ข้ามไปเนื้อหา

ไชน์ออน! คิดส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไชน์ออน! คิดส์
ก่อตั้งกรกฎาคม ค.ศ. 2006
ผู้ก่อตั้งคิมเบอร์ลี ฟอร์ไซธ์ และมาร์ก เฟร์ริส
ที่ตั้ง
พื้นที่ให้บริการ
ประเทศญี่ปุ่น
เว็บไซต์sokids.org
ชื่อในอดีต
มูลนิธิไทเลอร์

ไชน์ออน! คิดส์ (อังกฤษ: Shine On! Kids; คาตากานะ: シャイン・オン!キッズ) ซึ่งเดิมชื่อ มูลนิธิไทเลอร์ (อังกฤษ: Tyler Foundation; ญี่ปุ่น: タイラー基金) เป็นองค์กรการกุศลที่ตั้งอยู่ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งให้การสนับสนุนด้านจิตสังคมแก่เด็ก ๆ ที่เป็นมะเร็งในประเทศญี่ปุ่นและครอบครัวของพวกเขา

ภูมิหลัง

[แก้]

ไชน์ออน! คิดส์ ได้จัดตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในฐานะองค์การไม่แสวงหาผลกำไร[1] องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2006 โดยมาร์ก เฟร์ริส และคิมเบอร์ลี ฟอร์ไซธ์ ที่อุทิศเพื่อรำลึกถึงไทเลอร์ ลูกชายของพวกเขา ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติกในทารกก่อนอายุได้หนึ่งเดือน[2]

ไทเลอร์เกิดเมื่อ ค.ศ. 2003[3] และเสียชีวิตเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005[4][5] หลังจากเข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพและการพัฒนาเด็กแห่งชาติในเขตเซตางายะ โตเกียว เป็นเวลาเกือบสองปี[6] ซึ่งมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่สูงที่พวกเขาได้รับนั้นแตกต่างกับการขาดการสนับสนุนด้านจิตสังคมที่มอบให้แก่ครอบครัวและเด็กที่เป็นมะเร็งในประเทศญี่ปุ่น พ่อแม่ของไทเลอร์ก่อตั้งมูลนิธิไทเลอร์ขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวในประเทศญี่ปุ่นที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในการต่อสู้กับโรคมะเร็งในเด็ก กระทั่งองค์กรนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นไชน์ออน! คิดส์ ใน ค.ศ. 2012[7]

ภารกิจ

[แก้]

พันธกิจขององค์กรคือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตในระหว่างการรักษา รวมถึงให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตปกติหลังการรักษาจะราบรื่นและประสบความสำเร็จ[2] เป้าหมายของมูลนิธิคือการเปลี่ยนแปลงวิธีการดูแลผู้ป่วยในแผนกวิทยามะเร็งเด็กทั่วทั้งญี่ปุ่นโดยพื้นฐาน[3] พวกเขาให้ความสำคัญกับการสนับสนุนจากผู้ป่วยและผู้ปกครอง เช่น นักจิตวิทยาประจำคลินิก, กลุ่มสนับสนุน และการดูแลเด็กสำหรับพี่น้อง[3]

โครงการ

[แก้]

ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2007 มูลนิธิไทเลอร์ได้เปิดตัวโครงการคำปรึกษาและการสนับสนุน โดยส่งนักจิตวิทยาคลินิกไปประจำแผนกมะเร็งเด็กของศูนย์สุขภาพและพัฒนาการเด็กแห่งชาติ[3][8]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 มูลนิธิไทเลอร์ได้เปิดไชน์ออน! เฮาส์ ซึ่งให้บริการที่พักค้างคืนสำหรับครอบครัว, การดูแลเด็กสำหรับพี่น้องของผู้ป่วย และสถานที่ให้ครอบครัวได้พักผ่อน[9] และมูลนิธิไทเลอร์เป็นตัวแทนเพียงรายเดียวของโครงการบีดส์ออฟเคอรีจที่ตั้งอยู่ในสหรัฐในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับลูกปัดหลากสีสันที่สอดคล้องกับแต่ละแง่มุมของการรักษามะเร็ง เช่น การผ่าตัด, การฉายรังสี, การตรวจเลือด เป็นต้น โดยลูกปัดทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ บรรลุตามเส้นทางการรักษาของแต่ละบุคคล[10] มูลนิธิได้นำโครงการบีดส์ออฟเคอรีจเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2010 โดยโครงการดังกล่าวเชื่อว่าจะช่วยลดความทุกข์ใจที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ที่เพิ่มการใช้กลยุทธ์การรับมือเชิงบวก, ช่วยให้เด็ก ๆ ค้นพบความหมายในความเจ็บป่วย และฟื้นฟูความรู้สึกมีตัวตนในตัวให้กับเด็ก ๆ ที่ต้องรับมือกับความเจ็บป่วยร้ายแรง[11]

นอกจากนี้ มูลนิธิยังได้เปิดตัวโครงการไชน์ออน! เธอราพีด็อก ใน ค.ศ. 2010 โดยนำสุนัขบำบัดเต็มเวลาตัวแรกของญี่ปุ่นไปไว้ที่โรงพยาบาลเด็กชิซูโอกะ ซึ่งคือเบลีย์ สุนัขโกลเดินริทรีฟเวอร์ ที่ได้รับการฝึกมาเป็นเวลาสองปีจากฮาวายเคไนส์ฟอร์อินดิเพนเดนซ์ในเมาวี รัฐฮาวาย โดยสุนัขตัวนี้เดินไปที่เตียงเพื่อให้กำลังใจเด็ก ๆ และอยู่เคียงข้างพวกเขาในระหว่างขั้นตอนทางการแพทย์[2][12] ส่วนพยาบาลผู้ดูแลและสุนัขบำบัดจะมาเยี่ยมโรงพยาบาลสัปดาห์ละห้าวัน เพื่อตรวจร่างกายและฟื้นฟูผู้ป่วยเด็ก[13][14][15]

หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ ค.ศ. 2011 มูลนิธิไทเลอร์ได้ตัดสินใจที่จะเสนอความเชี่ยวชาญให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิดังกล่าว โดยกาย โทตาโร "ทูตรอยยิ้ม" แห่งมูลนิธิไชน์ออน! ได้เดินทางไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้เด็ก ๆ ยิ้ม เพื่อเป็นวิธีคลายเครียด[16]

ทางมูลนิธิยังได้จัดทำโครงการดนตรีชื่อ "ไชน์ออน! ซองส์" เพื่อระดมทุน[17] ซึ่งบรรดานักเรียนโรงเรียนประถมซาการิในเมืองโอฟูนาโตะได้ร่วมร้องประสานเสียงในเพลงหนึ่งในซีดีฮูไอวอนต์ทูบี โดยเพลงนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีอาเมะนิโมะมาเกซุที่มีชื่อเสียงของเค็นจิ มิยาซาวะ ในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ ส่วนริเอะ ฟู นักร้องผู้ขับร้องได้เดินทางมาเยี่ยมโรงเรียนประถมซาการิเพื่อแบ่งปันความสุขจากการทำเพลงให้สำเร็จ[18] และศิลปินหลายคนได้บริจาคเพลงให้แก่อัลบัมนี้ รวมถึงจูเลียน เลนนอน ที่บริจาคเพลง "ชิลเดรนออฟเดอะเวิลด์" เพื่อใช้เป็นหนึ่งในเพลงในอัลบัมดังกล่าวเช่นกัน[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "TT-392 -- Leukemia, ebiz news from Japan". Japan Inc. 24 September 2006. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Bring on Bailey! NPO's new approach to help child cancer victims". BCCJ Accumen. November 2010. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Turning Grief Into Hope". TAC InTouch Magazine. August 2010. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  4. "Tyler Foundation helps other sick kids shine on". Japan Times. 2 September 2006. สืบค้นเมื่อ 5 December 2011.
  5. "Shining on after the darkness of death". Japan Times. 13 October 2007. สืบค้นเมื่อ 5 December 2011.
  6. "TT-616 -- Believers in Japan's Health System, e-biz news from Japan". Japan Inc. 6 June 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  7. "Mission and History". Shine On! Kids (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  8. "New iPad Storybook Supports Families of Children with Cancer". Yahoo News. Feb 1, 2012. สืบค้นเมื่อ 29 Feb 2012.
  9. 「走って小児がん家族支援」(2月21日 共同ニュース) “Running to Support Families Facing Pediatric Cancer”. Kyodo News
  10. 「子どもの闘病励ますビーズ」(1月23日 朝日新聞)“Beads Encourage Children with Serious Illness”, Asahi Shimbun. 23 January 2011.
  11. "For Kids With Cancer". WIFM. November 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  12. “Ready to Serve”. Maui News. 19 November 2009.
  13. "「天才!志村どうぶつ園 特別編 涙と奇跡のどうぶつ物語5」". Nippon Television. สืบค้นเมื่อ 12 March 2012.
  14. "「ザ!鉄腕!DASH!! 2時間わんわんスペシャル!!」". Nippon Television. สืบค้นเมื่อ 12 March 2012.
  15. “Believing the Possibility of Being Cured”. Shizuoka Shimbun. 4 January 2011.
  16. "SCRUM DOWN / Talking the talk for charity". Daily Yomiuri. 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  17. “’Ame Ni Mo Makezu’ With Strength”. Tohkai Shimpo. 24 August 2011.
  18. “Sakari Elementary School’s Chorus on CD”. Tohkai Shimpo. 1 November 2011.
  19. "Julian Lennon dona una canción para los niños de Japón". Rolling Stone Mexico. สืบค้นเมื่อ 12 March 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]