ข้ามไปเนื้อหา

โฮ่วหมู่อู้ติ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฮ่วหมู่อู้ติ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน

โฮ่วหมู่อู้ติ่ง (จีน: 后母戊鼎; พินอิน: Hòumǔwù dǐng) อดีตเรียกเป็น ซือหมู่อู้ติ่ง (司母戊鼎; Sīmǔwù dǐng) เป็นติ่งสัมฤทธิ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าในสมัยราชวงศ์ชางของจีนโบราณ ถือเป็นเครื่องสัมฤทธิ์ที่หนักที่สุดที่ยังคงเหลือรอดจากทุกบริเวณในโลกสมัยโบราณ[1] ติ่งนี้ถูกขุดขึ้นใน ค.ศ. 1939 ที่หมู่บ้านอู่กวาน อานหยาง มณฑลเหอหนาน ใกล้อินซฺวี ที่ตั้งเมืองหลวงสุดท้ายของราชวงศ์ชาง

เจ้าของ

[แก้]

ติ่งนี้มีจารึกในอักษรเครื่องสัมฤทธิ์บนผนังส่วนในที่เขียนว่า "โฮ่วหมู่อู้" (后母戊; Hòumǔwù)[2] โดยเป็นพระอารามนามของฟู่ จิ้ง พระราชินีและมเหสีเอกของพระเจ้าอู่ติง[3] ติ่งนี้สร้างขึ้นหลังพระนางสิ้นพระชนม์ คาดว่าผลิตโดยพระเจ้าจู่เกิง พระโอรส[4] ในขณะที่ตัวติ่งถูกขุดขึ้นมาใน ค.ศ. 1939 ที่หมู่บ้านอู่กวาน (五官村) นครอานหยาง มณฑลเหอหนาน[5] สุสานของฟู่ จิ้ง (สุสานหมายเลข 260 ที่อินซฺวี) ยังไม่พบจนกระทั่ง ค.ศ. 1959 และพบว่าทรัพย์สินในนั้นถูกปล้นไปแล้ว[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The National Museum of China". China Culture. People's Republic of China Ministry of Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-27.
  2. Li (2011), p. 28.
  3. Zeng (1993), p. 71.
  4. 4.0 4.1 Li (2012), p. 13.
  5. Yu Chenglong (于成龙) (บ.ก.). ""Houmuwu" bronze rectangular ding" “后母戊”青铜方鼎. National Museum of China (ภาษาจีน).

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Li Song (2011). Chinese Bronze Ware. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 28–30. ISBN 978-0-521-18685-8.
  • Li Xueqin (李学勤) (2012). 谈新出现的妇妌爵 [On the newly discovered jue of Fu Jing]. Wenbo (ภาษาจีน) (3): 13–14.
  • Zeng Wenqing (曾文清) (1993). "关于"司母戊""司母辛"大方鼎的"司"字质疑" [On the question of the si character on the Simuwu / Simuxin great rectangular ding]. Huaihua Shizhuan Xuebao (ภาษาจีน). 21 (4): 71–73.