ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดโอกินาวะ

พิกัด: 26°30′N 128°0′E / 26.500°N 128.000°E / 26.500; 128.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอกินาว่า)
จังหวัดโอกินาวะ

沖縄県
การถอดเสียงภาษาพื้นเมือง
 • ภาษาญี่ปุ่น沖縄県 Okinawa-ken
 • ภาษาโอกินาวะUchinaa-chin
ธงของจังหวัดโอกินาวะ
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของจังหวัดโอกินาวะ
สัญลักษณ์
ที่ตั้งของจังหวัดโอกินาวะ
พิกัด: 26°30′N 128°0′E / 26.500°N 128.000°E / 26.500; 128.000
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคเกาะคีวชู
เกาะโอกินาวะ, ไดโตะ, ซากิชิมะ และ เซ็งกากุ (พิพาท)
เมืองหลวงนาฮะ
หน่วยงานย่อยอำเภอ: 5, เทศบาล: 41
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการเดนนี ทามากิ
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,281 ตร.กม. (881 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่44
ประชากร
 (2 กุมภาพันธ์ 2020)
 • ทั้งหมด1,457,162 คน
 • อันดับ29
 • ความหนาแน่น640 คน/ตร.กม. (1,700 คน/ตร.ไมล์)
รหัส ISO 3166JP-47
เว็บไซต์www.pref.okinawa.lg.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกOkinawa woodpecker (Sapheopipo noguchii)
สัตว์น้ำBanana fish (Pterocaesio diagramma, "takasago", "gurukun")
ดอกไม้Deego (Erythrina variegata)
ต้นไม้Pinus luchuensis ("ryūkyūmatsu")
ที่ตั้งของหมู่เกาะรีวกีว

จังหวัดโอกินาวะ (ญี่ปุ่น: 沖縄県 Okinawa-ken) เป็นจังหวัดใต้สุดของประเทศญี่ปุ่น[1] พื้นที่ยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร กินสองในสามของเกาะรีวกีวซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของคีวชูไปทางไต้หวัน เมืองหลวงคือนครนาฮะ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะโอกินาวะ[2]

แม้จังหวัดโอกินาวะจะเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 0.6 ของดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ร้อยละ 75 ของทหารสหรัฐที่ประจำในญี่ปุ่นก็ตั้งอยู่ในจังหวัดนี้[3] ปัจจุบัน มีกองกำลังสหรัฐราว 26,000 กองตั้งอยู่ในจังหวัดโอกินาวะ[4]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

หลักฐานที่เก่าที่สุดที่แสดงว่ามีมนุษย์บนหมู่เกาะรีวกีว ค้นพบที่นครนาฮะ (那覇市 Naha-shi) และเมืองยาเอเซะ (八重瀬町 Yaese-chō) [5] มีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์จากยุคหินเก่า แต่ก็ไม่เป็นหลักฐานที่แน่ชัด นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาอันเป็นร่องรอยอิทธิพลของญี่ปุ่นในยุคโจมง (縄文時代 Jōmon jidai) (14,000-400 ปีก่อนคริสต์ศักราช) บนหมู่เกาะซากิชิมะ (先島諸島 Sakishima shotō) อันเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะรีวกีว อย่างไรก็ตาม เครื่องปั้นดินเผานี้ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องปั้นดินเผาที่พบได้ทั่วไปบนเกาะไต้หวัน

คำว่า รีวกีว กล่าวขึ้นครั้งแรกในพงศาวดารราชวงศ์สุย (จีนตัวย่อ: 隋书; จีนตัวเต็ม: 隋書; พินอิน: Suīshū) ของจีน แต่คำว่า รีวกีว ในที่นี้อาจหมายถึงเกาะไต้หวัน ไม่ใช่หมู่เกาะรีวกีวในปัจจุบัน ซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ คำว่า โอกินาวะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นใช้เรียกหมู่เกาะนี้ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในบันทึกของภิกษุเจียนเจียงหรือกันจิง (鑒真 หรือ 鑑真) ภิกษุชาวจีนผู้เดินทางมาญี่ปุ่นเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนา และเขียนไว้ใน ค.ศ. 779 ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 เริ่มมีสังคมเกษตรกรรมและเติบโตอย่างช้า ๆ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 เนื่องจากหมู่เกาะตั้งอยู่ใจกลางทะเลจีนตะวันออก ใกล้กับญี่ปุ่น จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรรีวกีวจึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาค ในยุคนี้จะมีการสร้างกุสุคุ (御城 Gusuku) หรือปราสาทแบบโอกินาวะขึ้นมากมาย และในคริสต์ศตวรรษที่ 15 อาณาจักรรีวกีวได้กลายเป็นรัฐบรรณาการแห่งหนึ่งของจักรวรรดิจีน

ใน ค.ศ. 1609 ไดเมียว (เจ้าเมือง) แคว้นซัตสึมะ (薩摩 Satsuma) ดินแดนซึ่งในปัจจุบันคือจังหวัดคาโงชิมะ (鹿児島県 Kagoshima-ken) ได้เข้ารุกรานอาณาจักรรีวกีว ส่งผลให้อาณาจักรรีวกีวต้องยอมจำนนและเป็นรัฐบรรณาการของแคว้นซัตสึมะและรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ (徳川幕府 Tokugawa bakufu) หรือรัฐบาลเอโดะ (江戸幕府 Edo bakufu) อย่างไรก็ตาม การยึดอาณาจักรรีวกีวไว้อาจสร้างความบาดหมางกับจักรวรรดิจีนได้ ดังนั้น สิทธิเสรีภาพของชาวรีวกีวจึงยังคงไว้เหมือนเดิม แคว้นซัตสึมะได้รับผลประโยชน์อย่างมหาศาลจากการค้ากับจักรวรรดิจีนในยุคเอโดะที่รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะสั่งให้ญี่ปุ่นปิดประเทศและห้ามการค้าใด ๆ กับชาวต่างชาติ

แม้ว่าแคว้นซัตสึมะจะมีอิทธิพลเหนือหมู่เกาะรีวกีวอย่างมาก แต่อาณาจักรรีวกีวก็ยังมีเสรีภาพทางการเมืองภายในอย่างไม่น้อยมาตลอดสองร้อยปี สี่ปีหลังการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治王政復辟 Meiji Ishin) ใน ค.ศ. 1868 รัฐบาลญี่ปุ่นในสมัยนั้นได้บุกยึกอาณาจักรรีวกีวอย่างถาวรโดยการหนุนหลังของกองทัพ และเปลี่ยนชื่อเป็นแคว้นรีวกีว หรือรีวกีวฮัน (琉球藩 Ryūkyū han) ซึ่งเป็นเขตปกครองโดยไดเมียวหรือเจ้าเมือง แต่ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลราชวงศ์ชิงของจักรวรรดิจีนก็อ้างสิทธิบนหมู่เกาะของอาณาจักรรีวกีวเช่นเดียวกัน โดยอ้างว่าอาณาจักรรีวกีว เคยเป็นรัฐบรรณาการของจีนมาก่อน ใน ค.ค. 1879 แคว้นรีวกีวก็กลายเป็นจังหวัดโอกินาวะของญี่ปุ่น เป็นแคว้นสุดท้ายหลักจากกาแคว้นทั้งหมดถูกยกฐานะเป็นจังหวัดใน ค.ศ. 1872

หลักจากยุทธการที่โอกินาวะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โอกินาวะอยู่ภายใต้อารักขาของสหรัฐอเมริกาถึง 27 ปี ในระหว่างที่โอกินาวะอยู่ภายใต้ภาวะทรัสตีนั้น กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ตั้งฐานทัพทหารบนมากมายบนหลายเกาะของโอกินาวะ

ใน ค.ศ. 1972 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้คืนโอกินาวะคืนให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือและความปลอดภัยระดับทวิภาคีระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น (ภาษาอังกฤษ: Treaty of Mutual Cooperation and Security between the United States and Japan; ภาษาญี่ปุ่น: 日本国とアメリカ合衆国との間の相互協力及び安全保障条約 Nippon-koku to Amerika-gasshūkoku to no Aida no Sōgo Kyōryoku oyobi Anzen Hoshō Jōyaku) ในปัจจุบัน กองกำลังสหรัฐอเมริกาในญี่ปุ่น (ภาษาอังกฤษ: United States Forces in Japan (USFJ) ; ภาษาญี่ปุ่น: 在日米軍 Zainichi Beigun) มีขนาดใหญ่ถึง 27,000 นาย รวมถึงนาวิกโยธิน 15,000 นาย ซึ่งมีทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกครอบครัวอีก 22,000 คนอาศัยอยู่ในโอกินาวะ เนื้อที่ 18% ของเกาะโอกินาวะอันเป็นเกาะหลักเป็นพื้นที่ของฐานทัพสหรัฐฯ และ 75% ของ USFJ ของในจังหวัดโอกินาวะ

จำนวนอุบัติเหตุและอาชญากรรมที่คนของสหรัฐฯ เป็นผู้ก่อนั้น ได้ทำให้ชาวโอกินาวะสนับสนุนการตั้งฐานทัพน้อยลงทุกที ๆ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯและญี่ปุ่นต่างเห็นพ้องกันว่าการมีฐานทัพทหารบนเกาะโอกินาวะนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง เหตุการณ์คนของสหรัฐฯข่มขืนเด็กหญิงอายุ 12 ขวบบนเกาะโอกินาวะในค.ศ. 1995 ได้ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านฐานทัพสหรัฐฯเป็นอย่างมาก ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯและญี่ปุ่นต้องย้ายฐานทัพอากาศนาวิกโยธินฟุเตนมะ (Marine Corps Air Station Futenma หรือ MCAS Futenma) และฐานทัพเล็กอื่น ๆ ออกไปห่างไกลชุมชน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การปิดฐานทัพถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านญี่ปุ่นและกลุ่มเรียกร้องอิสรภาพรีวกีว (琉球独立運動 Ryūkyū Dokuritsu Undō) ขึ้นมาไม่นานมานี้เอง

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เกาะหลัก

[แก้]

เกาะต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันเป็นจังหวัดโอกินาวะนั้นเป็นสองในสามของเกาะรีวกีว เกาะที่มีอยู่คนของโอกินาวะนั้นปรกติแล้วแบ่งออกเป็นกลุ่มเกาะสามกลุ่ม เรียงจากตะวันออกเฉียงเหนือไปตะวันตกเฉียงใต้ได้ดังนี้

เทศบาล

[แก้]

นคร

[แก้]
แผนที่เทศบาลในจังหวัดโอกินาวะ
     นคร      เมือง      หมู่บ้าน

จังหวัดโอกินาวะประกอบด้วยเทศบาลนคร 11 แห่ง ดังนี้

ธง ชื่อ พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(คน)
รหัสท้องถิ่น
ภาษาญี่ปุ่น ภาษาโอกินาวะ[6] ภาษาอื่น
ทับศัพท์ไทย โรมาจิ คันจิ คานะ โรมาจิ
นาฮะ
(เมืองหลวง)
Naha-shi 那覇市 Nafa 39.98 317,405 47201-8
กิโนวัง Ginowan-shi 宜野湾市 じのーん Jinōn 19.80 94,405 47205-1
อิชิงากิ Ishigaki-shi 石垣市 いしがち ʔIshigaci Isïgaksï, Ishanagzï
(ภาษายาเอยามะ)
229.15 47,562 47207-7
อูราโซเอะ Urasoe-shi 浦添市 うら ʔUrasī 19.48 113,992 47208-5
นาโงะ Nago-shi 名護市 なぐ Nagu Naguu [ナグー]
(ภาษาคูนิงามิ)
210.90 61,659 47209-3
อิโตมัง Itoman-shi 糸満市 いちゅまん ʔIcuman 46.63 59,605 47210-7
โอกินาวะ Okinawa-shi 沖縄市 うちなー ʔUcinā 49.72 138,431 47211-5
โทมิงูซูกุ Tomigusuku-shi 豊見城市 みぐ Timigusiku 19.19 61,613 47212-3
อูรูมะ Uruma-shi うるま市 うるま ʔUruma 87.02 118,330 47213-1
มิยาโกจิมะ Miyakojima-shi 宮古島市 なーく、
みゃーく
Nāku,
Myāku
Myaaku
(ภาษามิยาโกะ)
204.20 54,908 47214-0
นันโจ Nanjō-shi 南城市 ーぐ Fēgusiku 49.94 41,305 47215-8

ภาษาและวัฒนธรรม

[แก้]

เนื่องจากในอดีต โอกินาวะ เคยมีเอกราชของตัวเองมาก่อน ภาษาและวัฒนธรรมของโอกินาวะจึงค่อนข้างแตกต่างจากญี่ปุ่น

ภาษา

[แก้]

ยังคงมีผู้พูดภาษารีวกีวอยู่บ้าง ซึ่งผู้พูดภาษาญี่ปุ่นจะเข้าใจได้ยาก ภาษารีวกีวอันนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ คนรุ่นใหม่ละเลยภาษาพื้นเมืองดั้งเดิมของตัวเองมากขึ้นทุกที ๆ นักภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นส่วนมากจัดให้ภาษารีวกีวอันมีความแตกต่างจากภาษาญี่ปุ่น แต่ในชาวญี่ปุ่นและชาวท้องถิ่นจัดให้เป็นภาษาท้องถิ่นหนึ่งของญี่ปุ่น โดยปัจจุบัน ภาษาญี่ปุ่นมาตรฐานถูกใช้เป็นภาษาทางการ ในความเป็นจริงแล้ว ภาษาที่ชาวโอกินาวะอายุต่ำกว่า 60 ปีใช้กันทั่วไปเป็นภาษาญี่ปุ่นสำเนียงโอกินาวะที่เรียกว่า ภาษาปากโอกินาวัน (ウチナーヤマトグチ, 沖縄大和口 Uchinā Yamatoguchi) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษารีวกีวอัน และภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกัน และมักสับสนกับภาษาโอกินาวันดั้งเดิม (ウチナーグチ Uchinaaguchi) ที่มักใช้ในการการแสดงและการละเลนพื้นเมือง เช่น เพลงพื้นเมือง ระบำพื้นเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ ข่าวท้องถิ่นยังใช้ภาษาโอกินาวันดั้งเดิมเช่นกัน

ศาสนา

[แก้]

ชาวโอกินาวะ มีความเชื่อของตัวเอง โดยจะบูชาบรรพบุรุษ และเคารพความสัมพันธ์ระหว่างชีวิต ความตาย เทพเจ้า และวิญญาณต่าง ๆ ที่สถิตในธรรมชาติ

อิทธิพลทางวัฒนธรรม

[แก้]

วัฒนธรรมโอกินาวะได้รับอิทธิพลจากชาติต่าง ๆ ที่เคยทำการค้าด้วยกันมาแต่ในอดีต แม้ในปัจจุบัน เราอาจพบสินค้าและวัฒนธรรมจากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ไทย และออสโตรเนเชียน (ชวา มลายู) ในย่านการค้าของโอกินาวะ เราอาจพูดได้ว่าวัฒนธรรมที่โอกินาวะส่งออกไปทั่วโลกคือ คาราเต้ (空手 Karate) ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวของศิลปะการต่อสู้ของจีนนั่นคือ กังฟู (功夫, gōngfū) และศิลปะการต่อสู้ดั้งเดิมของโอกินาวะ ศิลปะการต่อสู้นี้พัฒนาอย่างต่อเนื่องถึงสองสมัย คือในระหว่างการสั่งห้ามใช้อาวุธหลังการยึดครองของญี่ปุ่นจนถึงรัฐบาลเมจิ

สินค้าท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของโอกินาวะอีกอย่างคือ อาวาโมริ (泡盛 Awamori) ซึ่งเป็นสุรากลั่น ทำจากข้าวเจ้านำเข้าจากประเทศไทย

แผนที่อื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Okinawa-ken" in Japan Encyclopedia, p. 746-747, p. 746, ที่กูเกิล หนังสือ
  2. Nussbaum, "Naha" in p. 686, p. 686, ที่กูเกิล หนังสือ
  3. Inoue, Masamichi S. (2017), Okinawa and the U.S. Military: Identity Making in the Age of Globalization, Columbia University Press, ISBN 978-0-231-51114-8
  4. "U.S. civilian arrested in fresh Okinawa DUI case; man injured". The Japan Times. July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-31. สืบค้นเมื่อ 2018-04-16. Under a decades-old security alliance, Okinawa hosts about 26,000 U.S. service personnel, more than half the total Washington keeps in all of Japan, in addition to base workers and family members.
  5. 山下町第1洞穴出土の旧石器について เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(ญี่ปุ่น), 南島考古22
  6. Okinawago jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Kokuritsu Kokugo Kenkyūjo, 国立国語研究所. Tōkyō: Zaimushō Insatsukyoku. March 30, 2001. p. 549. ISBN 4-17-149000-6. OCLC 47773506.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]