ข้ามไปเนื้อหา

ไบรอัน คิดด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไบรอัน คิดด์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ไบรอัน คิดด์[1]
วันเกิด (1949-05-29) 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 (75 ปี)[1]
สถานที่เกิด แมนเชสเตอร์ อังกฤษ
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรเยาวชน
1963–1967 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1967–1974 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 203 (52)
1974–1976 อาร์เซนอล 77 (30)
1976–1979 แมนเชสเตอร์ซิตี 98 (44)
1979–1980 เอฟเวอร์ตัน 40 (12)
1980–1982 โบลตันวอนเดอเรอส์ 43 (14)
1981แอตแลนตาชีฟส์ (ยืม) 27 (22)
1982–1983 Fort Lauderdale Strikers 44 (33)
1983 Fort Lauderdale Strikers 2 (3)
1984 Minnesota Strikers 13 (8)
รวม 545 (215)
ทีมชาติ
1967 England Youth 8 (2)
1967–1970 อังกฤษ ยู–23 10 (5)
1970 อังกฤษ 2 (1)
จัดการทีม
1984–1985 Barrow
1986 เพรสตันนอร์ทเอนด์
1988–1991 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ทีมเยาวชน)
1991–1997 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ผู้ช่วย)
1998–1999 แบล็กเบิร์นโรเวอส์
2009 แมนเชสเตอร์ซิตี (ทีมเยาวชน)
2013 แมนเชสเตอร์ซิตี (รักษาการ)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ไบรอัน คิดด์ (เกิด 29 พฤษภาคม 1949) เป็นผู้ฝึกฟุตบอลและอดีตผู้เล่นชาวอังกฤษ ซึ่งล่าสุดเป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนของแมนเชสเตอร์ซิตี

คิดด์เป็นกองหน้าเคยเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, อาร์เซนอล, แมนเชสเตอร์ซิตี, เอฟเวอร์ตัน, โบลตันวอนเดอเรอส์, Fort Lauderdale Strikers และมินนิโซตา สไตรเกอร์ส

อาชีพนักฟุตบอล

[แก้]

คิดด์เกิดที่เมืองแมนเชสเตอร์[1] และเริ่มเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ตั้งแต่ยังเป็นเด็กโดยเข้าร่วมอะคาเดมีของสโมสรในเดือนสิงหาคม 1964 สองปีต่อมา เขาได้กลายเป็นนักเตะอาชีพของสโมสร[2]

คิดด์มีความโดดเด่นด้วยการทำประตูในวันเกิดอายุครบ 19 ปีของเขาให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเกมที่ชนะไบฟีกา 4–1 ในยูโรเปียนคัพรอบชิงชนะเลิศเมื่อปี 1968 โดยรวมแล้วเขายิงได้ 52 ประตูจากการลงเล่น 203 นัดในลีกให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[2]

หลังจากที่ยูไนเต็ดตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชัน 2 ในปี 1974 คิดด์ก็ย้ายไปร่วมทีมอาร์เซนอลด้วยค่าตัว 110,000 ปอนด์[3] คิดด์ทำประตูได้ในเกมประเดิมสนามให้กับอาร์เซนอลพบกับเลสเตอร์ซิตีที่ฟิลเบิร์ตสตรีท จากนั้นเขาก็ยิงสองประตูให้กับทีมในนัดที่เปิดบ้านพบกับแมนเชสเตอร์ซิตี เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของอาร์เซนอลในฤดูกาล 1974–75 โดยทำได้ 19 ประตูจากการลงสนาม 40 นัด ในฤดูกาลถัดมา คิดด์ทำแฮตทริกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1976 ในเกมที่เอาชนะเวสต์แฮมยูไนเต็ด 6–1 ที่ไฮบิวรี[4][5] คิดด์ยิงประตูให้กับอาร์เซนอลไปทั้งหมด 34 ประตูจากการลงสนาม 90 นัด ในเดือนกรกฎาคม 1976 เขาถูกขายให้กับแมนเชสเตอร์ซิตีด้วยค่าตัว 100,000 ปอนด์[3]

กับแมนเชสเตอร์ซิตี คิดด์ทำได้ 3 ประตูในการเจอกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ต้นสังกัดเก่า ในเกมที่ชนะ 3–1 ที่เมนโรดและเสมอ 2–2 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ดในฤดูกาล 1977–78 เขาลงเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ซิตี 98 นัด ยิงได้ 44 ประตู จากนั้นเขาย้ายไปเอฟเวอร์ตันในเดือนมีนาคม 1979 ด้วยค่าตัว 150,000 ปอนด์ กับเอฟเวอร์ตัน คิดด์ยิงได้ 12 ประตูจากการลงสนาม 44 นัด และถูกไล่ออกจากสนามในรอบรองชนะเลิศเอฟเอคัพที่เจอกับเวสต์แฮมยูไนเต็ด จากนั้นคิดด์ก็ย้ายไปร่วมทีมโบลตันวอนเดอเรอส์ในเดือนพฤษภาคม 1980 ด้วยค่าตัว 110,000 ปอนด์ คิดด์ทำ 13 ประตูให้กับโบลตันจากการลงเล่นรวม 43 นัด จากนั้นเขาถูกยืมตัวไปเล่นให้กับทีม Atlanta Chiefs ของ NASL ในปี 1981 เขาลงเล่น 29 นัด ทำได้ 23 ประตู[2][6]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2525 คิดด์ย้ายจากโบลตันเพื่อกลับมาที่ NASL จากนั้นเขาได้เซ็นสัญญากับทีม Fort Lauderdale Strikers และอีกสองปีถัดมาก็เซ็นสัญญากับทีม Minnesota Strikers เขาทำประตูได้อย่างมากมายกับทั้งสองทีม แต่ในปี 1984 เขาก็เลิกเล่นฟุตบอล[2]

อาชีพผู้จัดการทีมและผู้ฝึก

[แก้]

1984–2008

[แก้]

ในปี 1984 คิดด์เริ่มต้นอาชีพผู้ฝึกของเขาที่บาร์โรว์ เขาเป็นผู้จัดการทีมเพรสตันนอร์ทเอนด์ในช่วงสั้น ๆ หลายนัดในปี 1986[7] จากนั้นคิดด์ก็เริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมในการฝึกสอนผู้เล่นเยาวชน ก่อนจะกลับมาที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฐานะผู้ฝึกทีมเยาวชนโดยอเล็กซ์ เฟอร์กูสันในปี 1988 ในสามปีถัดมา คิดด์ได้ช่วยพัฒนาผู้เล่นที่มีพรสวรรค์มากมายเช่น ไรอัน กิ๊กส์ และดาร์เรน เฟอร์กูสัน เมื่ออาร์ชี น็อกซ์ผู้ช่วยของเฟอร์กูสันย้ายไปทำหน้าที่เดียวกันที่กลาสโกว์เรนเจอส์ในช่วงฤดูร้อนปี 1991 คิดด์ก็ได้รับการเลื่อนขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม เขาช่วยเฟอร์กูสันในการนำยูไนเต็ดคว้าแชมป์ลีกคัพในปี 1992, แชมป์พรีเมียร์ลีกในปี 1993, ดับเบิลแชมป์ในปี 1994 และอีกครั้งในปี 1996 รวมทั้งแชมป์พรีเมียร์ลีกอีกสมัยในปี 1997

คิดด์ออกจากยูไนเต็ดเพื่อไปคุมทีมแบล็กเบิร์นโรเวอส์ในเดือนธันวาคม 1998 แทนที่รอย ฮอดจ์สัน ซึ่งถูกปลดออกหลังจากที่แบล็กเบิร์นออกสตาร์ทฤดูกาลได้ไม่ดีจนทำให้พวกเขาตกไปอยู่ในโซนตกชั้น แม้ว่าคิดด์จะเริ่มต้นได้ดี ซึ่งทำให้เขาได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมประจำเดือนของพรีเมียร์ลีกและยังใช้เงินไปเกือบ 20 ล้านปอนด์อีกด้วย ในช่วงสี่เดือนแรกที่รับหน้าที่คุมทีมแต่เขาก็ไม่สามารถช่วยทีมให้รอดพ้นจากการตกชั้นได้ (เพียงสี่ปีหลังจากเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีก) และคิดด์ก็ถูกปลดออกในวันที่ 3 พฤศจิกายน 1999 ขณะที่แบล็กเบิร์นอยู่ในอันดับที่ 19 ของดิวิชันหนึ่ง[2][8]

ในปี 1999 รอยร้าวได้เกิดขึ้นระหว่างคิดด์และอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน หลังจากที่คิดด์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในอัตชีวประวัติของเฟอร์กูสันที่มีชื่อว่า Managing My Life เฟอร์กูสันโกรธในตอนที่คิดด์ยังเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม เขาตั้งคำถามถึงการเซ็นสัญญากับดไวท์ ยอร์กในช่วงซัมเมอร์ปี 1998 เฟอร์กูสันวิจารณ์การตัดสินใจเรื่องฟุตบอลของคิดด์และเขียนไว้ในหนังสือของเขาว่า "ผมมองว่าไบรอัน คิดด์เป็นคนที่มีความซับซ้อน มักจะไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพของเขา" คิดด์ไม่พอใจที่เฟอร์กูสันโจมตีเขาและตอบโต้ด้วยการกล่าวว่า "ผมเชื่อว่าวอลต์ ดิสนีย์กำลังพยายามซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากหนังสือของเขาเพื่อเป็นภาคต่อของแฟนตาเซีย"[9]

คิดด์ย้ายไปลีดส์ยูไนเต็ดในเดือนพฤษภาคม 2000 ในฐานะผู้ฝึกทีมเยาวชนแต่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้ฝึกในเดือนมีนาคม 2001 ภายใต้การนำของเดวิด โอเลียรีและเทอร์รี เวนาเบิลส์ เขาออกจากลีดส์ในเดือนพฤษภาคม 2003 หลังจากที่ปีเตอร์ รีดได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีม[10]

ในขณะเดียวกัน คิดด์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมชาติอังกฤษในยุคที่สเวน-โกรัน เอริกสันเป็นผู้จัดการทีมในเดือนมกราคม 2003[11] เขาถูกบังคับให้ยุติบทบาทนี้ในเดือนพฤษภาคม 2004 เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 เนื่องจากต้องเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก[12] คิดด์พักรักษาตัวถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2006[13]

ในเดือนสิงหาคม 2006 รอย คีน อดีตผู้เล่นของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมซันเดอร์แลนด์และมีรายงานว่าคีนต้องการให้คิดด์มาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมของเขาที่สเตเดียมออฟไลต์ อย่างไรก็ตาม คิดด์กลับยอมรับข้อเสนอทำงานเป็นผู้ช่วยของนีล วอร์น็อกที่เชฟฟีลด์ยูไนเต็ดไม่กี่เดือนหลังจากทีมเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีก[14] หลังจากที่เดอะเบลดส์ตกชั้นและวอร์น็อคลาออก คิดด์ก็ยังคงอยู่ที่บรามอลล์เลนภายใต้ผู้จัดการทีมคนใหม่อย่างไบรอัน ร็อบสัน (อดีตผู้เล่นแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอีกคน) แต่ออกจากสโมสรหลังจากที่ร็อบสันออกจากทีมในเดือนกุมภาพันธ์ 2008[15]

2009–ปัจจุบัน

[แก้]

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2009 คิดด์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมชั่วคราวของพอล ฮาร์ตที่พอร์ตสมัทในศึกพรีเมียร์ลีก[16] เขาอยู่จนถึงเดือนสิงหาคม 2009 เมื่อเขาปฏิเสธข้อเสนอสัญญาฉบับใหม่[17]

คิดด์ได้รับตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายพัฒนาเทคนิคที่ แมนเชสเตอร์ซิตีในเดือนกันยายน 2009[18]ก่อนที่จะกลายมาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมให้กับโรแบร์โต มันชินีผู้จัดการทีมคนใหม่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2009 หลังจากปลดมาร์ก ฮิวส์ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม

คิดด์เปิดเผยว่าแม้จะไม่ได้รับโทรศัพท์จากเฟอร์กูสันในช่วงที่เขาต่อสู้กับมะเร็งต่อมลูกหมากในปี 2004 แต่ตอนนี้เขากำลังพูดคุยกับเฟอร์กูสันหลังจบการแข่งขัน[19]

ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพปี 2011 แมนเชสเตอร์ซิตีคว้าแชมป์รายการใหญ่เป็นครั้งแรกในรอบ 35 ปีหลังจากเอาชนะสโตกซิตีไปได้ 1–0[20] ในฤดูกาล 2011–12 แมนฯ ซิตีคว้าแชมป์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1968 แมนเชสเตอร์ซิตียิงสองประตูในช่วงทดเวลาบาดเจ็บเอาชนะควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 3–2 แบบสุดดราม่าและคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกจากผลต่างประตูได้เสียเหนือแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด คิดด์วิ่งลงไปในสนามพร้อมกับมันชินีและเดวิด แพลตต์ ผู้ฝึกทีมชุดใหญ่เพื่อร่วมแสดงความยินดีกับเซร์ฆิโอ อาเกวโรที่ยิงประตูชัยให้กับซิตี้[21]

คิดด์ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวสำหรับสองเกมสุดท้ายของฤดูกาล 2012–13 หลังจากการออกจากทีมของมันชินี[22] คิดด์กลับมาทำหน้าที่ผู้ช่วยอีกครั้งหลังจากการแต่งตั้งมานูเอล เปเลกรินิและทำงานร่วมกับเขาและผู้สืบทอดตำแหน่งอย่างแป็ป กวาร์ดิออลาก่อนจะลาออกหลังจบฤดูกาล 2020–21[23]

เกียรติประวัติ

[แก้]

นักเตะ

[แก้]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "ไบรอัน คิดด์". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2024.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Brian Kidd". England Football Online.com.
  3. 3.0 3.1 "Profile: Brian Kidd". Arsenal.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2014. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.
  4. "Arsenal 6-1 West Ham". EFL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-13 – โดยทาง YouTube.
  5. "Arsenal 6-1 West Ham United". World Football.net.
  6. "Brian Kidd at Man City". Sporting Heroes.net.
  7. "Managers: Brian Kidd". Soccerbase. สืบค้นเมื่อ 14 February 2013.
  8. "Boom and bust the Blackburn way". BBC News. 13 May 1999.
  9. Nixon, Alan (7 August 1999). "Angry Kidd responds to Ferguson 'insults'". The Independent. สืบค้นเมื่อ 14 February 2013.
  10. "Leeds axe Gray and Kidd". BBC Sport. 15 March 2003. สืบค้นเมื่อ 22 February 2008.
  11. "Kidd gets England role". BBC Sport. 22 January 2003. สืบค้นเมื่อ 22 February 2008.
  12. "McClaren nets England role". BBC Sport. 14 May 2004. สืบค้นเมื่อ 22 February 2008.
  13. "Kidd keen on return to coaching". BBC Sport. 7 February 2006. สืบค้นเมื่อ 22 February 2008.
  14. "Kidd snubs Sunderland for Blades". BBC Sport. 11 September 2006. สืบค้นเมื่อ 22 February 2008.
  15. "Blackwell in for Robson at Blades". BBC Sport. 14 February 2008. สืบค้นเมื่อ 22 February 2008.
  16. "Kidd Joins Blues". portsmouthfc.co.uk. Portsmouth FC. 11 February 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2009. สืบค้นเมื่อ 11 February 2009.
  17. "Portsmouth and Kidd part company". BBC Sport. 10 August 2009. สืบค้นเมื่อ 10 August 2009.
  18. "Brian Kidd joins Manchester City". mcfc.co.uk. Manchester City FC. 7 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2016. สืบค้นเมื่อ 7 September 2009.
  19. Herbert, Ian (11 February 2011). "How a bitter dispute with Ferguson turned Kidd red then blue". The Independent. สืบค้นเมื่อ 14 February 2013.
  20. "Man City 1 Stoke 0". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 14 February 2013.
  21. "Man City 3 QPR 2". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 14 February 2013.
  22. "Roberto Mancini: Manchester City sack manager". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.
  23. "Brian Kidd leaves Manchester City after 12 years". Manchester City F.C. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.