฆเถ้าภูเขาไฟในวันที่ 14–25 เมษายน ค.ศ. 2010 |
การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 เป็นชุดการระเบิดของภูเขาไฟซึ่งเกิดขึ้นที่เอยาฟยาตลาเยอคุตล์ ในประเทศไอซ์แลนด์ กิจกรรมแผ่นดินไหวได้เริ่มต้นขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 และนำไปสู่การปะทุของภูเขาไฟเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งมีการจัดดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ อยู่ที่ระดับ 1[1] การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553 และได้รบกวนการจราจรทางอากาศในทวีปยุโรปนับตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน เป็นต้นมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารนับล้านคน
ประวัติ
[แก้]ปลายปี พ.ศ. 2552 กิจกรรมแผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นรอบพื้นที่ภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ โดยมีแผ่นดินไหวขนาดย่อมหลายพันครั้ง (ส่วนใหญ่มีความรุนแรง 1-2 โมเมนต์-แมกนิจูด ลึกลงไป 7-10 กิโลเมตรใต้ภูเขาไฟ) [2] เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ชุดอุปกรณ์ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ซึ่งสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งไอซ์แลนด์ใช้ที่ทุ่งทอร์วัลต์เซรีในแถบเอยาฟเยิตล์ (ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 15 กิโลเมตรจากจุดที่มีการปะทุของภูเขาไฟครั้งล่าสุด[3]) ได้แสดงให้เห็นว่า เปลือกท้องถิ่นได้เคลื่อนไปทางทิศใต้ 3 เซนติเมตร โดยการเคลื่อน 1 เซนติเมตร ใช้เวลาภายใน 4 วัน ความผิดปกติของกิจกรรมแผ่นดินไหวครั้งนี้ประกอบกับการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของแผ่นเปลือกโลกในพื้นที่ได้ให้หลักฐานแก่นักธรณีฟิสิกส์ว่า หินหนืด (magma) จากใต้แผ่นเปลือกโลกกำลังไหลเข้าสู่กะเปาะหินหนืด (magma chamber) ใต้ภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์
กิจกรรมแผ่นดินไหวดังกล่าวยังได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และนับตั้งแต่วันที่ 3-5 มีนาคม ได้เกิดแผ่นดินไหวเกือบ 3,000 ครั้งซึ่งตรวจวัดได้ที่จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในภูเขาไฟ แผ่นดินไหวส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก (2 แมกนิจูด) จนไม่สามารถอ่านได้ว่าเป็นเครื่องแสดงถึงการปะทุของภูเขาไฟ แต่แผ่นดินไหวบางส่วนถูกตรวจพบได้ในเมืองใกล้เคียง[4] การปะทุคาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างเวลา 22.30 ถึง 23.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ห่างจากธารน้ำแข็งในเนินลาดทางเหนือของช่องเขาฟิมม์เวอร์ดูเฮาลส์ไปทางทิศตะวันออกในระยะไม่กี่กิโลเมตร[5][6]
การปะทุครั้งแรก: 20 มีนาคม
[แก้]การปะทุเกิดขึ้นทางตอนใต้ของไอซ์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ณ ระบบภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ รายงานการพบเห็นครั้งแรกเกิดขึ้นราว 23:00 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช โดยกลุ่มเมฆสีแดงถูกพบเห็นที่ภูเขาไฟ การปะทุเป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงและการเปลี่ยนลักษณะในอัตราสูงในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนหน้าการปะทุ ประกอบกับหินหนืดซึ่งเติมพลังให้กับภูเขาไฟ[7]
รอยแยก
[แก้]รอยแยกที่เกิดขึ้นมีความยาว 500 เมตรในแนวตะวันออกเฉียงเหนือไปยังตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีปล่องราว 10-12 ปล่องปล่อยลาวาซึ่งมีอุณหภูมิราว 1,000 องศาเซลเซียสพุ่งสูงขึ้นไปในอากาศกว่า 150 เมตร โดยลาวาเป็นหินบะซอลต์แอลคาไลโอลิวีน[8] ลาวาดังกล่าวค่อนข้างหนืด ทำให้การเคลื่อนของกระแสลาวาไปทางตะวันตกและตะวันออกของรอยแยกเกิดขึ้นได้ช้า การปะทุดังกล่าวจึงจัดเป็นการปะทุพ่น[9] รอยแยกแห่งใหม่เปิดออกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม โดยห่างจากรอยแยกแห่งแรกออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 200 เมตร มันมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย จากข้อมูลของนักธรณีฟิสิกส์ รอยแยกทั้งสองที่เกิดขึ้นนี้มาจากกะเปาะหินหนืดแห่งเดียวกัน ไม่มีกิจกรรมแผ่นดินไหวที่ผิดปกติเมื่อรอยแยกนี้ปรากฏขึ้น และไม่มีการขยายตัวของเปลือกโลกใด ๆ จากข้อมูลที่ได้จากเครื่องวัดการสั่นสะเทือนและเครื่องบันทึกจีพีเอสต่าง ๆ ซึ่งติดตั้งในพื้นที่ใกล้เคียง[10][11]
สถานีเรดาร์ของสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งไอซ์แลนด์ไม่ตรวจพบปริมาณเถ้าตกจากภูเขาไฟในปริมาณที่ตรวจวัดได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการปะทุ[12] อย่างไรก็ตาม ระหว่างคืนวันที่ 22 มีนาคม มีรายงานเถ้าตกในหมู่บ้านฟลีโยตส์ฮลีท (ห่างจากจุดที่เกิดการปะทุออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 20-25 กิโลเมตร) และเมืองควอลส์เวอตลูร์ (ห่างจากจุดที่เกิดการปะทุออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร) ทำให้ยานพาหนะต่าง ๆ ถูกปกคลุมด้วยชั้นเถ้าภูเขาไฟสีเทา ราว 7.00 น. ของวันที่ 22 มีนาคม การระเบิดครั้งหนึ่งได้ส่งพวยเถ้าถ่านสูงขึ้นไปในอากาศถึง 4 กิโลเมตร[13] เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 เกิดการปะทุไอน้ำขนาดเล็กขึ้น เมื่อหินหนืดร้อนออกมาสัมผัสกองหิมะซึ่งอยู่ใกล้เคียง ทำให้ปล่อยไอน้ำขึ้นไปถึงความสูง 7 กิโลเมตร และสามารถตรวจพบได้โดยเรดาร์ของสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งไอซ์แลนด์ นับตั้งแต่นั้นมา การปะทุไอน้ำก็ได้เกิดขึ้นอีกหลายครั้ง[14] และวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553 รอยแยกแห่งใหม่ก็ได้เปิดขึ้นบนภูเขาไฟ[15]
ผลกระทบต่อน้ำ
[แก้]เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 อุปกรณ์เครื่องวัดอัตราการไหลซึ่งตั้งอยู่ ณ แม่น้ำธารน้ำแข็งครอสเซาเริ่มต้นบันทึกการเพิ่มระดับของน้ำและอุณหภูมิของน้ำอย่างกะทันหัน โดยรวมแล้ว อุณหภูมิของน้ำเพิ่มขึ้น 6 องศาเซลเซียสในเวลาสองชั่วโมง ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ในแม่น้ำครอสเซานับตั้งแต่เริ่มมีการตรวจวัดเป็นต้นมา ไม่นานนักหลังจากนั้น ระดับน้ำก็กลับคืนสู่ระดับปกติและอุณหภูมิของน้ำก็เริ่มลดลงด้วยเช่นกัน[16] เชื่อกันว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำมีความเกี่ยวข้องกับการปะทุของภูเขาไฟที่อยู่ใกล้เคียง และส่งผลกระทบต่อบางส่วนของบริเวณลุ่มน้ำครอสเซา อุณหภูมิของแม่น้ำฮรูเนาซึ่งไหลผ่านหุบเขาฮรูเนาร์กิล อันเป็นบริเวณที่บางส่วนของสายลาวาได้ไหลลงไป ก็มีการบันทึกโดยนักธรณีวิทยาว่ามีอุณหภูมิระหว่าง 50-60 องศาเซลเซียส ซึ่งบ่งชี้ว่าแม่น้ำลดความร้อนของลาวาที่อยู่ในหุบเขานั้น[17]
การวิเคราะห์
[แก้]ตัวอย่างของเถ้าภูเขาไฟที่เก็บได้จากบริเวณใกล้พื้นที่การปะทุแสดงถึงซิลิกาเข้มข้นร้อยละ 58 ซึ่งสูงกว่าในกระแสลาวาที่ไหลออกมา[18] ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ละลายน้ำได้คิดเป็น 1 ใน 3 ของความเข้มข้นในการปะทุของภูเขาไฟเฮคลา โดยมีค่าเฉลี่ยของฟลูออไรด์อยู่ที่ 104 มิลลิกรัมต่อเถ้าหนึ่งกิโลกรัม เกษตรกรรมมีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้ของไอซ์แลนด์อย่างมาก[19] และเกษตรกรใกล้กับภูเขาไฟได้รับคำเตือนมิให้สัตว์เลี้ยงดื่มน้ำจากลำธารหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ[20] เพราะฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงสามารถส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อไตและตับในสัตว์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแกะ)[21]
การปะทุครั้งที่สอง: 14 เมษายน
[แก้]เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553 เอยาฟยาตลาเยอคุตล์ยังคงปะทุขึ้นอีกครั้งหลังจากหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง การปะทุครั้งนี้เกิดขึ้นที่ตรงกลางของธารน้ำแข็ง ทำให้อุทกภัยที่เกิดจากน้ำแข็งละลายไหลทะลักลงสู่แม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งอยู่ทั้งสองด้านของภูเขาไฟ และประชาชน 800 คนต้องถูกอพยพจากพื้นที่ ถนนตามแม่น้ำมาร์คาร์ปลีโยตถูกทำลายในหลายพื้นที่[22]
ไม่เหมือนกับการปะทุครั้งก่อนหน้า การปะทุครั้งที่สองเกิดขึ้นที่ใต้น้ำแข็งของธารน้ำแข็ง น้ำเย็นซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งได้ทำให้ลาวาเย็นลงอย่างรวดเร็วและทำให้ลาวาที่แข็งตัวนั้นแตกกลายเป็นแก้ว ทำให้เกิดอนุภาคแก้วขนาดเล็กซึ่งถูกนำพาไปในพวยเถ้าถ่าน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็ทำให้สายการบินที่ออกจากยุโรปและเข้ามายุโรปต้องปิดลงหลายวัน ประกอบกับขนาดของการปะทุ ซึ่งคาดกันว่ามีขนาดเป็น 10-20 เท่า ของการปะทุที่ฟิมม์เวอร์ดูเฮาลส์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ส่งผลให้เกิดพวยเถ้าถ่านซึ่งมีแก้วเจือปนในปริมาณสูงตกค้างในชั้นบรรยากาศระดับสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่ออากาศยาน[23]
ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553 การปะทุยังคงดำเนินต่อไป แต่การระเบิดลดลง โดยพวยเถ้าถ่านพุ่งขึ้นสูงขึ้นไปในอากาศ 5 กิโลเมตร ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ 13 กิโลเมตร ของการปะทุครั้งที่ผ่านมา และไม่ขึ้นไปสูงพอที่ลมจะพัดพาไปทั่วทวีปยุโรป[24]
กลับสู่ภาวะสงบ
[แก้]ในเช้าวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 มุมมองจากกล้องเว็บแคมที่ติดตั้งบนเนินโทโรลฟ์สเฟตล์ (Þórólfsfell)[25] แสดงให้เห็นเพียงกลุ่มไอน้ำล้อมรอบด้วยหมอกควันสีฟ้าที่เกิดจากการปล่อยก๊าซกำมะถัน เนื่องจากมีเถ้าภูเขาไฟแห้งจำนวนมากบนพื้นดิน ลมพื้นผิวจึงพัดพา "ละอองเถ้า" ฟุ้งขึ้นบ่อย ๆ ซึ่งทำให้ทัศนวิสัยลดลงอย่างมาก และทำให้การสังเกตการณ์ภูเขาไฟด้วยกล้องเว็บแคมเป็นไปไม่ได้[26]
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ข้อมูลจากเครื่องบันทึกคลื่นไหวสะเทือนในพื้นที่ระบุว่าความถี่และความแรงของการสั่นสะเทือนของแผ่นดินลดลง แต่ยังคงดำเนินต่อไป[27]
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 อาร์มันน์ เฮิสกืล์ดซอน (Ármann Höskuldsson) นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์โลกแห่งมหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ ระบุว่า การปะทุสิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ แม้ว่าบริเวณดังกล่าวจะยังมีความร้อนใต้พิภพอยู่ และอาจมีการปะทุขึ้นอีกครั้ง[28]
ผลกระทบ
[แก้]ผลกระทบของพวยเถ้าถ่านต่อการจราจรทางอากาศ
[แก้]เถ้าภูเขาไฟเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่ออากาศยาน[29] ตำแหน่งของพวยเถ้าถ่านในปัจจุบันขึ้นอยู่กับสภาพของการปะทุและลม
การจราจรทางอากาศได้รับผลกระทบอย่างหนักภายหลังการปะทุครั้งที่สอง ในขณะที่เถ้าภูเขาไฟบางส่วนได้ตกลงสู่พื้นที่ซึ่งไม่มีคนอาศัยอยู่ของไอซ์แลนด์ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพัดพาไปโดยลมตะวันตก อันส่งผลให้มีการปิดนานฟ้าบริเวณกว้างขวางในทวีปยุโรป ควันและเถ้าจากการปะทุลดทัศนวิสัยของการนำทางด้วยภาพ และกองเศษหินซึ่งเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นในเถ้าสามารถหลอมละลายในเครื่องยนต์หลอดของอากาศยาน ทำให้เครื่องยต์เสียหายและต้องปิดลง[23][29]
ผลกระทบระยะสั้นและระยะยาว ต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Institute of Earth Sciences. ""Eruption in Eyjafjallajökull"". University of Iceland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2010.
- ↑ Veðurstofa Íslands (5 มีนาคม 2010) "Jarðskjálftahrina undir Eyjafjallajökli". Veðurstofa Ísland (The Meteorological Institute of Iceland).
- ↑ Measurements made by using maps and measurement tools from Fasteignaskrá Íslandskort "Fasteignaskrá measurement tools". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2010.
- ↑ "Fyrsta háskastigi lýst yfir". Morgunblaðið.
- ↑ "Eldgosið á Fimmvörðuhálsi".
- ↑ Volcano Erupts Under Eyjafjallajökull Reykjavík Grapevine, 21 มีนาคม 2010
- ↑ Institute of Earth Sciences. Eruption in Eyjafjallajökull 20 March to present.
- ↑ Institute of Earth Sciences. Eruption in Eyjafjallajökull เก็บถาวร 30 มีนาคม 2010 ที่ National and University Library of Iceland.
- ↑ "Gossprungan um 1 km að lengd". Morgunblaðið.
- ↑ Veðurstofa Íslands "Ný gossprunga – skráð 01.04.2010 kl. 10:00". Veðurstofa Íslands (Icelandic Meteorological Office). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2010.
- ↑ Morgunblaðið 1. เมษายน "Vel gekk að rýma gossvæðið". Morgunblaðið.
- ↑ "Eldgos í Eyjafjallajökli".
- ↑ "Tímabundinn kraftur í gosinu". Morgunblaðið.
- ↑ Ríkisútvarpið fréttavefur "Krafturinn ekki aukist". RÚV.
- ↑ Tom Robbins. "Iceland's erupting volcano | Travel". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2010.
- ↑ Meteorological Institute of Iceland: Eruption in Fimmvörðuháls mountain pass "Elsdgosið í Fimmvörðuhálsi". Veðurstofa Ísland.
- ↑ Morgunblaðið 29. มีนาคม "Mikill hiti í Hruná". Morgunblaðið.
- ↑ "Eruption in Eyjafjallajökull". Institute of Earth Sciences, University of Iceland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2010.
- ↑ A report in Icelandic: Landbúnaður skiptir máli (transl. "Agriculture matters") says that 28% of the total workforce in agriculture are scattered throughout Southern Iceland. "Landbúnaður skiptir máli". Bændasamtök Íslands. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2010.
- ↑ Morgunblaðið 23. มีนาคม 2010 "Ekki mikið af flúor í öskunni". Morgunblaðið.
- ↑ "Experimental Acute Sodium Fluoride Poisoning in Sheep: Renal, Hepatic, and Metabolic Effects". M. KESSABI, A. HAMLIRI, J. P. BRAUN and A. G. RICO: Département de Toxicologie, Pharmacie et Biochimie, Institut Agronomique et Vétérinaire Hassan II B.P. 6202, Rabat-Agdal, Maroc {dagger}Département de Biochimie et Biophysique, École Nationale Vétérinaire 23, chemin des Capelles, 31076 Toulouse, France. 1985.
- ↑ Robert Barr (15 เมษายน 2010). "Iceland's volcanic ash halts flights in northern Europe". BBC News. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2023.
- ↑ 23.0 23.1 "Iceland's volcanic ash halts flights across Europe | World news | guardian.co.uk". Guardian. 23 มกราคม 2008. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2010.
- ↑ Robert Booth, Dan Milmo, et. al. "Volcanic ash keeps flights across Europe grounded เก็บถาวร 2010-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Guardian, 16 เมษายน 2010
- ↑ "Eyjafjallajökull frá Hvolsvelli". eldgos.mila.is. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 เมษายน 2010.
- ↑ "Articles < Seismicity < Icelandic Meteorological office". En.vedur.is. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2010.
- ↑ "University of Iceland reports and scientists' quotes". Earthice.hi.is. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2010.
- ↑ "Eruption in Iceland's Eyjafjallajökull Over". Iceland Review Online. 27 ตุลาคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2010.
- ↑ 29.0 29.1 C. M. Riley, "Tephra " Michigan Technological University Geological & Mining, Engineering & Sciences, สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Frequently Asked Question on the Eruption in Iceland – from the Icelandic Met Office
- Current seismographic activity around Eyjafjallajökull and Mýrdalsjökull
- Description of beginning of ongoing eruption, Meteorologic Institute of Iceland
- Information about eruption on Eyjafjallajökull: เก็บถาวร 30 มีนาคม 2010 ที่ National and University Library of Iceland University of Iceland
- Satellite evidence of hot lava flows from an Icelandic volcano (CIMSS Satellite Blog)
- Volcanic Ash and Aviation Safety – SKYbrary guidance to pilots and controllers concerning the effects of volcanic ash.
- In pictures เก็บถาวร 22 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- A short time-lapse from April 17, 2010. About 30 minutes played in 18 second.
- Eruptions in Iceland! เก็บถาวร 20 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – slideshow by Life magazine
- Collection of Scientific Earth Observations and Models
- Volcanoes in European history – Podcast placing the Eyjafjallajökull eruption in a historical perspective.
- UK Met Office เก็บถาวร 29 ธันวาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- NASA เก็บถาวร 2012-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NASA Earth Observatory
- NERI/AU – Denmark เก็บถาวร 19 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- EUMETSAT Products เก็บถาวร 22 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- NOAA เก็บถาวร 22 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน