ข้ามไปเนื้อหา

โลมาอิรวดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลมาอิรวดี
โลมาอิรวดีในประเทศกัมพูชา
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
วงศ์: Delphinidae
สกุล: Orcaella
สปีชีส์: brevirostris
  แผนที่การกระจายพันธุ์ของโลมาอิรวดีใน ค.ศ. 2017
ชื่อพ้อง[3]
รายการ
  • Orca (Orcaella) brevirostris Owen in Gray, 1866 (basionym)
  • Orcaella brevirostris brevirostris Ellerman & Morrison-Scott, 1951
  • Orcaella brevirostris fluminalis Ellerman & Morrison-Scott, 1951
  • Orcaella fluminalis Gray, 1871
  • Orcella brevirostris Anderson, 1871
  • Orcella fluminalis Anderson, 1871
  • Phocaena (Orca) brevirostris Owen, 1866

โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (อังกฤษ: Irrawaddy dolphin, Ayeyarwaddy dolphin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) พบประชากรที่กระจายอย่างกว้างขวางในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล และในบริเวณปากน้ำและแม่น้ำบางส่วนของอ่าวเบงกอลและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรูปร่างคล้ายโลมาครีบทู่ออสเตรเลีย (จาก Orcaella สกุลเดียวกัน) และไม่เคยถูกจัดเป็นสัตว์คนละชนิดก่อน พ.ศ. 2548 แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180–275 เซนติเมตร น้ำหนัก 3.21 กิโลกรัม

โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง ทะเลสาบเขมร ใน พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และเคยมีผู้จับได้ที่คลองรังสิต ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร[4]

โลมาอิรวดีได้รับการค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันถึงแม้ว่าสามารถพบโลมาในเขตแม่น้ำและทะเลในเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ แต่บริเวณที่มีประชากรมากที่สุดอยู่ในทะเลสาบจิลิกา รัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย และทะเลสาบสงขลาในภาคใต้ของประเทศไทย[5] โดยสถานที่ที่พบได้น้อยที่สุดและถือเป็นแหล่งวิกฤตที่สุดคือทะเลสาบสงขลาในส่วนที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย[6] โลมาอิรวดีตัวสุดท้ายที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาวตายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 หลังจากติดอวนจับปลาของชาวประมงในพื้นที่ เท่ากับเป็นการสูญพันธุ์จากประเทศลาวอย่างเป็นทางการ[ต้องการอ้างอิง]

มีพฤติกรรมพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70–150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาดร้อยละ 40 ของตัวโตเต็มวัย อาหารได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม สถานภาพจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์

อนุกรมวิธาน

[แก้]
ตัวอย่างโครงกระดูกโลมาอิรวดีที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งมหาวิทยาลัยปิซา

หนึ่งในบันทึกแรกสุดของโลมาอิรวดีมาจากเซอร์ ริชาร์ด โอเวน ใน ค.ศ. 1866 ตามตัวอย่างที่พบใน ค.ศ. 1852 ที่ท่าเรือในวิศาขาปัฏฏนัมทางฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย[7]

ศัพทมูลวิทยาและชื่อท้องถิ่น

[แก้]

ชื่อชนิด brevirostris มาจากภาษาละตินที่มีความหมายว่า จะงอยสั้น มันมีความใกล้ชิดกับโลมาครีบทู่ออสเตรเลีย (Orcaella heinsohni) หลังมีการตรวจวิเคราะห์ยีนโลมา ทำให้โลมาครีบทู่สองชนิดถูกจัดเป็นสัตว์คนละชนิดใน พ.ศ. 2548

ชื่อสามัญของโลมาอิรวดีมีดังนี้:[8][7][9]

  • ไทย: โลมาอิรวดี, โลมาหัวบาตร, โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง, โลมาน้ำจืด, โลมาหัวหมอน (ในภาษาไทยถิ่นใต้)
  • โอริยา: ଶିଶୁମାର (ศิศุมาร); ଭୁଆସୁଣୀ ମାଛ (ภุอาสุณี มาฉ, แปลว่า โลมาที่ให้น้ำมัน); ชื่อท้องถิ่นในบริเวณลากูน: ଖେରା (เขรา)
  • ฟิลิปปินส์: lampasut (ลัมปาซุต)
  • เบงกอล: শুশুক (ศุศุก)
  • อินโดนีเซีย: pesut mahakam, ikan pesut (เปอซุตมาฮากัม, อีกันเปอซุต)
  • เขมร: ផ្សោត (พโซต)
  • ลาว: ປາຂ່າ (ปาข่า)
  • มลายู: empesut (เอิมเปอซุต)
  • พม่า: ဧရာဝတီ လင်းပိုင် (เอยาวะดีละไบง์)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Minton, G.; Smith, B.D.; Braulik, G.T.; Kreb, D.; Sutaria, D. & Reeves, R. (2018) [errata version of 2017 assessment]. "Orcaella brevirostris". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T15419A123790805. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T15419A50367860.en. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. Perrin, W. (2010). Perrin WF (บ.ก.). "Orcaella brevirostris (Owen in Gray, 1866)". World Cetacea Database. World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ 2012-05-11.
  4. หน้า 109, กระเบนน้ำจืดแห่งชาติ. "Wild Ambition" โดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, ชวลิต วิทยานนท์. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 51: กันยายน 2014
  5. Brian D. Smith, William Perrin (March 2007), Conservation Status of Irrawaddy dolphins (Orcaella Brevirostris) (PDF), CMS
  6. "สมุดโคจร: ทะเลสาบสงขลา". ช่อง 5. 15 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
  7. 7.0 7.1 Sinha, R. K. (2004). "The Irrawaddy Dolphins Orcaella of Chilika Lagoon, India" (PDF). Journal of the Bombay Natural History Society. 101 (2): 244–251. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-04-10.
  8. Stacey, P. J.; Arnold, P. W. (1999). "Orcaella brevirostris". Mammalian Species. 616 (616): 1–8. doi:10.2307/3504387. JSTOR 3504387.
  9. "Proposal for inclusion of species on the appendices of the convention on the conservation of migratory species of wild animals" (PDF). CMS - Convention on the Conservation of Migratory Species of Wild Animals. UNEP/CMS. 2008-08-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]