ข้ามไปเนื้อหา

ฟรันซิสโก ฟรังโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรันซิสโก ฟรังโก
ฟรังโกใน ค.ศ. 1964
เกาดีโญแห่งสเปน[b]
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 1936[a] – 20 พฤศจิกายน 1975
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้า
ถัดไปเจ้าชายฆวน การ์โลส
(พระมหากษัตริย์สเปน)
นายกรัฐมนตรีสเปน
ดำรงตำแหน่ง
30 มกราคม 1938[a] – 9 มิถุนายน 1973
เกาดีโญเขาเอง
ก่อนหน้า
ถัดไปลุยส์ การ์เรโร บลังโก
หัวหน้าแห่งชาติเฟตอีเดลัสโฆนส์
ดำรงตำแหน่ง
19 เมษายน ค.ศ. 1937 – 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975
รองฟรันซิสโก โกเมซ-ฆอร์ดานา (1938–1939)
ไม่มี (1939–1962)
อากุสติน มูนอซ กรานเดส (1962–1967)
ลุยส์ การ์เรโร บลังโก (1967–1973)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปการ์โลส อาเรียส นาวาร์โร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฟรันซิสโก เปาลิโน เอร์เมเนฆิลโด เตโอดูโล ฟรังโก บาอามอนเด

4 ธันวาคม 1892
เฟร์รอล, อาโกรุญญา , ราชอาณาจักรสเปน
เสียชีวิต20 พฤศจิกายน 1975 (82 ปี)
มาดริด , สเปน
ที่ไว้ศพ
เชื้อชาติสเปน
พรรคการเมืองเฟตอีเดลัสโฆนส์
คู่สมรสการ์เมน โปโล (สมรส 1923)
บุตรมาเรีย เอล การ์เมน
ที่อยู่อาศัยเอลปาร์โด, มาดริด
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
สังกัดกองทัพสเปน
ประจำการ1907–1975
ยศ
บังคับบัญชาทั้งหมด (จอมพลสูงสุด)
ผ่านศึกสงครามริฟ
สงครามกลางเมืองสเปน
สงครามอิฟนี่

ฟรันซิสโก ฟรังโก บาอามอนเด (สเปน: Francisco Franco Bahamonde) (ชื่อเกิด ฟรันซิสโก เปาลิโน เอร์เมเนฆิลโด เตโอดูโล ฟรังโก บาอามอนเด, สเปน: Francisco Paulino Hermenegildo Teódulo Franco Bahamonde) (4 ธันวาคม พ.ศ. 2435 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518) เป็นนายทหารชาวสเปนผู้นำพากลุ่มแห่งชาติโค่นล้มสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน และปกครองสเปนช่วงปี พ.ศ. 2482-2518 ในฐานะผู้เผด็จการโดยการตำแหน่งเกาดีโญ (Caudillo) ประวัติศาสตร์สเปนในช่วงเวลานี้ตั้งแต่ชัยชนะของฝ่ายชาตินิยมจนถึงการเสียชีวิตของฟรังโก เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อสเปนภายใต้การนำของฟรังโกหรือที่เรียกว่าระบอบเผด็จการฟรังโก

เกิดที่เมืองเอลเฟร์โรล แคว้นกาลิเซีย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยโตเลโดในปี พ.ศ. 2453 ได้รับประสบการณ์ในการรบเป็นอย่างมากในสงครามโมร็อกโก และได้เป็นนายพลที่หนุ่มที่สุดของประเทศสเปนเมื่อปี พ.ศ. 2469 ระหว่างสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (พ.ศ. 2474-2479) ฟรังโกได้เป็นผู้นำทำการปราบปรามกบฏชาวเหมืองอัสตูรีอัส และในปี พ.ศ. ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะเสนาธิการทหาร

ในปี พ.ศ. 2479 ฟรังโกได้เข้าร่วมสมรู้ร่วมคิดกับฝ่ายกบฏเพื่อต่อต้านรัฐบาล (เลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2479) และลงมือก่อการกบฏเมื่อวันที่ 17-18 กรกฎาคมซึ่งได้กลายเป็นชนวนสงครามกลางเมืองสเปน (พ.ศ. 2479-2482) ความเป็นผู้นำของฟรังโกในกองทัพแอฟริกาที่สำคัญยิ่งและความใกล้ชิดสนิทสนมกับอิตาลีและเยอรมนีซึ่งเข้าข้างฝ่ายกบฏ ทำให้ฟรังโกกลายเป็นนายพลผู้บัญชาการกองกำลังฝ่ายกบฏและเป็นประมุขประเทศของคณะรักชาติ ระหว่างเดือนตุลาคม 2479 - เมษายน 2482 ฟรังโกได้เป็นผู้นำคณะชาติสู่ชัยชนะ และนับแต่นั้นมาก็ได้วางรากฐานระบอบเผด็จการที่ยั่งยืนมาจนถึงวันสิ้นชีวิต

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ระยะแรกฟรังโกยืนอยู่ข้างเยอรมนีและอิตาลีในลักษณะผู้ไม่เข้าร่วมประกาศสงครามมากว่าการเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2486 ฟรังโกได้ปรับเปลี่ยนนโยบาย นำเอาสเปนออกจากการเกี่ยวข้องกับฝ่ายอักษะได้อย่างชาญฉลาด ระหว่าง พ.ศ. 2492-2502 การต่อต้านคอมมิวนิสต์ของฟรังโกทำให้สเปนสามารถเชื่อมสัมพันธไมตรีได้เป็นอย่างดีกับฝ่ายอำนาจตะวันตก

ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองไกล ในปี พ.ศ. 2512 จอมพลฟรังโกได้ประกาศให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า หากตนสิ้นชีวิตไปแล้ว ขอให้มีการสถาปนาระบอบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่โดยให้มีการปราบดาภิเษก "เจ้าชายฆวน การ์โลส" พระราชนัดดาของกษัตริย์องค์สุดท้ายขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สเปนสืบต่อไป ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี หลังท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมนั้น ความเป็นเผด็จการของสเปนได้หายไปอย่างที่อาจเรียกได้เกือบไม่มีร่องรอยให้เห็น

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ในสงครามกลางเมืองสเปนจนถึง 1 เมษายน ค.ศ. 1939
  2. กลุ่มกบฏแต่งตั้งเขาเป็นจอมพลสูงสุดแห่งกองทัพและหัวหน้ารัฐบาลรัฐสเปนเมื่อปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 1936 ประมุขแห่งรัฐเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่ระบอบการปกครองใช้บ่อยที่สุดหลังจากการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการของฟรังโกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1936 และเป็นตำแหน่งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแห่งรัฐ ค.ศ. 1967[1][2][3]
  3. ประธานคณะพิทักษ์แห่งชาติฝ่ายชาตินิยม
  4. ปรธานคณะเทคนิกแห่งชาติฝ่ายชาตินิยม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Decreto núm. 138. Nombrando Jefe del Gobierno del Estado Español al Excelentísimo Sr. General de División don Francisco Franco Bahamonde, quien asumirá todos los poderes del nuevo Estado" (PDF). Boletín Oficial de la Junta de Defensa Nacional de España (ภาษาสเปน). Agencia Estatal Boletín Oficial del Estado (32): 125–126. 30 September 1936. ISSN 0212-033X.
  2. "Ley organizando la Administración Central del Estado" (PDF). Boletín Oficial del Estado (ภาษาสเปน). Agencia Estatal Boletín Oficial del Estado (467): 5514–5515. 31 January 1938. ISSN 0212-033X.
  3. "Ley Orgánica del Estado, número 1/1967, de 10 de enero" (PDF). Boletín Oficial del Estado (ภาษาสเปน). Agencia Estatal Boletín Oficial del Estado (9): 466–477. 11 January 1967. ISSN 0212-033X.
  4. "Manuel Azaña". Encyclopaedia Britannica online. 2023-10-31. As President of the Spanish Republic (1936-1939)
  5. Gobierno de España - Presidencia del Gobierno (บ.ก.). "Relación cronológica de los presidentes del Consejo de Ministros y del Gobierno". La Moncloa (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2023-01-18. Prime Minister of the Second Spanish Republic between 17 May 1937-31 March 1939

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]