ไอวาวทูดี มายคันทรี
ไอวาวทูดี มายคันทรี (อังกฤษ: I Vow to Thee, My Country แปลตามตัวอักษร ข้าขอปฏิญาณแก่เจ้า ประเทศของข้า; IPA: /aɪ vaʊ ðiː, maɪ ˈkʌn.tri/) เป็นเพลงปลุกใจรักชาติของอังกฤษ ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1921 โดยนำโคลงของเซอร์ เซซิล สปริงค์-ไรซ์ ผูกเข้ากับดนตรี Thaxted ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเพลง Jupiter ในชุด เดอะ พลาเนตส์ ประพันธ์โดยกุสตาฟ โฮลส์
ประวัติ
[แก้]ต้นฉบับของเพลงนี้เป็นโคลงประพันธ์โดยนักการทูต Cecil Spring-Rice ซึ่งเขียนขึ้นใน ค.ศ. 1908 ระหว่างประจำอยู่ในสถานทูตอังกฤษประจำกรุงสต็อกโฮล์ม ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า Urbs Dei หรือ The Two Fatherlands โคลงนี้กล่าวถึงการที่คริสเตียนมีความภักต่อทั้งถิ่นกำเนิดและดินแดนของพระเจ้า เนื้อเพลงส่วนหนึ่งนำมาจากคำขวัญประจำตระกูล Spring family ซึ่ง Spring-Rice เป็นลูกหลาน[1] ท่อนแรกของโครงนี้มีจุดยืนชาตินิยมอย่างยิ่งยวด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ใน ค.ศ. 1912 Spring-Rice เป็นเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำสหรัฐอเมริกา ซึ่งพลักดันให้รัฐบาลของประธานาธิบวูดโรว์ วิลสัน เลิกล้มนโยบายเป็นกลาง หันมาเข้าร่วมกับอังกฤษในสงครามต่อต้านจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากอเมริกาเข้าร่วมสงคราม Spring-Rice ถูกเรียกกลับอังกฤษ ก่อนที่เขาจะเดินทางออกจากสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1918 ก็ได้แก้ไขโคลง Urbs Dei เสียใหม่โดยเฉพาะในท่อนที่หนึ่งซึ่งเน้นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่อังกฤษประสบในปีที่ผ่านมา
ท่อนที่สองที่ไม่นิยมร้องกันนั้น หมายถึงสหราชอาณาจักรและโดยเฉพาะการเสียสละของผู้ตายในสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนท่อนสุดท้ายที่ขึ้นว่า "And there's another country" เป็นการกล่าวถึงสวรรค์ โดยบรรทัดสุดท้ายได้นำมาจาก Proverbs 3:17 ซึ่งปรากฏใน King James Bible, "Her ways are ways of pleasantness, and all her paths are peace."
เนื้อเพลง
[แก้]ในปัจจุบันเนื้อเพลงท่อนที่ 2 ไม่ได้รับการใช้อีกต่อไปแล้ว[2]
- I vow to thee, my country, all earthly things above,
- Entire and whole and perfect, the service of my love;
- The love that asks no question, the love that stands the test,
- That lays upon the altar the dearest and the best;
- The love that never falters, the love that pays the price,
- The love that makes undaunted the final sacrifice.
- I heard my country calling, away across the sea,
- Across the waste of waters she calls and calls to me.
- Her sword is girded at her side, her helmet on her head,
- And round her feet are lying the dying and the dead.
- I hear the noise of battle, the thunder of her guns,
- I haste to thee my mother, a son among thy sons.
- And there's another country, I've heard of long ago,
- Most dear to them that love her, most great to them that know;
- We may not count her armies, we may not see her King;
- Her fortress is a faithful heart, her pride is suffering;
- And soul by soul and silently her shining bounds increase,
- And her ways are ways of gentleness, and all her paths are peace.
คำร้องภาษาไทย
[แก้]คำร้องภาษาไทย โดย เรียวจันทร์ ยามาคีตะ แปลและเรียบเรียงจากคำร้องต้นฉบับภาษาอังกฤษ ท่อนที่ 1 และท่อนที่ 3[3] ในการแปลให้ชื่อบทเพลงภาษาไทยว่า "ข้าขอปฏิญาณต่อบ้านเกิด" โดยเลือกใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายว่าด้วยอุดมคติเรื่องความรักชาติ รักผืนแผ่นดินไทย และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ อันจะนำไปสู่สันติสุขในการอยู่ร่วมกัน
"ข้าขอปฏิญาณต่อบ้านเกิด" (I Vow to Thee, My Country)
ข้าขอให้คำสัตย์ปฏิญาณดวงมานมั่นรักภักดี
ต่อพื้นดินแดนแผ่นปฐพีที่เอื้อชีวีนิวาส
รักชาติไม่อาจผันเป็นอื่น ทุกวันคืนหยัดยืนยิ่งนัก
ด้วยรักจึงขอมอบสิ่งดีที่สุดดุจดังตั้งใจ
ด้วยรักที่ไม่หยุดยั้งรั้งรอขอเพียงเพื่ออุทิศให้
ด้วยรักที่ไม่หวั่นเกรงสิ่งใดแม้ชีพวางวายหมายพลี
แผ่นดินทองเรืองรองใฝ่ปองพระธรรมน้อมนำแนบเนาเนิ่นนาน
เกียรติไพศาลบ้านเมืองเกิดเทิดทูนรักขอพักพิงตราบสิ้นใจ
แม้ไม่อาจนับกองทัพเกรียงไกร แม้ไม่ได้ยลองค์ราชา
จะอาจหาญป้อมปราการคือสัตย์ซื่อ ภูมิใจได้ชื่อว่าไทย
จะรวมใจทุกดวงหล่อหลอมละลายกลายกลืนผืนดินเดียวกัน
จะผูกพันสรรค์สร้างเส้นทางทุกสายหมายมั่นสันติภาพเทอญ
การใช้ร่วมสมัย
[แก้]- ปัจจุบันเป็นเพลงชาติของบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี
- ประเทศในเครือจักรภพแห่งชาติจะใช้เพลงนี้ในวัน Remembrance Day [4]
- ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ โปรดให้บรรเลงเพลงนี้ในงานอภิเษกสมรสของพระองค์เมื่อ ค.ศ. 1981 โดยตรัสว่า "เป็นเพลงโปรดตั้งแต่สมัยเรียน" เพลงนี้ยังบรรเลงต่อมาในพระราชพิธีศพ ใน ค.ศ. 1997 และวันครบรอบการสิ้นพระชนม์ ใน ค.ศ. 2007[5] และบันทึกอยู่ใน BBC Recording of the Funeral Service
- เพลงนี้ใช้ในพิธีเปิดพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012
ในสื่อ
[แก้]- เพลงนี้เป็นเพลงประจำรายการหนึ่งในพระราชดำริ[6]ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Cecil Spring Rice: A Diplomat's Life - David Henry Burton - Google Books". Books.google.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2012-09-11.
- ↑ เพลงไอวาวทูดี มายคันทรี บน Youtube
- ↑ "ข้าขอปฏิญาณต่อบ้านเกิด" - I Vow to Thee, My Country (Thai Version) | Official MV
- ↑ "The sound of silence". BBC News. 2005-11-14. สืบค้นเมื่อ 2007-04-20.
- ↑ "I vow to thee, my Country". 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 2012-10-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- I Vow to Thee, My Country at CyberHymnal เก็บถาวร 2012-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- I Vow to Thee, My Country at anthem4england.co.uk เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน