ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน
ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (อังกฤษ: hydrofluorocarbons, ย่อ: HFC) เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีอะตอมฟลูออรีนและไฮโดรเจน และเป็นสารประกอบออแกโนฟลูออรีนชนิดที่พบบ่อยที่สุด มักใช้ในการปรับอากาศและเป็นสารหล่อเย็นแทนสารกลุ่มคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่มีอายุมากกว่า เช่น อาร์-12 และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนอย่างอาร์-21[1] สารดังกล่าวเป็นอันตรายต่อชั้นโอโซนน้อยกว่าสารที่มันใช้ทดแทน แต่ยังมีส่วนให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่ โดยมีศักยะภาวะโลกร้อนหลายพันเท่าเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์[2] ความเข้มข้นในบรรยากาศและการมีส่วนต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจกฝีมือมนุษย์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความกังวลระหว่างประเทศเกี่ยวกับแรงปล่อยรังสีของมัน
ฟลูออโรคาร์บอนที่มีพันธะ C–F น้อยประพฤติตนเหมือนกับไฮโดรคาร์บอนตั้งต้น แต่ความไวปฏิกิริยาของมันสามารถเปลี่ยนได้มาก ตัวอย่างเช่น ทั้งยูราซิลและ 5-ฟลูออโรยูราซิลมีคุณสมบัติไร้สี เป็นของแข็งผลึกมีอุณหภูมิหลอมเหลวสูงทั้งคู่ แต่สารชนิดหลังเป็นยาต้านมะเร็งที่มีฤทธิ์แรง การใช้พันธะ C-F ในเภสัชวิทยาตั้งอยู่บนความไวปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้[3] ยาและสารเคมีเกษตรหลายชนิดมีแกนกลางเป็นฟลูออรีนหนึ่งอะตอมหรือหมู่ไตรฟลูออโรเมทิลหนึ่งหมู่
ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนรวมอยู่ในการเจรจาระหว่างประเทศแยกต่างหากจากแก๊สเรือนกระจกอื่นในความตกลงปารีส[4]
ในเดือนกันยายน 2559 ปฏิญญานิวยอร์กว่าด้วยป่ากระตุ้นให้ลดการใช้ HFCs ทั่วโลก[5] ในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 เนื่องจากการมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสารเคมีเหล่านี้ นักเจรจาจาก 197 ประเทศประชุมกันที่การประชุมสุดยอดของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติในกรุงคิกาลี ประเทศรวันดา บรรลุข้อตกลงที่มีผลผูกพันตามกฎหมายเพื่อลดการใช้ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนในการแก้ไขเพิ่มเติมพิธีสารมอนทรีออล[6][7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Milman, Oliver (22 September 2016). "100 countries push to phase out potentially disastrous greenhouse gas". The Guardian. London, UK. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
- ↑ US EPA, OAR (2016-01-12). "Understanding Global Warming Potentials". US EPA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-06.
- ↑ G. Siegemund, W. Schwertfeger, A. Feiring, B. Smart, F. Behr, H. Vogel, B. McKusick "Fluorine Compounds, Organic" in "Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry" 2005, Wiley-VCH, Weinheim. doi:10.1002/14356007.a11_349
- ↑ Davenport, Carol (23 July 2016). "A Sequel to the Paris Climate Accord Takes Shape in Vienna". New York Times. สืบค้นเมื่อ 17 August 2016.
- ↑ "The New York Declaration of the Coalition to Secure an Ambitious HFC Amendment". Washington, DC: US Department of State. 22 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
- ↑ Johnston, Chris; Milman, Oliver; Vidal, John (15 October 2016). "Climate change: global deal reached to limit use of hydrofluorocarbons". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
- ↑ "Climate change: 'Monumental' deal to cut HFCs, fastest growing greenhouse gases". BBC News. 15 October 2016. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
- ↑ "Nations, Fighting Powerful Refrigerant That Warms Planet, Reach Landmark Deal". New York Times. 15 October 2016. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.