ข้ามไปเนื้อหา

ไฉ่สิ่งเอี้ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไฉ่ซิ้งเอี้ย)
ชื่อ
อักษรจีนตัวย่อ: 财神,财神爷
อักษรจีนตัวเต็ม: 財神,財神爺
พินอิน: Cái-shén,Cái-shén-yé
สำเนียงแต้จิ๋ว: ไฉ่สิ่งเอี้ย
สำเนียงฮกเกี้ยน: จ๋ายสิน,จ๋ายสินเอี๊ยะ
ภาษาญี่ปุ่น | : 富の神
ภาษาเกาหลี | อักษรฮันกุล: 생애
เกาหลี: saeng-ae
ภาษาเวียดนาม: Thần Tài
ชื่ออื่นๆ :
  • เจ้าก๊องเบี้ยง (趙公明)
  • ปิดก้วย (比干)

ไฉ่สิ่งเอี้ย หรือ จ่ายสินเอี้ย (จีน: 財神; พินอิน: Cái-shén; อังกฤษ: Cai Shen, God of wealth, God of fortune) เป็นเทพเจ้าของจีนที่ให้คุณทางด้านเงินทอง และโชคลาภ (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) ซึ่งสำหรับชาวจีนแล้วถือเป็นเทพเจ้าที่มีความสำคัญมากที่สุดในการเริ่มเข้าสู่ปีนักษัตรใหม่ (ตรุษจีน) เนื่องจากเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการกราบไหว้เป็นองค์แรกทีเดียว

โดยคำว่า "ไฉ่" หรือ "ไฉ" มีความหมายว่า "ทรัพย์สิน" "สิ่งเอี้ย" หรือ “สินเอี้ย” หมายถึง "เทพเจ้า" โดยเทพที่ได้รับการนับถือว่าเป็นไฉ่ซิ้งเอี้ย มีด้วยกันหลายองค์ แต่องค์ที่ได้รับการบูชามากที่สุด คือ ฟ่านหลี และปี่ กั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ โดยถือว่าเป็นไฉ่สิ่งเอี้ยฝ่ายบุ๋น ขณะที่จ้าวกงหมิง และกวนอู ถือเป็นไฉ่สิ่งเอี้ยฝ่ายบู๊[1]

การบูชาไฉ่สิ่งเอี้ย สามารถพบได้ในหลายประเทศในทวีปเอเชีย เช่น ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเก๊า, ฮ่องกง เป็นต้น

ไฉ่สิ่งเอี้ยที่มีความเก่าแก่ที่สุดพบที่บนหน้าผาในทิเบต เรียกว่าปางชัมภล[2]

เชื่อว่าไฉ่สิ่งเอี้ย จะเสด็จมายังโลกมนุษย์เพียงปีละครั้ง คือ ในวันตรุษจีน ดังนั้น ชาวจีนตั้งแต่โบราณเมื่อเข้าสู่วันตรุษจีน (นับตั้งแต่ 0.00 น.) จะทำการตั้งโต๊ะบูชาไฉ่สิ่งเอี้ย โดยการหันหน้าไปทิศต่าง ๆ ที่เชื่อว่าไฉ่สิ่งเอี้ยจะเสด็จลงมา ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยเวลาที่จะทำการบูชา คือ 23.00–01.00 น. ของวันตรุษจีน โดยทำการบูชาที่ดาดฟ้าบ้านหรือหลังคาบ้าน หรือระเบียงบ้านชั้นสองหรือสาม หรือหน้าบ้านก็ได้[3] ซึ่งของที่ทำการบูชาใช้ของหวาน เช่น ผลไม้, อาหารเจ, บัวลอย, สาคู หรือของรับประทานต่าง ๆ ที่มีสีสันสดใส แต่ไม่ใช้ของคาวหรือเนื้อสัตว์ พร้อมกับนำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เช่น สมุดบัญชีธนาคาร, เช็ค หรือกระเป๋าเงิน มาตั้งวางไว้ด้วย เป็นต้น[4] และเมื่อธูปที่ใช้บูชาใกล้มอดให้รีบนำเข้าบ้าน และปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อให้ควันธูปที่เหลือนั้นตลบอบอวลอยู่ภายในบ้าน เชื่อว่าเป็นการอัญเชิญไฉ่สิ่งเอี้ยเข้ามาประทับในบ้าน[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กิเลน ประลองเชิง (2018-02-17). "ไฉ่ซิ้ง เทพแห่งทรัพย์สิน". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  2. ไฉซิ้งเอี้ย จากสารานุกรมบริตานิกา (อังกฤษ)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 "คิดเช่น Gen D 15 02 61". ฟ้าวันใหม่. 2018-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  4. "***เคล็ดไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิ่งเอี้ย***". ไทยรัฐ.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]