โลมาครีบทู่
โลมาครีบทู่ | |
---|---|
Orcaella brevirostris | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กีบคู่ |
อันดับฐาน: | วาฬและโลมา Cetacea |
วงศ์: | Delphinidae |
สกุล: | โลมาครีบทู่ Gray, 1866 |
ชนิดต้นแบบ | |
Orcaella brevirostris | |
ชนิด | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของสกุล Orcaella |
โลมาครีบทู่ (อังกฤษ: Snubfin Dolphin) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล จำพวกโลมา ใช้ชื่อสกุลว่า Orcaella จัดอยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae)
จากการศึกษาด้านดีเอ็นเอและวิเคราะห์โมเลกุลพบว่า โลมาครีบทู่มีสายสัมพันธ์และเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับวาฬเพชฌฆาต หรือวาฬออร์กา ซึ่งจัดว่าเป็นโลมาชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งทั้ง 2 สกุลนี้ อาจจัดได้ว่าอยู่ในวงศ์ย่อย Orcininae[1][2]
การจำแนก
[แก้]เดิมทีโลมาครีบทู่มีเพียงชนิดเดียว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2005 จึงได้มีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นที่ออสเตรเลียและนิวกินี [3]
- โลมาอิรวดี (O. brevirostris)
- โลมาครีบทู่ออสเตรเลีย (O. heinsohni)[4]
ในส่วนของโลมาอิรวดี เป็นโลมาชนิดที่พบได้ตามแถบชายฝั่งทะเลในทวีปเอเชียหรือพบได้ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำอิรวดี หรือทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ปัจจุบันแหล่งที่พบได้ในส่วนที่เป็นน้ำจืดมีเพียง 5 แห่งในโลกเท่านั้น คือ แม่น้ำโขง พรมแดนระหว่างประเทศไทย, ลาว และกัมพูชา, แม่น้ำอิรวดี ในประเทศพม่า, ทะเลสาบซิลิกา ในประเทศอินเดีย, แม่น้ำมะหะขาม ในประเทศอินโดนีเซีย และในทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา, พัทลุง และนครศรีธรรมราช ในภาคใต้ของไทยเท่านั้น โดยสถานะที่ทะเลสาบสงขลานับว่าเป็นแหล่งที่มีวิกฤตเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด [5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ LeDuc, R.G., Perrin, W.F., Dizon, A.E. (1999). Phylogenetic relationships among the delphinid cetaceans based on full cytochrome b sequences. Marine Mammal Science 15, 619–648.
- ↑ May-Collado, L., Agnarsson, I. (2006). Cytochrome b and Bayesian inference of whale phylogeny. Molecular Phylogenetics and Evolution 38, 344-354.
- ↑ Ross, G. J. (2006). Review of the conservation status of Australia's smaller whales and dolphins. Department of the Environment and Water Resources.
- ↑ "Orcaella Gray, 1866". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "สมุดโคจร: ทะเลสาบสงขลา". ช่อง 5. 15 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.