ข้ามไปเนื้อหา

อูล็อฟ พัลเมอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอโลฟ พาลเม)
อูล็อฟ พัลเมอ
พัลเมอเมื่อปี 1981
นายกรัฐมนตรีสวีเดน
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม 1982 – 28 กุมภาพันธ์ 1986
กษัตริย์คาร์ลที่สิบหก กุสตาฟ
รองอิงวาร์ คาร์ลซัน
ก่อนหน้าตอร์บยอร์น ฟอลล์ดิน
ถัดไปอิงวาร์ คาร์ลซัน
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม 1969 – 8 ตุลาคม 1976
กษัตริย์กุสตาฟที่หก อะโดลฟ์
คาร์ลที่สิบหก กุสตาฟ
ก่อนหน้าทาเก เอลันเดอร์
ถัดไปตอร์บอยร์น ฟอลล์ดิน
หัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตยสวีเดน
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม 1969 – 28 กุมภาพันธ์ 1986
ก่อนหน้าทาเก เอลันเดอร์
ถัดไปอิงวาร์ คาร์ลซัน
ประธานสภานอร์ดิก
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม 1979 – 31 ธันวาคม 1979
ก่อนหน้าTrygve Bratteli
ถัดไปMatthías Árni Mathiesen
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน 1967 – 14 ตุลาคม 1969
นายกรัฐมนตรีทาเก เอลันเดอร์
ก่อนหน้ารักนาร์ เอเดนมัน
ถัดไปอิงวาร์ คาร์ลซัน
รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อกสาร
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน 1965 – 29 กันยายน 1967
นายกรัฐมนตรีทาเก เอลันเดอร์
ก่อนหน้าเกิสตา สโนกลุนด์
ถัดไปสวันเต ลุนด์กวิสต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
สเวน อูล็อฟ โยอาคิม พัลเมอ

30 มกราคม ค.ศ. 1927(1927-01-30)
สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
เสียชีวิต28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986(1986-02-28) (59 ปี)
สเวียแวเกน สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืน
ที่ไว้ศพโปสถ์อะโดลฟ์ เฟร็ดดริก
พรรคการเมืองสังคมประชาธิปไตย
คู่สมรสJelena Rennerova (สมรส 1948; หย่า 1952)
Lisbeth Beck-Friis (สมรส 1956)
บุตร
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม,
วิทยาลัยเคนเยิน
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์Olof Palme International Center
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สวีเดน ประเทศสวีเดน
สังกัด กองทัพสวีเดน
ประจำการ1945–1947 (ทำงาน)
1947–1977 (สำรอง)
ยศ คัปเตน
หน่วยสเวียอาร์ติลเลอร์รี

สเว็น อูล็อฟ โยอาคิม พัลเมอ (สวีเดน: Sven Olof Joachim Palme, ออกเสียง: [ˈûːlɔf ˈpâlːmɛ] ; 30 มกราคม 1927 – 28 กุมภาพันธ์ 1986) เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษชาวสวีเดน อดีตนายกรัฐมนตรีสวีเดนสองสมัย จากปี 1969 ถึง 1976 และอีกวาระในปี 1982 ถึง 1986 อดีตหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตยสวีเดนตั้งแต่ปี 1969 จนกระทั่งถูกลอบสังหารในปี 1986

เขาเป็นผู้อยู่ภายใต้อุปถัมภ์ของอดีตนายกรัฐมนตรีทาเก เอลันเดอร์ มาตลอด และตัวเขาเองได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสวีเดนวาระแรกในปี 1969 โดยนำคณะรัฐบาลสภาไพรวี ก่อนจะแพ้การเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 1976 ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปีที่พรรคสังคมประชาธิปไตยแพ้การเลือกตั้งทั่วไปสำหรับนายกรัฐมนตรี ในขณะดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำฝ่ายค้าน เขามีบทบาทเป็นผู้ประสานงานพิเศษของสหประชาชาติในสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน รวมถึงเป็นประธานสภานอร์ดิกในปี 1979 เขาพ่ายแพ้การเลือกตั้งอีกครั้งในปี 1979 แต่ท้ายที่สุดก็ชนะการเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 1982 และ 1985 ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งจนเสียชีวิตในตำแหน่ง

พัลเมอถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งและก่อให้เกิดการแบ่งขั้ว (polarising) อย่างมาก[1] ทั้งในการเมืองระดับประเทศและระหว่างประเทศ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เขาเป็นผู้มั่นคงในนโยบายแบบไม่ฝักใฝ่ชาติมหาอำนาจใด ๆ ประกอบการสนับสนุนขบวนการปลดแอกและได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคมมากมาย โดยเฉพาะการสนับสนุนทางการเงินและเป็นปากเสียงให้กับประเทศโลกที่สามจำนวนมากซึ่งเป็นที่ถกเถียงอย่างรุนแรง เขาเป็นผู้นำชาติตะวันตกคนแรกที่เดินทางไปยังประเทศคิวบานับตั้งแต่การปฏิวัติคิวบา และได้กล่าวสุนทรพจน์ในซานเตียโกเชิดชูนักปฏิวัติคิวบา

หลายครั้งเขามักโจมตีและวิจารณ์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐและสหภาพโซเวียต เขาแสดงการขัดขืนต่อลัทธิจักรวรรดินิยม และการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ซึ่งรวมทั้งฟรันซิสโก ฟรังโก แห่งสเปน, เลโอนิด เบรจเนฟ แห่งสหภาพโซเวียต, อังตอนียู ดึ ออลีไวรา ซาลาซาร์ แห่งโปรตุเกส, กุสตาว ฮูซาก แห่งเช็กโกสโลวาเกีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อจอห์น วอร์สเตอร์ และปีเตอร์ วิลเลิม โบทา แห่งแอฟริกาใต้ ที่ซึ่งพัลเมอเคยประณามระบบถือผิวว่าเป็น "ระบบที่เลวทรามเป็นพิเศษ" ในปี 1972 พัลเมอได้แถลงการณ์ประณามการทิ้งระเบิดที่ฮานอยของสหรัฐ เปรียบเทียบการทิ้งระเบิดนี้กับ "อาชญากรรม" ในอดีตจำนวนมากรวมถึงการทิ้งระเบิดที่เกร์นิกา, การสังหารหมู่ที่ออราดูร์-ซูร์-กลาน, บาบึนยาร์, กาตึญ, ลิดยิตแซ และชาร์เพวิลล์ รวมถึงการวิจารณ์และประณามนโยบายต่างประเทศอื่น ๆ ของสหรัฐจนส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศถูกแช่แข็งชั่วคราว

พัลเมอถูกลอบสังหารบนถนนเส้นหนึ่งในสต็อกโฮล์มในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1986 ถือเป็นเหตุฆาตกรรมผู้นำระดับชาติของสวีเดนครั้งแรกนับตั้งแต่กษัตริย์กุสตาฟที่สามเมื่อปี 1792 เหตุลอบสังหารนี้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโดยเฉพาะในสแกนดิเนเวีย[2] คริสเตอร์ เพ็ตเตอช็อน ชายคนติดยาในพื้นที่ถูกตัดสินว่าเป็นผู้ก่อเหตุ มีความผิดฐานฆาตกรรม โดยศาลแขวง แต่ต่อมาได้รับการตัดสินให้พ้นโทษ มติเป็นเอกฉันท์โดยศาลอุทธรณ์สเวีย ในวันที่ 10 มิถุนายน 2020 อัยการได้ออกมาให้ข้อมูลกับสื่อประกาศว่ามี "หลักฐานที่มีมูล" ว่าสติก เอิงสเตริม เป็นผู้ก่อเหตุฆาตกรรม[3] อย่างไรก็ตาม เอิงสเตริมฆ่าตัวตายในปี 2000 เจ้าหน้าที่ทางการจึงประกาศว่าการตรวจสอบการเสียชีวิตของพัลเมอถือว่าสิ้นสุดแล้ว[3] การสรุปในปี 2020 ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากบรรดานักกฎหมาย ตำรวจ และนักข่าวซึ่งประณามหลักฐานเหล่านั้นว่าเป็นรองและเป็นเพียงพยานแวดล้อมกรณี (circumstantial) รวมถึงอ่อนเกินกว่าจะยืนยันในชั้นศาลได้ต่อให้ผู้ต้องสงสัยยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sweden's chance to heal 'open wound' of former PM's murder". 4 May 2020.
  2. Nordstrom, Byron (2000). Scandinavia Since 1500. University of Minnesota Press, p. 347. "The February 1986 murder of Sweden's Prime Minister Olof Palme near Sergelstorget in the middle of Stockholm's downtown shocked the nation and region. Political assassinations were virtually unheard-of in Scandinavia."
  3. 3.0 3.1 "Olof Palme murder: Sweden believes it knows who killed PM in 1986". BBC News. 10 June 2020.
  4. Sallinen, Jani Pirttisalo (12 June 2020). "Bevisen hade fått svårt – på punkt efter punkt". Svenska Dagbladet.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Olof Palme
ก่อนหน้า อูล็อฟ พัลเมอ ถัดไป
ตำแหน่งระหว่างประเทศ
สมัยก่อนหน้า
Trygve Bratteli
ประธานสภานอร์ดิก
1979
สมัยต่อมา
Matthías Árni Mathiesen
ตำแหน่งทางการเมือง
สมัยก่อนหน้า
Gösta Skoglund
รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสาร
1965–1967
สมัยต่อมา
Svante Lundkvist
สมัยก่อนหน้า
Ragnar Edenman
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
1967–1969
สมัยต่อมา
Ingvar Carlsson
สมัยก่อนหน้า
Tage Erlander
นายกรัฐมนตรีสวีเดน
1969–1976
สมัยต่อมา
Thorbjörn Fälldin
สมัยก่อนหน้า
Thorbjörn Fälldin
นายกรัฐมนตรีสวีเดน
1982–1986
สมัยต่อมา
Ingvar Carlsson
วาระในพรรคการเมือง
สมัยก่อนหน้า
Tage Erlander
ผู้นำพรรคสังคมประชาธิปไตยสวีเดน
1969–1986
สมัยต่อมา
Ingvar Carlsson