ข้ามไปเนื้อหา

นูโทรปิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นูโทรปิกส์ (อังกฤษ: nootropics) เป็นกลุ่มสารอธิบายฤทธิ์ทางเภสัชวิยา คำว่านูโทรปิกส์ เป็นคำที่มาจากภาษากรีก คือ noos และ tropein บางครั้งนูโทรปิกอาจมีชื่อเรียกว่า สมาร์ท ดรั๊กส์ (smart drugs) แรกเริ่มนั้นคำนี้ใช้อธิบายฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาที่ชื่อไพราซีแตม(piracetam) ต่อมานิยมใช้คำนี้แพร่หลายมากขึ้น ทำงานโดยเพิ่มปริมาณสารเคมีในสมอง (neurochemicals) ไม่ว่าจะเป็นสารสื่อประสาท(neurotransmitters) เอนไซม์ (enzymes) และฮอร์โมน (hormones)เป็นต้น

คุณสมบัติ

[แก้]

โดยทั่วไปแล้วนูโทรปิกหมายถึงกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. เพิ่มการทำงานด้านคอคนิทิฟ (cognitive function) เช่น กระบวนการเรียนรู้และการจดจำ เป็นต้น
  2. ช่วยปกป้องสมองจากปัจจัยรบกวนต่างๆ เช่น สารพิษ อนุมูลอิสระ เป็นต้น
  3. ต้องไม่มีคุณสมบัติเป็นสารกระตุ้น (classical excitants) ยาสงบระงับ (tranquilizers) หรือ ยารักษาอาการทางจิต (antipsychotics)
  4. มีผลไม่พึงประสงค์ต่ำมากๆ

กลไกการทำงาน

[แก้]

ตัวอย่างสารนูโทรปิกส์ซึ่งมีกลไกการทำงานทางทฤษฎีดังต่อนี้

  1. สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) ซึ่งมีสารออกฤทธิ์ คือ ฟลาโวนอย ไกลโคไซด์ (flavonoid glycosides) และ กิงโกลาย (ginkgolides) สารดังกล่าวนี้มีฤทธิ์เพิ่มประมาณเลือดไปเลี้ยงสมอง ช่วยปกป้องเซลล์ประสาทจากสารพิษ อนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังพบว่ายับยั้งฤทธิ์ของสารพีเอเอฟ (PAF) ที่ทำให้เกล็ดเลือดรวมตัวกัน
  2. ฟอสฟาไทดิลเซอรีน (Phosphatidylserine)ช่วยรักษาโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท เพิ่มจำนวนตัวรับสารสื่อประสาทและกระตุ้นให้ใยประสาทส่วนเดนไดรต์ (dendrite)แตกกิ่งก้านมากขึ้น และยังกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทอีกด้วย
  3. ซิติโคลีน (citicoline) ช่วยรักษาโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ เพิ่มปริมาณสารสื่อประสาทอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทโดปามีน (dopaminergic system)
  4. ไพราซีแตม (Piracetam) ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทโคลิเนอจิก, ระบบประสาทนอร์อดรีเนอจิก และ ระบบประสาทโดปามีน ช่วยรักษาสภาพตัวรับสารสื่อประสาท โดยเฉพาะตัวรับประเภท เอ็นเอ็มดีเอ (NMDA receptors) และโคลิเนอจิก และยังช่วยปกป้องเซลล์ประสาทจากสารพิษ อนุมูลอิสระ
  5. วิโนซีติน (Vinpocetine)ทำงานโดยเพิ่มประมาณเลือดไปเลี้ยงสมอง เพิ่มการขนส่งและการลำเลียงกลูโคสเข้าสู่สมอง และเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาทอะซีติลโคลีน
  6. อะซิติลแอลคาร์นิทีน (Acetyl-L-carnitine)ช่วยเพิ่มการผลิตพลังงานในสมอง ปกป้องเซลล์ประสาทจากสารพิษ อนุมูลอิสระ และช่วยรักษาสภาพตัวรับสารสื่อประสาท
  7. สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) เช่น วิตามินอี และ วิตามินซีทำงานโดยปกป้องเซลล์ประสาทจากสารพิษ อนุมูลอิสระ

อ้างอิง

[แก้]
  • Mark A. McDaniel, Steven F. Maier, and Gilles O. Einstein, “Brain-Specific” Nutrients: A Memory Cure?, Nutrition 19:957–975, 2003