ไข้ป้าง (อัลบั้ม)
ไข้ป้าง | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย นครินทร์ กิ่งศักดิ์ | ||||
วางตลาด | พ.ศ. 2537 | |||
บันทึกเสียง | ระหว่างปี พ.ศ. 2537 | |||
แนวเพลง | อัลเทอร์เนทีฟ , ร็อค | |||
ความยาว | 39:09 | |||
ค่ายเพลง | โซนี่ มิวสิค ไทยแลนด์ | |||
โปรดิวเซอร์ | ปีเตอร์ กัน , นครินทร์ กิ่งศักดิ์ | |||
ลำดับอัลบั้มของนครินทร์ กิ่งศักดิ์ | ||||
|
ไข้ป้าง เป็นผลงานเดี่ยวชุดแรกของ นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2537 ก่อนหน้าอัลบั้มชุด ไข้ป้าง นครินทร์เป็นที่รู้จักในนามวง ไฮดร้า ร่วมกับ ธนา ลวสุต จากอัลบั้มชุดเดียวของวง อัศเจรีย์ ในปี พ.ศ. 2535 แต่ท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ยุบวง [1] อัลบั้มชุดนี้ นครินทร์ได้ทำให้แนวเพลง อัลเทอร์เนทีฟ มีสีสันมากขึ้นด้วยและ และยังมีเพลงที่ฮิตจากอัลบั้มชุดนี้ได้แก่ สบายดี ประตู และ ประตู ในปีเดียวกันนี้นครินทร์ยังได้รับตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เพลงไทย บริษัท โซนี่มิวสิค(ประเทศไทย) อีกด้วย นครินทร์ยังได้มีโอกาสนำผลงานไปแสดงในงานเทศกาลดนตรี " Tokyo Music Festival " โดยหน้าปกอัลบั้มไข้ป้างยังได้ ท้วม ทรนง นักแสดงอาวุโสมาร่วมในหน้าปกชุดนี้ด้วย [2] ในปีเดียวกันนี้ยังตรงกับการปล่อยอัลบั้มชุดแรกของวง โมเดิร์นด็อก ในส่วนของหน้าปกอัลบั้ม อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร เป็นผู้ถ่ายหน้าปกอัลบั้ม และดำเนินการออกแบบโดย นครินทร์ กิ่งศักดิ์ เอง ทั้งนี้วง ztodio tomo ก็ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบหน้าปกด้านใน[3]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "สบายดี" | 4:09 |
2. | "ปีหน้า" | 3:45 |
3. | "เอิ้อมไม่ถึง" | 3:51 |
4. | "คุยกับตัวเอง" | 3:34 |
5. | "ประตู" | 3:21 |
6. | "ที่ว่าการอำเภอ" | 4:21 |
7. | "คำตอบ" | 3:38 |
8. | "นานๆที" | 3:23 |
9. | "วันที่เลวร้าย" | 4:11 |
10. | "เลิกคอย" | 1:56 |
11. | "อยากเด็ก" | 2:58 |
เกร็ดสาระอัลบั้ม
[แก้]- ชื่ออัลบั้มไข้ป้างเป็นการล้อเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นที่มักมีการยิงผู้นำชุมชนหลายแห่ง จนนักข่าวพาดหัวและเรียกกันเล่นๆว่า ไข้โป้ง (โป้งมาจากเสียงปืน)[4]
จากการเล่นคอนเสิร์ตที่ลานเพลิน7สี หมอชิต ปี พ.ศ.2538 ที่มีเหล่าบรรดาวัยรุ่นและนักเรียนอาชีวศึกษาเข้ามาชมกันเป็นจำนวนมากจึงมีการกระทบกระทั่งและยกพวกตีกันเช้าวันรุ่งขึ้น นสพ.ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า คอนเสิร์ตไข้ป้าง กลายเป็นไข้โป้ง นักเรียนนักเลงตีกันเละ