ไวยากรณ์ภาษาฮังการี
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/98/Orsz%C3%A1gh%C3%A1z_Margit_h%C3%ADd_Budapest_2013.jpg/220px-Orsz%C3%A1gh%C3%A1z_Margit_h%C3%ADd_Budapest_2013.jpg)
ไวยากรณ์ภาษาฮังการี (ฮังการี: magyar nyelvtan) เป็นไวยากรณ์ของภาษาฮังการี ภาษาในตระกูลฟินโน-อูกริกที่มีผู้ใช้ส่วนใหญ่ในประเทศฮังการีและประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 7 ประเทศ (ในเขตแดนของราชอาณาจักรฮังการีที่ถูกแบ่งหลังสนธิสัญญาทรียานงเมื่อปี ค.ศ. 1920)
ภาษาฮังการีเป็นภาษาคำติดต่อ (agglutinative language, ฮังการี: agglutináló nyelv ออกลูตินาโล่ แญลฟ) เป็นภาษาที่ใช้หน่วยคำเติม (affix, ฮังการี: toldalék โตลดอเลค) จำนวนมาก โดยเฉพาะหน่วยคำเติมท้าย (suffix, ฮังการี: ragozás รอโกซาช) หลังคำแต่ละคำในประโยค เพื่อเปลี่ยนความหมายของคำ รวมถึงใช้แสดงให้เห็นว่าคำคำนั้นมีหน้าที่ทางไวยากรณ์ใดในประโยค (เช่น เป็นประธาน, เป็นกรรม)
หน่วยคำเติมท้าย (suffix) ในภาษาฮังการี สามารถเปลี่ยนรูปไปได้หลายแบบเพื่อความไพเราะและความสะดวกในการออกเสียงตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ (vowel harmony, ฮังการี: magánhangzó-harmónia) ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการพูดภาษาฮังการี
คำกริยา (verbs, ฮังการี: ige อิแก) ในภาษาฮังการี สามารถใช้วางหน่วยคำเติม (affix) ไว้ด้านหน้าหรือด้านหลัง เพื่อเปลี่ยนความหมายของคำกริยาได้ ซึ่งจะแสดงความชี้เฉพาะ (definiteness) ว่าเป็นคำกริยาที่เจาะจงการกระทำไปที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งเป็นพิเศษ หรือ ไม่ได้มีการเจาะจงว่าต้องเป็นวัตถุชิ้นนั้น ๆ เช่น Veszek egy tollat. ฉันซื้อปากกาด้ามหนึ่ง หรือ Veszem a tollat. ฉันซื้อปากกาด้ามนั้น, มีการแสดงกาล (tense, ฮังการี: igeidő) ว่ากริยานี้เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต, แสดงบุรุษ (person, ฮังการี: személy แซเมย) ว่าคำกริยานั้นใครคือเป็นประธาน (ฉัน เธอ เขา พวกฉัน พวกเธอ พวกเขา), แสดงมาลา (mood) ของคำกริยานั้น ๆ และแสดงพจน์หรือจำนวน (number, ฮังการี: szám) ได้
คำนาม (nouns, ฮังการี: főnév เฟอเนฟ) ในภาษาฮังการีสามารถผันโดยใช้หน่วยคำเติมท้าย (suffix) แสดงการก (case, ฮังการี: eset แอแชต) ทั้งหมด 18 หน่วยคำ เช่น -t หลังคำ แล้วคำนามนั้นกลายเป็นกรรม เช่น A házat megveszi. เขาซื้อบ้านหลังนั้น หรือ -ba/-be หลังคำ แสดงให้เห็นว่ามีการเคลื่อนไหวเข้าไปในสิ่งของหรือสถานที่ เช่น A házba megyek. ฉันเข้าไปในบ้าน
รูปแบบการเรียงลำดับคำในประโยคของภาษาฮังการีนั้นไม่ได้มีการจำกัดไว้อย่างตายตัว เหมือนอย่างภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ที่มีโครงสร้างแบบประธาน-กริยา-กรรม โดยไม่สามารถสลับ "ประธาน–กริยา–กรรม" ในประโยคได้ แต่ภาษาฮังการี สามารถเรียงประโยคได้อย่างค่อนข้างอิสระ วาง "ประธาน–กริยา–กรรม" สลับกันได้ ภาษาฮังการีเป็นภาษาเน้นหัวข้อ (topic-prominent language, ฮังการี: téma-kiemelkedő nyelv) กล่าวคือ การเรียงลำดับคำในประโยคภาษาฮังการีจะเน้นไปที่หัวข้อ (topic) ในประโยคที่ผู้พูดอยากให้ความสำคัญในการสื่อสารเป็นหลัก การเรียงประโยคต่างกันก็จะมีการเน้นความสำคัญกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารต่างกันไป
ลำดับคำ
[แก้]ประโยคภาษาฮังการีที่เป็นกลาง (ประโยคแบบที่ไม่มีการเน้นความสำคัญ (โฟกัส) สิ่งใดในประโยคเลย) จะมีลำดับคำแบบ "ประธาน–กริยา–กรรม" เหมือนภาษาไทย
ประโยคภาษาฮังการีสามารถสลับที่คำในประโยคไปมาได้ และเป็นภาษาที่ไม่จำเป็นต้องระบุหัวเรื่องอย่างชัดเจน ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการเรียงตามที่หลักภาษากำหนด แต่จะมีการเรียงตามลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องการพูดในประโยคแทน
โดยจะวางคำที่ต้องการให้เป็นจุดสำคัญของประโยคไว้หน้าคำกริยาแท้ (finite verb, ฮังการี: ragozott ige รอโกโซท อิแก) ตามตารางด้านล่าง
ประโยคฮังการีมักจะแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ หัวข้อ (topic, ฮังการี: topic), จุดสำคัญ (focus, ฮังการี: fókusz), คำกริยา (verb, ฮังการี: ige) และข้อความส่วนที่เหลือ (ฮังการี: egyéb) แต่ก็ไม่จำเป็นว่าในทุกประโยคจะต้องมีครบทั้งสี่อย่าง ในหนึ่งประโยค หัวข้อและข้อความส่วนที่เหลือจะมีกี่วลีก็ได้ แต่จุดสำคัญ สามารถมีได้เพียง 1 วลีเท่านั้น
การเน้นความสำคัญของคำในประโยค
[แก้]ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นสมบัติการเรียงคำแบบสลับกันไปมาในประโยคภาษาฮังการี เพื่อเน้นความสำคัญของสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อในภาษาฮังการี โดยประโยคด้านล่างมาจากประโยคที่เป็นกลางว่า János tegnap elvitt két könyvet Péternek. ("ยาโนชเอาหนังสือ 2 เล่มไปให้เปแตร์เมื่อวาน") ประโยคนี้มีวลีหลัก ๆ อยู่ 4 วลี ได้แก่ János ("ยาโนช" เป็นชื่อบุคคลชาย), Péternek ("เปแตร์" เป็นชื่อบุคคลชาย; -nak/-nek คือหน่วยคำเติมท้ายที่แสดงว่าเป็นผู้ที่ประธาน (ยาโนช) เอาสิ่งของให้"), két könyvet ("หนังสือ 2 เล่ม"; ตัว -et ข้างหลังหมายความว่าหนังสือ 2 เล่มนี้เป็นกรรม) และ tegnap ("เมื่อวาน")
หัวข้อ (topik) | จุดสำคัญ (fókusz) | คำกริยา (ige) | ข้อความส่วนที่เหลือ (egyéb) | ความหมายพิเศษที่แฝงไว้ในประโยค | |
---|---|---|---|---|---|
János | tegnap | ∅ | elvitt | két könyvet Péternek. | ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ (กิจกรรมนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วและไม่มีการเน้นอะไรในประโยคเป็นพิเศษ) |
János | tegnap | két könyvet | vitt el | Péternek. | สิ่งที่ยาโนชเอาไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้คือ หนังสือ 2 เล่ม โดยเน้นว่าสิ่งที่เอาไปให้คือหนังสือ 2 เล่มจริง ๆ |
János | ∅ | tegnap | vitt el | két könyvet Péternek. | เมื่อวานนี้ คือเวลาที่ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์ |
∅ | ∅ | János | vitt el | tegnap két könyvet Péternek. | ยาโนช คือคนที่เอาหนังสือไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ |
∅ | ∅ | Péternek | vitt el | tegnap János két könyvet. | เปแตร์ คือคนที่ยาโนชเอาหนังสือไปให้เมื่อวานนี้ |
János | tegnap | Péternek | vitt el | két könyvet. | เมื่อวานนี้ยาโนชหยิบหนังสือสองเล่มมาให้กับเปแตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้เอาไปให้ใครอื่น |
∅ | ∅ | ∅ | Elvitt | János tegnap két könyvet Péternek. | ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ (การดำเนินการเสร็จสิ้นและตอนนี้หนังสืออยู่ที่บ้านของเปแตร์แล้ว) |
Két könyvet | tegnap | ∅ | elvitt | János Péternek. | ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์ (บางทีอาจเอาของอย่างอื่นไปให้เขาด้วย อย่างไรก็ตามหนังสือทั้งสองเล่มอาจไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด ตัวอย่างเช่น ยาโนชอาจทิ้งเอกสารของเปแตร์ไว้ที่บ้าน) |
∅ | ∅ | Két könyvet | vitt el | János tegnap Péternek. | ยาโนชเอาเพียงหนังสือ 2 เล่มไปให้เปแตร์ โดยไม่ได้เอาอย่างอื่นไปให้ด้วย |
ถ้าในประโยคใดมีจุดสำคัญปรากฏอยู่ หน่วยคำเติมหน้า (prefix) ที่อยู่หน้าคำกริยา เช่น el ใน elvitt จะย้ายไปอยู่ด้านหลังคำกริยาแทน กล่าวคือ พูดหรือเขียนเป็น vitt el แทนที่จะเป็น elvitt นับเป็นคุณสมบัติของภาษาฮังการีโดยเฉพาะ ปัญหาก็คือว่า ในกรณีประโยคนั้นใช้คำกริยาที่ไม่มีหน่วยคำเติมหน้า หากมีคำคำหนึ่งเรียงอยู่หน้าคำกริยา ก็จะเกิดความกำกวมว่าคำคำนั้นเป็นหัวข้อหรือเป็นจุดสำคัญ เช่นในประโยค Éva szereti a virágokat. ("เอวอชอบดอกไม้") คำว่า Éva ("เอวอ" เป็นชื่อบุคคลหญิง) อาจเป็นหัวข้อของประโยค และประโยคนี้เป็นประโยคแบบไม่มีจุดสำคัญ หรือคำว่า Éva อาจเป็นจุดสำคัญของประโยคซึ่งเน้นประโยคนี้ว่า "เอวอคือคนที่ชอบดอกไม้ (และไม่ใช่คนอื่น)"
ประโยค | การตีความ |
---|---|
Éva szereti a virágokat. | เอวอชอบดอกไม้ |
Szereti Éva a virágokat. | เอวอชอบดอกไม้ (ถึงแม้คนอื่นอาจจะไม่คิดแบบนั้นก็ตาม) |
Éva szereti a virágokat. | เอวอชอบดอกไม้ (และไม่ใช่คนอื่นที่ชอบดอกไม้) |
Éva a virágokat szereti. | เอวอชอบดอกไม้ (และไม่ใช่อย่างอื่น) |
A virágokat Éva szereti. | คนที่ชอบดอกไม้ก็คือเอวอ (ไม่ใช่คนอื่น ส่วนคนอื่นอาจจะชอบอย่างอื่น) |
A virágokat szereti Éva. | สิ่งที่เอวอชอบคือดอกไม้ (และไม่ชอบอย่างอื่นแล้ว) |
ระบบหน่วยคำ
[แก้]ภาษาฮังการีเป็นภาษาคำติดต่อ ข้อมูลต่าง ๆ ในภาษาฮังการีนั้นเกือบทั้งหมดจะใช้หน่วยคำเติมท้ายในการบอกเล่า เช่น "อยู่บนโต๊ะ" = asztalon (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกว่าอยู่ข้างบน), เมื่อ 5 โมง = öt órakor (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกเวลา ว่ากี่โมง) เป็นต้น แต่ก็ยังมีหน่วยคำเติมหน้าอยู่ 1 หน่วยคำ คือ leg- ซึ่งใช้บ่งบอกว่าสิ่งนี้คือที่สุด (superlative) เช่น legszebb สวยที่สุด (แลกแซบบ์)
หน่วยคำเติมท้ายคำนาม 18 ตัว
[แก้]คำเรียกในภาษาไทย | คำเรียกในภาษาฮังการี | ตัวอย่าง: ember แอมแบร์ คน/มนุษย์ | ตัวอย่างสถานการณ์ที่ใช้ | |
ประธาน | nominativus (alanyeset) | ember | ||
กรรม | accusativus (tárgyeset) | embert | ||
ของ, สำหรับ | dativus (részes eset) | embernek | ||
กับ, ด้วย | instrumentalis-comitativus | emberrel(-vel) | (eszköz เครื่องมือ, társ คนที่อยู่ด้วย) | |
เพื่อ, แด่ | causalis-finalis | emberért | (milyen okból?, milyen célból?) | |
เปลี่ยนเป็น | translativus(-factivus) | emberré(-vé) | (változtató eset การเปลี่ยนแปลงกลายเป็นอะไรบางอย่าง, eredmény ผลลัพท์) | |
ข้างใน | inessivus | emberben | (hely:
hol? kérdésre อยู่ที่ไหน?) |
(a belsejében) |
่ข้างบน | superessivus | emberen | (a felszínén) | |
ที่ใกล้ ๆ | adessivus | embernél | (a közelében) | |
เข้าไปข้างใน | illativus | emberbe | (irány:
hová? kérdésre ไปไหน?) |
(a belsejébe) |
ขึ้นไปข้างบน | sublativus | emberre | (a felszínére) | |
เข้าไปหา | allativus | emberhez | (a közelébe) | |
ออกมาจากข้างใน | elativus | emberből | (irány:
honnan? kérdésre มาจากไหน?) |
(a belsejéből) |
จากข้างบน หรือ เกี่ยวกับ | delativus | emberről | (a felszínéről) | |
จากตรงนั้น | ablativus | embertől | (a közeléből) | |
ถึง (เช่น จากเชียงใหม่ถึงกรุงเทพ Csiangmajtól Bangkokig) | terminativus | emberig | (irány: hová? meddig? kérdésre ถึงที่ไหน? ถึงเมื่อไหร่?) | |
เหมือน, คล้าย ๆ กับ | essivus-formalis | emberként | (állapot; milyen formában? ในรูปแบบไหน?) | |
อย่าง (เช่น ทำอย่างคน emberül) | essivus-modalis | emberül | (állapot; milyen módon? ทำอย่างไหน?) |
ตัวอย่างการวางหน่วยคำเติมท้ายในภาษาฮังการี
[แก้]ในภาษาฮังการี มีการใช้เสียงเฉพาะเจาะจง (case/preposition) ลงท้ายที่แตกต่างกันสำหรับคำสรรพนามแต่ละตัว มีอยู่ทั้งหมด 8 แบบ สำหรับคำสรรพนามบุรุษที่ 1, 2 และ 3 (ฉัน เธอ เขา พวกเรา พวกเธอ พวกเขา คุณ พวกคุณ) โดยสามารถต่อกับคำสรรพนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรมของประโยค (accusative), ต่อคำปัจฉบท (postposition) เพื่อเปลี่ยนบุคคลที่พูดถึง, ต่อคำนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรม แสดงความเป็นเจ้าของ หรือเปลี่ยนเป็นพหูพจน์, และต่อกับคำกริยา เพื่อเปลี่ยนประธานผู้กระทำ และเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นแบบชี้เฉพาะหรือไม่ชี้เฉพาะ
คำสรรพนาม (névmás) | คำปัจฉบท (ragozás) | คำนาม (főnév) | คำกริยา (ige) | คำอธิบายส่วนมูลฐาน ที่ใช้เติมข้างท้าย (magyarázat) | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ประธาน | กรรม | + หน่วยคำเติมท้าย แสดงบุคคล |
+ หน่วยคำเติมท้าย แสดงบุคคล |
+ หน่วยคำเติมท้าย แสดงความเป็นเจ้าของ |
กริยาปัจจุบัน แบบไม่ชี้เฉพาะ |
กริยาปัจจุบัน แบบชี้เฉพาะ | |
ผู้กระทำ (เช่น ฉันตีเขา) |
ผู้ถูกกระทำ (เช่น เขาตีฉัน) |
อยู่ที่ฉัน (เช่น ปากกาอยู่ที่ฉัน) |
อยู่ข้างใต้ฉัน | หอพักของฉัน | ฉันเห็นมัน (สิ่งไม่ชี้เฉพาะ เช่น หมาตัวหนึ่ง) |
ฉันเห็นมัน (สิ่งชี้เฉพาะ เช่น หมาตัวนั้น) | |
én ("ฉัน") | engem | nálam | alattam | lakásom | látok | látom | -m โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-e ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ |
te ("เธอ") | téged | nálad | alattad | lakásod | látsz | látod | -d โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-e ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ |
ő ("เขา, มัน") | őt | nála | alatta | lakása | lát | látja | -a/-e |
mi ("พวกเรา") | minket | nálunk | alattunk | lakásunk | látunk | látjuk | -nk โดยใช้สระเชื่อม -u/-ü ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ |
ti ("พวกเธอ") | titeket | nálatok | alattatok | lakásotok | láttok | látjátok | -tok/-tek/-tök |
ők ("พวกมัน") | őket | náluk | alattuk | lakásuk | látnak | látják | -k |
สรรพนาม "คุณ, ท่าน" (ทางการ) |
Maga ใช้สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น หัวหน้าพูดกับพนักงาน, คนแก่พูดกับเด็ก
Ön ใช้สำหรับผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ เช่น พนักงานพูดกับหัวหน้า, เด็กพูดกับคนแก่ แต่หากสนิทกันแล้ว อาจเรียกกันโดยใช้คำสรรพนามที่ไม่เป็นทางการได้ |
||||||
Ön, Maga ("คุณ") |
Önt Magát |
Önnél Magánál |
Ön alatt Maga alatt |
az Ön lakása a Maga lakása |
Ön lát Maga lát |
Ön látja Maga látja |
(-a/-e) |
Önök, Maguk ("พวกคุณ") |
Önöket Magukat |
Önöknél Maguknál |
Önök alatt Maguk alatt |
az Önök lakása a Maguk lakása |
Önök látnak Maguk látnak |
Önök látják Maguk látják |
(-k) |
การใช้หน่วยคำเติมท้ายตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
[แก้]การเลือกหน่วยคำเติมท้ายในการต่อหลังคำในภาษาฮังการี ต้องใช้หลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระต่ำ (low vowel, ฮังการี: mély magánhangzók) ประกอบด้วยสระ 6 ตัว คือ a, á, o, ó, u, ú และสระสูง (high vowel, ฮังการี: magas magánhangzók) ประกอบด้วยสระ 8 ตัว คือ e, é, i, í, ö, ő, ü, ű
การต่อท้ายคำ (suffix) ในภาษาฮังการี ต้องใช้ความกลมกลืนของสระในการต่อท้ายคำทั้งหมด คำเสียงสูงต่อเสียงสูง คำเสียงต่ำต่อเสียงต่ำ เช่น การต่อท้ายคำกริยา (ใครเป็นประธาน), การแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ การแสดงการเคลื่อนไหว มีรูปแบบการใช้โดยใช้ "เสียงสระ" ของคำในการตัดสินว่าจะใช้หน่วยคำเติมท้ายเสียงใดในการต่อ
ตัวอย่าง:
-nak/-nek สำหรับ
Jánosnak สำหรับยาโนช (ยาโนชน็อค)
Péternek สำหรับเปแตร์ (เปแตร์แน็ค)
ต่ำ (mély) | a á o ó u ú |
สูง (magas) | e é i í ö ő ü ű |
อ้างอิง
[แก้]- Rita Hegedűs (2019). Magyar Nyelvtan. Tinta Könyvkiadó. Budapest, 2019. ISBN 978-963-409-158-5
- Szilvia Szita, Katalin Pelcz (2019). MagyarOK Nyelvtani munkafüzet B2+. University of Pécs, Pécs, Hungary. ISBN 978-963-429-203-6
- Szilvia Szita, Tamás Görbe (2009) Gyakorló magyar nyelvtan - A Practical Hungarian Grammar เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Akadémiai Kiadó, Budapest, Hungary. ISBN 978-963-05-8933-8
- Magyar Tudományos Akadémia (สถาบันวิชาการฮังการี) (2015). A Magyar Helyesírás Szabályai. Akadémiai Kiadó, Budapest, Hungary. ISBN 978-963-05-9631-2
- Endre Rácz, Etel Takács (1991). Kis Magyar Nyelvtan. Gondolat, Budapest. ISBN 963-282-627-2
- Carol Rounds (2001). Hungarian: an essential grammar. Routledge, London, UK. ISBN 0-415-22612-0.
- "The Hungarian Language: A Short Descriptive Grammar" โดย Beáta Megyesi (ไฟล์ PDF)
- Hungarian Language Learning References