ไซ-ฮับ
ภาษาที่ใช้ได้ | อังกฤษ |
---|---|
สร้างโดย | อเล็กซานดรา เอลบัคยาน |
ยูอาร์แอล | sci-hub sci-hub sci-hub scihub22266oqcxt.onion ก่อนหน้านี้: sci-hub |
เชิงพาณิชย์ | ไม่ |
เปิดตัว | 16 เมษายน 2011[1] |
ไซ-ฮับ (อังกฤษ: Sci-hub) คือ ที่เก็บบทความทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 64.5 ล้าน บทความ บนเว็บไซต์ซึ่งช่วยในการเลี่ยงการชำระเงินปกติ[2] บทความใหม่ ๆ ได้รับการอัปโหลดขึ้นเว็บไซต์ทุกวันผ่านพร็อกซี.edu[3] ก่อตั้งโดยอเล็กซานดรา เอลบัคยาน (Alexandra Elbakyan) ในพ.ศ. 2554 ได้รับแรงบันดาลใจจากการที่ต้องเสียเงินจำนวนมากเพื่อซื้อบทความทางวิชาการซึ่งราคาประมาณ 30 ดอลลาร์สหรัฐ (1,055 บาท) ต่อบทความ[4] ต่อมาสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แอ็ลเซอเฟียร์ ฟ้องไซ-ฮับในนครนิวยอร์กในพ.ศ. 2558 ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์[5]
ประวัติ
[แก้]โครงการไซ-ฮับเริ่มใช้งานในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554[6] สร้างขึ้นโดยนักประสาทวิทยาชาวคาซัคสถานที่ชื่อว่า อเล็กซานดรา เอลบัคยาน โดยมีเป้าหมายในการขยายการเข้าถึงของความรู้ผ่านทางการเอื้อให้ผู้คนเข้าถึงเนื้อหาที่มีค่าใช้จ่าย[7][8] โดเมนดั้งเดิมของโครงการได้ถูกปิดลงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ภายใต้คำสั่งศาล[9] ทว่าโครงการได้กลับมาอีกครั้งภายใต้โดเมน .io[10]
เว็บไซต์นี้ได้เป็นที่นิยมในวงกว้างในประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศอินเดียและอินโดนิเซีย[11] รวมไปถึง ประเทศอิหร่าน ประเทศจีน ประเทศรัสเซีย และประเทศบราซิล[12] การให้การเข้าถึงต่อสถาบันที่มีโอกาสในการเข้าถึงน้อยกว่าเป็นเป้าหมายหลักของเอลบัคยาน เธอยังกล่าวอีกว่าขณะศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่คาซัคสถาน ด้วยความความจำเป็นต้องให้บทความเป็นร้อยๆบทความผ่านตา เธอก็ทำการละเมิดลิขสิทธิ์และดาวน์โหลดบทความทางวิชาการเช่นเดียวกัน[13]
ไซ-ฮับเป็นเว็บไซต์แรกที่ให้การเข้าถึงบทความทางวิชาการภายใต้เพย์วอลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแบบอัตโนมัติในปริมาณมาก ก่อนหน้าไซ-ฮับ คนมักจะขอและแบ่งปันบทความวิจัยด้วยมือผ่านทางฟอรั่มและชุมชนออนไลน์ (ตัวอย่างเช่น แฮชแท็กในทวิตเตอร์อย่างไอแคนแฮซพีดีเอฟ หรือ #ICanHazPDF) โดยวิธีการแบ่งปันแบบนี้นั้นทั้งช้าและไม่สะดวก และมีบทความกว่าร้อยบทความถูกกระจายด้วยวิธีนี้ ขณะที่เว็บไซต์ไซ-ฮับอ้างว่าได้ตอบรับกว่าแสนคำร้องขอต่อวัน
เว็บไซต์
[แก้]ไซ-ฮับให้นักอ่านโหลดบทความทางวิชาการโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกหรือจ่ายเงิน[14] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เว็บไซต์ไซ-ฮับอ้างว่าตอบรับคำขอดาวน์โหลดกว่า 200,000 ครั้งต่อวัน[15][16][17] เอลบัคยานอ้างว่า เว็บไซต์มีผู้เยี่ยมชมกว่า 80,000 คนต่อวันก่อนโดเมนต้นฉบับ (sci-hub.org) ถูกบล็อก[7] เว็บไซต์เข้าถึงบทความทางวิชาการผ่านเพย์วอลและนำเอกสารจากเว็บไซต์สำนักพิมพ์ ไซ-ฮับมาถึงจุดนี้ได้ต้องขอบคุณสมาชิกจำนวนมากจากทั่วโลกที่ร่วมบริจาค ไซ-ฮับมีสิทธิในการเข้าถึงบทความทางวิชาการใน JSTOR, Springer, Sage, และแอ็ลเซอเฟียร์[18] ในพ.ศ. 2556 ไซ-ฮับเริ่มทำงานร่วมกับลิบเจน ที่เก็บหนังสือและเอกสารเกี่ยวกับการศึกษาซึ่งตั้งระบบอยู่ในประเทศรัสเซีย[19] หากบทความทางวิชาการที่ถูกขอมีอยู่ที่นั่นก็จะถูกส่งต่อให้ผู้ใช้ หากบทความไม่มีในไลบรารี เจเนซิส ไซ-ฮับจะดาวน์โหลดแล้วแชร์เอกสารนั้นให้ลิบเจนเพื่อเก็บไว้ใช้ในอนาคต[14] ทุกวันนี้ ไซ-ฮับพึ่งเครือข่ายที่เก็บเพื่อเก็บและนำบทความทางวิชาการออกมา[ต้องการอ้างอิง] การดำเนินการของเว็บไซต์ได้รับการสนับสนุนจากเงินบริจาคของผู้ใช้ในรูปแบบของบิตคอยน์[17][20][21] ในพ.ศ. 2559 โดเมน .io ของไซ-ฮับถูกปิดลงหลังได้รับคำร้องทุกข์จากแอ็ลเซอเฟียร์ อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ยังเข้าถึงได้ผ่านทางโดเมนอื่น ๆ แทน .cc [22]
คดีความ
[แก้]
ขณะนี้เว็บไซต์กำลังอยู่ในระหว่างการสู้คดีความกับแอ็ลเซอเฟียร์[26] แอ็ลเซอเฟียร์อ้างว่าไซ-ฮับได้เข้าใช้บัญชีของนักเรียนและสถาบันทางการศึกษาอย่างผิดกฎหมายเพื่อให้การเข้าถึงอย่างเสรีกับบทความทางวิชาการผ่านทางแพลตฟอร์มของพวกเขาอย่าง ไซแอนซ์ ไดเร็ค[12] คดีมีความซับซ้อนเพราะว่าเว็บไซต์นั้นตั้งอยู่ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัซเซีย ทำให้ยากต่อการตกเป็นเป้าในระบบของกฎหมายสหรัฐ[12] หลายคนเห็นว่าคดีเป็นการเคลื่อนไหวของฝั่งแอ็ลเซอเฟียร์เพื่อต่อต้านการแพร่กระจายความรู้อย่างเสรี และยังตั้งคำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจที่แอบแฝงอยู่ในการที่แอ็ลเซอเฟียร์พยายามอย่างต่อเนื่องที่ให้การเข้าถึงบทความทางวิชาการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแก่ผู้แก้ไขวิกิพีเดีย[27] คดีที่ใกล้เคียงกันยังเกิดขึ้นกับเว็บไซต์ ไลบรารี่ เจเนซิส (ลิบเจน)[12][11] ซึ่งอาจมีฐานอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์[12] หรือเป็นไปได้ที่จะมีอยู่ที่ประเทศรัซเซียเช่นเดียวกัน[28] แม้จะถูกสั่งปิดโดยศาลนิวยอร์ก ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2558 เว็บไซต์นั้นยังถูกเข้าถึงได้ผ่านทางโดเมนสำรองในเดือนธันวาคม 2558[7][10] เว็บไซต์ยังเข้าถึงได้ผ่านทางทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) อีกด้วย[7]
Electronic Frontier Foundation ได้อ้างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และให้เหตุผลที่ว่า "เพื่อแบ่งปันการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และผลประโยชน์" ในการสนับสนุนไซ-ฮับและเว็บไซต์น้องอย่างลิบเจน[29] คดีความนี้ยังทำให้เกิดการวิจารณ์ในวงกว้างต่อแอ็ลเซอเฟียร์[30]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "sci-hub.org". ICANN WHOIS. สืบค้นเมื่อ 28 August 2016.
- ↑ "About Sci-Hub". Sci-Hub. สืบค้นเมื่อ 30 April 2017.
papers we have in our library: more than 62,000,000 and growing
- ↑ Storm, Darlene (19 August 2015). "Jump paywalls, score academic research for free, share it without being busted". Computerworld. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015.
- ↑ Russon, Mary-Ann (15 February 2016). "Sci-Hub: Russian neuroscientist running 'Pirate Bay for scientists' with 48 million free academic papers". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ Ernesto (9 June 2015). "Elsevier Cracks Down on Pirated Scientific Articles". TorrentFreak (Blog). Lennart Renkema. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015.
- ↑ "About Sci-Hub". สืบค้นเมื่อ 2015-12-13.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "Pirate research-paper sites play hide-and-seek with publishers". Nature News & Comment. สืบค้นเมื่อ 2015-12-06.
- ↑ "Sci-Hub Tears Down Academia's "Illegal" Copyright Paywalls - TorrentFreak". สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
- ↑ "Court Orders Shutdown Of LibGen, Bookfi And Sci-Hub - TorrentFreak". สืบค้นเมื่อ 2015-12-13.
- ↑ 10.0 10.1 "Sci-Hub, BookFi and LibGen Resurface After Being Shut Down - TorrentFreak". TorrentFreak (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). TorrentFreak. สืบค้นเมื่อ 2015-12-13.
- ↑ 11.0 11.1 Stone, Maddie. "Academic Publishing Giant Fights To Keep Science Paywalled". สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Glance, David. "Elsevier acts against research article pirate sites and claims irreparable harm". สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
- ↑ "Science "Pirate" Attacks Elsevier's Copyright Monopoly in Court - TorrentFreak". สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
- ↑ 14.0 14.1 Cabanac, Guillaume (April 2015). "Bibliogifts in LibGen? A study of a text-sharing platform driven by biblioleaks and crowdsourcing" (PDF). Journal of the Association for Information Science and Technology: n/a–n/a. doi:10.1002/asi.23445. สืบค้นเมื่อ 18 February 2016.
- ↑ Brouwers, Lucas (23 February 2016). "Gratis wetenschap via Kazachstan". NRC Handelsblad (ภาษาดัตช์). Egeria.
- ↑ @Sci_Hub (17 February 2016). "last 24 hour: 217276 different papers downloaded by 69532 users. The top five countries are India, China, Iran, Russia and United States" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 8 March 2016 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 17.0 17.1 John Bohannon (29 April 2016). "Who's downloading pirated papers? Everyone". Science. 352 (6285): 508–512. doi:10.1126/science.aaf5664.
- ↑ MacDonald, Fiona (12 February 2016). "Researcher illegally shares millions of science papers free online to spread knowledge". ScienceAlert (Blog). สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
- ↑ @Sci_Hub (14 February 2013). "Новости ресурса: интеграция с Либгеном (libgen.org - более 18,000,000 статей) и новый сервер фронт-энда" (ทวีต) (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 8 March 2016 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Why Sci-Hub is the true solution for Open Access: reply to criticism". engineuring.wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 30 April 2016.
- ↑ Tereshchenko, Alexey. "Pirate research papers website asks for bitcoin donations". coinfox.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-25. สืบค้นเมื่อ 30 April 2016.
- ↑ https://torrentfreak.com/elsevier-complaint-shuts-down-sci-hub-domain-name-160504/
- ↑ 23.0 23.1 "Data from: Who's downloading pirated papers? Everyone".
- ↑ 24.0 24.1 "Who's downloading pirated papers? Everyone". Science - AAAS.
- ↑ http://data.stats.gov.cn/
- ↑ "Piratentunnel.
- ↑ Stone, Maddie. "Is A Giant Academic Publisher Trying To Paywall Wikipedia?". สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
- ↑ Mance, Henry; Correspondent, Media (2015-05-26). "Publishers win landmark case against ebook pirates". Financial Times. ISSN 0307-1766. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
- ↑ "What If Elsevier and Researchers Quit Playing Hide-and-Seek?". Electronic Frontier Foundation. Electronic Frontier Foundation. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
- ↑ "Simba Information: Five Professional Publishing News Events of 2015 Signal Times Are A-Changin'". PR Newswire. PR Newswire. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โดเมนเว็บไซต์:
- https://sci-hub.hk
- scihub22266oqcxt.onion, a Tor hidden service สำหรับการเข้าถึงเว็บไซต์
- Sci-Hub ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)