ข้ามไปเนื้อหา

โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอเรียนต์ไทยแอร์ไลน์)
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์
IATA ICAO รหัสเรียก
OX OEA ORIENT THAI
ก่อตั้งพ.ศ. 2538
เลิกดำเนินงานกรกฎาคม พ.ศ. 2561 (การบิน)
9 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (ชำระบัญชี)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ขนาดฝูงบิน13
จุดหมาย4
สำนักงานใหญ่เขตคลองเตย, กรุงเทพ, ประเทศไทย
บุคลากรหลักKajit Habanananda, ประธาน
เว็บไซต์http://www.flyorientthai.com

บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด เป็นอดีต[1]สายการบินไทยที่มีสำนักงานใหญ่ที่เขตคลองเตย กรุงเทพ[2] โดยมีบริการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีฐานที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561 สายการบินนี้ยกเลิกกิจการทั้งหมด[3]

ประวัติ

[แก้]

โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2538 เดิมใช้ชื่อว่า โอเรียนท์ เอ็กซ์เพรส แอร์ โดยเปิดให้บริการเที่ยวบินเส้นทางภายในประเทศระหว่างภูมิภาค ด้วยเครื่องบินแบบโบอิง 727 จำนวน 2 ลำ บินจากเชียงใหม่ไปยังอุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น ฯลฯ และในปลายปี พ.ศ. 2539 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ และได้นำเข้าเครื่องบินแบบล็อกฮีต แอล-1011 ไทรสตาร์ จำนวน 2 ลำ บินจากกรุงเทพมหานครไปเชียงใหม่และภูเก็ต โดยแวะพักที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ด้วยสาเหตุที่ประเทศไทยยังไม่เปิดเสรีการบิน น่านฟ้าผูกขาดโดย การบินไทย หลังจากนั้นสายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จึงได้งดให้บริการเที่ยวบินเส้นทางภายในประเทศชั่วคราว และหันไปเปิดให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำร่วมกับสายการบิน กัมพูเชีย แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน และในปี พ.ศ. 2544 เมื่อประเทศไทยเปิดเสรีการบิน น่านฟ้าไม่มีการผูกขาด สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จึงได้นำเข้าเครื่องบินแบบโบอิง 747 คลาสสิก จำนวน 2 ลำ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ได้เปิดเส้นทางไปยังฮ่องกง และในเดือนเมษายนปีเดียวกัน ได้เปิดเส้นทางไปยังโซล (อินชอน) ในปี พ.ศ. 2545 ได้นำเข้าเครื่องบินแบบ โบอิง 747 คลาสสิก และล็อกฮีต แอล-1011 ไทรสตาร์ มาประจำการเพิ่มเติม และได้เปิดเส้นทางเพิ่มเติมไปยังกัวลาลัมเปอร์ โดยแวะพักที่สิงคโปร์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2546 จึงได้ก่อตั้ง วัน-ทู-โก โดย สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดสายการบินแรกของประเทศไทย ภายใต้การบริหารงานของ สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่

โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ได้ยุติการให้บริการเที่ยวบินทั้งหมดอย่างถาวรในปี พ.ศ. 2561 เนื่องจากถูกสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) สั่งพักใบอนุญาตทำการบินของโอเรียนท์ฯ แบบไม่มีกำหนด สืบเนื่องมาจากปัญหาด้านภาระหนี้สินที่โอเรียนท์ฯ ค้างจ่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงค่าเช่าที่จอดเครื่องบินของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และค่าใช้บริการจราจรทางอากาศของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย[4][5]

เส้นทางการบิน

[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์มีเส้นทางการบินดังนี้:[6]

ประเทศไทย
สาธารณรัฐประชาชนจีน
เครือรัฐออสเตรเลีย

ฝูงบิน

[แก้]

ฝูงบินที่ใช้งาน

[แก้]
โบอิง 767-300 ของโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ฝูงบินของโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์มีดังนี้:[7]

อากาศยาน บริการ ลำดับ หมายเหตุ
โบอิง 737-300 4 ทั้งหมดถูกเก็บรักษาแล้ว
โบอิง 737-400 2 ทั้งหมดถูกเก็บรักษาแล้ว
โบอิง 747-400 3 ทั้งหมดถูกเก็บรักษาแล้ว
โบอิง 767-300 5 ทั้งหมดถูกเก็บรักษาแล้ว
รวม 14

ฝูงบินที่เลิกใช้งาน

[แก้]
โบอิง 747-200SF อดีตอากาศยานของโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80 อดีตอากาศยานของโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์

ในอดีต โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ เคยสั่งจองโบอิง 747 เป็นจำนวนมาก:[8]

ฝูงบินที่เลิกใช้งานของโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์[8]
อากาศยาน รวม หมายเหตุ
โบอิง 737-300 2 เคยเป็นของคอนติเนนตัล แอร์ไลน์ และแอร์ไชนา
ล็อกฮีด L1011-1 6 เคยเป็นของริชอินเตอร์เนชันเนลแอร์เวย์ 1 ลำ, คาเธ่ย์แปซิฟิค 3 ลำ, กัมปูเจียแอร์ไลน์ 1 ลำ และเดลตาแอร์ไลน์ 1 ลำ
โบอิง 747-100 2 เคยเป็นของเจแปนแอร์ไลน์
โบอิง 747-100SR/SUD 2 เคยเป็นของเจแปนแอร์ไลน์
โบอิง 747-200B 7 เคยเป็นของเจแปนแอร์ไลน์, ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และโอเรนจ์แอร์
โบอิง 747-200SF 1 เคยเป็นอากาศยานขนส่งสินค้าของเจแปนแอร์ไลน์; ขายให้กับเอ็มเคแอร์ไลน์
โบอิง 747-200SCD 1 เคยเป็นอากาศยานขนส่งสินค้าของเจแปนแอร์ไลน์; ขายให้กับเอ็มเคแอร์ไลน์
โบอิง 747-300 6 เคยเป็นของโคเรียนแอร์กับเจแปนแอร์ไลน์; ลำหนึ่งขายให้แม็กซ์แอร์
โบอิง 747-300M 1 เคยเป็นของเคแอลเอ็ม
โบอิง 747-400 1 เคยเป็นของการูดาอินโดนีเซียและคาเธ่ย์แปซิฟิคแอร์เวย์
โบอิง 747-400M 1 เคยเป็นของซาอูเดีย; ขายให้กับอีเกิลเอ็กซ์เพรส
โบอิง 767-300ER 3 เคยเป็นของแอโรฟลอตและไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-81 2 เคยเป็นของเจแปนแอร์ไลน์
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-82 2 เคยเป็นของมอนต์แอร์ไลน์และไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์

อุบัติเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "[1]." Orient Thai Airlines profile."
  2. "Contact Us เก็บถาวร 2012-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Orient Thai Airlines. Retrieved on 27 February 2012. "18 Ratchadapisek Road,Klongtoey, Bangkok 10110" – Thai เก็บถาวร 2011-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: "เลขที่ 18 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110"
  3. "หนี้ท่วมสายการบินโอเรียนท์ สั่งพักใบอนุญาตไม่มีกำหนด". 11 October 2018.
  4. "กพท. สั่ง โอเรียนท์แอร์ หยุดบินไม่มีกำหนด หลังหนี้ท่วม". ประชาชาติธุรกิจ. 10 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "หนี้ท่วมสายการบินโอเรียนท์ สั่งพักใบอนุญาตไม่มีกำหนด". ไทยรัฐ. 11 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. flyorientthai.com – Flight Schedule เก็บถาวร 2019-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 5 November 2017
  7. planespotters.net – Orient Thai Airlines Fleet Details and History retrieved 8 June 2018
  8. 8.0 8.1 planespotters.net – Orient Thai Airlines Fleet Details and History: Historic Fleet retrieved 8 February 2017
  9. "Orient Thai B747 passes within 200m of Tokyo Tower". สืบค้นเมื่อ 2011-07-27.
  10. Maierbrugger, Arno (1 Aug 2013). "Exclusive – Orient Thai in near-crash landing". Inside Investor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 1 Aug 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์