ข้ามไปเนื้อหา

โอลิวีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Olivine
การจำแนก
ประเภทแร่
สูตรเคมี(Mg, Fe)2SiO4
คุณสมบัติ
สีเหลือง เหลืองเขียว
โครงสร้างผลึกออร์โทรอมบิก
แนวแตกเรียบ{010} ไม่ชัด
รอยแตกเปราะ
ค่าความแข็ง6.5–7
ความวาวเหมือนแก้ว
ดรรชนีหักเหnα = 1.630–1.650
nβ = 1.650–1.670
nγ = 1.670–1.690
คุณสมบัติทางแสงBiaxial (+)
ค่าแสงหักเหสองแนวδ = 0.040
สีผงละเอียดสีขาว
ความถ่วงจำเพาะ3.27–3.37
ความโปร่งมีความโปร่งใสถึงโปร่งแสง
อ้างอิง: [1][2][3]
Crystal structure of olivine.
Description: The dominant slip system in olivine changes with temperature from the {110} plane in the [001] direction at low temperature to {010} plane in the [100] direction at high temperature. At intermediate temperature, there are a number of slip systems in the [001] direction.

โอลิวีน (อังกฤษ: Olivine) เป็นภาษาโบราณ หมายถึง สีเขียวมะกอก (Olive green) และยังหมายถึงว่า เป็น แร่ประกอบหิน แต่ในลักษณะที่เป็นรัตนชาติ เรียกว่า เพริดอต (Peridot) ส่วนคำว่า คริโซไลต์ (Chysolite) ก็หมายถึง โอลิวีน เช่นกัน แร่ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย[4]

  1. ฟอสเตอไรต์ (Forsterite) Mg2SiO4
  2. โอลิวีน (Olivine) หรือ คริโซไลต์ (Chrysolite) (Mg, Fe) 2SiO4
  3. ฟายาไลต์ (Fayalite) Fe2SiO4

คลาส (Class) : ซิลิเกต (silicate)

สับคลาส (Subclass) :นีโซซิลิเกต (Nesosilicates)

กลุ่ม (Group) : โอลิวีน (Olivine)

คุณสมบัติทางกายภาพ

[แก้]
  • สี (Color) : สีเขียวมรกต,สีเขียวมะกอก (Olive green),สีเหลืองเขียวซีด สีเขียวน้ำตาล,สีดำ, สีแดง นอกจากนี้ยังพบพวกไม่มีสี ซึ่งพวกที่ไม่มีสีมักจะเป็นพวกฟอสเตอไรต (forsterite) บริสุทธิ์ ในขณะที่มีสีเขียวน้ำตาลถึงสีดำอาจเป็นพวกฟายาไลต์ (fayalite) ทั้งหมด
  • องค์ประกอบ (Composition) : เป็นพวกแมกนีเซียม-เหล็ก ซิลิเกต (Magnesium iron silicate) โดยมี Magnesium end memberคือฟอสเตอไรต forsterite (Magnesium silicate) และเป็น iron end member คือฟายาไลต fayalite (Iron silicate).ส่วนแร่สมาชิกที่อยู่ระหว่างทั้งสองตัวที่เป็นที่รู้จักคือ ( Intermediary member) คือคริโซไลต Chrysolite
  • ความวาว (Luster) : เป็นเหมือนแก้ว (vitreous)
  • ระบบผลึก (Crystal System) :เป็นออร์โทรอมบิก orthorhombic; 2 / m 2 / m 2 / m
  • ความโปร่งใส (Transparency) : มีความโปร่งใสถึงโปร่งแสง
  • สมบัติทางแสง (Optical properties) : ไบแอกเซล Biaxial (+)
  • แนวแตกเรียบ (Cleavage) : {010} ไม่ชัด
  • รอยแตกหัก (Fracture) : เป็นก้นหอย conchoidal
  • ค่าความแข็ง (Hardness) : 6.5-7
  • ความเหนียว (Tenacity) :เปราะ (Brittle)
  • ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) : สำหรับฟอร์สเตอไรต์ (forsterite) ~ 3.2
    สำหรับฟายาไลต์ fayalite ~ 4.3 (สูงกว่าค่าเฉลี่ยสำหรับที่ไม่ใช่โลหะแร่ธาตุ)
  • สีผง (Streak) : สีขาว
  • การทดสอบ (Complex Test) : ละลายได้ใน กรดไฮโดรคลอริก (HCl)
  • ค่าดัชนีหักเห (Refraction index) : nα = 1.630–1.650
    nβ = 1.650–1.670
    nγ = 1.670–1.690
  • ลักษณะอื่น ๆ (Other Characteristics) : มีการหักเหสองครั้ง (Double refraction)
  • แร่ธาตุที่เกิดร่วมกัน (Associated Minerals) : มีไดออปไซด์ (Diopside) , สปิเนล (Spinel) ,เฟลสปาร์ (Feldspars),แพคจิโอเคด (Plagioclase) ,โครไมต์ (Chromite) , ฮอร์นเบลนด์ (Hornblend) ,เซอร์เพนทีน (Serpentine), อุกกาบาตที่มีเหล็กนิกเกิล (Iron-nickle) และ ออร์ไจต์ (Augite)
  • ลักษณะเด่น และวิธีตรวจ: สังเกตจากความวาวที่คล้ายแก้ว รอยแตกเว้า สีเขียว และลักษณะของผลึกที่เกาะกลุ่มกันแน่น ใส่กรดเกลือแล้วอุ่นให้ร้อนจะละลานได้ง่าย เกิดลักษณะที่เป็นของซิลิกา
  • แหล่งอ้างอิง:[5][6][7][8][9][10][11]

คุณสมบัติทางเคมี

[แก้]

สูตรเคมี (Mg, Fe) 2SiO4 มี MgO 42.06% , FeO 18.75% , SiO2 39.9%
ธาตุแมกนีเซียมและเหล็กมีคุณสมบัติในการแทนที่กันได้ โดยที่โครงสร้างของผลึกไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าแมกนีเซียมและเหล็กมีคุณสมบัติในการแทนที่กันได้ ถ้าแมกนีเซียมไปแทนที่เหล็กจะได้สูตรเป็น Mg2SiO4 เรียกว่า ฟอร์สเตอไรต์ (forsterite) และถ้าเหล็กไปแทนที่แมกนีเซียมก็จะได้สูตรทางเคมีเป็น Fe2SiO4เรียกว่า ฟายาไลต์ (fayalite) โดยปกติแล้ว โอลิวีนจะมีธาตุแมกนีเซียมมากกว่าเหล็ก เนื่องจาก ฟายาไลต์ (fayalite) เป็นโอลิวีนที่ประกอลไปด้วยเหล็กมาก ทำให้ดัชนีหักเหมีค่าสูง , หนัก และมีสีเข้มมากกว่า ฟอร์สเตอไรต์ (forsterite) ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องยากที่จะแยกความแตกต่างของแร่ที่มีทั้งธาตุเหล็กและแมกนีเซียม[12]

สภาพแวดล้อมที่พบ

[แก้]

หินอัคนีเมฟิก (Mafic igneous rocks) and หินอัลตราเมฟิก (Ultra mafic igneous rocks) และยังพบในหินแปร (Metamorphic rock) และ เซอร์แพนทีนไนต์ (Serpentinite) ที่ตกสะสมตัวเป็นแร่ตั้งต้น (Primary mineral) [13]

การเกิด

[แก้]

โอลิวีนเป็นแร่ประกอบหินที่พบมากในหินอัคนีชนิดเมฟิก เช่น หินแกบโบร หินเพริโดไทต์ และหินบะซอลต์ หินดันไนต์ประกอบด้วยโอลิวีนอย่างเดียว พบเป็นแร่รองในหินแกรนิต หินแกนโนไดออไรต์ หินไซอีไนต์ และหินเนฟิลีนไซลีไนส์ บางทีก็พบเป็นเม็ดแก้วฝังในอุกกาบาต และอาจจะพบในหินปูนที่มีโดโลไมต์ปนอยู่ด้วย เกิดร่วมกับแร่ประกอบหินอื่นๆ เช่น ไพรอกซีน แคลซิแพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ แมกนีไทต์ คอรันดัม โครไมต์ และเซอร์เพนทีน[14][15]

การแยกแร่ที่คล้ายแร่โอลิวีน

[แก้]
  • 'ทัวร์มาลีน (Tourmaline) ' -- สภาพแวดล้อมและโครงสร้างผลึกที่แตกต่างกัน
  • 'อะพาไทต์ (Apatite) ' – อ่อนกว่า (Softer), มีพฤติกรรมของผลึก (Crystal habits) ที่แตกต่างกัน
  • 'โกเมน (Garnet) ' – เกิดขึ้นในผลึกที่แตกต่างกัน, ไม่มีแนวแตกเรียบ (Cleavage) [16]


แหล่งที่พบ

[แก้]

ประโยชน์

[แก้]

โอลิวีน มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลาย ใช้เป็น ฟลักซ์ (Flux) สำหรับการผลิตเหล็กและยังเป็นที่สำคัญแร่ของโลหะแมกนีเซียม เป็นแร่ที่ให้ไทเทเนียมออกไซด์ ซึ่งใช้ในการทำสี ถ้าเป็นแร่ที่ใสและสีสวยใช้เป็นแร่รัตนชาติที่มีความวาวเด่นมาก เช่นเพอริดอต Peridot มีความโปร่งใส สี่เขียวมะกอกไปหลากหลาย มักมีสีเขียวสีเหลืองเป็นที่รู้จักกันดี เป็นที่นิยมมากในเครื่องประดับมากมาย, ใช้ในอุตสาหกรรมเช่น วัสดุทนไฟและขัดมัน[19][20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Webmineral
  2. Mindat
  3. Klein, Cornelis (1985). Manual of Mineralogy (21rst ed.). New York: John Wiley & Sons. ISBN 0-471-80580-7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. THE OLIVINE MINERAL SERIES
  5. แร่โอลิวีน (Olivine, Chrystolite, Peridot)[ลิงก์เสีย]
  6. Mindat
  7. "Department of Mineral Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  8. THE OLIVINE MINERAL SERIES
  9. THE MINERAL OLIVINE
  10. wikipedia-olivine
  11. The Guide to Rocks and Minerals.
  12. "Department of Mineral Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  13. THE MINERAL OLIVINE
  14. "แร่โอลิวีน (Olivine, Chrystolite, Peridot)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  15. "Department of Mineral Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  16. THE OLIVINE MINERAL SERIES
  17. "แร่โอลิวีน (Olivine, Chrystolite, Peridot)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  18. "Department of Mineral Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  19. THE OLIVINE MINERAL SERIES
  20. "แร่โอลิวีน (Olivine, Chrystolite, Peridot)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]