ใบต่อก้าน
ใบต่อก้าน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | แอสเทอริด Asterids |
อันดับ: | อันดับมะเขือ |
วงศ์: | วงศ์ผักบุ้ง |
สกุล: | Evolvulus (L,) L. |
สปีชีส์: | Evolvulus alsinoides |
ชื่อทวินาม | |
Evolvulus alsinoides (L,) L. | |
Varieties | |
|
ใบต่อก้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Evolvulus alsinoides) เป็นพืชดอกในวงศ์ผักบุ้ง กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในเขตร้อน โดยครอบคลุมพื้นที่เขตร้อนและเขตอบอุ่นของออสตราเลเซีย อินโดมาลายา พอลินีเชีย แอฟริกาใต้สะฮารา และทวีปอเมริกา[1] เป็นวัชพืชที่พบได้แทบทุกภาคในประเทศไทย บางครั้งปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับบนดินปนทราย ต้องการน้ำน้อยถึงปานกลาง แสงแดดตลอดวัน
พืชนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกใน ค.ศ. 1753 โดย Carl Linnaeus ภายใต้ชื่อ Convolvulus alsinoides[2][3] จากนั้นใน ค.ศ. 1762 เขาเปลี่ยนพืชนี้ให้อยู่ในสกุลใหม่ชื่อ Evolvulus[2][4]
ลักษณะ
[แก้]ใบต่อก้านมีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกสูง 0.5–1 เมตร ลำต้นมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหอก รูปแถบ หรือรูปขอบขนาน ขนาด 0.1–1 × 0.5–2 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบรูปลิ่ม ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ แต่ส่วนมากมีดอกเดียว ก้านช่อดอกยาว 1–5 เซนติเมตร มีใบประดับขนาด 0.3–0.5 × 1–2 มิลลิเมตร 2 ใบออกตรงข้าม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นถ้วยที่โคน ยาว 1.5–2 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูประฆังสีขาวหรือน้ำเงินอ่อน ยาว 4–5 มิลลิเมตร ปลายแยกกันเล็กน้อย เกสรตัวผู้มี 5 อัน ติดอยู่ที่ฐานหลอดกลีบดอก อับเรณูยาว 0.5–0.8 มิลลิเมตร ติดกับก้านชูเกสรที่ฐาน ก้านชูเกสรยาว 1–1.5 มิลลิเมตร ส่วนเกสรตัวเมีย รังไข่รูปร่างค่อนข้างกลมยาว 0.5–1 มิลลิเมตร มีจานฐานดอกรองรับ ก้านชูเกสรเพศเมียมี 2 ก้าน แต่ละก้านยาว 0.3–0.5 มิลลิเมตร แต่ละก้านมียอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 ก้าน แต่ละก้านยาว 1.5–2 มิลลิเมตร ผลเป็นผลกลมสีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.5–2.5 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงหุ้มทั้งผล เมล็ดสีดำมี 2 เมล็ด แต่ละเมล็ดรูปไต ยาว 1–1.5 มิลลิเมตร[5][6]
เคมี
[แก้]ทั้งต้นใบต่อก้านมีรสขม เป็นยาบำรุง ช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้ ใบนำมามวนเป็นบุหรี่ สูบแก้โรคหืดและหลอดลมอักเสบ[7]
มีการใช้พืชนี้ในการแพทย์ดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกโดยอ้างว่ารักษาอาการทางจิตประสาทและมีคุณสมบัตินูโทรปิกส์[8] แม้ว่าข้ออ้างนั้นไม่ได้รับการยืนยันจากแพทย์ก็ตาม
สารประกอบทางเคมีที่แยกจาก E. alsinoides ได้แก่ scopoletin, umbelliferone, scopolin และ 2-methyl-1,2,3,4-butanetetrol[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Evolvulus alsinoides (L.) L." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2017. สืบค้นเมื่อ 25 February 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "Evolvolus alsinoides". Australian Plant Name Index, IBIS database. Centre for Plant Biodiversity Research, Australian Government. สืบค้นเมื่อ 2021-07-14.
- ↑ Linnaeus, C. (1 May 1753). "Petnandria Monogynia". Species Plantarum. 1: 157.
- ↑ Linnaeus, C. (1762), Species Plantarum Edn. 2, 1: 392
- ↑ "ใบต่อก้าน (Evolvulus alsinoides)". ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. สืบค้นเมื่อ July 13, 2020.
- ↑ สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 235, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- ↑ "ใบต่อก้าน - Evolvulus alsinoides". บ้านและสวน. August 1, 2016. สืบค้นเมื่อ July 13, 2020.
- ↑ Amritpal Singh (2008). "Review of Ethnomedicinal Uses and Pharmacology of Evolvulus alsinoides Linn". Ethnobotanical Leaflets. 12: 734–740.
- ↑ Cervenka F, Koleckar V, Rehakova Z, Jahodar L, Kunes J, Opletal L, Hyspler R, Jun D, Kuca K (2008). "Evaluation of natural substances from Evolvulus alsinoides L. with the purpose of determining their antioxidant potency". J Enzyme Inhib Med Chem. 23 (4): 574–578. doi:10.1080/14756360701674421. PMID 18666003.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ใบต่อก้าน
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Evolvulus alsinoides ที่วิกิสปีชีส์
- Dressler, S.; Schmidt, M. & Zizka, G. (2014). "Evolvulus alsinoides". African plants – a Photo Guide. Frankfurt/Main: Forschungsinstitut Senckenberg.